โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในสมัยสอนวิชาอารายธรรมมลายู
ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ได้แทรกความรู้เรื่องกฎหมายรัฐมะละกาไป แต่เป็นการเพิ่มเข้าไปให้นักศึกษาพอรู้ว่า
ในโลกมลายู ก็มีกฎหมายมลายูจำนวนหนึ่ง และอธิบายกฎหมายรัฐมะละกา
ให้พอรู้บ้างว่ามีกฎหมายฉบับนี้อยู่ ในครั้งนี้ จึงขอขยายให้ลึกขึ้น
กฎหมายรัฐมะละกา หรือ Undang Undang Melaka เป็นกฎหมายมลายูที่มีอายุราว
500 ปี กฎหมายรัฐมะละกามีหลายชื่อ เช่น
1. Adat Orang Menjadi Raja (Singapore no.40),
2. Kitab Undang-Undang (Cod. Or. 5838),
3. Kitab Undang-undang Melaka (BL,Add12395,)
4. Hukum Kanun (Von de Wall 13),
5. Risalah Hukum Kanun (Cod. Or. 5836),
6. Surat Undang (Cod. Or.1725),
7. Surat Undang-Undang (Skeat 14B),
8. Surat Undang-Undang Kanun (Skeat 14A),
9. Surat Hukum Kanun (KL 24),
10. Undang-Undang Melaka (Maxwell
5,6,11A,19),
11. Undang-Undang Melayu (KL 21,Von de Wall
59),
12. Undang-Undang Negeri dan Pelayaran (Cod.
Or. 1706, Cod. Or. 2160),
13. Undang-Undang Raja Melaka (Fakuhar 1,10).
14. Undang-Undang Sultan Mahmud Syah (SOAS
40505,40506).
ตามการศึกษาค้นคว้าของดร. ลิว ย๊อค ฟาง (Dr. Liaw Yock Fang) เขาได้แบ่งกฎหมายรัฐมะละกาออกเป็น
6 ส่วน คือ
1. ส่วนสำคัญของกฎหมายรัฐมะละกา (Intisari Undang-Undang Melaka)
2. กฎหมายทะเลรัฐมะละกา (หนึ่งส่วนเท่านั้น)
3. กฎหมายการแต่งงานตามหลักอิสลาม (Hukum Perkahwinan Islam)
4. กฎหมายการค้าและการกล่าวซื้อขาย(Hukum Perdagangan (Bai) dan
Syahadat)
5. กฎหมายเกี่ยวกับรัฐ (Undang-Undang Negeri)
6. กฎหมายรัฐโยโฮร์ (Undang-Undang Johor)
กฎหมายรัฐมะละกา หรือ Undang Undang Melaka ที่เรารู้จักในปัจจุบันนั้นจะเป็นกฎหมายลูกผสม
มีการเพิ่มเติมจากฉบับดั้งเดิม สำหรับกฎหมายรัฐมะละกา ฉบับแรกนั้น เริ่มจัดทำโดยสุลต่านมูฮัมหมัดชาห์ (Sultan
Muhammad
Syah) เป็นสุลต่านรัฐมะละกา
ระหว่างปี 1422-1444 ต่อมากฎหมายรัฐมะละกาฉบับนี้
มีการเพิ่มเติมโดยสุลต่านมุซาฟฟาร์ชาห์ (Sultan Muzaffar
Syah) เป็นสุลต่านรัฐมะละกา
ระหว่างปี 1445-1458
และในการเผยแพร่กฎหมายนี้ไปยังรัฐมลายูอื่นๆ เพื่อความเหมาะสมของแต่ละรัฐจึงเกิดการปรับปรุง
แก้ไข และเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อใช้ในรัฐมลายูอื่นๆ แล้วมีการคัดลอก
จนกลายเป็นกฎหมายฉบับใหญ่ ความสั้น ยาวของเนื้อหา อยู่ที่แต่ละสถานที่(รัฐ)
และผู้ทำการคัดลอก แต่ละสถานที่(รัฐ)จึงมีความแตกต่างของเนื้อหาของกฎหมาย
ดร. ลิว ย๊อค ฟาง (Dr. Liaw Yock Fang) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐมะละกา
ผู้จบการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศฮอลันดา
และจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเดียว โดยทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ กฎหมายรัฐมะละกา หรือ
Undang Undang Melaka ดร. ลิว ย๊อค ฟาง กล่าวว่า มีกฎหมายรัฐมะละกา หรือ Undang Undang
Melaka มากกว่า 50 เล่ม โดยแบ่งกฎหมายรัฐมะละกา ออกได้ 6 กลุ่ม คือ
1. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับหลัก (Undang-Undang Melaka Pokok)
2. กฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับอาเจะห์
3. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับปาตานี
4. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับยาว
5. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับอิสลามและรัฐโยโฮร์
6. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับ Fragmentarist
1. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับหลัก (Undang-Undang Melaka Pokok)
ดร.
ลิว ย๊อค ฟาง (Dr. Liaw Yock Fang) กล่าวว่า
มีกฎหมายอยู่ 25 ฉบับที่
จัดอยู่ในกลุ่มกฎหมายรัฐมะละกาหลัก
ซึ่งในกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ย่อย
คือ
1.1 กลุ่มที่มีกฎหมายรัฐมะละกา ฉบับ Cambridge 1364
ฉบับที่มีคำปฐมบท
ยาว
โดยหลังจากประโยคที่เขียนว่า “adat ini turun
turuntemurun
daripada
zaman Sultan Iskandar Zulkarnain” หรือ จารีตประเพณี
ที่มีมาแต่ยุคสุลต่านอิสกันดาร์
ซุลการ์ไนน์” ยังมีการระบุชื่อสุลต่านจำนวน
5
คน เช่นเดียวกันกับกฎหมายรัฐมะละกา ฉบับยาว แต่ในฉบับ
Cambridge
1364 ไม่มีการเขียนในบทการแต่งงานตามหลักอิสลาม
1.2 กลุ่มที่มีกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับ Cod. Or. 1705 มีเนื้อหากฎหมาย 44
บท
1.3 กลุ่มที่มีกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับ Vat.Ind. IV ฉบับ
Raf 74 และ ฉบับ
Raf
33 สำหรับกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับ Raf 74 นั้นมีเพียง 4 ส่วน
เช่นเดียวกันกับกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับ Vat.Ind. IV
แต่กฎหมายรัฐ
มะละกา
ฉบับ Raf 74
มีความใกล้เคียงกับกฎหมายรัฐมะละกา ฉบับ Raf
33
2. กฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับอาเจะห์
มีกฎหมายรัฐมะละกา ที่อยู่ในกลุ่มนี้ จำนวน 4 ฉบับ
เช่น กฎหมายรัฐมะละกา กฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับ SOAS 40505 หลังจากกล่าวสรเสริญปฐมบท ก็ตามด้วย “kaedah
raja-raja (วิธีการของกษัตริย์)” …….“... Iskandar
Zulkarnain datang kepada Seri Sultan yang di atas takhta kerajaan iaitu teladan
raja-raja pada hal memerintahkan adat segala menteri. Maka dihimpunkan hukum
itu atas sembilan hukum. (จากสุลต่านอิสกันดาร์ ซุลการ์ไนน์ จนถึงสุลต่านที่อยู่ในอำนาจแห่งรัฐ
เป็นแบบอย่างของเจ้าเมืองในการออกระเบียบจารีตประเพณีของมุขมนตรีทุกคน ดังนั้นจึงรวบรวมกฎหมายออกเป็นเก้าฉบับ)”
กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับอาเจะห์ มีจำนวน 44 บท ปรากฏว่า เขียนเมื่อ 3 เดือนยามาดีลอาวัล
ปีฮิจเราะห์ศักราช 1202 หรือ วันอาทิตย์ เดือนกุมภาพันธุ์ 1788) ในสมัยสุลต่านยามาล
อัล-อาลาม บาดร อัล-มูนีร์
3. กฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับปาตานี
มีการพูดถึง “ปาตานี” หลายครั้งในกลุ่มกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับปาตานี ดังนั้นจึงจัดกฎหมายรัฐมะละกาฉบับเหล่านี้ เป็นกลุ่มกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับปาตานี มีกฎหมายรัฐมะละกา ที่อยู่ในกลุ่มฉบับปาตานี อยู่จำนวน 6 ฉบับ มีกฎหมายรัฐมะละกา ฉบับปาตานี จำนวน 3 ฉบับ ที่ใช้ชื่อว่า Undang-Undang Negeri dan Pelayaran (กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐและการเดินเรือ) กฎหมายรัฐมะละกาฉบับปาตานีนี้
จะลงท้ายด้วย :
“Demikian
hukum yang disuruhkan oleh Duli Yang Dipertuan Sultan Mahmud Syah di dalam
negeri Melaka” (กฎหมายนี้ทางสุลต่านมาห์มุดชาห์สั่งให้ใช้ในรัฐมะละกา)
และปิดท้ายด้วย “Tamat selesai kitab kanun dan
undang-undang ini. Yang mengarang dia Sadar Johan keluar dari kitab m.t.n.
namanya” (เขียนแล้วเสร็จ กฎหมายฉบับนี้ ผู้เขียนคือ ซาดาร์ โยฮัน
นำมาจากตำราชื่อ m.t.n. (?) ) กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับปาตานี ฉบับ
SOAS 40506 เขียนว่า “Adat negeri pada segala raja-raja kepada awal
zaman” (จารีตประเพณีของเหล่าเจ้าเมืองในยุคต้น) สำหรับกฎหมายรัฐมะละกาฉบับนี้
ถือเป็นตัวอย่างของกฎหมายรัฐปาตานี ชื่อผู้เขียนคือ ซาดาร์ โยฮัน (Sadar
Johan) เป็นผู้เขียนตอนต้น ในส่วนที่สาม เขียนหนึ่งตอน นั้นคือกฎหมายรัฐมะละกาที่เหมาะสมในมาตราที่
9-24
ในกฎหมายรัฐมะละกา ฉบับปาตานีนั้นยังเพิ่มมาตรา
อธิบายภาษีใช้จ่าย ที่สมควรจ่ายให้แก่เจ้าเมือง และบรรดาขุนนาง
เมื่อเรือสำเภาจีนเดินทางเข้ามายังปาตานี
4. กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับยาว
มีกฎหมายรัฐมะละกา 6 ฉบับที่จัดอยู่ในกลุ่มกฎหมายรัฐมะละกา
ฉบับยาว ส่วนใหญ่จะมี 44 บท ยกเว้น กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับ Farquhar 10 ที่มีถึง
81 บท กฎหมายรัฐมะละกา ฉบับนี้ มี 5 ตอน ถือเป็นบทรวมของกฎหมายรัฐมะละกา
กฎหมายรัฐมะละกาฉบับบนี้ที่สำคัญมีหลายตอน เช่น ตอนที่ 1 บทที่
1-16 และบทที่ 18 มีความสอดคล้องกันกับ บทที่ 1-22 และบทที่ 29 ตามฉบับตีพิมพ์ ของ
ดร. หลิว ย๊อค ฟาง (Liaw 1976)
ส่วนที่ 2 มาตรา 17 และมาตรา 19-25 จะเป็นเนื้อหาของกฎหมายทะเลรัฐมะละกา (Undang-Undang
Melaka)
ส่วนที่ 3 มาตรา 26-52 เป็นเนื้อหาความเป็นอิสระ
ส่วนที่ 4 มาตรา 53-56 มีความสอดคล้องกันกับมาตรา 43.3-8 และมาตรา 44.1-3,6-8 ตามฉบับตีพิมพ์
ของ ดร. หลิว ย๊อค ฟาง (Liaw 1976) ที่น่าสนใจส่วนนี้
ยังมีในกฎหมายรัฐปาหัง (Undang Undang Pahang) มาตรา 17-76
(Kempe
& Winstedt 1948) เป็นไปได้ว่า ส่วนนี้ มาจากเนื้อหาที่มีความอิสระ
ซึ่งต่อมาเป็นส่วนที่ 5 นั้นคือ กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐในกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา
67-76 ของกฎหมายรัฐปาหัง
ส่วนที่ 5 เป็นการรวมกฎหมายในมาตรา 57-59 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 35-39 ตามฉบับตีพิมพ์
ของ ดร. หลิว ย๊อค ฟาง (Liaw 1976)
กฎหมายอิสลามและรัฐโยโฮร์
กฎหมายที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มี 6 ฉบับ โดยกฎหมายกลุ่มนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
i. กฎหมายฉบับ Von de
Wall 50 (1,2) กฎหมายฉบับ Cod.Or. 1722 กฎหมายฉบับ
และกฎหมายฉบับ Skeat 14B
ii. กฎหมายฉบับ Maxwell 17 และกฎหมายฉบับ Maxwell 20
กฎหมายในกลุ่ม ii
นี้ถูกจัดพิมพ์โดย Kempe และ Winstedt ในนามของกฎหมายรัฐปาหัง (UndangUndang Pahang) เนื้อหาของทั้งสองกลุ่มนี้
มีความเหมือนกัน ยกเว้นในบางมาตรากลุ่ม i ที่ไม่มีในกลุ่ม ii ในกฎหมายที่เรียกว่ากฎหมายรัฐปาหังนี้ ประกอบด้วย 3
ฉบับ ที่มีเนื้อหาใกล้ชิดกับกฎหมายรัฐมะละกา มาตรา 1-23 ที่ถือว่าเป็นแกนของกฎหมายรัฐปาหัง
และมาตรา 24-65 ของกฎหมายอิสลาม
กฎหมายรัฐมะละกาฉบับสั้น
กฎหมายฉบับนี้ มีเนื้อหา 26-29 มาตรา มีเพียง 19
มาตราที่มีหมายเลข กล่าวว่า กฎหมายฉบับสั้นนี้ มี 3 ส่วน สำหรับส่วนที่ 4 กฎหมายการค้าขายและส่วนที่ 5
กฎหมายเกี่ยวกับรัฐและรัฐโยโฮร ไม่ปรากฎในกลุ่มกฎหมายรัฐมะละกาฉบับสั้นนี้
กฎหมายรัฐมะละกามีการเพิ่มเติมและแก้ไขอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัยรัฐมะละกา
ต้นฉบับมี 19 บทต่อมาจึงถูกขยายเป็น 22 บท และสุดท้ายเป็น 44 บทที่ยาวที่สุดที่เรารู้จักในปัจจุบัน
แม้ว่าองค์ประกอบของกฎหมายจารีตประเพณี (adat) ที่มีอิทธิพลจากยุคฮินดู-พุทธยังคงมีอยู่ในเนื้อหา
แต่อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็สร้างความแข็งแกร่ง
มีหลักฐานชัดเจนถึงการมีอยู่ของคำศัพท์ต่างๆ
และกฎหมายที่มีต้นกำเนิดจากศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเช่น
ซีนา (มาตรา 40:2)
qadhf หรือการกล่าวหาซินาที่เป็นเท็จ
(มาตรา 12:3)
การโจรกรรม (มาตรา 7:2 และ 11:1)
การปล้น (มาตรา 43)
การละทิ้งความเชื่อ (มาตรา 36:1)
การดื่มของมึนเมา (มาตรา 42)
และอื่นๆ
Liaw Yock Fang, Undang-undang Melaka (The Law
of
Melaka), diterbitkan oleh Koninklijk
Instituut Voor Tall, Land En Volkenkunde, The Hague, 1976.
Liaw Yock Fang, Naskah Undang-Undang Melaka:
Suatu Tinjauan, Jurnal Sari 25 (2007) 85 – 94
อ้างอิง
Mohd Taib Osman, Laporan: Naskah-Naskah dan
Alatan Budaya di Beberapa Pusat Pemgajian di Great Britain dan Jerman Barat, 1972,
Nusantara I,
Dr. Ali Abubakar, Undang Undang Melaka, Sahifah,
Aceh, Indonesia. 2018.
Abu Hassan Mohd Sham, Hukum kanun Melaka ,Perbadanan
Muzium Melaka, 1995.