Jumaat, 28 Oktober 2022

นางคอยรียะห์ ฮาชิม ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกในนครมักกะห์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

นางคอยรียะห์ ฮาชิม ได้เขียนไว้ในบทความที่ชื่อว่า "ประเด็นพื้นฐานของความเข้าใจระหว่างสำนักคิด (มัซฮับ)และความอดทนของพวกเขา" ซึ่งเขียนลงใน นิตยสาร Gema Islam ในเดือนสิงหาคม 1962 โดยเธอเขียนว่า "ในฐานะคนรับช่วงต่อทางประวัติศาสตร์ ไม่มีวิธีอื่นใด ในการพัฒนาสังคมมุสลิมภายใต้การเข้าใจกันระหว่างสำนักคิด นอกจากการศึกษาและขยันหมั่นเพียร"

 

นักการศาสนาสตรีผู้นี้ได้เขียนหนังสือเพื่อเผยแพร่ศาสนาต่อสาธารณชนในอินโดนีเซีย จนถึงกลางศตวรรษที่ 20 งานเขียนของเธอยังมีความพิเศษและความแตกต่างจากงานเขียนของผู้หญิงทั่วไปในนิตยสารอิสลามในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยปกติงานเขียนของสตรีจะกล่าวถึงธรรมชาติของผู้หญิงและบทบาทของผู้หญิงในฐานะแม่และผู้ให้ความรู้แก่เด็กในครอบครัวเท่านั้น

แต่นางคอยรียะฮ์ได้เขียนงานเขียนที่ออกนอกแนวทางดังกล่าว เธอจะเขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการเข้าใจกัน หรือขันติธรรมในการน้อมรับและฝึกฝนการตีความคำสอนของอิสลาม บทความในนิตยสาร Gema Islam ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สื่อถึงคุณภาพของนักการศาสนาคนนี้

 

นางคอยรียะห์ ฮาชิม เกิดที่เมืองจอมบังในปี 1906 เป็นบุตสาวที่สองของนายฮาชิม อัชอารี และนางนาฟีกะห์ นางคอยรียะห์ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับอิสลามโดยตรงจากการสอนของบิดาของเธอ  นางคอยรียะห์ ฮาชิม เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้แต่งงานกับนายมักซุม  อาลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของบิดาของเธอ  ในปี 1921 เธอได้เคียงข้างสามี เพื่อเปิดโรงเรียนสอนศาสนาตามคำสนับสนุนของบิดาของเธอ  ในปี 1933 สามีของเธอได้เสียชีวิตลง

เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอต้องเป็นผู้นำของโรงเรียนสอนศาสนาที่ชื่อว่า โรงเรียนเซบลัค แทนที่สามีของเธอที่ชื่อว่า นายมักซุม อาลี ซึ่งได้เสียชีวิตลง นับเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงได้เป็นผู้นำของโรงเรียนสอนศาสนาที่มีนักเรียนเป็นผู้ชาย

 

ความรอบรู้ด้านอิสลามของนางคอยรียะฮ์นับว่ามีสูงมาก จนทำให้น้องชายของเธอที่ชื่อว่า นายยูซุฟ ฮาชิม ถึงกับขนานนามนางคอยรียะห์ ฮาชิม ว่า Kyai Putri หรือนักการศาสนาสตรี แม้ว่านางคอยรียะห์ ฮาชิม จะมีส่วนร่วมในงานเผยแพร่ศาสนาและการศึกษาของอิสลามมีอย่างมากมาย แต่เรื่องราวชีวิตของเธอกลับไม่เป็นที่รับรู้มากนัก

 

แม้ว่าวิถีชีวิตของเธอจะไม่เหมือนใคร นางคอยรียะห์ ฮาชิม เป็นหนึ่งในตัวละครหญิงไม่กี่ตัวที่มีประสบการณ์ที่ปกติจะเป็นของผู้ชาย  ในปี 1938 เธอแต่งงานเป็นครั้งที่สอง เธอไปติดตามสามีไปยังประเทศซาอุดีอาราเบีย

นางคอยรียะห์ ฮาชิม ใช้ชีวิตในประเทศซาอุดีอาราเบียเพื่อการศึกษาและการสอน โดยเขาอาศัยอยู่ในนครมักกะห์เป็นเวลา 19 ปีและกลายเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการศึกษาสำหรับผู้หญิงในซาอุดีอาระเบีย มีคนไม่มากที่รู้ว่านางคอยรียะห์ ฮาชิม เป็นนางระเด่นอายูการ์ตีนี (Raden Ayu Kartini) แห่งนครมักกะห์  นางระเด่นอายูการ์ตีนี ถือเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาสำหรับสตรีในประเทศอินโดเนเซีย

 

คุณ Eka Srimulyani ได้เขียนลงใน Women from Educational Islamic Institutions in Indonesia (2012) โดยกล่าวถึงนางคอยรียะห์ ฮาชิม แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก โดยอุปสรรคสำคัญคือเป็นการยากที่จะหาแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อติดตามเรื่องราวชีวิตของนางคอยรียะห์ ฮาชิม ในนครมักกะห์

สำหรับข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตของนางคอยรียะห์ ฮาชิม จึงได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้คนจำนวนมากในซาอุดีอาระเบียและอินโดเนเซีย

  

หลังจากนางคอยรียะห์ ฮาชิม เป็นผู้นำโรงเรียนสอนศาสนาเซบลัคได้ 5 ปี นางคอยรียะห์ ฮาชิม แต่งงานกับสามีคนที่สองที่ชื่อว่า นายมูฮัยมีน ทางนางคอยรียะห์ ฮาชิม ก็ได้ติดตามสามีคนที่สองของเธอไปยังนครมักกะห์ในปี 1938  โดยนายมูฮัยมีน ได้สอนที่โรงเรียนดารุลอูลุมในนครมักกะห์  ต่อมานายมูฮัยมีน ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนแทนนายยาซีน อัลฟาดานี

 

ในปี 1942 โรงเรียนดารุลอูลุมได้เปิดชั้นเรียนสำหรับผู้หญิงซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า Madrasa Banat หรือโรงเรียนสำหรับสตรี ตามคำกล่าวของ Muhsin Zuhdi บุตรบุญธรรมของนางคอยรียะห์ ฮาชิม กล่าวว่าเหตุผลในการเปิดโรงเรียนสำหรับผู้หญิงไม่เพียงเพราะผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่มีความจำเป็นต้องให้การศึกษาแก่สตรีด้วย

 

ในปี 1942 เปิดโรงเรียนสำหรับสตรี โดยใช้ชื่อว่า Madrasah Banat โดยเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนดารุลอูลุม ในปี 1956 เมื่อสามีคนที่สองของเธอเสียชีวิต เธอจึงเดินทางกลับไปอินโดเนเซีย เธอได้รับการร้องขอจากอดีตประธานาธิบดีอินโดเนเซีย มากลับมาขยายโรงเรียนสอนศาสนา  ส่วนนางคอยรียะห์ ฮาชิม เมื่อกลับอินโดเนเซีย ก็ได้กลับมาพัฒนาโรงเรียนสอนศาสนาในเขตเซบลัค

 

สำหรับการเรียนการสอนของโรงเรียนสำหรับสตรี หรือ Madrasah Banat มีการกล่าวว่าสองแห่ง บางคนบอกว่าอยู่ในซุกัลไลล์ (Suq al Lail) หรือทางตะวันออกของมัสยิดอัลฮาราม แต่ในขณะที่บางคนบอกว่าอยู่ในมิสฟาละห์ (Misfalah) หรือทางใต้ของมัสยิดอัลฮาราม  Haram) นอกจากนางคอยรียะห์ ฮาชิมแล้ว ยังมีครูสตรีอีกหลายท่านที่โรงเรียนสำหรับสตรี หรือ Madrasah Banat 

 

เช่น นางยี อับดุลลอฮ ฟาลิมบัน (Jee Abdallah Falimban) ภรรยาของเชคมูฮัมหมัด ฮุสเซน อัล ฟาลิมบัน (Syekh Muhammad Hussain al Falimban) ซึ่งเป็นครูที่โรงเรียนดารุลอูลุมเช่นกัน จากนั้นเชคมูฮัมหมัด ฮุสเซน อัล ฟาลิมบัน ได้ก่อตั้งโรงเรียนอีกแห่งให้กับภรรยาของเขาในนครมักกะห์ ชื่อว่าโรงเรียนมัดราซะห์อัลฟาละห์ อัลอะห์ลลียะห์ หรือ Madrasa al Fatah al Ahliyah ในปี 1947 และครูของโรงเรียนดารุลอูลุมอีกคน คือ นายยาซีน ฟาดานี ก็เปิดโรงเรียนสำหรับสตรีอีกแห่งให้กับภรรยา

  

การเปิดโรงเรียนสำหรับสตรีของชาวมลายูในนครมักกะห์นับว่าก้าวหน้ากว่าคนซาอุดีอาราเบียเอง ด้วยเจ้าหญิงอิฟฟัต ราชินีของกษัตริย์ไฟซอล กษัตริย์แห่งซาอุดีอาราเบียเอง ได้เปิดโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้นในเมืองเจดดะห์ในปี 1965 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนดารุลฮานัน (Darul Hanan)

 

อ้างอิง

Tika Ramadhini,Khairiyah Hasyim, Pendiri Sekolah Perempuan Pertama di Makkah, https://tirto.id

 

Pandu Hidayat, Mengenal Khairiyah Hasyim, Penggagas Sekolah Perempuan Pertama di Makkah, https://www.goodnewsfromindonesia.id/



Tiada ulasan: