โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในหมู่ชาวชาวอินโด-ยูโรเปียน หรือชาวอินโดเนเซีย ที่มีเชื้อสายฮอลันดา ก็จะมีพรรคการเมืองเนของตนเอง โดยใช้ชื่ว่า พรรค Indo Europeesch Verbond (IEV) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1919 และในหมู่ชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายอาหรับก็จะมีพรรคการเมืองของตนเอง ภายใต้ชื่อพรรคว่า Indo Arabische Verbond (IAV) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1930
นายฮามิด อัลก๊อดรี (Hamid Algadri) ได้เขียนลงในหนังสือชื่อว่า Politik
Belanda terhadap Islam dan Keturunan Arab di Indonesia หรือว่า
การเมืองฮอลันดาที่มีต่อศาสนาอิสลามอิสลามและคนเชื้อสายอาหรับในอินโดเนเซีย
ซึ่งพิมพ์เมื่อ 1988 เขาได้เขียนว่า พรรคของชาวอินโดเนซียเชื้อสายอาหรับที่ชื่อว่า
Indo Arabische Verbond (IAV) ได้เลียนแบบพรรคของชาวอินโดเนเซียเชื้อสายฮอลันดาที่มีว่า Indo
Europeesch Verbond (IEV)
แต่ว่าพรรคของชาวอินโดเนซียเชื้อสายอาหรับนั้น
ประสบความล้มเหลวในการต่อสู้ เพราะพรรคพึ่งการสนับสนุนของคนรวยมากเกินไป และไม่สามารถแยกตัวออกจากความสัมพันธ์และรูปแบบระบบสังคมของชาวอาหรับฮัดรามีในเขตฮัดรามีของประเทศเยเมน
ซึ่งเป็นบ้านเกิดของชาวอาหรับที่มาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของฮอลันดา
ในหนังสือของนายฮามิด อัลก๊อดรี เขาได้อ้างอิงถึงข้อเขียนของ
J.M.
Pluvier ในหนังสือชื่อ Overict van de Nationalistische
Bewaging in Indonesie พิมพ์ในปี 1942 ซึ่งเขียนไว้ว่า พรรคของชาวอินโดเนซียเชื้อสายอาหรับที่ชื่อว่า
Indo Arabische Verbond (IAV) มีวัตถุประสงค์สร้างความรู้สึกทางเชื้อชาติ
ทั้งในประเทศและต่างระเทศ ว่าชาวอาหรับ ย่อมคือชาวอาหรับ
สมควรที่จะอาศัยอยู่ในดินแดนอาหรับ
นายฮามิด อัลก๊อดรี ได้เสริมเพิ่มเติมความคิดเห็นของเขาว่า พวกเขาชาวเชื้อสายอาหรับเหล่านี้ไม่โยงกับความเป็นจริงในสังคมชาวอินโดเนเซีย ซึ่งลูกหลานชาวเชื้อสายอาหรับ ส่วนใหญ่แล้วได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินโดเนเซีย และถูกตัดออกจากระบบสังคมของชาวอาหรับฮัดรามี
ชาวอินโดเนเซียเชื้อสายอาหรับในอินโดเนเซียไม่สามารถตัดขาดจากดินดนฮัดราเมาต์
เฉกเช่นเดียวกันกับคนจีนในอินโดเนเซียที่ไม่สามารถตัดขาดจากแผ่นดินจีนได้
นอกจากนี้ ชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายอินโด-ยูโร หรือฮอลันดา ที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการยอมรับว่าตัวเองเป็นชาวอินเดียตะวันออกของฮอลันดาซึ่งเป็นบ้านเกิดของตัวเอง
แต่จะถือว่ายุโรปเป็นบ้านเกิดของพวกเขาตลอดไป
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังคงพัฒนาต่อไป ประวัติศาสตร์ยังเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ชาวเชื้อสายอาหรับจำนวนมากที่เป็นสมาชิกของ Indo Arabische Verbond (IAV) ไม่พอใจกับแนวทางของ Indo Arabische Verbond (IAV) อีกต่อไป นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน (Abdul Rahman Baswedan) ผู้ก่อตั้งพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) เป็นหนึ่งในนั้น ก่อนที่ นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน จะก่อตั้งพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1934
เขาได้เรียนรู้กับนาย Liem Koen Hian ซึ่งเป็นผู้นำของหนังสือพิมพ์
Sin Tit Po หนังสือพิมพ์จีนในเมืองสุราบายา และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคของชาวจีนในอินโดเนเซีย
ที่ชื่อว่า พรรคชาวจีนอินโดเนเซีย หรือ Partai Tionghoa Indonesia (PTI) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 1932
ทาง Natalie Mobini Kesheh ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า The Hadrami Awakening: Community and identity in the Netherlands East Indies, 1900-1942 ซึ่งตีพิมพ์นปี 1999 โดยเขียนว่า แนวคิดของ นาย Liem Koen Hian มีอิทธิพลอย่างสูงต่อนายอับดุลราหมาน บาสเวดัน จนต่อมา พรรคชาวจีนอินโดเนเซีย หรือ Partai Tionghoa Indonesia (PTI) ก็กลายเป็นต้นแบบของพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ที่นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน ก่อตั้งขึ้นในอีกสองปีต่อมา
พรรคชาวจีนอินโดเนเซีย หรือ Partai Tionghoa Indonesia (PTI) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยชาวจีนที่เกิดในอินโดเนเซีย
ขณะนั้นยังมีชื่อว่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ (Netherlands
East Indies) พวกคนจีนหล่านั้นถือว่าอินเดียตะวันออกของดัตช์เป็นบ้านเกิดของพวกเขา
พวกเขาต้องมีความจงรักภักดีต่ออินเดียตะวันออกของดัตช์ ด้วยไม่เพียงแต่เป็นสถานที่เกิด
แต่ยังเป็นสถานที่ทำมาหากินอีกด้วย
ทัศนคติของพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน
ดังนั้นชาวอาหรับกลุ่มนี้จึงถือว่า ดินแดนอินเดียตะวันออกของดัตช์ เป็นดินแดนที่เกิดและสถานที่ทำมาหากิน
ดังนั้นจึงสมควรที่จะต้องมีความ
จงรักภักดีต่อดินแดนนี้ มากกว่าที่จะเป็นดินแดนฮาดราเมาต์
ซึ่งเป็นดินแดนของบรรพบุรุษอีกต่อไป
เหตุการณ์การก่อเกิดของพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) นั้น ตามที่ทราบแล้วว่า เป็นวันที่ 4 ตุลาคม 1934 เป็นการพบปะของชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายอาหรับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนหนุ่มสาว ที่ถือว่ามาตุมิของเขา คืออินโดเนเซีย ไม่ใช่ดินแดนฮาดราเมาต์ของบรรพบุรุษ ในปี 1934 ยังไม่มีคำว่า พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) จะมีก็แต่สมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia)
อับดุลราหมาน
สเวดัน
คำว่า พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย
(Partai
Arab Indonesia) เกิดขึ้นในการประชุมใหญ่ครั้งที่
4 ของสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย
(Persatoen Arab Indonesia) เมื่อการประชุมใหญ่ระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 1940
ในสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia) เองก็มีการถกเถียงกันภายในว่า
สมควรที่จะจงรักภักดีใครระหว่างดินแดนอินเดียตะวันออกของดัตช์ที่เป็นดินแดนที่เกิด
กับดินแดนฮาดราเมาต์ ซึ่งเป็นดินแดนขงรรพบุรุษ
นายฮามิด อัลก๊อดรี ได้เขียนในหนังสือชื่อว่า Mengarungi Indonesia: Memoar Perintis Kemerdekaan พิมพ์ในปี 1999 เขาเขียนว่าพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ครั้งแรกที่ก่อตั้งขึ้นคือสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia) โดยได้เปลี่ยนชื่อภายหลัง ช่วงแรกของการก่อตั้งคือ การรวบรวมลูกหลานเชื้อสายอาหรับที่แตกออกเป็นกลุ่ม เป็นก๊ก
ฮามิด อัลก๊อดรี
นายฮามิด
อัลก๊อดรี เขียนเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้คนเชื้อสายอาหรับเกิดความขัดแย้งกันระหว่างสองกลุ่ม
กลุ่มอัลอีรชาดและอัร์รอบีฏะห์ และการก่อตั้งสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab
Indonesia) ทำให้คนเชื้อสายอาหรับ
ลดความขัดแย้งขึ้น และมีสมาชิกของทั้งสองกลุ่มได้เข้าร่วมกับสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย
(Persatoean Arab
Indonesia) มากขึ้น
ในกลุ่มชาวเชื้อสายอาหรับเป็นที่รับรู้ว่าสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย
อยู่ตรงขามกับกลุ่มเชื้อสายาหรับที่ใช้ชื่ว่า Indo Arabische Beweging (IAB) ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับช่วงต่อเนื่องจาก Indo Arabische Verbond (IAV) ผู้นำของ Indo
Arabische Beweging (IAB) คือ นาย M.B.A. Alamudi ซึ่งเดิมก็เป็นคนก่อตั้ง Indo Arabische Verbond (IAV) นาย M.B.A. Alamudi กล่าวว่า
ลัทธิชาตินิยมเป็นสิ่งที่อันตราย และไม่เป็นสิ่งที่ดี ภายหลัง นาย M.B.A.
Alamudi
มีความใกล้ชิดกับฮอลันดามาก
ทาง Suranta
Abdul Rahman ได้เขียนบทความชื่อว่า Diplomasi RI di Mesir
dan Negara-negara Arab ลงในวารสารชื่อd Wacana (เล่มที่ 9 ฉบับที่ 2 ตุลาคม2007)
เขาเขียนว่า หลังจากได้รับเอกราชของอินโดนีเซีย ทางฮอลันดา ได้แต่งตั้งให้
นาย M.B.A. Alamudi เป็นสายลับให้ฮอลันดา
โดยมีบุคลต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ Ali bin Sungkar, Abdul Kadir Audah, Ahmad
Martak และ Zein Bajeber โดยนาย M.B.A.
Alamudi ดูว่ามีประเทศในตะวันออกกลางใดบาง
ที่สนับสนุนอินโดนีเซียอย่างไร
สิ่งที่ นายอับดุลราหมาน
บาสเวดัน (Abdul Rahman Baswedan) ทำนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
ไม่ใช่ชาวอาหรับทุกคนในยุคอาณานิคมมีความกระตือรือร้นและเข้าร่วมกับพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย
(Partai Arab Indonesia)
พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) มีบทบาททางการมืองพอสมควร พรรคยังมีตัวแทนใน Volksraad (สภาประชาชน) โดยใน Volksraad มีนาย A.S. Alatas เป็นตัวทน ซึ่งนายฮามิด อัลก๊อดรี เขียนว่า นาย A.S. Alatas เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ต่อมาภายหลังพรรคถูกยุบ และสมาชิกได้กระจักระจายไปสังกัดพรรคการเมืองต่างๆ
อับดุลราหมาน
สเวดัน
ในปัจจุบันบุตรชายของนายอับดุลราหมาน บาสเวดัน (Abdul Rahman Baswedan) คือนายอานิส บาสเวดัน (Anies Baswedan) ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา
Tiada ulasan:
Catat Ulasan