Jumaat, 28 Oktober 2022

นางคอยรียะห์ ฮาชิม ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกในนครมักกะห์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

นางคอยรียะห์ ฮาชิม ได้เขียนไว้ในบทความที่ชื่อว่า "ประเด็นพื้นฐานของความเข้าใจระหว่างสำนักคิด (มัซฮับ)และความอดทนของพวกเขา" ซึ่งเขียนลงใน นิตยสาร Gema Islam ในเดือนสิงหาคม 1962 โดยเธอเขียนว่า "ในฐานะคนรับช่วงต่อทางประวัติศาสตร์ ไม่มีวิธีอื่นใด ในการพัฒนาสังคมมุสลิมภายใต้การเข้าใจกันระหว่างสำนักคิด นอกจากการศึกษาและขยันหมั่นเพียร"

 

นักการศาสนาสตรีผู้นี้ได้เขียนหนังสือเพื่อเผยแพร่ศาสนาต่อสาธารณชนในอินโดนีเซีย จนถึงกลางศตวรรษที่ 20 งานเขียนของเธอยังมีความพิเศษและความแตกต่างจากงานเขียนของผู้หญิงทั่วไปในนิตยสารอิสลามในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยปกติงานเขียนของสตรีจะกล่าวถึงธรรมชาติของผู้หญิงและบทบาทของผู้หญิงในฐานะแม่และผู้ให้ความรู้แก่เด็กในครอบครัวเท่านั้น

แต่นางคอยรียะฮ์ได้เขียนงานเขียนที่ออกนอกแนวทางดังกล่าว เธอจะเขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการเข้าใจกัน หรือขันติธรรมในการน้อมรับและฝึกฝนการตีความคำสอนของอิสลาม บทความในนิตยสาร Gema Islam ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สื่อถึงคุณภาพของนักการศาสนาคนนี้

 

นางคอยรียะห์ ฮาชิม เกิดที่เมืองจอมบังในปี 1906 เป็นบุตสาวที่สองของนายฮาชิม อัชอารี และนางนาฟีกะห์ นางคอยรียะห์ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับอิสลามโดยตรงจากการสอนของบิดาของเธอ  นางคอยรียะห์ ฮาชิม เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้แต่งงานกับนายมักซุม  อาลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของบิดาของเธอ  ในปี 1921 เธอได้เคียงข้างสามี เพื่อเปิดโรงเรียนสอนศาสนาตามคำสนับสนุนของบิดาของเธอ  ในปี 1933 สามีของเธอได้เสียชีวิตลง

เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอต้องเป็นผู้นำของโรงเรียนสอนศาสนาที่ชื่อว่า โรงเรียนเซบลัค แทนที่สามีของเธอที่ชื่อว่า นายมักซุม อาลี ซึ่งได้เสียชีวิตลง นับเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงได้เป็นผู้นำของโรงเรียนสอนศาสนาที่มีนักเรียนเป็นผู้ชาย

 

ความรอบรู้ด้านอิสลามของนางคอยรียะฮ์นับว่ามีสูงมาก จนทำให้น้องชายของเธอที่ชื่อว่า นายยูซุฟ ฮาชิม ถึงกับขนานนามนางคอยรียะห์ ฮาชิม ว่า Kyai Putri หรือนักการศาสนาสตรี แม้ว่านางคอยรียะห์ ฮาชิม จะมีส่วนร่วมในงานเผยแพร่ศาสนาและการศึกษาของอิสลามมีอย่างมากมาย แต่เรื่องราวชีวิตของเธอกลับไม่เป็นที่รับรู้มากนัก

 

แม้ว่าวิถีชีวิตของเธอจะไม่เหมือนใคร นางคอยรียะห์ ฮาชิม เป็นหนึ่งในตัวละครหญิงไม่กี่ตัวที่มีประสบการณ์ที่ปกติจะเป็นของผู้ชาย  ในปี 1938 เธอแต่งงานเป็นครั้งที่สอง เธอไปติดตามสามีไปยังประเทศซาอุดีอาราเบีย

นางคอยรียะห์ ฮาชิม ใช้ชีวิตในประเทศซาอุดีอาราเบียเพื่อการศึกษาและการสอน โดยเขาอาศัยอยู่ในนครมักกะห์เป็นเวลา 19 ปีและกลายเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการศึกษาสำหรับผู้หญิงในซาอุดีอาระเบีย มีคนไม่มากที่รู้ว่านางคอยรียะห์ ฮาชิม เป็นนางระเด่นอายูการ์ตีนี (Raden Ayu Kartini) แห่งนครมักกะห์  นางระเด่นอายูการ์ตีนี ถือเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาสำหรับสตรีในประเทศอินโดเนเซีย

 

คุณ Eka Srimulyani ได้เขียนลงใน Women from Educational Islamic Institutions in Indonesia (2012) โดยกล่าวถึงนางคอยรียะห์ ฮาชิม แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก โดยอุปสรรคสำคัญคือเป็นการยากที่จะหาแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อติดตามเรื่องราวชีวิตของนางคอยรียะห์ ฮาชิม ในนครมักกะห์

สำหรับข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตของนางคอยรียะห์ ฮาชิม จึงได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้คนจำนวนมากในซาอุดีอาระเบียและอินโดเนเซีย

  

หลังจากนางคอยรียะห์ ฮาชิม เป็นผู้นำโรงเรียนสอนศาสนาเซบลัคได้ 5 ปี นางคอยรียะห์ ฮาชิม แต่งงานกับสามีคนที่สองที่ชื่อว่า นายมูฮัยมีน ทางนางคอยรียะห์ ฮาชิม ก็ได้ติดตามสามีคนที่สองของเธอไปยังนครมักกะห์ในปี 1938  โดยนายมูฮัยมีน ได้สอนที่โรงเรียนดารุลอูลุมในนครมักกะห์  ต่อมานายมูฮัยมีน ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนแทนนายยาซีน อัลฟาดานี

 

ในปี 1942 โรงเรียนดารุลอูลุมได้เปิดชั้นเรียนสำหรับผู้หญิงซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า Madrasa Banat หรือโรงเรียนสำหรับสตรี ตามคำกล่าวของ Muhsin Zuhdi บุตรบุญธรรมของนางคอยรียะห์ ฮาชิม กล่าวว่าเหตุผลในการเปิดโรงเรียนสำหรับผู้หญิงไม่เพียงเพราะผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่มีความจำเป็นต้องให้การศึกษาแก่สตรีด้วย

 

ในปี 1942 เปิดโรงเรียนสำหรับสตรี โดยใช้ชื่อว่า Madrasah Banat โดยเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนดารุลอูลุม ในปี 1956 เมื่อสามีคนที่สองของเธอเสียชีวิต เธอจึงเดินทางกลับไปอินโดเนเซีย เธอได้รับการร้องขอจากอดีตประธานาธิบดีอินโดเนเซีย มากลับมาขยายโรงเรียนสอนศาสนา  ส่วนนางคอยรียะห์ ฮาชิม เมื่อกลับอินโดเนเซีย ก็ได้กลับมาพัฒนาโรงเรียนสอนศาสนาในเขตเซบลัค

 

สำหรับการเรียนการสอนของโรงเรียนสำหรับสตรี หรือ Madrasah Banat มีการกล่าวว่าสองแห่ง บางคนบอกว่าอยู่ในซุกัลไลล์ (Suq al Lail) หรือทางตะวันออกของมัสยิดอัลฮาราม แต่ในขณะที่บางคนบอกว่าอยู่ในมิสฟาละห์ (Misfalah) หรือทางใต้ของมัสยิดอัลฮาราม  Haram) นอกจากนางคอยรียะห์ ฮาชิมแล้ว ยังมีครูสตรีอีกหลายท่านที่โรงเรียนสำหรับสตรี หรือ Madrasah Banat 

 

เช่น นางยี อับดุลลอฮ ฟาลิมบัน (Jee Abdallah Falimban) ภรรยาของเชคมูฮัมหมัด ฮุสเซน อัล ฟาลิมบัน (Syekh Muhammad Hussain al Falimban) ซึ่งเป็นครูที่โรงเรียนดารุลอูลุมเช่นกัน จากนั้นเชคมูฮัมหมัด ฮุสเซน อัล ฟาลิมบัน ได้ก่อตั้งโรงเรียนอีกแห่งให้กับภรรยาของเขาในนครมักกะห์ ชื่อว่าโรงเรียนมัดราซะห์อัลฟาละห์ อัลอะห์ลลียะห์ หรือ Madrasa al Fatah al Ahliyah ในปี 1947 และครูของโรงเรียนดารุลอูลุมอีกคน คือ นายยาซีน ฟาดานี ก็เปิดโรงเรียนสำหรับสตรีอีกแห่งให้กับภรรยา

  

การเปิดโรงเรียนสำหรับสตรีของชาวมลายูในนครมักกะห์นับว่าก้าวหน้ากว่าคนซาอุดีอาราเบียเอง ด้วยเจ้าหญิงอิฟฟัต ราชินีของกษัตริย์ไฟซอล กษัตริย์แห่งซาอุดีอาราเบียเอง ได้เปิดโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้นในเมืองเจดดะห์ในปี 1965 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนดารุลฮานัน (Darul Hanan)

 

อ้างอิง

Tika Ramadhini,Khairiyah Hasyim, Pendiri Sekolah Perempuan Pertama di Makkah, https://tirto.id

 

Pandu Hidayat, Mengenal Khairiyah Hasyim, Penggagas Sekolah Perempuan Pertama di Makkah, https://www.goodnewsfromindonesia.id/



Sabtu, 15 Oktober 2022

พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia)

 โดย  นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ในหมู่ชาวชาวอินโด-ยูโรเปียน หรือชาวอินโดเนเซีย ที่มีเชื้อสายฮอลันดา ก็จะมีพรรคการเมืองเนของตนเอง โดยใช้ชื่ว่า พรรค Indo Europeesch Verbond (IEV) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1919 และในหมู่ชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายอาหรับก็จะมีพรรคการเมืองของตนเอง ภายใต้ชื่อพรรคว่า Indo Arabische Verbond (IAV) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1930

 

นายฮามิด อัลก๊อดรี (Hamid Algadri) ได้เขียนลงในหนังสือชื่อว่า Politik Belanda terhadap Islam dan Keturunan Arab di Indonesia หรือว่า การเมืองฮอลันดาที่มีต่อศาสนาอิสลามอิสลามและคนเชื้อสายอาหรับในอินโดเนเซีย ซึ่งพิมพ์เมื่อ 1988 เขาได้เขียนว่า พรรคของชาวอินโดเนซียเชื้อสายอาหรับที่ชื่อว่า Indo Arabische Verbond (IAV) ได้เลียนแบบพรรคของชาวอินโดเนเซียเชื้อสายฮอลันดาที่มีว่า Indo Europeesch Verbond (IEV)

 

แต่ว่าพรรคของชาวอินโดเนซียเชื้อสายอาหรับนั้น ประสบความล้มเหลวในการต่อสู้ เพราะพรรคพึ่งการสนับสนุนของคนรวยมากเกินไป และไม่สามารถแยกตัวออกจากความสัมพันธ์และรูปแบบระบบสังคมของชาวอาหรับฮัดรามีในเขตฮัดรามีของประเทศเยเมน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของชาวอาหรับที่มาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของฮอลันดา


ในหนังสือของนายฮามิด อัลก๊อดรี เขาได้อ้างอิงถึงข้อเขียนของ  J.M. Pluvier ในหนังสือชื่อ Overict van de Nationalistische Bewaging in Indonesie พิมพ์ในปี 1942 ซึ่งเขียนไว้ว่า พรรคของชาวอินโดเนซียเชื้อสายอาหรับที่ชื่อว่า Indo Arabische Verbond (IAV) มีวัตถุประสงค์สร้างความรู้สึกทางเชื้อชาติ ทั้งในประเทศและต่างระเทศ ว่าชาวอาหรับ ย่อมคือชาวอาหรับ สมควรที่จะอาศัยอยู่ในดินแดนอาหรับ

 

นายฮามิด อัลก๊อดรี ได้เสริมเพิ่มเติมความคิดเห็นของเขาว่า พวกเขาชาวเชื้อสายอาหรับเหล่านี้ไม่โยงกับความเป็นจริงในสังคมชาวอินโดเนเซีย ซึ่งลูกหลานชาวเชื้อสายอาหรับ ส่วนใหญ่แล้วได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินโดเนเซีย และถูกตัดออกจากระบบสังคมของชาวอาหรับฮัดรามี


 ชาวอินโดเนเซียเชื้อสายอาหรับในอินโดเนเซียไม่สามารถตัดขาดจากดินดนฮัดราเมาต์ เฉกเช่นเดียวกันกับคนจีนในอินโดเนเซียที่ไม่สามารถตัดขาดจากแผ่นดินจีนได้ นอกจากนี้ ชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายอินโด-ยูโร หรือฮอลันดา ที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการยอมรับว่าตัวเองเป็นชาวอินเดียตะวันออกของฮอลันดาซึ่งเป็นบ้านเกิดของตัวเอง แต่จะถือว่ายุโรปเป็นบ้านเกิดของพวกเขาตลอดไป

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังคงพัฒนาต่อไป ประวัติศาสตร์ยังเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ชาวเชื้อสายอาหรับจำนวนมากที่เป็นสมาชิกของ Indo Arabische Verbond (IAV)  ไม่พอใจกับแนวทางของ  Indo Arabische Verbond (IAV) อีกต่อไป นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน (Abdul Rahman Baswedan) ผู้ก่อตั้งพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) เป็นหนึ่งในนั้น ก่อนที่ นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน จะก่อตั้งพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1934

เขาได้เรียนรู้กับนาย Liem Koen Hian ซึ่งเป็นผู้นำของหนังสือพิมพ์ Sin Tit Po หนังสือพิมพ์จีนในเมืองสุราบายา และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคของชาวจีนในอินโดเนเซีย ที่ชื่อว่า พรรคชาวจีนอินโดเนเซีย หรือ Partai Tionghoa Indonesia (PTI) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 1932

 

ทาง Natalie Mobini Kesheh ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า The Hadrami Awakening: Community and identity in the Netherlands East Indies, 1900-1942 ซึ่งตีพิมพ์นปี 1999 โดยเขียนว่า  แนวคิดของ นาย Liem Koen Hian มีอิทธิพลอย่างสูงต่อนายอับดุลราหมาน บาสเวดัน จนต่อมา  พรรคชาวจีนอินโดเนเซีย หรือ Partai Tionghoa Indonesia (PTI) ก็กลายเป็นต้นแบบของพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ที่นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน ก่อตั้งขึ้นในอีกสองปีต่อมา

พรรคชาวจีนอินโดเนเซีย หรือ Partai Tionghoa Indonesia (PTI) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยชาวจีนที่เกิดในอินโดเนเซีย ขณะนั้นยังมีชื่อว่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ (Netherlands East Indies) พวกคนจีนหล่านั้นถือว่าอินเดียตะวันออกของดัตช์เป็นบ้านเกิดของพวกเขา พวกเขาต้องมีความจงรักภักดีต่ออินเดียตะวันออกของดัตช์ ด้วยไม่เพียงแต่เป็นสถานที่เกิด แต่ยังเป็นสถานที่ทำมาหากินอีกด้วย

 

ทัศนคติของพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นชาวอาหรับกลุ่มนี้จึงถือว่า ดินแดนอินเดียตะวันออกของดัตช์ เป็นดินแดนที่เกิดและสถานที่ทำมาหากิน ดังนั้นจึงสมควรที่จะต้องมีความ

 

จงรักภักดีต่อดินแดนนี้ มากกว่าที่จะเป็นดินแดนฮาดราเมาต์ ซึ่งเป็นดินแดนของบรรพบุรุษอีกต่อไป

 

เหตุการณ์การก่อเกิดของพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) นั้น ตามที่ทราบแล้วว่า เป็นวันที่ 4 ตุลาคม 1934 เป็นการพบปะของชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายอาหรับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนหนุ่มสาว ที่ถือว่ามาตุมิของเขา คืออินโดเนเซีย ไม่ใช่ดินแดนฮาดราเมาต์ของบรรพบุรุษ ในปี 1934 ยังไม่มีคำว่า พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia)  จะมีก็แต่สมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia)

                                    อับดุลราหมาน  สเวดัน

คำว่า พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) เกิดขึ้นในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 ของสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoen Arab Indonesia)  เมื่อการประชุมใหญ่ระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 1940 ในสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia) เองก็มีการถกเถียงกันภายในว่า สมควรที่จะจงรักภักดีใครระหว่างดินแดนอินเดียตะวันออกของดัตช์ที่เป็นดินแดนที่เกิด กับดินแดนฮาดราเมาต์ ซึ่งเป็นดินแดนขงรรพบุรุษ

 

นายฮามิด อัลก๊อดรี ได้เขียนในหนังสือชื่อว่า Mengarungi Indonesia: Memoar Perintis Kemerdekaan พิมพ์ในปี 1999 เขาเขียนว่าพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ครั้งแรกที่ก่อตั้งขึ้นคือสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia) โดยได้เปลี่ยนชื่อภายหลัง ช่วงแรกของการก่อตั้งคือ การรวบรวมลูกหลานเชื้อสายอาหรับที่แตกออกเป็นกลุ่ม เป็นก๊ก

                                        ฮามิด อัลก๊อดรี

นายฮามิด อัลก๊อดรี เขียนเพิ่มเติมว่า  ก่อนหน้านี้คนเชื้อสายอาหรับเกิดความขัดแย้งกันระหว่างสองกลุ่ม กลุ่มอัลอีรชาดและอัร์รอบีฏะห์  และการก่อตั้งสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia) ทำให้คนเชื้อสายอาหรับ ลดความขัดแย้งขึ้น และมีสมาชิกของทั้งสองกลุ่มได้เข้าร่วมกับสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Persatoean Arab Indonesia) มากขึ้น

 

 ในกลุ่มชาวเชื้อสายอาหรับเป็นที่รับรู้ว่าสมาคมชาวอาหรับอินโดนีเซีย อยู่ตรงขามกับกลุ่มเชื้อสายาหรับที่ใช้ชื่ว่า Indo Arabische Beweging (IAB) ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับช่วงต่อเนื่องจาก Indo Arabische Verbond (IAV) ผู้นำของ  Indo Arabische Beweging (IAB) คือ นาย M.B.A. Alamudi ซึ่งเดิมก็เป็นคนก่อตั้ง Indo Arabische Verbond (IAV) นาย M.B.A. Alamudi กล่าวว่า ลัทธิชาตินิยมเป็นสิ่งที่อันตราย และไม่เป็นสิ่งที่ดี ภายหลัง นาย M.B.A. Alamudi  มีความใกล้ชิดกับฮอลันดามาก

 

ทาง Suranta Abdul Rahman ได้เขียนบทความชื่อว่า Diplomasi RI di Mesir dan Negara-negara Arab ลงในวารสารชื่อd Wacana (เล่มที่ 9 ฉบับที่ 2 ตุลาคม2007) เขาเขียนว่า หลังจากได้รับเอกราชของอินโดนีเซีย ทางฮอลันดา ได้แต่งตั้งให้ นาย M.B.A. Alamudi เป็นสายลับให้ฮอลันดา โดยมีบุคลต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ Ali bin Sungkar, Abdul Kadir Audah, Ahmad Martak และ Zein Bajeber โดยนาย M.B.A. Alamudi  ดูว่ามีประเทศในตะวันออกกลางใดบาง ที่สนับสนุนอินโดนีเซียอย่างไร

 

สิ่งที่ นายอับดุลราหมาน บาสเวดัน (Abdul Rahman Baswedan)  ทำนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่ชาวอาหรับทุกคนในยุคอาณานิคมมีความกระตือรือร้นและเข้าร่วมกับพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia)

 

พรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) มีบทบาททางการมืองพอสมควร พรรคยังมีตัวแทนใน Volksraad (สภาประชาชน) โดยใน Volksraad มีนาย A.S. Alatas เป็นตัวทน ซึ่งนายฮามิด อัลก๊อดรี เขียนว่า  นาย A.S. Alatas เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารพรรคชาวอาหรับอินโดนีเซีย (Partai Arab Indonesia) ต่อมาภายหลังพรรคถูกยุบ และสมาชิกได้กระจักระจายไปสังกัดพรรคการเมืองต่างๆ

                            อับดุลราหมาน  สเวดัน อานีส  บาสเวดัน

ในปัจจุบันบุตรชายของนายอับดุลราหมาน บาสเวดัน (Abdul Rahman Baswedan)  คือนายอานิส บาสเวดัน (Anies Baswedan) ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา

Khamis, 6 Oktober 2022

ดาโต๊ะเอ อาซีซ เดอรามัน บรรยายเกี่ยวกับภาษามลายูแก่ชมรมโรงเรียนตาดีกาตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เมื่อ 5 ตุลาคม 2022 นอกจากคณาจารย์สาขาวิชามลายูศึกษา มอ ปัตตานี มาเยี่ยมแล้ว ทางดาโต๊ะเอ, อาซีซ เดอรามัน ก็ได้มาเยี่ยมที่บ้านนูซันตารา และในการนี้ ทาง ศูนย์นูซันตารา ร่วมกับ กศน. อำเภอบาเจาะ และสมาคมอารยธรรมมลายูมาเลเซียรัฐกลันตัน (Peradaban) ได้จัดให้ดาโต๊ะเอ, อาซีซ เดอรามัน บรรยายเกี่ยวกับภาษามลายูแก่บรรดาชมรมครูตาดีกา ตำบลบาเจาะ อำเอบาเจาะ โรงเรียนตาดีกาในตำบลบาเจาะ 15 โรง ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมจำนวน 23 คน เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างสมาคมอารยธรรมมลายูมาเลเซียรัฐกลันตัน (Peradaban) กับชมรมตาดีกาในอำเภอบาเจาะ

ดาโต๊ะ เอ. อาซีซ เดอรามัน เกิดเมื่อ 23 กรกฎาคม 1948 เกิดที่กำปงบารู อำเภอปาเซร์ปูเตะห์ รัฐกลันตัน จบการศึกษาระดับริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยมาลายา เป็นนักเคลื่อนไหวทางวรรณกรรม นักเขียน ดาโต๊ะ เอ. อาซีซ เดอรามัน จะใช้นามปากกาว่า A. Aziz Deraman Azidra และAde Putragong  เป็นผู้อำนวยการ เทียบเท่าอธิบดี) คนที่ 7 ของ Dewan Bahasa dan Pustaka ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1994-2004 ซึ่ง Dewan Bahasa dan Pustaka มีสถานะเป็นกรม ที่ดูแลด้านภาษาและวรรณกรรมของมาเลเซีย เป็นกรมที่มีบทบาทสูงมากของมาเลเซีย  ในปี 2001 ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ Profesor kehormat จากมหาวิทยาลัยในประเทศจีน คือ Guangdong University of Foreign Studies เมืองกว่างโจว (Guangzhou)  ได้รับเครื่องราชอิสริยยศ ชั้นดาโต๊ะ (Dato’) จากรัฐกลันตัน และชั้นดาโต๊ะ (Datuk) จากรัฐปีนัง

 

ท่านเขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น




ชมรมโรงเรียนตาดีกาตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

อำเภอบาจาะ จังหวัดนราธิวาส มีโรงเรียนตาดีกาทั้งหวด 50 กว่าโรง โรงเรียนตาดีกาในอำเภอบาเจาะที่ใช้ชื่อว่า โรงเรียนมลายู หรือ Sekolah Melayu นับเป็นจุดเด่นของโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งบ่มพาะวัฒนธรรมมลายู ภาษามลายู และบ่มเพาะจริยธรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ส่วนโรงเรียนตาดีกาในตำบลบาเจาะ มีทั้งหมด 15 โรง เป็นโรงรียนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง โดยเฉพาะโรงเรียนที่ตั้งขึ้นที่มัสยิดดารุสสาลาม บ้านโปฮนมัสตอ ตำบาลบาเจาะ อำเอบาจาะ การบริหารโรงเรียนนี้ค่อนข้างจะดีมาก ในต่ละปี โรงเรียนสามารถส่งอุสตาซ-อุสตาซะห์ ไปทำอุมเราะห์ ที่ประเทศซาอุดีอาราเบียได้ปีละ 2 คน

สำหรับโรงรียนตาดีกา หรือที่ใช้ในอำเภอบาเจาะว่า โรงรียนมลายู (Sekolah Melayu) นั้น สังกัดแต่ละมัสยิดของแต่ละชุมชนในอำเภอบาจาะ ทางสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสได้ร่วมกับอิหม่ามประจำมัสยิด กำหนดให้ทุกมัสยิดที่มีความพร้อม ได้จัดให้มีการเรียนการสอนอิสลามศึกษาภาคบังคับระดับพื้นฐาน(ฟัรฎูอัยนฺ) แก่เยาวชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

         ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ใช้ชื่อว่าศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 จากศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด เป็น ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอน มาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลาในอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย

 

เนื่องจากต้องการให้การจัดการศึกษาเกี่ยวกับอิสลามศึกษาไม่ซ้ำซ้อนและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องในหลักสูตรอิสลามศึกษาที่สูงขึ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดระเบียบว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักบริหารงาน- คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา12 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ได้ดำเนินงานต่อจากกระทรวงมหาดไทย มีการส่งเสริมสนับสนุน นิเทศติดตามและพัฒนาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในความรับผิดชอบมาอย่างต่อเนื่อง มีการประสานงานดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ผู้สอนเป็นผู้นำศาสนาและอาสาสมัครในชุมชน ผู้เรียนเป็นนักเรียนที่เรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชน ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดขึ้นในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล และจัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และสงขลาในอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย เพื่อรับผิดชอบดูแลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)

Ahad, 2 Oktober 2022

นักการศาสนา (อุลามะ) รัฐตรังกานูที่มาจากปาตานี

นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

รัฐตรังกานูกับปาตานี ก็มีความสัมพันธ์ไม่ต่างจากรัฐกลันตันกับปาตานี ทั้งรัฐตรังกานูกับปาตานีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับราชวงศ์ ผู้นำการบริหารรัฐและประชาชนมาอย่างยาวนาน ในช่วงที่ปาตานีร้อนระอุ นักการศาสนาและประชาชนปาตานีจะอพยพหนีไปพึ่งเย็น ดังนั้นจึงมีนักการศาสนา(อุลามะ) ทั้งที่มีต้นกำเนิดมาจากปาตานี และลูกหลานของบุคคลเหล่านั้นจำนวนหนึ่ง ในที่นี้ของนำมาเพียงบางส่วน เช่น

 

1. โต๊ะเชคกอฎี หรือ ฮัจญีวันมูฮัมหมัดอามีน บินวันยะอากู๊บ หัวหน้ากลุ่มชาวปาตานีที่อพยพไปยังรัฐตรังกานูในทศวรรษที่ 1820 หรือหน้านั้น

 

2. เชคดูยง หรือ ฮัจญีวันอับดุลลอฮ บินฮัจญีวันมูฮัมหมัดอามีน บุตรของฮัจญีวันมูฮัมหมัดอามีน บินวันยะอากู๊บ ที่พาบุตรชายมาจากปาตานีด้วย

 

3. เชคอับดุลกาเดร์ บ้านบูกิตบายัส นักการศาสนา (อุลามะ) ที่ร่วมอพยพไปยังรัฐตรังกานูภภายใต้ฮัจญีวันมูฮัมหมัดอามีน บินวันยะอากู๊บ

 

4. เชควันฮัสซัน บินวันอิสฮัก เป็นที่ปรึกษาของเจ้าเมืองเบอซุตที่ชื่อว่า เต็งกูอับดุลกาเดร์ บินสุลต่านมันซูร์ที่ I

 

5. ฮัจญีฮุสเซ็น บินมูฮัมหมัดอามีน บ้านลาปู เมืองเบอซุต

 

6. และอื่นๆ

 

ที่น่าสนใจคือโรงเรียนมัธยมศาสนาสุลต่านไซนัลอาบีดิน เมืองกัวลาตรังกานู ซึ่งผู้ก่อตั้งและเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน คือ อุสตาซอาหมัด มูฮัมหมัดนูร์ ปาตานี จากมักกะห์ โรงเรียนนี้ก่อตั้งในปี 1925 คุณ @awang goneng นักเขียนชาวมาเลเซีย ที่ตั้งถิ่นฐานในกรุงลอนดอน กล่าวว่า ที่ดินของโรงเรียนดังกล่าว ก็มาจากคุณปู่ของเขา ก็มาจากปาตานีด้วย

                                อุสตาซอาหมัด มูฮัมหมัดนูร์ ปาตานี 

การขยายตัวของโรงเรียน โดยรัฐตรังกานูได้ออกกฎหมายเมื่อ 22 ตุลาคม 1980 จัดตั้งวิทยาลัยศาสนาสุลต่านไซนัลอาบีดิน หรือ Kolej Universiti Sultan Zainal Abidin KUSZA (พระราชบัญญัติฉบับที่ 3 ปี 1981) สำหรับนักศึกษาชุดแรกของ วิทยาลัยศาสนาสุลต่านไซนัลอาบีดิน หรือ Kolej Universiti Sultan Zainal Abidin KUSZA เรียนที่ โรงเรียนมัธยมศาสนาสุลต่านไซนัลอาบีดิน ต่อมาวิทยาลัยศาสนาสุลต่านไซนัลอาบีดินได้ย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่ใหม่ และในปี 2006 ได้มีการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยต็มรูปแบบ โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยดารุลอีมานมาเลเซีย (Universiti Darul Iman Malaysia)  ต่อมาในปี 2010 มหาวิทยาลัยด้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นมหาวิทยาลัยสุลต่านไซนาลอาบีดิน (Universiti Sultan Zainal Abidin หรือ UniSZA)

 

จะเห็นถึงความเกี่ยวโยงของ อุสตาซอาหมัด มูฮัมหมัดนูร์ ปาตานี กับความเป็นมาของสถาบันการศึกษาที่ชื่อมหาวิทยาลัยสุลต่านไซนาลอาบีดิน

 

 

Sabtu, 1 Oktober 2022

Gurindam nasihat untuk pemuda Pemudi Patani.

Gurindam nasihat untuk pemuda pemudi Patani.

Wahai pemuda bukailah minda

Mencari ilmu penuhkan dada

 

Wahai pemuda jagailah bahasa

Turutilah teladan ibu bapa

 

Wahai pemuda tahuilah bangsa

Adat resam Melayu dijaga

 

Wahai pemuda sedarilah hati

Nusa bangsamu dan jatidiri

 

Wahai pemuda janganlah sia-sia

Bangsa serumpunmu menuju udara

 

Wahai nusaku pemuda tentukan

Jangan pemuda hanya memimpikan

 

Wahai pemuda pelajarilah agama

Nanti membawamu menuju surga

 

Wahai pemuda janganlah tertidur

Nanti nusamu akan termundur

 

Wahai  pemuda menuju kemajuan

Timbailah segala ilmu pendidikan

 

Wahai  pemuda menuju kemenangan

Timbailah segala ilmu perekonomian

 

Wahai  pemuda carikanlah keberkatan

Membakti tenaga untuk kemasyarakatan

 

Wahai  pemuda carikanlah kesyukuran

Nusa bangsa jadikan sasaran


Hamra Hassan

Patani, Thailand Selatan.