Selasa, 28 Julai 2020

ชนเผ่าจูรุ อีกชนเผ่าที่เป็นชนเผ่าหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์มลายู-โปลีเนเซียในประเทศเวียดนาม

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน 
ชนเผ่าจูรุ  เป็นหนึ่งในห้าชนเผ่าที่จัดอยู่ในจัดอยู่ในตระกูลมลายู-โปลีเนเซียของประเทศเวียดนาม  คำว่า จูรุ ในภาษาเวียดนาม มีความหมายว่า คน  จากการสำรวจประชากรของประเทศเวียดนามในปี 2019 ปรากฏว่า มีประชากรชนเผ่าจูรุ อยู่ 23,242 คน[1]  ชนเผ่าจูรุ เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งในตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวจาม  ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดจังหวัดลำดง ในที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนาม  ภาษาชนเผ่าจูรุ จัดอยู่ในตระกูลกลุ่มภาษาจาม (Chamic language) ซึ่งเป็นสาขาตระกูลกลุ่มภาษามลายู-โปลีเนเซีย   โดยตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย ประกอบด้วยภาษาจาม ภาษาจาไร หรือ เกียไร ภาษาเอเด หรือ ระแด ภาษาจุรู และภาษารักไล ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษามลายู และภาษาอินโดเนเซีย[2]


กล่าวกันว่าในช่วงยุคอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น ผู้นำที่มีอิทธิพลมากที่สุดในพื้นที่เมืองดาลัต ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดลำดง คือชนเผ่าจูรุ  ชนเผ่าจูรุถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ก้าวหน้าที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหลาย เนื่องจากพวกเขามีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับชาวจาม

นอกจากนั้นชาวจูรุยังนำวัตกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างมาจากชาวจาม โดยเฉพาะในด้านการทอผ้าเครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งการไถในปี 1907  ส่วนหนึ่งของชนเผ่าจูรุนับถือศาสนาคริสต์โดยการเผยแพร่ศาสนาของชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์


สำหรับ Vinh Phong[3]  ได้เขียนบทความขึ้น โดยได้กล่าวว่า ชนเผ่าจูรุที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงตอนกลางของประเทศเวียดนามได้อนุรักษ์งานวรรณกรรมและงานศิลปะ ซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีค่ายิ่ง รวมทั้งบทกวีเพลงพื้นบ้านและภาษิตสรรเสริญการปกครองของผู้หญิง สำหรับชนเผ่าจูรุมีเครื่องดนตรีที่ไม่เหมือนใครหลายอย่าง เช่นกลอง ฆ้องและฉาบ  สำหรับฆ้องของชนเผ่าจูรุมีฆ้อง 3 ชุด ในขณะที่กลุ่มชนเผ่าอื่น ๆ เช่นเซดังจะถือฆ้องและเต้นรำไปรอบ ๆ ห้อง แต่ชนเผ่าจูรุจะแขวนฆ้องหรือวางไว้บนชั้นวางเพื่อเล่น


ชนเผ่าจูรุจะประดิษฐ์เครื่องใช้ในครัวเรือนหลายประเภท โดยในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมครอบครัวชนเผ่าจูรุจะเผาเตาเผาเพื่อผลิตภัณฑ์ดินเผา  ชนเผ่าจูรุจะยึดถือประเพณีทางมารดา หรือ matrilineage ดังนั้นสตรีจึงเป็นผู้ปกครองในครอบครัว ผู้หญิงจะตัดสินใจทุกอย่างในครอบครัว เด็กใช้ชื่อสกุลของมารดา ในชุมชนชนเผ่าจูรุบางแห่งยังคงรักษาประเพณีของ "การทาบทามผู้ชายมาเป็นสามี" 

นั้นคือเมื่อหญิงหญิงชนเผ่าจูรุตกหลุมรักกับผู้ชาย พ่อแม่ของเธอจะไปที่บ้านของชายเพื่อทำข้อเสนอการแต่งงาน เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง ครอบครัวของหญิงสาวเลือกวันที่ดีที่จะนำเงินบริจาคมาที่บ้านของผู้ชาย พวกเขาเสนอแหวนแก่ผู้ชาย ถ้าฝ่ายชายยอมสวมแหวน นั้นหมายถึงฝ่ายชายจะยอมรับการแต่งงาน หากเขาปฏิเสธตัวแทนของหญิงสาวกลับบ้าน แต่สัญญาว่าจะกลับมาอีกครั้งจนกว่าครอบครัวของชายจะเห็นด้วย ผู้หญิงที่ยากจนหลายคนไม่สามารถมีสามีได้ หลังจากพิธีแต่งงานเจ้าบ่าวมักอาศัยอยู่กับครอบครัวของเจ้าสาว แต่ในบางสถานการณ์เจ้าสาวจะอยู่กับครอบครัวของเจ้าบ่าว  พิธีฉลองการต้อนรับเจ้าบ่าวเข้าสู่ครอบครัวของเจ้าสาว แม่ของเจ้าสาวจะครอบคลุมผ้าพันคอที่มีคู่เพื่อให้การแต่งงานที่ยาวนานและมีความสุข


นอกจากนั้นมีการกล่าวถึงชนเผ่าจูรุ[4] ว่า ชนเผ่าจูรุมีการดำเนินชีวิตโดยประกอบอาชีพการเกษตรแบบดั้งเดิมด้วยการเพาะปลูกในที่ดินสองชนิด คือดินโคลนและดินแห้ง มีการชลประทานรวมถึงการสร้างคูน้ำคัน คูเขื่อน ฯลฯ ผู้คนมีสวนทั้งในภูเขาและที่บ้าน นิยมการเลี้ยงสัตว์และสัตว์ปีกเป็นที่ การล่าสัตว์ ส่วนงานหัตถกรรมนั้นได้รับการพัฒนา รวมถึงการทอผ้า การถักสานและการทำเครื่องปั้นดินเผา  ส่วนอาหารนั้น อาหารที่สำคัญที่สุดคือข้าว ซึ่งมักปรุงในหม้อดิน อาหารเสริม ได้แก่ ข้าวโพดมันสำปะหลังและมันเทศ อาหารอื่น ๆ ได้แก่ หน่อไม้ป่าผักปลาและเนื้อสัตว์ ผู้ชายและผู้หญิงชอบสูบบุหรี่ยาสูบ ซึ่งปลูกในพื้นที่ของตนเอง


ศาสนสถานและพิธีกรรมของชนเผ่าจูรุ
ส่วน Doan Bich Ngo[5] ได้เขียนบทความถึงศาสนสถานของชนเผ่าจูรุ โดยกล่าวว่า เทพเจ้าของชนเผ่าจูรุคือ Pa Ka Rah โดยเชื่อว่าเป็นเทพผู้พิทักษ์ของชนเผ่าจูรุ  ในตำนานเล่าว่า ในสมัยก่อนชนเผ่าจูรุถูกรังควานโดยชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่ง ดังนั้นชนเผ่าจูรุจึงมีชีวิตที่ลำบาก ทาง Pa Pa Rah ใช้ความแข็งแกร่งและพลังของเขาในการนำชนเผ่าจูรุ เพื่อขับไล่ผู้บุกรุก ยึดคืนดินแดนของบรรพบุรุษ หลังจากขับไล่ศัตรูแล้ว เขาได้สอนผู้คนให้รู้จักการชลประทาน การทำการเกษตรในที่ดิน  ชนเผ่าจูรุได้สร้างศาสนสถานขึ้น คือ Maxara I และ Maxara ll โดยสร้างขึ้นใช้สถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างเรียบง่าย ทำจากไม้ไผ่ไม้และมุงจาก ด้านในเป็นแท่นไม้เพื่อวางสิ่งของบูชาและแท่นบูชา โดยชนเผ่าจูรุจะทำจัดพิธีกรรมปีละครั้งในวันที่ 15 ของเดือน 1 ของปฏิทินจันทรคติ ในวันนี้ชนเผ่าจูรุจะรวมตัวกันที่วัดเพื่อรำลึกถึงเทพเจ้าของพวกเขา ในขณะเดียวกันพวกเขาก็อธิษฐานขอเทพเจ้า เพื่อให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี เพาะปลูกพืชได้ดี มีความมั่งคั่งมากขึ้น


มีการกล่าวถึงชนเผ่าจูรู[6] ว่า เป็นชนเผ่าที่มีภรรยาหรือสามีคนเดียว หรือ  Monogamy ผู้นำหมู่บ้านจะเรียกว่า Po-play เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากลูกบ้าน ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกสามีของเธอเอง โดยสามีจะอาศัยอยู่กับครอบครัวของฝ่ายภรรยา ชนเผ่าจูรุจะเคารพบูชาบรรพบุรุษของพวกเขา แต่ในบ้านไม่มีแท่นบูชา


และ To Dong Hai ได้เขียนบทความลงในนิตยสารทางกฎหมายของประเทศเวียดนาม[7] ได้เขียนถึงชนเผ่าจูรุว่า ชนเผ่าจูรุ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มชาวจาม จึงมีความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องภาษาภาษาและวัฒนธรรม จึงมีการสันนิฐานว่าชนเผ่าจูรุ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาวจามที่อาศัยอยู่ในชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม เป็นกลุ่มซึ่งออกจากถิ่นกำเนิดเดิมเพื่อหาดินแดนใหม่  ในชุมชนจูรุจะมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิญญาณที่แท้จริงของหมู่บ้านคือหมอผีที่เรียกว่า "yuh" หรือ "gru" ซึ่งเป็นผู้จัดระเบียบและดำเนินพิธีกรรมทั้งหมดของชุมชนและครอบครัว  

ในชุมชนชนเผ่าจูรุ เด็ก ๆ จะมีชื่อตระกูลตามชื่อตระกูลของมารดา ทาง To Dong Hai ได้เขียนเพิ่มเติมว่า ตามประเพณีและการปฏิบัติของชนเผ่าจูรุ ในการคิดริเริ่มการแต่งงานนั้น เมื่อผู้หญิงชนเผ่าจูรุ พบผู้ชายที่เธอรัก เธอก็จะแจ้งให้พ่อแม่และครอบครัวของเธอ เพื่อครอบครัวของฝ่ายหญิงจะสู่ขอการแต่งงาน หากครอบครัวของฝ่ายชายยอมรับข้อเสนอ ก็จะมีการจัดพิธีแต่งงานซึ่งครอบครัวของฝ่ายหญิงสาวจะมอบของขวัญให้กับฝ่ายชาย 

การจัดพิธี การทาบทามผู้ชายมาเป็นสามี หรือ ที่เรียกว่า bắt chồng
และจัดทำตามขั้นตอนเพื่อใส่แหวนหมั้นไว้บนนิ้วของฝ่ายชาย ทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับวันแต่งงานและพิธีซึ่งมักจัดขึ้นอย่างเคร่งขรึมเป็นเวลาสามถึงสี่วัน ขึ้นอยู่กับความสามารถทางเศรษฐกิจของครอบครัวฝ่ายเจ้าสาว หลังจากงานแต่งงานเจ้าสาวจะอยู่ในบ้านสามีของเธอเป็นเวลา 15 วันก่อนพาเจ้าบ่าวไปอยู่กับครอบครัวของเธอ สามีตายจะถูกฝังไว้ในสุสานของครอบครัวฝ่ายภรรยาของพวกเขา


กฎหมายจารีตประเพณีของชนเผ่าจูรุ ห้ามมิให้มีการล่วงประเวณี ซึ่งคชนเผ่าจูรุถือว่าเป็นการดูถูกเทพเจ้าและอาจส่งผลกระทบต่อพืช การเลี้ยงโคและความปลอดภัยของหมู่บ้านทั้งหมด ผู้ล่วงประเวณีจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลต่อหน้าศาลจารีตประเพณี แต่สำหรับชนเผ่าจูรุร่ำรวยนั้น สามารถที่จะมีเมียน้อยได้ ถ้าได้รับการยินยอมจากภรรยาหลวงได้ และแม่ม่ายสามารถแต่งงานกับพี่ชายหรือน้องชายของสามีที่เสียชีวิตของเธอ หลังจากที่ได้ไว้ทุกข์ให้หลังหนึ่งปี ในขณะเดียวกันพ่อม่ายเองก็สามารถแต่งงานกับน้องสาวหรือหลานสาวของภรรยาผู้ล่วงลับได้ เพื่อที่จะอยู่กับครอบครัวของภรรยาต่อไปและใช้ทรัพย์สินของพวกเขา


[1] Report on Results of the 2019 Census General Statistics Office of Vietnam,   
  https://gso.gov.vn
[2] Country Social Analysis Ethnicity and Development in Vietnam, Social Development Unit
  Sustainable Development Department East Asia and Pacific Region The World Bank,14:
  2009.
[3] Vinh Phong, Unique culture of the Churu, https://vovworld.vn,  Thursday, April 27, 2017.
[4] Churu Ethnic Group http://www.tuanlinhtravel.com/
[5] Doan Bich Ngo, Worshipping of Churu People and the legendary Maxara temple,
  https://www.dalattrip.com/
[6] Vietnam War A Memior Ethnic peoples https://vwam.com/
[7] To Dong Hai The “ChuRu” customs and practices, https://vietnamlawmagazine.vn/
  25 Februari 2011.



Tiada ulasan: