โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซีย
เป็นระบบที่น่าสนใจ และประเทศไทย โดยเฉพาะผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายสมควร
ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
ในครั้งนี้
ขอนำเสนอบทความของ ร.ต.อ. นิตภูมิ นวรัตน์ ซึ่งได้เขียนบทความมาหลายปีแล้ว
ในไทยรัฐออนไลน์ แม้จะหลายปี แต่บทความยังสามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบ
นำมาประยุกต์กับประเทศไทยได้ บทความในหัวข้อ "การศึกษามาเลเซียไปรอดเพราะ...? " เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (https://www.thairath.co.th/content/478369) มเนอหาดังนี้ :-
ศุกร์ที่ผ่านมา
ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ได้รับเชิญจาก Mr. K.Haridas, Executive Director ของ The Association for the promotion of Higher Education in
Malaysia (APHEM) พูด ‘Education in Thailand and a life of
a Thai Educationalist’ รับใช้ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูชาวมาเลเซียและครูนานาชาติ ที่ห้องประชุมใหญ่โรงเรียนนานาชาติไฮแลนด์ส รัฐปาหัง
สหพันธรัฐมาเลเซีย
5
วันของการไปเยือนสถานศึกษามาเลเซียของ ร.ต.อ. ดร.นิติภูมิและคณะในครั้งนี้
ทำให้พวกเรายอมรับในความมุ่งมั่นด้านการศึกษาของมาเลเซียเพิ่มขึ้น มาเลเซียมุ่งมั่นเรื่องการศึกษามาตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีคนที่
1 ตนกู อับดุล ราห์มาน ปุตรา มาจนถึงคนที่ 6 ดาโต๊ะศรี มุฮำหมัด นาจิบ ตุน
อับดุลราซัก ผมจะไม่รับใช้นะครับ ว่าการศึกษาของไทยเป็นยังไง
เพราะไม่อยากซ้ำเติมระบบการศึกษาที่เปลี่ยนไปมาจนหาจุดยืนไม่ได้ การศึกษาของหลายประเทศในโลกนี้เสียหายเพราะให้โรงเรียนสอบวัดผลกันเองอย่างไม่มีมาตรฐาน
แต่การศึกษาของมาเลเซียยังคงได้มาตรฐานเพราะให้ทั้งประเทศใช้ข้อสอบรวม
ตั้งแต่ระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนไหนสอนไม่ดี
ผลงานการสอนการเรียนก็จะฟ้องโดยจำนวนสอบได้สอบตกของนักเรียน
บ้านผมที่ลาดกระบังมีครูและผู้บริหารสถานศึกษาของออสเตรเลียมาอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี
บางท่านไปๆ กลับๆ
ฝรั่งจำนวนไม่น้อยที่มาอยู่บ้านผมเพื่อเป็นฐานใช้ไปสอนที่ประเทศอื่น
ชาวออสเตรเลียท่านหนึ่งซึ่งทำงานกับพ่อผมเป็นเวลาเกือบ 10 ปีคือ Mr.Garry W.
Holmes พอประเทศไทยมีปฏิวัติรัฐประหาร คุณแกรีก็ออกจากประเทศไทย ไปรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ภาษาอังกฤษของโรงเรียนในมาเลเซียในรัฐปาหัง
เจอกันที่มาเลเซียครั้งนี้
คุณแกรีตอบคำถามเราในเรื่องมาตรฐานการศึกษาของมาเลเซียเมื่อเทียบกับของประเทศอื่นว่า
มาเลเซียไม่อ่อนข้อเรื่องการสอบ ข้อสอบที่ใช้ตรวจว่าเด็กจะต้องได้คุณภาพเท่ากับข้อสอบของอังกฤษและของประเทศอื่นในเครือจักรภพ
Dr.Robert
Royal และภรรยา
สอนหนังสือชั้นมัธยมในสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐตุรกีอยู่นาน
จากนั้นถูกดึงตัวให้ไปเป็นผู้บริหารหลักสูตรให้โรงเรียนในมณฑลหยุนหนานของจีน
ปัจจุบัน ดร.โรเบิร์ต รอยัล มาเป็น Director of Studies ให้กับโรงเรียนในมาเลเซีย
ผัวเมียคู่นี้พูดตรงกันว่า มาเลเซียมีดีตรงข้อสอบกลาง
นักเรียนต้องสอบด้วยข้อสอบเดียวกันทั้งประเทศ
ทำให้สามารถรักษามาตรฐานการศึกษาเอาไว้ได้
โรงเรียนประถมของมาเลเซียมี
2 แบบ แบบที่เรียกว่า National
School เป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางในการเรียน การสอน
ส่วน National Type School เป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษาจีน
หรือภาษาทมิฬเป็นภาษากลางในการเรียนการสอน
ในหลายประเทศ
ผู้ปกครองและรัฐบาลพยายามเร่งให้เด็กเรียนจบไวๆ บางแห่งมีการพาสชั้น
แต่ที่มาเลเซียไม่มี มีแต่จะพยายามให้เด็กเรียนจบจบช้าลง
เพื่อให้ได้ความรู้มากขึ้น อย่างโรงเรียนประเภท National Type School นักเรียนอาจจะต้องใช้เวลาเรียนมากขึ้นอีก 1 ปี
เพื่อให้เด็กนักเรียนชาวมาเลเซียที่มีเชื้อสายจีนหรืออินเดีย เรียนมากขึ้นอีก 1 ปี
ประสงค์ก็คือ ให้เด็กเหล่านี้ใช้ภาษามลายูได้ถูกต้องและคล่องแคล่วมากขึ้น
Tiada ulasan:
Catat Ulasan