Selasa, 28 Mei 2019

อักขระต่างๆในภูมิภาคมลายู (นูซันตารา)


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
        อักขระ คือ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย สำหรับใช้แทนหน่วยเสียง ในภาษาหนึ่งๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์ หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ)

แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง   อักษรที่ใช้ในภาษาต่างๆ อาจใช้สำหรับภาษาหนึ่งๆ หรือใช้กับหลายๆ ภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น

                                      อักขระเรนจง เกาะสุมาตรา

                                      อักขระบัยบายิน ประเทศฟิลิปปินส์
                                       อักขระชวา  เกาะชวา อินโดเนเซีย
                            หนังสือเขียนด้วยอักขระชวา  เกาะชวา อินโดเนเซีย

                                อักขระลยตาร์ เกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย
                                                    อักขระมากัสซาร์ เกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย
                                     หนังสือเขียนด้วยอักขระบูกิส เกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย
อักขระจามตะวันตก (ประเทศกัมพูชา)

                                 อักขระจามตะวันออก (ประเทศเวียดนาม)
ในภูมิภาคมลายู หรือนูซันตารา มีอักขระอยู่จำนวนมาก  ที่ใช้ในการเขียน  ในปัจจุบันยังคงมีบางส่วนที่ใช้อักขระดังกล่าวในการเขียนภาษาของตนเอง

อักขระกาวี
        รู้จักในชื่อ อักขระชวาโบราณ เป็นอักขระแรกๆที่ใช้ในการเขียนในภูมิภาคมลายู เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 8 ใช้เขียนในภาษากาวี เป็นภาษาที่ชาวชวาพูดกันในสมัยนั้น
        อักขระกาวี เดิมมาจากอักขระวังกี (Vangki/Wenggi) เป็นอักขระของคนปัลลาวา จากเมือง Coromandel อินเดีย   อักขระนี้สูญหายไปในปี ค.ศ.1400

คนมลายูในอดีตจะใช้อักขระกาวี  ปัลลาวา และเรนจงในการเขียนบนเปลือกไม้ ใบลาน  โลหะ และศิลาจารึก

อักขระปัลลาวา มีแหล่งกำเนิดมาจากอินเดียตอนใต้ 
เป็นอักขระที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ภูมิภาคมลายู  เพราะเป็นต้นกำเนิดของบรรดาอักขระต่างๆในภูมิภาคมลายู

อักขระในภูมิภาคมลายู
อักขระปัลลาวา
              -ปัลลาวายุคต้น
              -ปัลลาวายุคปลาย
              -อักขระซุนดาโบราณ    
              -อักขระซุนดาสมัยใหม่      

อักขระกาวี
           -อักขระกาวียุคต้น
           - อักขระกาวียุคปลาย
           - อักขระชวา     อักขระบาหลี  

อักขระสุมาตรา   อักขระสุลาเวซี   อักขระฟิลิปปินส์
           -อักขระบาตักอักขระบูกิส, อักขระกาฆางา, อักขระบัยบัยยิน              

Ahad, 26 Mei 2019

การศึกษามาเลเซียไปรอดเพราะ...? จากบทความนิิภูมิ นวรัตน์


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
    ระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซีย เป็นระบบที่น่าสนใจ และประเทศไทย โดยเฉพาะผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายสมควร ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย  
ในครั้งนี้ ขอนำเสนอบทความของ ร.ต.อ. นิตภูมิ นวรัตน์ ซึ่งได้เขียนบทความมาหลายปีแล้ว ในไทยรัฐออนไลน์ แม้จะหลายปี แต่บทความยังสามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบ นำมาประยุกต์กับประเทศไทยได้ บทความในหัวข้อ "การศึกษามาเลเซียไปรอดเพราะ...? " เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (https://www.thairath.co.th/content/478369)  มเนอหาดังนี้ :-

ศุกร์ที่ผ่านมา ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ได้รับเชิญจาก Mr. K.Haridas, Executive Director ของ The Association for the promotion of Higher Education in Malaysia (APHEM) พูด ‘Education in Thailand and a life of a Thai Educationalist’ รับใช้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูชาวมาเลเซียและครูนานาชาติ ที่ห้องประชุมใหญ่โรงเรียนนานาชาติไฮแลนด์ส รัฐปาหัง สหพันธรัฐมาเลเซีย

5 วันของการไปเยือนสถานศึกษามาเลเซียของ ร.ต.อ. ดร.นิติภูมิและคณะในครั้งนี้ ทำให้พวกเรายอมรับในความมุ่งมั่นด้านการศึกษาของมาเลเซียเพิ่มขึ้น มาเลเซียมุ่งมั่นเรื่องการศึกษามาตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ตนกู อับดุล ราห์มาน ปุตรา มาจนถึงคนที่ 6 ดาโต๊ะศรี มุฮำหมัด นาจิบ ตุน อับดุลราซัก ผมจะไม่รับใช้นะครับ ว่าการศึกษาของไทยเป็นยังไง เพราะไม่อยากซ้ำเติมระบบการศึกษาที่เปลี่ยนไปมาจนหาจุดยืนไม่ได้ การศึกษาของหลายประเทศในโลกนี้เสียหายเพราะให้โรงเรียนสอบวัดผลกันเองอย่างไม่มีมาตรฐาน

แต่การศึกษาของมาเลเซียยังคงได้มาตรฐานเพราะให้ทั้งประเทศใช้ข้อสอบรวม ตั้งแต่ระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนไหนสอนไม่ดี ผลงานการสอนการเรียนก็จะฟ้องโดยจำนวนสอบได้สอบตกของนักเรียน

บ้านผมที่ลาดกระบังมีครูและผู้บริหารสถานศึกษาของออสเตรเลียมาอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี บางท่านไปๆ กลับๆ ฝรั่งจำนวนไม่น้อยที่มาอยู่บ้านผมเพื่อเป็นฐานใช้ไปสอนที่ประเทศอื่น ชาวออสเตรเลียท่านหนึ่งซึ่งทำงานกับพ่อผมเป็นเวลาเกือบ 10 ปีคือ Mr.Garry W. Holmes พอประเทศไทยมีปฏิวัติรัฐประหาร คุณแกรีก็ออกจากประเทศไทย ไปรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ภาษาอังกฤษของโรงเรียนในมาเลเซียในรัฐปาหัง

เจอกันที่มาเลเซียครั้งนี้ คุณแกรีตอบคำถามเราในเรื่องมาตรฐานการศึกษาของมาเลเซียเมื่อเทียบกับของประเทศอื่นว่า มาเลเซียไม่อ่อนข้อเรื่องการสอบ ข้อสอบที่ใช้ตรวจว่าเด็กจะต้องได้คุณภาพเท่ากับข้อสอบของอังกฤษและของประเทศอื่นในเครือจักรภพ

Dr.Robert Royal และภรรยา สอนหนังสือชั้นมัธยมในสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐตุรกีอยู่นาน จากนั้นถูกดึงตัวให้ไปเป็นผู้บริหารหลักสูตรให้โรงเรียนในมณฑลหยุนหนานของจีน ปัจจุบัน ดร.โรเบิร์ต รอยัล มาเป็น Director of Studies ให้กับโรงเรียนในมาเลเซีย ผัวเมียคู่นี้พูดตรงกันว่า มาเลเซียมีดีตรงข้อสอบกลาง นักเรียนต้องสอบด้วยข้อสอบเดียวกันทั้งประเทศ ทำให้สามารถรักษามาตรฐานการศึกษาเอาไว้ได้

โรงเรียนประถมของมาเลเซียมี 2 แบบ แบบที่เรียกว่า National School เป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางในการเรียน การสอน ส่วน National Type School เป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษาจีน หรือภาษาทมิฬเป็นภาษากลางในการเรียนการสอน

ในหลายประเทศ ผู้ปกครองและรัฐบาลพยายามเร่งให้เด็กเรียนจบไวๆ บางแห่งมีการพาสชั้น แต่ที่มาเลเซียไม่มี มีแต่จะพยายามให้เด็กเรียนจบจบช้าลง เพื่อให้ได้ความรู้มากขึ้น อย่างโรงเรียนประเภท National Type School นักเรียนอาจจะต้องใช้เวลาเรียนมากขึ้นอีก 1 ปี เพื่อให้เด็กนักเรียนชาวมาเลเซียที่มีเชื้อสายจีนหรืออินเดีย เรียนมากขึ้นอีก 1 ปี ประสงค์ก็คือ ให้เด็กเหล่านี้ใช้ภาษามลายูได้ถูกต้องและคล่องแคล่วมากขึ้น