Selasa, 25 Disember 2018

ปริญญาเถื่อนระบาด ลามสู่วงการนักการศึกษามุสลิมภาคใต้

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ในสังคมมุสลิมโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย เมื่อเดือนที่ผ่านมา เดือดด้วยการพูดคุยถึงการรับปริญญาเอกของนักการศึกษาในวงการมุสลิม ว่า รับปริญญาเอกเถื่อน จากสถาบันเถื่อน และ หนึ่งในสถาบันเถื่อน ที่ผลิตปริญญาเอกเถื่อน ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ตามที่ระบุว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้รัฐบาลไม่รับรองนั่นคือ International University of Morality  โดยสถาบันแห่งนี้อ้างว่า จดทะเบียนเป็นสถาบันการศึกษาตามกฎหมาย 6E.5.001 ของรัฐแคลิฟอร์เนีย จากเว็บไซต์ของสถาบันนี้  (www.ium-thai.org) ระบุว่า International University of Morality จดทะเบียนมูลนิธิและสถาบันการศึกษาด้านศาสนา ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.2014

เราจะมาพูดถึงปริญญาเถื่อนระบาดสู่วงการนักการศึกษามุสลิมภาคใต้กันนะครับก่อนอื่นเราขอนิยามคำว่า “ ปริญญาปลอม ปริญญาเถื่อน “ ก่อน คำว่า “ ปริญญาปลอม “ อาจเป็นปริญญา ที่มาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากรัฐ แต่ได้มีการปลอมปริญญาขึ้นมา ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้จบจากสถาบันการศึกษานั้นซึ่งการปลอมนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่ระดับมัธยม จนถึงระดับมหาวิทยาลัย ทำให้แต่ละสถาบัน เมื่อมีคนจบการศึกษา ก็จะต้องมีการตรวจสอบวุฒิการศึกษาจากสถาบันเดิม
ส่วน ปริญญาเถื่อน นั้น เป็นปริญญาที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐ อาจด้วยจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันเถื่อน หรือ สถาบันที่เรียกว่า “ มหาวิทยาลัยห้องแถว”


ปริญญาเถื่อน เกิดขึ้นมานานแล้ว แพร่ระบาดจากส่วนกลาง ปกติจะเกิดขึ้นในหมู่นักการเมืองที่ไม่มีวุฒิการศึกษา มีวุฒิการศึกษาต่ำ แต่ประสบความสำเร็จในทางการเมือง หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ขาดโอกาสในการศึกษา ทำให้ไม่มีวุฒิการศึกษาปัจจุบัน ปริญญาเถื่อน ทั้งปริญญาเอก ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ เริ่มระบาดในหมู่นักการศึกษาในภาคใต้ ทั้งจากนักการศึกษามุสลิม และ นักการศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิม

ล่าสุดเวปไซด์ของ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่16 สิงหาคม 2560 รายงานว่า IUM ดูจะยิ่ง “ไม่ธรรมดา” พบชื่อ ดร. ผู้ที่เคยตกเป็นข่าวว่าถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) บุกทลายพิธีมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ของ มหาวิทยาลัยสันติภาพโลก มีการมอบปริญญาเอก ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ให้บุคคลสำคัญในประเทศไทย จำนวนมากก่อนหน้านี้  Universal Ministries of King’s Collage เป็นองค์กรที่จดทะเบียนในรัฐฟลอริดา ในฐานะเป็นบริษัท (Coporation) เป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนา โดย ดร.คนไทยคนหนึ่ง เกี่ยวข้องเช่นกัน โดยในเอกสารระบุว่า เขาคือ ผู้จดทะเบียนเป็นเจ้าของบริษัท Universal Ministries และเขาเป็นคนสัญชาติไทย ที่อยู่ในสหรัฐ ในฐานะลูกจ้างของ Universal Ministries of King’s Collage


นอกจากนั้นในบล็อกของเขาระบุว่า เขาเป็น Chancellor of Universal Ministries of the King’s College หรือ นายกสภาของ Universal Ministries of the King’s College จากข้อมูลพบว่า ในการมอบปริญญาเอก ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ นอกจากจะมอบกับนักการเมือง นักการศาสนา และผู้นำชุมชนในไทยแล้ว ยังมีการมอบในประเทศกัมพูชา นิวซีแลนด์ แล้ว ยังมีการมอบใน อาคารอิลฮัมเทาเวอร์ ถนนบินไจ กรุงกัวลาลัมเปอร์ อีกด้วย 
              
IIC University of Technology เป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวในประเทศกัมพูชา จากข้อมูลพบว่า ดร.คนไทย  ก็มีส่วนเกี่ยวข้องอีก สถาบันแห่งนี้แม้จะก่อตั้งในประเทศกัมพูชา แต่พบว่ามาหาลูกศิษย์ในประเทศไทย  มีคณะผู้สอนเป็นคนไทย รูปแบบเหมือนกันคล้ายกันจนแทบจะเป็นอันเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม มีการระบุที่ตั้งในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แต่ผู้เขียนยังไม่พบว่ามีการมอบปริญญาเอก ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ให้แก่ผู้นำนักการศึกษา ผู้นำชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรืออาจจะมีก็เป็นได้ โดยใช้จังหวัดสงขลา เป็นฐานขยายลูกค้า

อีกสถาบันคือ World Christian Lahu University  แม้จะไม่เกี่ยวข้องและเคลื่อนไหวในประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวในเมียนมาร์ ไม่แน่ชัดว่าจดทะเบียนที่ไหน แต่เคลื่อนไหวในหมู่ชนเผ่าลาหุ รวมทั้งคนไทยตอนเหนือด้วย โดยมี ดร.คนไทย คนเดียวกันเกี่ยวข้องเช่นกัน พบว่าบางส่วนก็ทำการมอบปริญญา ใน อาคารอิลฮัมเทาเวอร์ ถนนบินไจ กรุงกัวลาลัมเปอร์

Open System Leadership University เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ออกปริญญาเอกเถื่อน ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เถื่อน ที่ผ่านมามอบปริญญาให้นักวิชาการ ผู้นำศาสนาอิสลาม นักการเมืองชื่อดัง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันนี้ก็เฉกเช่นสถาบันเถื่อนอื่นๆ นั้นคือ จะมอบปริญญาเอกเถื่อน ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เถื่อน ให้กับนักการเมืองดัง นักการศึกษา นักวิชาการสถาบันดังในปัตตานี แม้ว่าอาจไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่เพื่อเป็นการสร้างเครดิตให้กับสถาบัน เพื่อจะได้มีผู้สนใจอื่นๆพร้อมจ่ายเงินแลกเศษกระดาษแผ่นหนึ่ง 


ผู้เขียนได้รับการบอกเล่าจากนักการเมืองดังคนหนึ่งที่เสียชีวิตแล้ว บอกว่า "ปริญญาเอก ง่ายมาก แค่เขียนๆๆๆ ให้ได้มาสัก 100 หน้า ทำการสอบภาคนิพนธ์ ก็ได้มา" ซึ่งนักการเมืองผู้นั้น หมายถึง Open System Leadership University 
จากหนังสือพิมพ์มติชน รายวัน ( 26 กรกฎาคม 2556)  รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดเผยรายชื่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่มาเปิดสอนในไทย โดยไม่ได้รับอนุญาต เข้าข่ายผิดกฎหมาย เมื่อเรียนจบแล้วจะไม่ได้รับการรับรองวุฒิด้วย หนึ่งในสถาบันการศึกษานั้นคือ International Academy of Management and Economics (IAME) จากประเทศฟิลิปปินส์

สถาบันแห่งนี้จัดตั้งขึ้นในปี 1979 ต่อมาในปี 1985 ได้รับการรับรองเป็นสถาบันการศึกษาท้องถิ่น โดยคณะกรรมการอุดมศึกษาของฟิลิปปินส์ และในวันที่ 21 มีนาคม 2003 ได้เป็นสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจแรกที่ตั้งอยู่ในเขตมากาตี ของกรุงมะนิลา
แต่ในปี 2012 มีปัญหากับการรับรองปริญญาของคณะกรรมอุดมศึกษา โดยสถาบันสามารถเปิดสอนได้ในระดับอนุปริญญา แต่สถาบันกลับไปเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จนมีค่ำสั่งคณะกรรมการอุดมศึกษาของฟิลิปปินส์ ห้ามสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 


ในเวลาต่อมา แต่สถาบันนี้ไม่ยอมแพ้ กลับไปเปิดสอนปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในฮ่องกง ซึ่งไม่แน่ใจว่าได้รับอนุญาตจากฮ่องกงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ เอง ยังออกมาเรียกร้องไม่ให้ชาวฟิลิปปินส์เรียนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่สถาบันดังกล่าว เพราะรัฐบาลฟิลิปปินส์ ไม่รบรองปริญญาทั้งหลายของสถาบันนั้น  ก่อนจะย้ายจากฟิลิปปินส์ ไปยัง ฮ่องกง ในเดือนเมษายน ปี 2011  ( www.gmanetwork.com)

ทางสถาบันแห่งนี้และ นายเอ็มมานูเอล ที. ซันโตส ผู้ก่อตั้งสถาบัน ได้ฟ้องศาลต่อคณะกรรมการอุดมศึกษาฟิลิปปินส์ ที่ได้ทำการประกาศห้ามการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของสถาบันเมื่อ 28  ตุลาคม 2011 โดยศาลสูงของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ลงมติเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 ได้เห็นชอบกับการปฏิบัติของคณะกรรมการอุดมศึกษาฟิลิปปินส์ (เว็บไซต์คณะกรรมการอุดมศึกษาฟิลิปปินส์ https://ched.gov.ph)
จากการตรวจสอบข้อมูลปรากฏว่า International Academy of Management and Economics (IAME) มีสำนักงานตัวแทนในการหานักศึกษาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ 


และพบว่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้นำการศึกษาเอกชนมุสลิม ข้าราชการครูมุสลิม ข้าราชการนักวัฒนธรรมมุสลิม และนักการศึกษามุสลิม รวมทั้งนักการเมืองมุสลิมหลายคนรับปริญญาเอก ของสถาบันแห่งนี้  ปรากฏการณ์การระบาดปริญญาเอกเถื่อน ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เถื่อน จากสถาบันการศึกษาเถื่อน  โดยเฉพาะในหมู่นักการศึกษามุสลิม ทั้งที่รู้ว่า มันเถื่อน เถื่อนทั้งปริญญา เถื่อนทั้งสถาบัน แต่ก็รับมา เพื่อสร้างเครดิตให้แก่ตนเอง สร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

แถมนักการศึกษามุสลิมบางคน รู้ทั้งรู้ว่า มันปริญญาเถื่อน สถาบันเถื่อน แต่ก็เชิดชู แสดงความยินดี หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ไม่ต้องให้ใครทำลายวงการ การศึกษามุสลิมภาคใต้ เพราะท่านกำลังทำลายวงการการศึกษามุสลิม เอง  .....ถึงเวลาแล้ว ที่สังคมมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องลุกขึ้นมาทำให้วงการการศึกษามุสลิมดีขึ้น.


Rabu, 19 Disember 2018

Anak Gunung : Sebuah Puisi Dari Tanah Patani, Selatan Thailand.

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

Disini dikemukakan sebuah puisi Melayu Patani bertajuk “Anak Gunung”. Puisi ini dimuatkan di dalam buku Antologi Sajak Sajak Tunas-Tunas Menguntum. Buku ini diterbitkan pada Malam Kesusastraan Melayu 2 Tahun 1999 di Patani. Puisi “Anak Gunung” ini dikarang oleh Nurma Yama.

            

Anak Gunung
Biarpun dingin menggigil
Terpaksa melepaskan selimut
Embun kasar menghempas hak salju


Namun………………………
Kewajipan tetap berjalan
Kedengaran nyanian jangkrik
Dipadang kelabu
Ayam jago mendendangkan lagu mardu
Bergantian


Di balik dangau
Dipinggir gunung
Sayap terdengar air terjun


Semua………
Tidak kupeduli
Mataku tetap menumpu
Susu pekat bermutu
Sumber kehidupan harian
Walaupun harga merisaukan


Demi anak isteri
Semua terus berjalan
Beginilah risiko seorang ayah
Dalam era ekonomi merosot.

 


Ahad, 9 Disember 2018

สิ่งที่ได้สัมผัสจากหมู่เกาะมาลูกู ประเทศอินโดเนเซีย

โดยนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

บทความนี้ลงในนิตยสาร ดิอาลามี

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เดินทางไปยังหมูเกาะบันดาไนรา จังหวัดมาลูกู ประเทศอินโดเนเซีย นอกจากเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างทรหด ค่อนข้างยาวไกลแล้ว ยังถือเป็นการเดินทางเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของอินโดเนเซียอีกด้วย หลายๆเรื่องที่เคยสงสัย ไม่ชัดแจ้งเกี่ยวกับอินโดเนเซีย แต่เมื่อเดินทางมาที่จังหวัดมาลูกู ทำให้สิ่งเหล่านั้น ได้รับการอธิบายจากเพื่อนร่วมเดินทางชาวอินโดเนเซีย  จังหวัดมาลูกูเป็นดินแดนที่ชื่อนี้เคยผ่านสายตาของผู้เขียนครั้งแรก เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน 


แต่นึกไม่ถึงว่าวันนี้ผู้เขียนจะได้สัมผัสดินแดนอินโดเนเซียด้านตะวันออกแห่งนี้ ครั้งแรกที่เคยได้ยินชื่อมาลูกู เมื่อครั้งขบวนการสาธารณรัฐมาลูกูใต้ (Republik Maluku Selatan) ขบวนการแบ่งแยกดินแดนออกจากประเทศอินโดเนเซียยังเคลื่อนไหวอยู่ ทางขบวนการแบ่งแยกสาธารณรัฐมาลูกูใต้ได้ยึดอาคารอะไรสักอย่างหนึ่งในประเทศฮอลันดา จนขณะนั้นข่าวดังไปทั่วโลก  สำหรับการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางไปสัมมนาทางวรรณกรรม มีผู้เข้าร่วมมาจากทั้งมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ เช่นท่านยาตีมัน ยูซูฟ (Yatiman Yusuf) อดีตรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ปัจจุบันเป็นเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำ ประเทศเคนยา และประเทศบรูไน    

สำหรับหมู่เกาะมาลูกู เราจะรู้จักในนามของหมู่เกาะเครื่องเทศ แต่เมื่อเดินทางถึงเมืองอัมบน เมืองเอกของจังหวัดมาลูกู ก็ได้สัมผัสถึงการมีอยู่ของภาษามลายูอัมบน  ที่เป็นภาษาซึ่งมีความแตกต่างจากภาษาอินโดเนเซีย ภาษามลายูอัมบนมีความเป็นมาที่ค่อนข้างยาวนานเป็นเวลาหลายร้อยปี  ในหมู่เกาะมาลูกูมีภาษถิ่นประมาณ 70 กว่าภาษา แต่ในบรรดาภาษาเหล่านั้น ยังมีอีกภาษาเรียกว่าภาษามลายูอัมบน สำหรับภาษามลายูนั้นมาจากดินแดนอินโดเนเซียด้านตะวันตก ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการค้าระหว่างหมู่เกาะมลายู ก่อนที่โปรตุเกสจะเดินทางไปยังเกาะเตอร์นาเต ในปี 1512 นั้น ภาษามลายูก็มีการใช้อยู่แล้วที่ดินแดนมาลูกู โดยเป็นภาษากลางในการค้าขาย            


สำหรับภาษามลายูอัมบนนั้นมีความแตกต่างจากภาษามลายูของเกาะเตอร์นาเต ด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเมืองอัมบนนั้นมีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนเกาะเตอร์นาเต ภาษามลายูอัมบนได้รับอิทธิพลมาจากภาษามลายูจากเกาะสุลาเวซี ต่อมาในศตวรรษที่ 16 เมื่อโปร์ตุเกาสยึดครองหมู่เกาะมาลูกู มีคำภาษาโปร์ตุเกสจำนวนมากได้อยู่ในภาษามลายูเมืองอัมบน สุดท้ายเมื่อฮอลันดาเข้าไปยึดครองมาลูกู 


ก็มีการนำคำศัพท์ภาษาฮอลันดาจำนวนมากเข้าไปในภาษามลายูอัมบน ในยุคของฮอลันดานี้แหละ ภาษามลายูอัมบนได้กลายเป็นภาษาที่ใช้ในการสอนที่โรงเรียน โบสถ์คริสต์ และในการแปลพระคัมภีร์ไบเบิล เมื่อมีการประกาศใช้ภาษาอินโดเนเซีย ซึ่งก็มีรากศัพท์มาจากภาษามลายูหมู่เกาะเรียว ก็มีคำศัพท์ภาษาอินโดเนเซียจำนวนมากถูกนำไปใช้ในภาษามลายูอัมบน แต่ได้ปรับสำเนียงให้เข้ากับท้องถิ่น            

แรกเริ่มบาทหลวงฮอลันดาได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษามลายู เพื่อนำไปใช้ยังหมู่เกาะมาลูกู และชาวบ้านได้ท่องพระคัมภีร์ แล้วทำพิธีแบ๊ปติสต์ มีการสันนิฐานว่า ภาษามลายูนี้ถูกนำมาจากเมืองมะละกา เพราะยุคนั้นมีการทำการค้าระหว่างเมืองมะละกากับหมู่เกาะมาลูกู แรกเริ่มภาษามลายูเป็นภาษาตลาด ต่อมาได้กลายเป็นภาษาของเยาวชนรุ่นต่อมา ท้ายสุดได้กลายเป็นภาษาแม่ของชาวคริสต์เมืองอัมบน และส่วนหนึ่งของชาวมุสลิมของเมืองอัมบน 


แต่มีการกล่าวว่าชาวมุสลิมเมืองอัมบนยังคงใช้ภาษาท้องถิ่นของตนเอง ที่เรียกในภาษามลายูอัมบนว่า Bahasa Tanah  หมายถึงภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของหมู่เกาะอัมบน          หลักภาษามลายูอัมบนมีความแตกต่างจากภาษามลายูทั่วไป ส่วนหนึ่งมีความคล้ายกับภาษาต่างๆของยุโรป อาจด้วยภาษามลายูอัมบน ได้รับการเผยแพร่จากชาวยุโรป  บางคำก็ได้รับอิทธิพลมาจากญี่ปุ่น เช่น  

           

มากัน แปลว่า กิน เป็น มากัง             

อีกัน แปลว่า ปลา เป็น อีกัง             

ลาวัน แปลว่า ต่อสู้ เป็น ลาวัง             

บางุน แปลว่า ตื่น เป็น บางง

     

คำเรียกตัว  มีความแตกต่างจากภาษามลายูอื่นๆ เช่น ข้า  ภาษากลางจะเรียก อากู ซายา  แต่ภาษามลายูอัมบน จะเรียกว่า เบตา (ภาษากลางจะหมายถึงคำศัพท์ที่กษัตริย์ใช้)   เธอ  ภาษากลางจะเรียกว่า กามู แต่ภาษามลายูอัมบน จะเรียกว่า อาเล  


ผู้เขียนคุยกับนายวะห์ยูดี  จายา (Wahjudi Djaya) อาจารย์ประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกายะห์มาดา เมืองยอกยาการ์ตา ชาวชวาผู้ร่วมเดินทางว่า นับเป็นเรื่องที่แปลกจากภาษามลายูในหมู่เกาะเรียว บนชายฝั่งสุมาตรา ชายฝั่งเกาะกาลีมันตัน แล้วมาเกาะชวาจะพูดภาษาชวา แต่เลยเกาะชวามา มายังหมู่เกาะมาลูกู กลายมาเป็นภาษามลายู  


เขาบอกว่า นั้นแหละ ภาษามลายูเป็นภาษากลาง หรือ lingua franca ที่ใช้พูดกันทั่วไป ดังนั้น ถ้าใช้ภาษาชวาเป็นภาษาราชการซิจะลำบาก คงจะทะเลาะกันตาย แต่เมื่อใช้ภาษามลายูมาเป็นภาษาอินโดเนเซีย  โดยเพิ่มคำศัพท์ที่ยังไม่มี เอามาจากภาษาท้องถิ่นต่างๆในอินโดเนเซีย  


ทำให้หลายๆพื้นที่จะมีการยอมรับในภาษามลายูที่มาเป็นภาษาอินโดเนเซีย และสำหรับชาวมาลูกูเอง เมื่อใช้ภาษาอินโดเนเซียแล้ว ไม่เป็นการยากสำหรับคนที่พูดภาษามลายูอัมบนอย่างพวกเขาในการฝึกภาษาอินโดเนเซีย             

นอกจากนั้นนายวะห์ยูดี  จายา (Wahjudi Djaya) ยังได้อธิบายถึงการมาตั้งศูนย์อำนาจของฮอลันดาในอินโดเนเซียว่า ในปี 1595 กองเรือฮอลันดา 4 ลำได้เดินทางมายังอินโดเนเซียเป็นครั้งแรก ภายใต้การนำของกัปตัน Cornelis de Houtman โดยเดินทางไปยังบันเต็น เกาะชวา 


โดยเมืองบันเต็นมีท่าเรือพริกไทยดำที่สำคัญของชวาตะวันตก แต่ที่นั่นฮอลันดากลายเป็นศัตรูกับชาวโปร์ตุเกสและชาวพื้นเมือง จนต้องล่าถอยเดินเรือออกไป ต่อมาเกิดความขัดแย้งจนถูกโจมตีจากชาวพื้นเมืองอีกครั้ง จนลูกเรือเสียชีวิต 12 คน กองเรือภายใต้การนำของกัปตัน Cornelis de Houtman จึงเดินทางไปยังเกาะมาดูรา 


หลังจากที่เหลือลูกเรือเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเดินทางกลับฮอลันดา แต่ในการกลับฮอลันดาครั้งนี้ ก็ได้สร้างกำไรจากเครื่องเทศที่นำกลับไปด้วย หลังจากนั้นฮอลันดาจึงส่งกองเรือมายังอินโดเนเซียอีกครั้ง และได้เดินทางมายังหมู่เกาะมาลูกู 


โดยมาตั้งศูนย์อำนาจขึ้นที่เกาะบันดาไนราของจังหวัดมาลูกู  มีการสร้างศูนย์บริหารงานขึ้นมาที่เมืองบันดาไนรา  โดยผู้ว่าการบริษัทอินเดียตะวันออกฮอลันดา หรือ VOC มีชื่อเต็มว่า Vereenigde Oost-Indische Compagnie หรือมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า United East India Company  บริหารงานอยู่ที่อาคาร หรือที่รู้จักกันในนามของราชวังน้อย มีชื่อในภาษาอินโดเนเซียว่า Istana Mini ด้วยอาคารนี้ที่มีลักษณะคล้ายกับราชวังแห่งชาติในเมืองโบโกร์ นั้นด้วย 


เมื่อมีการสร้างราชวังแห่งชาติขึ้นที่เมืองโบโกร์ ก็ได้นำสถาปัตยกรรมของอาคารที่เมืองบันดาไนราไปสร้างที่เมืองโบโกร์ ราชวังน้อยนี้สร้างขึ้นในปี 1622 เป็นศูนย์อำนาจในการปกครองหมู่เกาะบันดาของฮอลันดา มีผู้ว่าการบริษัท VOC ถึง 3 คนที่ปกครองที่เกาะบันดา หลังจากนั้น จึงย้ายศูนย์อำนาจไปยังเมืองบาตาเวีย หรือกรุงจาการ์ตาในปัจจุบัน 


อาคารราชวังน้อย ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านดวีวาร์นา ของเกาะบันดา นอกจากจะมีสถาปัตยกรรมที่คล้ายกับราชวังแห่งชาติที่เมืองโบโกร์น้อยแล้ว ข้างๆของราชวังน้อย ยังมีอาคารที่พำนักของรองผู้ว่าการบริษัทอินเดียตะวันออกฮอลันดา หรือ VOC และอีกด้านหนึ่งก็จะเป็นอาคารสโมสร สำหรับที่สร้างสรรค์ของชาวฮออลันดา 


สำหรับอาคารสโสมรปรากฏว่าทรุดโทรม ไม่มีการซ่อมแซม บริเวณใกล้เคียงราชวังน้อยยังมีริองรอยของอาคารโบราณที่ร้างเปล่าอีกหลายแห่ง แห่งหนึ่งเป็นโบสถ์คริสต์ สำหรับที่หน้าต่างบานหนึ่งของราชวังน้อยนี้ ที่หันหน้าสู่ทะเล เขียนว่า ปี 1831 เป็นราชวังที่ทำงานและพำนักของผู้ว่าการบริษัท VOC ที่ปกครองหมู่เกาะบันดา มีบันทึกว่า ฮอลันดาใช้เกาะบันดาไนราเป็นศูนย์อำนาจในการปกครองระหว่างปี  1610 ถึง 1619  


อาคารราชวังน้อยนี้ ยังมีรูปปั้นของกษัตริย์ฮอลันดาจนถึงปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่พบคือความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลหมู่เกาะบันดาไนรา ปลาทะเลค่อนข้างมีมาก เมื่อไปสำรวจที่ท่าเรือทำให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลแห่งนี้ ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่แปลกใจทำไมจึงมีการจับปลาแบบผิดกฎหมาย โดยใช้แรงงานเถื่อนคนไทยมาเป็นแรงงานประมง ความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลของหมู่เกาะบันดา ก็ไม่ต่างจากท้องทะเลอื่นๆที่มีข่าวแรงงานไทยถูกปล่อยลอยแพ เช่น ท้องทะเลเกาะเบนจินา ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมาลูกูเช่นกัน  


ถ้าผู้ประกอบการไทย รวมทั้งชาวประมงไทย ดำเนินการแบบถูกกฎหมาย น่านน้ำของจังหวัดมาลูกู ยังเป็นน่านน้ำที่มีศักยภาพในการทำการประมงอย่างยิ่ง


Sabtu, 24 November 2018

Nasib Diriku : Sebuah Puisi Dari Tanah Patani, Selatan Thailand.

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan
Disini dikemukakan sebuah puisi Melayu Patani bertajuk “Nasib Diriku ” Puisi ini dimuatkan di dalam buku Antologi Sajak Sajak Tunas-Tunas Menguntum. Buku ini diterbitkan pada Malam Kesusastraan Melayu 2 Tahun 1999 di Patani. Puisi “Nasib Diriku” ini dikarang oleh  Rapiah Samaelah.

Nasib Diriku
Ketika bersamamu
Kau tahu apa yang ada di hatiku
Kau beri selalu

Apa pun yang aku mau
Namun kini tak lagi seperti dulu
Bila ku lihat ayah bersama ibu baru
Nyeri  selalu rasa di hatiku

Pahitnya senyum bila bertentu
Pedihnya mata bila pandang bertemu
Kutahu kerana itu palsu
Pabila ayah sudah berlalu

 Semua berubah menjadi sembilu
Beginilah nasib hidupku
Semenjak ditinggal ibu
Ayah pun tak lagi di sampingku

 Bersendirian aku selalu
Dalam meniti dan memacu
Cabaran hidup yang kian melaju
Ibu…….

Selasa, 16 Oktober 2018

เกาะรูน เกาะอินโดเนเซียที่แลกกับเกาะแมนฮัตตัน นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

บทความนี้ลงในนิตยสาร ดิอาลามี

เมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอินโดเนเซีย เราจะรู้ว่า หมู่เกาะโมลุกะ (Moluccas) หรือ มาลูกู (Maluku) ซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในอดีต โดยเฉพาะในด้านการผลิตเครื่องเทศ การเดินทางไปยังจังหวัดโมลุกะ นับว่าเป็นการเดินทางที่ใช้เวลานานพอสมควร นั้นคือด้วยเครื่องบินใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่งจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองอัมบน เมืองเอกของจังหวัดโมลุกะ 


หลังนั้นใช้เวลาเดินทางด้วยเรือเป็นเวลา 7 ชั่วโมง จากเมืองอัมบนไปยังหมู่เกาะเกาะบันดา โดยเดินทางไปยังเมืองบันดาไนรา เมืองที่เป็นศูนย์การปกครองของหมู่เกาะบันดา และเดินทางต่อไปจากเมืองบันดาไนราไปยังเกาะรูนด้วยเรือเร็วใช้เวลา ราว 2 ชั่วโมง  และหมู่เกาะบันดานี้ประกอบด้วยเกาะแก่งต่างๆจำนวน 10 เกาะ โดยเกาะรูน เป็นหนึ่งในสิบเกาะที่อยู่ในหมู่เกาะบันดา เกาะรูนเป็นเกาะสำคัญที่ผลิตเครื่องเทศ ซึ่งเกาะรูนเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การค้าเครื่องเทศ

เกาะรูนเป็นเกาะเล็กๆ มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร และมีความกว้างน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ปัจจุบันมีชุมชนเล็กๆอาศัยอยู่ เกาะรูนมีแหล่งท่องเที่ยว แหล่งดำน้ำชมความงามใต้ทะเล ในปัจจุบันเกาะรูนมีบทบาทน้อยกว่าบทบาทของเกาะรูนในอดีต เมื่อเรารู้จักอดีตของเกาะรูน เราก็จะเห็นถึงความสำคัญของเกาะรูนในศตวรรษที่ 17  เกาะรูเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตเครื่องเทศ สำหรับเครื่องเทศ หรือชื่อภาษามลายูเรียกว่า ปาลา (Pala)  และภาษาอังกฤษว่า  Nutmeg โดยจันทน์เทศ หรือ ลูกจันทน์ 


เป็นเมล็ดภายในผลจันทน์เทศซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myristica fragrans Houtt ถิ่นกำเนิดของจันทน์เทศอยู่ที่หมู่เกาะบันดา ของหมู่เกาะโมลุกกะ เครื่องเทศนอกจากทำให้รสชาติของอาหารดีขึ้นแล้ว ยังเป็นยาอีกด้วย ในอดีตประเทศยุโรป จันทร์เทศถือเป็นสินค้าที่สำคัญมาก 


และยังเป็นสินค้าที่หายาก นักเดินเรือจากบริษัทอิสต์อินเดียอังกฤษ ที่อาศัยอยู่บนเกาะชวา ประกอบด้วย James Lancester, John Davis, Sir Henry Middleton และน้องชายชื่อ John Middleton ได้เดินทางถึงเกาะรูนในปี 1603 และสร้างความสัมพันธ์กับชาวเกาะรูน   

ต่อมาเมื่อ 25 ธันวาคม 1616 กัปตัน Nathaniel Courthope และลูกเรือได้เดินทางไปยังเกาะรูน เพื่อปกป้องจากการอ้างของบริษัทอิสต์อินเดียฮอลันดา และมีการทำสัญญากับชาวเกาะรูน โดยชาวเกาะรูนยอมรับว่ากษัตริย์เจมส์ที่ 1 ของอังกฤษเป็นผู้ปกครองเกาะรูน  ใน 4 ปีต่อมาภายหลังการเสียชีวิตของ กัปตัน Nathaniel Courthope ชาวอังกฤษและพันธมิตรคนพื้นเมืองจึงย้ายออกไปจากเกาะรูน  


เกาะรูนได้กลายเป็นที่แย่งชิงของเจ้าอาณานิคมจากตะวันตก   แม้ว่าเกาะรูนจะมีอังกฤษเป็นคนยึดครอง แต่ฮอลันดาก็ไม่ยอมแพ้ ส่งทหารไปยึดครองเกาะรูน จนเกิดเป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฮอลันดาครั้งแรกระหว่างปี 1652-1654 ในสนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ ยุติสงครามครั้งแรก ระหว่างอังกฤษกับฮอลันดาระหว่างปีข้างต้นนั้น โดยเกาะรูนต้องมอบคืนให้แก่อังกฤษ

 

แต่ความพยายามครั้งแรกในปี 1660 ปรากฏว่าประสบความล้มเหลว ด้วยเกิดจากความไม่ต้องการมอบของฮอลันดา  และในปี 1665 พ่อค้าชาวอังกฤษถูกขับไล่ออกจากเกาะ และฮอลันดาได้ทำลายต้นเครื่องเทศบนเกาะ ในอดีตนั้นกลายว่าเครื่องเทศหนึ่งกำมีค่ามากกว่าทองคำหนึ่งกำเสียอีก เพราะเครื่องเทศเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง 


และได้เกิดสงครามครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี 1665 และยุติลงเมื่อ 31 กรกฎาคม 1667  ได้มีการทำสนธิสัญญาสงบศึก เรียกว่าสนธิสัญญาเบรดา โดยจัดทำขึ้นที่เมืองเบรดา ทางภาคใต้ของประเทศฮอลันดา โดยเกาะรูน อังกฤษได้มอบให้กับฮอลันดา ในทางกลับกัน ได้มอบเกาะแมนฮัตตัน ที่ นิวอัมสเตอร์แดม (New Amsterdam) ให้กับอังกฤษ และได้เปลี่ยนชื่อ นิวอัมสเตอร์แดม มาเป็น นิวยอร์ค (New York) ของสหรัฐดังเช่นปัจจุบัน  

ในระยะเวลาราว 350 ปีหลังจากที่ได้ทำการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน สถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงได้ จนทั้งสองดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนกันนั้นไม่อาจเทียบกันได้อีกเลย และในปัจจุบันแมนฮัตตันของนิวยอร์คได้กลายเป็นแหล่งการเงินที่สำคัญของสหรัฐ แต่ในทางกลับกัน เกาะรูน กลายเป็นเกาะที่น้อยคนจะรู้จักเกาะรูน รวมทั้งเกาะอื่นๆที่อยู่ในหมู่เกาะบันดาที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศมีความสำคัญลดลง 


ด้วยในขณะที่ฮอลันดาสามารถควบคุมตลาดการผลิตเครื่องเทศนั้น ทางเมื่ออังกฤษได้ส่งเสริมให้มีการผลิตเครื่องเทศในดินแดนที่ตนเองยึดครอง เช่น ศรีลังกา เกรนาดา และอื่นๆ  แม้ว่าความสำคัญของเครื่องเทศจะหายไปจากเกาะรูน รวมทั้งเกาะอื่นๆในหมู่เกาะบันดา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ขาดหายไปจากหมู่เกาะข้างต้น คือ ความอุดมสมบูรณ์ใต้ทะเล ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ


นางซูซี ปูยีอัสตูตู (Susi Pujiastuti) รัฐมนตรีกิจการประมงของอินโดเนเซีย เมื่อครั้งเดินทางไปยังเกาะรูนกล่าวว่า เธอเองไม่เคยรู้ว่าเกาะรูนเป็นเกาะที่มีการแลกเปลี่ยนกันกับเกาะแมนฮัตตัน นิวยอร์ค เพิ่งรู้เมื่อเดินทางมาเกาะรูนนี้แหละ  นางกล่าวว่าเกาะรูนไม่เพียงจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่เกาะรูนยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว การดำน้ำ นอกจากนั้นเกาะรูน น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อีกด้วย


จังหวัดมาลูกุเอง ด้วยเคยเป็นดินแดนที่ถูกเจ้าอาณานิคมตะวันตกยึดครอง และเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ทำให้จังหวัดมาลูกุ มีประชากรทั้งที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เคยทำให้ผู้นับถือศาสนาทั้งสองกลุ่มเกิดความขัดแย้งรุนแรง สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้กับทั้งสองกลุ่ม ทางจังหวัดหมู่เกาะมาลูกุเอง ก็มีความพยามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่เกาะบันดา  มีเกาะรูนอยู ในหมู่ดังกล่าวด้วย


ระหว่างวันที่ 23-28 ตุลาคม นี้ ทางจังหวัดมาลูกุได้เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาระหว่างนักวรรณกรรม นักวัฒนธรรมจากกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษามลายู/อินโดเนเซีย ประกอบด้วยอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยงานนี้ได้แทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ใช้ชื่อว่า Banda Fiesta 2018 เป็นการประชาสัมพันธ์หมู่เกาะบันดา ที่มีเกาะรูน อยู่หมู่เกาะดังกล่าวด้วย


การเข้าร่วมงานในครั้งนี้ นอกจากได้รับรู้ข้อมูลเล็กๆ แต่ใหญ่ยิ่งในแง่ของประวัติศาสตร์อินโดนเซีย เมื่อได้รู้ถึงเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งเกือบสุดทางตะวันออกของอินโดเนเซีย ที่ได้เคยถูกแลกเปลี่ยนดินแดนกันกับเกาะแมนฮัตตัน นิวยอร์ค สหรัฐในปัจจุบัน  ยังสามารถได้เรียนรู้วิธีการประชาสัมพันธ์หมู่เกาะดังกล่าว อันจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประชาสัมพันธ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย     





Isnin, 10 September 2018

ชาวจามกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเทศกัมพูชา ปี 2018

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

  ประเทศกัมพูชาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2018 โดยในการเลือกตั้งครั้งปรากฏว่า มีผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2013 ราว 13.39%  และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ มีผู้ไปใช้สิทธิออกเวียงถึง 83.02%   


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งก่อน ปรากฏว่าพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party )ของสมเด็จฮุนเซนได้คะแนน 48.83 % โดยได้ที่นั่ง จำนวน  68 ที่นั่ง เกือบแพ้ให้แก่พรรคฝ่ายค้าน นั้นคือ พรรคกู้ชาติกัมพูชา  (Cambodia National Rescue Party) ซึ่งได้คะแนน 44.46% โดยได้ที่นั่ง จำนวน  55 ที่นั่ง  จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 123 ที่นั่ง  ต่อมาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน  2017 ศาลสูงสุดของประเทศกัมพูชาได้ลงมติยุบพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party)  ทำให้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้พรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้    

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ มีพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งมีจำนวนถึง 19 พรรค เช่น Cambodian People's Party,  FUNCINPEC,  League for Democracy Party,   Khmer Will Party,  Khmer National United Party,  Grassroots Democratic Party และพรรคอื่นๆ   ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มขึ้น จาก 123 ที่นั่งเป็น 125 ที่นั่ง 


สำหรับชาวจาม (Cham) ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ในกลุ่มมลายูโปลีเนเซีย (Malayo-Polynesian) เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม  มีประชากรราว 3 แสนคน อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ ปรากฎว่ามีนักการเมืองชาวจามมุสลิมสังกัดพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party )ของสมเด็จฮุนเซน ได้รับเลือกตั้งจำนวน 5 คน ประกอบด้วย 

1. ดาโต๊ะออกญา ออสมาน  ฮัสซัน  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตพนมเปญ 

2. หมัด  วารา เป็นสตรีคนเดียว  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกำปงชนัง 

3. นายหมัด  เซด  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกำปอต 

4. นายซาการียา   อาดัม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกันดาล 

5. ไม่ทราบชื่อ เป็นญาติของดาโต๊ะออกญา ออสมาน  ฮัสซัน  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตตบองขมุม

 

ในรัฐบาลของสมเด็จฮุนเซน มีชาวจามมุสลิมจำนวนมากที่เป็นข้าราชการระดับสูง ระดับปลัดกระทรวง และรองปลัดกระทรวง แหล่งข่าวแจ้งว่าชาวจามมุสลิมส่วนใหญ่จะสนับสนุนพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party )ของสมเด็จฮุนเซน