ตามคำสารภาพของฮาซัน ตีโรว่าตัวเขาเองได้พบกับ ริชเร็ด นิกสัน
ประชานาธิปดีสหรัฐอเมริกา ได้ขอให้
RRC มอบอาวุธช่วยเหลือของรัฐบาลอเมริกาแก่ประชนชาวอาเจะห์ จามิลได้กล่าวแก่ฮาซัน
ซาเละห์ว่าบรรดาผู้นำอาเจะห์ได้เห็นชอบกับการชักชวนของฮาซัน ตีโร
ดังนั้นอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพอิสลามอาเจะห์ ผู้นี้จึงถูกขอร้องให้กลับไปยังอาเจะห์
และเข้าร่วมกับบรรดานักต่อสู้ที่หมู่บ้านของเขาอีกครั้ง ขณะนั้น
ฮาซัน ซาเละห์กล่าวว่าตัวเขาเองไม่มั่นใจกับคำบอกเล่าของฮาซัน ตีโร
ดังนั้นเขาจึงปฎิเสธการเข้าร่วม
อย่างไรก็ตามเขาได้เตือนผ่านจามิล
ว่าการก่อกบฏนั้นไม่สมควรเกิดขึ้นอีก
เพราะมีแต่จะสร้างความสูญเสียแก่ประชาชนชาวอาเจะห์ นอกจากนั้น
ฮาซัน ซาและห์ ได้เดินทางกลับยังอาเจะห์ เพื่อพบปะเพื่อนๆ ของเขาสมัยร่วมก่อกบฏดารุลอิสลาม /
กองทัพอิสลามอินโดนีเซียขอร้องไม่ให้ปฏิบัติตามความต้องการของฮาซันตีโร เขายังไปพบกับ ดาวุด บือเระห์ของร้องไม่ให้สนับสนุนฮาซัน
ตีโร
แต่ความพยายามของเขาไม่ประสบผลสำเร็จ
เพราะประชาชนชาวอาเจะห์ได้เกิดจิตวิญญาณการก่อกบฏอีกครั้งแล้ว
ฮาซัน
ซาเละห์เองมีโอกาสถูกผู้ว่าราชการจังหวัดอาเจะห์ที่ชื่อว่า มูซากีร์
วาลัด
และผู้บัญชาการทหารภาคอิสกันดาร์มูดาที่ชื่อพันเอก อาหมัด อัสนิมให้เข้าพบ ทั้งสองได้แสดงหลักฐานแผนการก่อกบฏของฮาซัน
ตีโร ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ดาวุด
บือเระห์
จากหลักฐานเหล่านั้นทหารจึงมีวัตถุประสงค์ต้องการจับกุม ดาวุด
บือเระห์
แผนนี้ต่อมาถูกยกเลิกเพราะกลัวว่าจะยิ่งปลุกกระแสการก่อกบฏที่อาเจะห์ยิ่งขึ้น ในที่สุด ดาวุด บือเระห์ถูกย้ายไปยังกรุง
จาการ์ตา เพื่อทำให้ห่างจากคนฮาซัน
ตีโร จนกระทั่งดาวุด บือเระห์เสียชีวิต
ความจริงนั้นก่อนการจัดตั้งนั้น ขบวนการอาเจะห์เสรีได้เกิดการแตกแยกแล้ว สิ่งนี้เกิดจากความแตกต่างทางความคิดที่แหลมคม
ระหว่างผู้นำรุ่นเก่ากับผู้นำรุ่นใหม่ของขบวนการ
ส่วนหนึ่งของผู้นำรุ่นเก่าต้องการให้กรอบการต่อสู้ของขบวนการอาเจะห์เสรีอยู่ในฐานของอิสลาม มีเหตุผลสองประการที่เป็นแนวคิดของพวกเขา ประการแรก
สิ่งนั้นเหมาะกับประวัติศาสตร์ที่ผูกพันกับอาเจะห์จนถึงปัจจุบัน เพราะอาเจะห์เป็นสถานที่แรกที่ศาสนาอิสลามเข้ามายังประเทศอินโดนีเซีย
สิ่งนี้มีหลักฐานด้วยการเกิดของรัฐอิสลามสมุทราปาไซ ความสำเร็จของรัฐอิสลามในอาเจะห์นี้ ได้มีอย่างต่อเนื่องจนถึงความสำเร็จของรัฐอิสลามอาเจะห์ดารุสสาลาม ประการที่สอง
บรรดาผู้นำรุ่นเก่าของขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นผู้นำของ ดารุลอิสลาม ที่ยึดมั่นในกรอบการต่สู้ของพวกเขา
ส่วนกลุ่มคนหนุ่มเป็นกลุ่มของฮาซัน
ตีโรที่ต้องการให้ขบวนกรอาเจะห์เสรีเป็นขบานการสมัยใหม่ที เซคูลาร์ (Secular)
วัตถุประสงค์เพื่อให้ขบวนการอาเจะห์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเป็นประเด็นระหว่างประเทศ สิ่งที่แปลกคือกลุ่ม ฮาซัน
ตีโรต้องการให้ขบวนการอาเจะห์เสรีต่อสู้เพื่อจัดตั้งรัฐอิสระอาเจะห์ ที่มีระบบการปกครองแบบมีกษัตริย์
นี้คือเป็นความแตกต่างอย่างยิ่งกับระบบการปกครองท่กลุ่มเก่าต้องการ
ด้วยต้องการจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเป็นมานานแล้ว
ในขั้นแรกนั้นขณะที่บรรดาผู้นำหัวรุนแรงอาเจะห์ได้จัดตั้งขบวนการอาเจะห์เสรี
ทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกันนี้ไม่ถึงกับเปิดเผย แต่ละฝ่ายจะตั้งมั่นและซ่อนความต้องการของตนเอง
การเก็บเงียบความเป็นศัตรูระหว่างวัยครั้งนี้ทำให้การก่อตั้งขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและเรียบง่าย บรรดาผู้นำรุ่นหนุ่มที่สนับสนุน ฮาซัน
ตีโร
รู้ว่าจะต้องเก็บซ่อนความทะเยอทะยานของพวกเขาเอาไว้
ยิ่งแนวคิดการจัดตั้งขบวนการที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของอาเจะห์นั้น
ก็เกิดขึ้นอีกครั้งจากส่วนใหญ่ของผู้นำ
และนักต่อสู้ดารุลอิสลาม
ที่มีประสบการณ์ทุกข์สุขกับขบวนการนับตั้งแต่ยุคอาณานิคมฮอลันดาและญี่ปุ่น
จากประสบการณ์เหล่านี้พวกเขาต้องการสืบทอดการต่อสู้เพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามที่อาเจะห์
หลังจากมีการพบปะหลายครั้งในสถานที่ต่างๆ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 1977 มีการแถลงข่าวที่เชิงเขาฮาลีมุน ที่อำเภออาเจะห์ปีดี
ในการแถลงข่าวครั้งนั้นมีการชุมนุมผู้นำและผู้นำการทหารของอดีตดารุลอิสลาม,ผู้นำสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์
หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลที่เป็นลูกหลานชาวอาเจะห์ ภายหลังจากมีการพูดคุยที่ยาวนานกินเวลาถึง 4
วัน พวกเขาก็ลงมติร่วมกันสร้างพันธมิตรเป็นขบวนการอาเจะห์อิสระ
บรรดาผู้นำทางการทหารของสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์ก็สลายตัวเข้าร่วมในองค์กรขบวนการอาเจะห์อิสระ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 1977
ได้กำหนดเป็นวันประกาศเอกราชและการจัดตั้งขบวนการอาเจะห์อิสระ หลังจากนั้น 4 วัน ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 1977
บรรดาผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีก็ลงมติจัดตั้งคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลขบวนการอาเจะห์เสรี ด้วยการมีผู้นำที่มีจำนวนจำกัด
หลายต่อหลายตำแหน่งต้องทำหน้าที่ควบโดยผู้นำคนเดียว มตินี้ได้รับการยอมรับจากผู้เข้าร่วมทุกคน
อย่างไรก็ตาม ขณที่มีการเลือกผู้นำก็มีการแก่งแย่งกัน ดาวุด บือเระห์
ผู้นำดารุลอิสลามได้เสนอให้ตำแหน่งผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นผู้นำของรัฐอาเจะห์
โดยมี ฮาซัน ตีโร เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง
ความจริงขณะนั้นฮาซัน ตีโร ไม่ได้เข้าร่วมในการพบปะกันครั้งนั้น ยิ่งเขาเองก็ไม่ได้อยู่ในอาเจะห์ เพราะกำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งของผู้นำปฏิเสธข้อเสนอนั้น อย่างไรก็ตามดาวุด บือเระห์ ได้ให้ความมั่นใจต่อบรรดาผู้นำผู้ก่อตั้งขบวนการอาเจะห์เสรีว่า ฮาซัน ตีโรเป็นผู้นำหนุ่มที่มีแววไกล
เขาเป็นผู้นำท่ะเป็นความหวังของอาเจะห์ในอนาคต ภูมิหลังของการศึกษาของเขาในสหรัฐอเมริกาเป็นความคาดหวังของ
ดาวุด บือเระห์
ที่จะสามารถสืบทอดการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์เพื่อการมีเอกราชของอาเจะห์ ถึงแม้ว่าขณะนั้นเขามีอายุค่อนข้างน้อยแต่ ฮาซัน
ตีโรไม่ใช่ผู้นำที่แปลกหน้าสำหรับดารุลอิสลาม
ในเดือนธันวาคม ปี1958 ขณะที่บรรดาผู้นำผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย/เปอร์เมสตา และดารุลอิสลาม กองทัพอิสลามอินโดเนเซียมีการพบปะกันที่เจนีวา
ฮาซัน ตีโรก็ถือโอกาสเข้าร่วมประชุมและแสดงหลากหลายความคิดเห็น ในที่นี้เองเป็นครั้งแรกที่ฮาซัน
ตีโรเป็นที่รู้จักของบรรดานักต่อสู้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในอินโดเนเซีย
ในขณะที่เขาเดินทางกลับไปยังอาเจะห์ในปี
1975 ฮาซัน
ตีโรได้เข้าร่วมหลายครั้งในการพบปะเฉพาะเมื่อพูดคุยถึงการเตรียมงาน ในการจัดตั้งขบวนการอาเจะห์เสรีที่ภูเขาฮาลีมุน ฮาซัน
ตีโรได้พบปะบรรดาผู้นำหนุ่มและผู้นำปัญญาชนในอาเจะห์ ให้สนับสนุนขบวนการอาเจะห์เสรีอย่างเต็มที่ที่จะทำการประกาศจัดตั้ง
การที่ได้เห็นถึงบทบาทเหล่านี้และการให้ความมั่นใจของ เต็งกู มูฮัมหมัด
ดาวุด บือเระห์
ในท่สุดผู้นำก่อตั้งทุกคนก็เห็นชอบเลือก ฮาซัน
ตีโรเป็นผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี และควบตำแหน่งผู้นำของรัฐอาเจะห์แม้ว่าขณะนั้นไม่ได้อยู่ในอาเจะก็ตาม
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะบรรดาผู้นำก่อตั้งขบวนการอาเจะห์เสรีให้การเคารพความคิดเห็นของเต็งกู
มูฮัมหมัด ดาวุด บือเระห์ สำหรับพวกเขา อะไรที่ดาวุด บือเระห์เห็นดีเห็นงาม ก็เป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับพวกเขา จนกระทั่งการตัดสินใจของดาวุด บือเระห์
ก็สมควรที่ได้รับการสนันสนุนจากทุกคนที่ร่วมกันจัดตั้งพันธมิตรขบวนการอาเจะห์เสรี
Tiada ulasan:
Catat Ulasan