การเมืองการปกครองประเทศบรูไน
ประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal
Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 30
ระบอบการปกครอง
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เขตการปกครอง
แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara
เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
วันชาติ 23 กุมภาพันธ์
ระบบสุลต่านบรูไน
รัฐบรูไนปกครองด้วยระบบสุลต่านนับตั้งแต่ปี
1363 จนถึงปัจจุบัน มีสุลต่านทั้งหมดจำนวน 30 องค์
โดยสุลต่านบรูไนองค์แรกคือ Sultan Muhammad
Shah (1363-1402),
สุลต่านองค์ที่ 6 คือ Sultan Bolkiah (1485-1524),
สุลต่านองค์ที่ 29 คือ Sultan Omar Ali
Saifuddin III (1950-1967) และสุลต่านองค์ปัจจุบันคือ Sultan Haji
Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin
Waddaulah ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี
1967 จนถึงปัจจุบัน.
การเมืองการปกครองของบรูไน
ประเทศบรูไนดารุสสาลามเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(Constitutional
Mornachy ) ซึ่งมีหลักการว่า
Melayu Islam Berraja ( MIB ) โดยองค์สุลต่านเป็นผู้นำของประเทศและเป็นผู้นำรัฐบาล ด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้รับการช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากสภาที่ปรึกษา และคณะรัฐมนตรีประเทศบรูไนไม่มีสภานิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2000
ทางองค์สุลต่านได้มีการประชุมเพื่อกำหนดรัฐสภา (Parliament) ซึ่งไม่เคยมีการจัดตั้งมานับตั้งแต่ปี
1984 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ
ด้านการป้องกันประเทศนั้น
ทางบรูไนได้มีการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ
โดยทางอังกฤษได้ส่งกลุ่มทหารเผ่ากรุข่า (Gurkha ) ซึ่งเป็นชนเผ่าของประเทศเนปาลได้ตั้งฐานอยู่ในประเทศบรูไน
ตั้งอยู่ที่ Seria การป้องกันประเทศของบรูไนนับว่ามีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับความร่ำรวยของประเทศ
ประเทศบรูไนเองก็มีส่วนในการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ Spratly ซึ่งมีประเทศมาเลเซีย ,จีน ,ไต้หวัน ,เวียดนาม ,ฟิลิปปินส์ร่วมอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะดังกล่าวด้วย
บรูไนแบ่งการปกครองออกเป็น 4
อำเภอ คือ
1. Belait
เป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดของบรูไน
เป็นอำเภอที่อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศบรูไน มีเมืองเอกชื่อว่า Kuala Belait เมืองอื่นๆที่มีชื่อเช่น Badas
, Kerangan ,Nyatan ,Labi,Lumut , Seria, Sukang และ Talingan อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกติดกับอำเภอ Tutang และทางทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับประเทศมาเลเซีย
2. Brunei และ Muara
เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของประเทศบรูไน
ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ
มีเมืองเอกชื่อว่า Bandar
Seri Begawan ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบรูไนด้วย เมืองที่สำคัญมีเมือง Muara อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนไต้ ทางทิศตะวันออกติดกับแหลมหรือ อ่าวบรูไน ทางทิศไต้ติดกับประเทศมาเลเซีย และทิศตะวันตกติดกับ Tutang และที่อ่าวบรูไนมีเกาะอีกหลายเกาะตั้งอยู่
3. Temburong
เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศบรูไน อำเภอ Temburong
เป็นอำเภอที่ค่อนข้างแปลก
เพราะอำเภอนี้ถูกตัดขาดจากดินแดนของประเทศบรูไนมีเพียงอ่าวบรูไนเท่านั้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างอำเภอ
Temburong กับส่วนอื่นๆของประเทศบรูไน ดังนั้นเมื่อประชาชนประเทศบรูไนจากอำเภอ Temburong จะเดินทางไปยังอำเภออื่นๆของประเทศบรูไน
จึงมีทางเดียวเท่านั้นที่เป็นดินแดนเดียวกัน
นั้นคือการเดินทางทางทะเล โดยผ่านอ่าวบรูไน
ส่วนการเดินทางทางบกนั้นจำเป็นต้องผ่านดินแดนของประเทศมาเลเซียส่วนที่เรียกว่า
Limbang ดังนั้นประชาชนชาวบรูไนจากอำเภอ
Temburong ที่ต้องการเดินทางไปยังส่วนอื่นๆของบรูไนโดยผ่าน Limbang
จึงต้องใช้ Pasport ในการเดินทางดังกล่าว
4. Tutong
เป็นอำเภอหนึ่งของประเทศบรูไน
มีเมืองเอกชื่อว่า Tutong ส่วนเมืองที่สำคัญอื่นๆเช่น Kuala Abang , Lamunin, Melit,
Penanjong และTelisai
อำเภอนี้มีเพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกกับอำเภอBrunei และMuara รวมทั้งประเทศมาเลเซีย ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับอำเภอ Belait
ในแต่ละเขตหรืออำเภอของประเทศบรูไน
มีผู้บริหารเรียกว่า นายอำเภอ หรือ Pegawai Daerah โดยแต่ละอำเภอแบ่งการปกครองออกเป็นตำบล มีผู้นำระดับตำบลเรียกว่า Penghulu และในแต่ตำบลประกอบด้วยหมู่บ้านหลายๆหมู่บ้าน ผู้นำระดับหมู่บ้านเรียกว่า Ketua
Kampung
ตำบลต่างๆในประเทศบรูไนประกอบด้วย
38 ตำบล
ประชากรชาวบรูไน
ตามรัฐธรรมนูญประเทศบรูไนฉบับ
1984 ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบรูไน
ที่เรียกว่า puak
หรือ rumpun jati ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ดังนี้ :-
1. มลายูบรูไน (Melayu Brunei)
2. เกอดายัน (Kedayan)
3. ตูตง (Tutong)
4. ดูซุน (Dusun)
5. เบอไลต์ (Belait)
6. มูรุต (Murut)
7. บีซายา (Bisaya)
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่อาศัยอยู่ในประเทศบรูไน ในฐานะของผู้ตั้งถิ่นฐาน เช่น อังกฤษ จีน
อินเดีย
และชนกลุ่มน้อยจากรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค
ภาษา
ภาษาประจำชาติของประเทศบรูไน
คือภาษามลายู
เป็นภาษาที่ใช้พูดในประเทศมาเลเซีย
อินโดเนเซีย สิงคโปร์
นอกจากภาษามลายูแล้วในประเทศบรูไน ยังมีภาษาถิ่นอีก เช่น ภาษาเกอดายัน (Kedayan), ภาษาตูตง (Tutong),
ภาษาดูซุน (Dusun), ภาษาเบอไลต์ (Belait),
ภาษามูรุต (Murut) และภาษาบีซายา (Bisaya)
หลักปรัชญา MIB (Melayu
Islam Beraja)
หลักปรัชญานี้ได้ประกาศขึ้นโดยสุลต่านบรูไน ในวันที่ 1 มกราคม 1984 มีใจความว่า
“….Negara
Brunei Darussalam adalah
dan Dengan izin
serta limpah kurnia
Allah
Subhanahu
Wata’ala akan untuk
selama-lamanya kekal
menjadi sebuah negara Melayu Islam Beraja
yang merdeka, berdaulat
dan
demokratik, bersendikan
kepada ajaran ajaran
ugama Islam menurut
Ahli Sunnah
Waljama’ah........”
Melayu
(มลายู)
ตามรัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน
ปี 1962 กำหนดไว้ว่า มลายูบรูไนหมายถึงกลุ่มชนเผ่าที่เป็นชาวมลายู
ประกอบด้วยชนเผ่าที่เรียกว่า puak ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆสามารถเป็นผู้มีสัญชาติบรูไนได้
เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานในประเทศบรูไนเป็นเวลา 25 ปี
และผ่านการทดสอบการใช้ภาษามลายูจากหน่วยงานทดสอบของรัฐ
Islam (ศาสนาอิสลาม)
ตามรัฐธรรมนูญประเทศบรูไน ปี 1959
บทที่ 2 มาตราที่ 3 (i) กำหนดไว้ว่า
“ศาสนาประจำชาติของประเทศบรูไน
คือ ศาสนาอิสลาม ตามแนวทางอะห์ลี ซุนนะห์
วัลยามาอะห์
ส่วนศาสนาอื่นๆยังคงสามารถปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของตนเองได้”
นั้นหมายถึงสุลต่านมีฐานะเป็นประมุขทางศาสนาของประเทศ ส่วนตำแหน่งที่สำคัญในรัฐบาล เช่น
มุขมนตรี รองมุขมนตรี
และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น
ระบบราชาธิบดี (Beraja)
พระราชาธิบดี
หรือสุลต่านมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. การเป็นประมุขทางศาสนาของประเทศ
2. การเป็นผู้นำทางขนบธรรมเนียม ประเพณี
3. การเป็นผู้นำหรือประมุขของประเทศ
4.
การเป็นผู้นำฝ่ายบริหารรัฐ
รัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน
ประเทศบรูไนมีการใช้รัฐธรรมนูญตั้งแตปี 1959 และรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีการแก้ไขในปี
1971 และปี 1984 โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 1959
ได้กำหนดให้สุลต่านเป็นผูนำของรัฐโดยมีอำนาจสมบูรณ์ องค์สุลต่านมีผู้ช่วยและผู้ให้คำปรึกษาโดย 5
สภา คือ
สภาศาสนา (The Religious Council)
สภาที่ปรึกษา(
The
Privy Council)
สภารัฐมนตรี ( The Council of Ministers )
สภานิติบัญญัติ
( The Legislatif Council ) และ
สภาที่เรียกว่า
The
Council of Succession ซึ่งทำหน้าที่ในการเลือกสุลต่านองค์ใหม่
และภาระกิจอื่นๆ
ตามรัฐธรรมนูญฉบับ
1959
นั้นกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสูงในฝ่ายบริหาร โดยมีที่ปรึกษาชาวอังกฤษผู้มีตำแหน่งเป็น British High
Commissioner ให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆยกเว้นกิจการเกี่ยวกับศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมลายู ต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในปี 1971
โดยอังกฤษมีอำนาจในการต่างประเทศ
ส่วนกิจการความมั่นคงการป้องกันประเทศอยู่ในความรับผิดชอบของประเทศบรูไนและอังกฤษ
และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งเมื่อประเทศบรูไนได้รับเอกราช เมื่อ 1
มกราคม 1984
โดยในปีดังกล่าวสุลต่านได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 1986
สุลต่านได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามรัฐธรรมนูญ 1959 การแต่งตั้งสมาชิกของสภาต่างๆ เป็นอำนาจของสุลต่าน
โดยสภาศาสนาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม สภาที่ปรึกษา (องคมนตรี )
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการต่างๆตามรัฐธรรมนูญ
สภานิติบัญญัติให้คำปรึกษาเพื่อให้รัฐธรรมนูญได้รับการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์
แต่ความจริงแล้วสภานิติบัญญัติไม่มีการประชุมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
พรรคการเมือง
จนถึงปัจจุบันประเทศบรูไนพรรคการเมืองยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก จนสามารถเรียกได้ว่าพรรคการเมืองของประเทศบรูไนไม่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศบรูไนเลย
ในประเทศบรูไนจะมีเพียงพรรคการเมืองเล็กๆพรรคหนึ่งซึ่งแทบจะไม่มีบทบาททางการเมือง หรือทำกิจกรรมทางการเมืองในประเทศบรูไน พรรคดังกล่าวคือพรรคจิตสำนึกประชาชนบรูไน ( Parti Kesedaran
Rakyat Brunei ) หรือ PAKAR
และพรรคเอกภาพแห่งชาติบรูไน ( Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei ) หรือ PPKB ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเมื่อไม่นานมานี้เอง.
Tiada ulasan:
Catat Ulasan