Khamis, 29 Oktober 2015

ประสบการณ์สัมผัสมลายูจากนครมักกะห์ ซาอุดีอาราเบี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
                ช่วงเวลาเดือนกว่าๆที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาของการประกอบพิธีฮัจญ์ของพี่น้องชาวมุสลิมจากทั่วโลก  นครมักกะห์ไม่เพียงเป็นเวทีสมัชชาพบปะ สร้างความสัมพันธ์กันระหว่างพี่น้องมุสลิมจากทั่วโลกเท่านั้น แต่นครมักกะห์ยังถือว่าน่าจะเป็นสถานที่เดียว ที่เป็นสมัชชาของชาติพันธุ์มลายูและผู้คนจากโลกมลายู ด้วยนครมักกะห์กลายเป็นศูนย์รวมของผู้คนจากทุกๆพื้นที่ในโลกมลายู  ในช่วงเวลาที่พี่น้องมุสลิมโดยเฉพาะจากประเทศไทยไปประกอบพิธีฮัจญ์ปีนี้ แม้ผู้เขียนจะไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ด้วย แต่ก็ได้ถือโอกาสช่วงนี้ฟื้นความหลัง ฟื้นประสบการณ์ของตัวเองในอดีต เป็นประสบการณ์ที่สามารถนำมาต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับโลกมลายูในปัจจุบัน
                       
                เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมา ครั้งก่อนเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ผู้เขียนสำรวจข้อมูลการทำวีซ่า ได้ยินข่าวว่าเมื่อขอวีซ่าทางประเทศไทยลำบาก คนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถไปขอวีซ่าที่ประเทศมาเลเซีย  จึงสำรวจข้อมูลสถานทูตซาอุดีอาราเบียในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าเอกอัครทูตซาอุดีอาราเบียชื่อว่า ตันสรี ฮุสเซ็น อัล-ฟาตานี  นั้นคือบทเรียนหนึ่งที่ได้รับรู้ว่าลูกหลานชาวปาตานี หรือชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้ตั้งถิ่นฐานในประเทศซาอุดีอาราเบีย มีส่วนหนึ่งที่มีหน้าที่การงานที่ใหญ่โตพอสมควร และเมื่อครั้งเดินทางไปยังประเทศซาอุดีอาราเบีย ก็ได้รับรู้จากคุณอับดุลลอฮ อัล-ฟาตานีผู้เป็นญาติของเขาว่าตันสรี ฮุสเซ็น อัล-ฟาตานี  ยังมีน้องชายอีกคนชื่อ คุณมุสตสฟา อัล-ฟาตานี เป็นกงสุลซาอุดีอาราเบียอยู่ที่เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน  และผู้เขียนใช้เวลาส่วนหนึ่งสัมผัสชุมชนชาวมลายูในประเทศซาอุดีอาราเบีย ชาวมลายูส่วนหนึ่งในประเทศซาอุดีอาราเบีย จะมีนามสกุลว่า อัล-ฟาตานี  อัล-ฟาเล็มบานี  อัล-อินดราคีรี

                ผู้เขียนจะใช้เวลาส่วนหนึ่ง สร้างความรู้จักกับผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ที่มาจากกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษามลายู ไม่ว่าประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน รวมทั้งสิงคโปร์ นั้นอาจถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เราในประเทศไทยได้รับรู้แล้วว่าประเทศที่กล่าวข้างต้นมีชาวมลายูอาศัยอยู่ รวมทั้งสิงคโปร์ แม้ชาวมลายูจะเป็นชนกลุ่มน้อยในสิงคโปร์ แต่ภาษามลายูก็เป็นภาษาประจำชาติของสิงคโปร์  ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในมัสยิดอัลฮารอม  ผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์มารวมกัน แต่ละคนมักติดธงประเทศตนเอง เพื่อบอกแหล่งที่มา เมื่อเกิดปัญหาจะได้รู้ว่ามาจากไหน มีคนกลุ่มหนึ่งพูดคุยด้วยภาษามลายู แต่เมื่อดูสัญลักษณ์ชาติธงชาติ มีแถบสีเขียว สีขาว ตรงกลางแถบสีแดง มีดาวสีเหลือง ผู้เขียนไม่เคยเห็นธงชาตินี้ จึงเข้าใกล้ และถามผู้หญิงคนหนึ่งว่ามาจากไหน เขาตอบว่ามาจากประเทศสุรีนาม เมื่อเห็นหน้าของผู้เขียนยังงงอยู่  เขาบอกต่อว่า ประเทศสุรีนามอยู่ในทวีปละตินอเมริกา นี้ก็เป็นบทเรียนหนึ่งที่ผู้เขียนใช้ต่อยอดความรู้มลายูศึกษาในปัจจุบัน

                ด้วยความที่ผู้เขียนเรียนทางรัฐศาสตร์ มีความสนใจในเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมักอ่านบทความต่างๆของประเทศมาเลเซีย ก่อนเดินทางไปยังประเทศซาอุดีอาราเบีย ผู้เขียนเคยอ่านบทความของตันสรีอิสมาแอล  ฮุสเซ็น ขณะนั้นเป็นหัวหน้าภาควิชามลายูศึกษา  ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันมลายูศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยมาลายา  ซึ่งต่อมาท่านก็ได้มาเป็นอาจารย์ลักจำเกี่ยวกับมลายูศึกษาของผู้เขียน ภายหลังเมื่อรู้จักกันเป็นการส่วนตัว ท่านก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้รู้จักผู้คน ได้สร้างเครือข่ายในโลกวัฒนธรรมมมลายู ท่านเขียนบทความเรื่องชุมชนชาวมลายูในประเทศสรีลังกา และประเทศอัฟริกาใต้
               
                สิ่งที่ผู้เขียนประทับใจมาก นั้นคือในขณะที่จะเดินทางไปยังทุ่งอาราฟะห์  ผู้เขียนและคนที่ผู้เขียนรู้จักที่นครมักกะห์ เป็นชาวมลายูสิงคโปร์  ตัดสินใจว่าเราจะใช้วิธีการเดินเท้า และในกลุ่มที่จะเดินนั้น ปรากฏว่ามีชาวมลายูจากมาเลเซียอยู่ด้วย  และมีคนหนึ่งแนะนำตัวเองว่า ผมเป็นชาวมลายูครับ ผมมาจากประเทศอัฟริกาใต้  แม้เขาจะพูดภาษามลายูไม่ได้ ด้วยกลุ่มชาวมลายูอพยพไปอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้มาสองสามร้อยปีมาแล้ว จนลืมภาษามลายู แต่ก็ยังไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง ขณะเดินเท้าไปยังทุ่งอาราฟะห์นั้น ผู้เขียนพูดกับผู้ร่วมเดินเท้าว่า นี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มชาวมลายูเล็กๆจากประเทศต่างๆร่วมเดินเท้าไปยังทุ่งอาราฟะห์ เมื่อเดินทางถึงทุ่งอาราฟะห์  ก็พบผู้คนกลุ่มหนึ่ง เมื่อถามว่ามาจากไหน มีชายคนหนึ่งตอบว่ามาจากประเทศศรีลังกา  เมื่อดูหน้าตา ไม่มีเค้าของชาวศรีลังกาเลย  ความรู้ที่ได้จากบทความของตันสรีอิสมาแอล  ฮุสเซ็นถูกนำมาประยุกต์ใช้  จึงถามว่า เป็นชาวมลายูจากประเทศศรีลังกาใช่ไหม  คำตอบที่ได้รับเป็นภาษามลายูว่าใช่   เราจึงคุยกันเป็นภาษามลายู หลายๆคนที่มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นั่งอยู่ด้วยกัน แปลกใจที่มีคนมลายูในประเทศศรีลังกา 

                ผู้เขียนอาศัยอยู่ในนครมักกะห์ได้ระยะหนึ่ง  ที่นครมักกะห์ ได้รู้จักทั้งชาวมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ แม้แต่ชาวมลายูจากประเทศเมียนมาร์ก็ได้รู้จัก ได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของชาวมลายูในประเทศดังกล่าว  แม้แต่ในการติดต่อสื่อสารทางจดหมายกับญาติพี่น้องในประเทศไทย ด้วยได้รู้จักเพื่อนชาวนราธิวาส ที่มีบิดาเป็นคนเชื้อสายรัฐเคดะห์ เพื่อนผู้นั้นทำหน้าที่ดูแลอาคารสำนักงานกิจการฮัจญ์มาเลเซียในนครมักกะห์ ผู้เขียนจึงใช้ที่อยู่ของสำนักงานดังกล่าวเป็นที่อยู่ในการติดต่อสื่อสาร  ในนครมักกะห์ สิ่งหนึ่งที่ประทับใจ ที่ชุมชนชาวมลายูที่ชุอิบอาลี ไม่ห่างจากมัสยิดอัลฮารอมมากนัก ซึ่งปัจจุบัน น่าจะถูกรื้อเพื่อพัฒนาพื้นที่แล้ว มีโรงเรียนหนึ่งที่ตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาให้กับบุตรหลานของชาวมลายูในพื้นที่บริเวณดังกล่าว โรงเรียนแห่งนั้นใช้ชื่อว่า โรงเรียนอินโดเนเซีย หรือ มัดราซะห์อินโดเนเซีย


                ต่อมาเมื่อผู้เขียนกลับมาเรียนต่อในสาขามลายูศึกษา ที่ประเทศมาเลเซียแล้วก็ตาม การเรียนส่วนหนึ่งก็อาจแค่เป็นทฤษฎี แต่การพบปะ การสร้างความสัมพันธ์ การรู้จักชาวมลายูจากประเทศต่างๆ การสัมผัสชาวมลายูจากประเทศศรีลังกา ประเทศอัฟริกาใต้ ประเทศสุรีนาม ประเทศเมียนมาร์  เมื่อครั้งเมื่ออยู่ที่นครมักกะห์ ผู้เขียนถือว่าเป็นการลงภาคสนามสัมผัสชาวมลายูที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งบางครั้งไม่อาจสัมผัสได้ในประเทศมาเลเซีย  ดังนั้นผู้เขียนภูมิใจและไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประสบการณ์สัมผัสชาวมลายูจากประเทศต่างๆในนครมักกะห์ ถือได้ว่าเป็นบทเรียนแรกๆในการต่อยอดความรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษาของผู้เขียนในปัจจุบัน 

Jumaat, 23 Oktober 2015

ความเป็นมาของ Pertemuan Penyair Nusantara


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
จากข้อเขียนของเพื่อนนักกวี นักเขียนในประเทศอินโดเนเซียหลายๆคนมารวมกันจนกลายเป็นหนึ่ง

Pertemuan Penyair Nusantara (PPN) pertama kali dihelat di Medan, Sumatera Utara. Penggagasnya Afrion. Dari Kota Medan, PPN berlanjut hingga tahun ini adalah yang ke 7.PPN dihelat sebagai upaya menghimpun para penyair se-Nusantara yang meliputi Indonesia, Malaysia, Singapura, Bruneidarussalam, Thailand, atau diaspora Melayu.


PPN I berlangsung di Taman Budaya Sumatera Utara, Medan, pada 25-29 Mei 2007. Pada PPN II denga  tuan rumah masih Indonesia, berlangsung di Kediri, Jawa Tengah (29 Juni-3 Juli 2008).
  
Tahun berikutnya, PPN dilangsungkan di Malaysia, persisnya di Kualalumpur, 20-22 November 2008. Penajanya adalah Persatuan Penulis Malaysia (PENA), selanjutnya PPN IV dilaksanakan di Bandar Seri Begawai, Bruneidarussalam, 26-28 Juli 2010.


Dari Brunei, PPN V kembali ke Indonesia. Adalah Sumatera Selatan melalui Dewan Kesenian Sumatera Selatan (DKSS), Pertemuan Penyair Nusantara dilasungkan di Kota Palembang, 16-19 Juli 2011.


Kegiatan, kecuali seminar, berlangsung di hotel. Pembacaan puisi dilaksanakan di sejumlah perguruan tinggi (PT) di Palembang dengan menyertakan para pelajar dan mahasiswa. Sedangkan penutupan dilangsung di  di kawasan Sungai Musi.


Pada PPN V Sumatera Selatan, mulai diberlakukan kurasi karya. Bagi karya yang lolos seleksi kurator, berhak mendapatkan “tiket” mengikuti PPN V.Demikian pula PPN VI di Jambi, 28-31 Desember 2012, kurator juga ditunjuk, baik untuk mengkurasi karya puisi para penyair Nusantara, juga makalah yang hendak ditampilkan.


Tempat penyelenggaraan PPN VII di Singapura

Setelah dari Jambi, PPN VII sempat tertunda satu tahun. Tuan rumah, Singapura, tak bisa menghelat pada tahun 2013. Penundaan terjadi lagi pada tahun 2014, semula direncanakan pada Mei lalu, namun akhirnya disepakati 29-31 Agustus 2014.


Beragam tema diusung setiap perhelatan PPN, di antaranya “Potret Puisi Nusnatara Mutakhir” (Palembang, Sumatera Selatan), “Nusantara Dalam Perspektif Historis, Filosofis & Eksistensial" (Jambi), dan Menjejaki Akar Sejarah Kewibawaan & Perkembangan Dunia Perpuisian Nusantara" (Singapura).

Kecuali Singapura, PPN sebelumnya tidak dibatasi peserta dari luar negeri. Terpenting mendaftar langsung kepada panitia, untuk PPN di Malaysia dan Bruneidarussalam. Sedangkan Sumatera Selatan dan Jambi, kepesertaan ditentukan oleh lolosnya karya oleh kurator yang ditunjuk panitia setempat.

Sedangkan PPN VII di Singapura pada 29-31 Agustus 2014, jelas Ahmir Ahmad, kepersetaan dari luar negeri dibatasi jumlahnya. Penetepan penyair atas musyawarah panitia PPN VII.

Rabu, 21 Oktober 2015

ร่วมงานสัมมนาวิชาการ โต๊ะยังฆุต

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
        ศูนย์นูซันตาราศึกษา ได้รับเชิญจากคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน เข้าร่วมสัมมนางานวิชาการ เกี่ยวกับวีรบุรุษของรัฐกลันตัน นั้นคือ โต๊ะยังฆุต  ดังนั้นทางศูนย์นูซันตาราศึกษา จึงได้นำนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้าร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย 
         ประมวลภาพบรรยากาศงานสัมมนาวิชาการโต๊ะยังฆุต














Sabtu, 17 Oktober 2015

ประเทศบรูไน


การเมืองการปกครองประเทศบรูไน
ประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 30
ระบอบการปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เขตการปกครอง แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
วันชาติ  23 กุมภาพันธ์

ระบบสุลต่านบรูไน
                รัฐบรูไนปกครองด้วยระบบสุลต่านนับตั้งแต่ปี 1363  จนถึงปัจจุบัน  มีสุลต่านทั้งหมดจำนวน 30  องค์  โดยสุลต่านบรูไนองค์แรกคือ  Sultan  Muhammad  Shah  (1363-1402), สุลต่านองค์ที่ 6 คือ Sultan Bolkiah (1485-1524), สุลต่านองค์ที่ 29 คือ Sultan Omar  Ali  Saifuddin  III (1950-1967)  และสุลต่านองค์ปัจจุบันคือ Sultan  Haji  Hassanal  Bolkiah  Mu’izzaddin  Waddaulah  ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี 1967  จนถึงปัจจุบัน.

การเมืองการปกครองของบรูไน
            ประเทศบรูไนดารุสสาลามเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Mornachy ) ซึ่งมีหลักการว่า  Melayu Islam Berraja ( MIB ) โดยองค์สุลต่านเป็นผู้นำของประเทศและเป็นผู้นำรัฐบาล  ด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกลาโหม  ได้รับการช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากสภาที่ปรึกษา  และคณะรัฐมนตรีประเทศบรูไนไม่มีสภานิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎร  ในปี 2000  ทางองค์สุลต่านได้มีการประชุมเพื่อกำหนดรัฐสภา (Parliament)  ซึ่งไม่เคยมีการจัดตั้งมานับตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ  ด้านการป้องกันประเทศนั้น  ทางบรูไนได้มีการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ  โดยทางอังกฤษได้ส่งกลุ่มทหารเผ่ากรุข่า (Gurkha ) ซึ่งเป็นชนเผ่าของประเทศเนปาลได้ตั้งฐานอยู่ในประเทศบรูไน ตั้งอยู่ที่ Seria  การป้องกันประเทศของบรูไนนับว่ามีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับความร่ำรวยของประเทศ  ประเทศบรูไนเองก็มีส่วนในการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ Spratly  ซึ่งมีประเทศมาเลเซีย ,จีน ,ไต้หวัน ,เวียดนาม ,ฟิลิปปินส์ร่วมอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะดังกล่าวด้วย

                บรูไนแบ่งการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ คือ
1.            Belait
                            เป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดของบรูไน  เป็นอำเภอที่อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศบรูไน  มีเมืองเอกชื่อว่า Kuala Belait  เมืองอื่นๆที่มีชื่อเช่น Badas , Kerangan ,Nyatan ,Labi,Lumut , Seria, Sukang และ Talingan  อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดทะเลจีนใต้  ทางทิศตะวันออกติดกับอำเภอ Tutang และทางทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับประเทศมาเลเซีย
2.            Brunei และ Muara 
                            เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของประเทศบรูไน  ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ  มีเมืองเอกชื่อว่า Bandar Seri Begawan ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบรูไนด้วย  เมืองที่สำคัญมีเมือง  Muara อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนไต้  ทางทิศตะวันออกติดกับแหลมหรือ อ่าวบรูไน  ทางทิศไต้ติดกับประเทศมาเลเซีย  และทิศตะวันตกติดกับ Tutang และที่อ่าวบรูไนมีเกาะอีกหลายเกาะตั้งอยู่
3.            Temburong
                            เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศบรูไน  อำเภอ Temburong  เป็นอำเภอที่ค่อนข้างแปลก  เพราะอำเภอนี้ถูกตัดขาดจากดินแดนของประเทศบรูไนมีเพียงอ่าวบรูไนเท่านั้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างอำเภอ Temburong  กับส่วนอื่นๆของประเทศบรูไน  ดังนั้นเมื่อประชาชนประเทศบรูไนจากอำเภอ Temburong  จะเดินทางไปยังอำเภออื่นๆของประเทศบรูไน จึงมีทางเดียวเท่านั้นที่เป็นดินแดนเดียวกัน  นั้นคือการเดินทางทางทะเล โดยผ่านอ่าวบรูไน  ส่วนการเดินทางทางบกนั้นจำเป็นต้องผ่านดินแดนของประเทศมาเลเซียส่วนที่เรียกว่า Limbang  ดังนั้นประชาชนชาวบรูไนจากอำเภอ Temburong ที่ต้องการเดินทางไปยังส่วนอื่นๆของบรูไนโดยผ่าน Limbang จึงต้องใช้ Pasport ในการเดินทางดังกล่าว
4.            Tutong
                            เป็นอำเภอหนึ่งของประเทศบรูไน  มีเมืองเอกชื่อว่า Tutong  ส่วนเมืองที่สำคัญอื่นๆเช่น  Kuala Abang , Lamunin, Melit, Penanjong และTelisai  อำเภอนี้มีเพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้  ทางทิศตะวันออกกับอำเภอBrunei และMuara รวมทั้งประเทศมาเลเซีย  ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับอำเภอ Belait
                  ในแต่ละเขตหรืออำเภอของประเทศบรูไน  มีผู้บริหารเรียกว่า นายอำเภอ หรือ Pegawai Daerah  โดยแต่ละอำเภอแบ่งการปกครองออกเป็นตำบล  มีผู้นำระดับตำบลเรียกว่า Penghulu และในแต่ตำบลประกอบด้วยหมู่บ้านหลายๆหมู่บ้าน   ผู้นำระดับหมู่บ้านเรียกว่า Ketua Kampung  
ตำบลต่างๆในประเทศบรูไนประกอบด้วย 38 ตำบล


ประชากรชาวบรูไน
ตามรัฐธรรมนูญประเทศบรูไนฉบับ 1984  ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบรูไน ที่เรียกว่า puak หรือ rumpun jati  ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ดังนี้ :-
1.            มลายูบรูไน  (Melayu Brunei)
2.            เกอดายัน  (Kedayan)
3.            ตูตง (Tutong)
4.            ดูซุน (Dusun)
5.            เบอไลต์ (Belait)
6.            มูรุต  (Murut)
7.            บีซายา (Bisaya)
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่อาศัยอยู่ในประเทศบรูไน  ในฐานะของผู้ตั้งถิ่นฐาน เช่น อังกฤษ  จีน  อินเดีย  และชนกลุ่มน้อยจากรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค

ภาษา
ภาษาประจำชาติของประเทศบรูไน คือภาษามลายู  เป็นภาษาที่ใช้พูดในประเทศมาเลเซีย  อินโดเนเซีย สิงคโปร์   นอกจากภาษามลายูแล้วในประเทศบรูไน ยังมีภาษาถิ่นอีก  เช่น ภาษาเกอดายัน  (Kedayan), ภาษาตูตง (Tutong), ภาษาดูซุน (Dusun), ภาษาเบอไลต์ (Belait), ภาษามูรุต  (Murut) และภาษาบีซายา (Bisaya)

หลักปรัชญา  MIB (Melayu  Islam  Beraja)
หลักปรัชญานี้ได้ประกาศขึ้นโดยสุลต่านบรูไน  ในวันที่ 1 มกราคม 1984  มีใจความว่า
“….Negara Brunei  Darussalam  adalah  dan  Dengan  izin  serta  limpah  kurnia  Allah
Subhanahu Wata’ala  akan  untuk  selama-lamanya  kekal
        menjadi sebuah negara Melayu Islam  Beraja  yang  merdeka,  berdaulat  dan
demokratik,  bersendikan  kepada  ajaran  ajaran  ugama  Islam  menurut  Ahli  Sunnah
Waljama’ah........”
Melayu (มลายู)
               ตามรัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน ปี 1962  กำหนดไว้ว่า  มลายูบรูไนหมายถึงกลุ่มชนเผ่าที่เป็นชาวมลายู ประกอบด้วยชนเผ่าที่เรียกว่า puak ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
           ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆสามารถเป็นผู้มีสัญชาติบรูไนได้ เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานในประเทศบรูไนเป็นเวลา 25 ปี และผ่านการทดสอบการใช้ภาษามลายูจากหน่วยงานทดสอบของรัฐ
                Islam (ศาสนาอิสลาม)
            ตามรัฐธรรมนูญประเทศบรูไน  ปี 1959  บทที่ 2 มาตราที่ 3 (i)  กำหนดไว้ว่า
               “ศาสนาประจำชาติของประเทศบรูไน คือ ศาสนาอิสลาม ตามแนวทางอะห์ลี  ซุนนะห์ วัลยามาอะห์
            ส่วนศาสนาอื่นๆยังคงสามารถปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของตนเองได้
           นั้นหมายถึงสุลต่านมีฐานะเป็นประมุขทางศาสนาของประเทศ  ส่วนตำแหน่งที่สำคัญในรัฐบาล  เช่น  มุขมนตรี รองมุขมนตรี  และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น

             ระบบราชาธิบดี (Beraja)
            พระราชาธิบดี หรือสุลต่านมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
              1.  การเป็นประมุขทางศาสนาของประเทศ 
              2.  การเป็นผู้นำทางขนบธรรมเนียม  ประเพณี  
              3.  การเป็นผู้นำหรือประมุขของประเทศ  
             4.  การเป็นผู้นำฝ่ายบริหารรัฐ             

รัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน

              ประเทศบรูไนมีการใช้รัฐธรรมนูญตั้งแตปี 1959  และรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีการแก้ไขในปี 1971  และปี 1984  โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 1959 ได้กำหนดให้สุลต่านเป็นผูนำของรัฐโดยมีอำนาจสมบูรณ์  องค์สุลต่านมีผู้ช่วยและผู้ให้คำปรึกษาโดย 5 สภา คือ
สภาศาสนา  (The Religious Council)
สภาที่ปรึกษา( The Privy   Council) 
สภารัฐมนตรี  ( The Council of  Ministers )
สภานิติบัญญัติ ( The   Legislatif Council ) และ
สภาที่เรียกว่า The Council of Succession ซึ่งทำหน้าที่ในการเลือกสุลต่านองค์ใหม่ และภาระกิจอื่นๆ 

ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 1959  นั้นกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสูงในฝ่ายบริหาร  โดยมีที่ปรึกษาชาวอังกฤษผู้มีตำแหน่งเป็น British High Commissioner ให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆยกเว้นกิจการเกี่ยวกับศาสนา  และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมลายู  ต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ในปี 1971  โดยอังกฤษมีอำนาจในการต่างประเทศ  ส่วนกิจการความมั่นคงการป้องกันประเทศอยู่ในความรับผิดชอบของประเทศบรูไนและอังกฤษ  และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งเมื่อประเทศบรูไนได้รับเอกราช เมื่อ 1 มกราคม 1984  โดยในปีดังกล่าวสุลต่านได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 1986  สุลต่านได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ตามรัฐธรรมนูญ 1959  การแต่งตั้งสมาชิกของสภาต่างๆ เป็นอำนาจของสุลต่าน  โดยสภาศาสนาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม  สภาที่ปรึกษา (องคมนตรี ) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการต่างๆตามรัฐธรรมนูญ  สภานิติบัญญัติให้คำปรึกษาเพื่อให้รัฐธรรมนูญได้รับการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์  แต่ความจริงแล้วสภานิติบัญญัติไม่มีการประชุมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว 

พรรคการเมือง

จนถึงปัจจุบันประเทศบรูไนพรรคการเมืองยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก  จนสามารถเรียกได้ว่าพรรคการเมืองของประเทศบรูไนไม่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศบรูไนเลย   ในประเทศบรูไนจะมีเพียงพรรคการเมืองเล็กๆพรรคหนึ่งซึ่งแทบจะไม่มีบทบาททางการเมือง  หรือทำกิจกรรมทางการเมืองในประเทศบรูไน   พรรคดังกล่าวคือพรรคจิตสำนึกประชาชนบรูไน ( Parti Kesedaran Rakyat Brunei  ) หรือ PAKAR และพรรคเอกภาพแห่งชาติบรูไน ( Parti Perpaduan  Kebangsaan Brunei )   หรือ PPKB ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเมื่อไม่นานมานี้เอง.