โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อ 23
มีนาคม 2015 เป็นวันที่นายลี กวน ยิว
อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้สิ้นชีวิตลง ชื่อของนายลี กวน ยิว
ก็ถูกกล่าวในฐานะผู้ที่นำประเทศสิงคโปร์ จากประเทศเกาะที่แทบจะไม่มีอะไร
จนกลายมาเป็นเสือทางเศรษฐกิจของเอเชีย และเมื่อมีการกล่าวถึงประเทศสิงคโปร์แล้ว
นอกจากนายลี กวน ยิว แล้ว ก็จะมีการกล่าวถึงบุคคลอีกผู้หนึ่งที่ทางรัฐบาลถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์
นั้นคือ เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles)
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (อังกฤษ: Sir Thomas Stamford Raffles) จะเข้าไปยังสิงคโปร์ก็มีกษัตริย์มลายูปกครองสิงคโปร์อยู่แล้ว รวมทั้งกรณีการ “อุปโลก” เต็งกูฮุสเซ็นให้เป็นสุลต่านฮุสเซ็น สุลต่านแห่งสิงคโปร์ ก็มีความเกี่ยวข้องกับระบบกษัตริย์มลายู แต่ถ้าดูในหนังสือตำราต่างๆสิงคโปร์ จะเห็นถึงการพยายามจะลบประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ออกจากประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ จนคนรุ่นปัจจุบันแทบจะไม่ทราบถึงการเคยมีอยู่ของกษัตริย์มลายูแห่งสิงคโปร์
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (อังกฤษ: Sir Thomas Stamford Raffles) จะเข้าไปยังสิงคโปร์ก็มีกษัตริย์มลายูปกครองสิงคโปร์อยู่แล้ว รวมทั้งกรณีการ “อุปโลก” เต็งกูฮุสเซ็นให้เป็นสุลต่านฮุสเซ็น สุลต่านแห่งสิงคโปร์ ก็มีความเกี่ยวข้องกับระบบกษัตริย์มลายู แต่ถ้าดูในหนังสือตำราต่างๆสิงคโปร์ จะเห็นถึงการพยายามจะลบประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ออกจากประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ จนคนรุ่นปัจจุบันแทบจะไม่ทราบถึงการเคยมีอยู่ของกษัตริย์มลายูแห่งสิงคโปร์
อดีตหมู่บ้านชาวมลายูในสิงคโปร์
อดีตหมู่บ้านชาวมลายูในสิงคโปร์
หลังจากการล่มสลายของรัฐมลายูสิงคโปร์ที่มีกษัตริย์ปกครองอยู่
5 องค์ เกาะสิงคโปร์ก็สิ้นบทบาท และอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐโยโฮร์
โดยรัฐโยโฮร์ในขณะนั้นมีดินแดนค่อนข้างกว้างมาก ประกอบด้วยโดยโฮร์-ปาหัง-สิงคโปร์
และหมู่เกาะเรียว ลิงฆา ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินโดเนเซีย ในขณะที่สุลต่านมาห์มุด เรียยาต ชาห์ ที่ 3 ผู้เป็นสุลต่านรัฐโยโฮร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1761-1812 ได้สิ้นชีวิตลงที่เกาะลิงฆา
(Pulau Lingga) ขณะนั้นเกาะลิงฆา เป็นศูนย์อำนาจของรัฐโยโฮร์
บางข้อมูลกล่าวว่าด้วยราชายะฟาร์ผู้มีอำนาจเป็นอันดับสองรองจากสุลต่านไม่ชอบเต็งกูฮุสเซ็น
บุตรคนโตของสุลต่านมาห์มุด เรียยาต ชาห์ ที่ 3
ในการเป็นสุลต่านคนต่อไป แต่บางข้อมูลบอกว่าตามราชธรรมเนียมมลายู
จะต้องมีการประกาศสุลต่านองค์ใหม่ก่อนพิธีฝังศพสุลต่านองค์เก่าที่สิ้นชีวิต
แต่ขณะนั้นเต็งกูฮุสเซ็น อยู่ในปาหังไม่ทันกลับมาเข้าพิธีได้
ดังนั้นจึงมีการยกน้องชายคนละแม่ที่ชื่อว่าราชาอับดุลราห์มานขึ้นเป็นสุลต่านแห่งรัฐโยโฮร์
และใน 7 มิถุนายน
1823 ฝ่ายเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้ทำสัญญาใหม่กับสุลต่านฮุสเซ็นเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายอังกฤษมากขึ้นอีก
ต่อมาเมื่อ 2 สิงหาคม 1824 ฝ่ายอังกฤษ
โดยจอห์น ครอเฟิร์ด เป็นตัวแทน ได้ทำสัญญากับฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็น
โดยฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็นยอมมอบอำนาจทั้งหมดในเกาะสิงคโปร์และเกาะใกล้เคียงให้ฝ่ายอังกฤษเป็นผู้ปกครอง
สุลต่านฮุสเซ็นอยู่ในสิงคโปร์แบบไร้อำนาจ ต่อมาในปี 1834 จึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานในรัฐมะละกา
มาเลเซีย จนเสียชีวิตที่นั่น ทิ้งลูกหลานส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในสิงคโปร์
หมู่บ้านชาวประมงมลายูในสิงคโปร์
เต็งกูฮุสเซ็นผิดหวังจึงไปอยู่ที่เกาะปือญืองัต (Pulau Penyengat) อังกฤษรู้ถึงความขัดแย้งดังกล่าว หลังจากนั้นอังกฤษ โดยเซอร์ โทมัส
สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ สั่งให้พันโท วิลเลี่ยม ฟาร์กูฮา
เชิญเต็งกูฮุสเซ็นมายังสิงคโปร์ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1819
อังกฤษก็ทำพิธีแต่งตั้งเต็งกูฮุสเซ็นเป็นกษัตริย์หรือสุลต่านแห่งสิงคโปร์
เมื่อทำพิธีเสร็จอังกฤษก็ทำสัญญากับสุลต่านฮุสเซ็นโดยอังกฤษสามารถตั้งโกดังสินค้า
และเป็นผู้ดูแลท่าเรือสิงคโปร์ และนับจากนั้นเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์
ก็ทำการสร้างเมืองสิงคโปร์ขึ้นมาใหม่ ต่อมาเมื่อ
26 มิถุนายน 1819 เซอร์ โทมัส
สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ และพันโทวิลเลี่ยม ฟาร์กูฮา ผู้ทำหน้าที่เป็น Resident
ของสิงคโปร์ ได้ทำสัญญาอีกครั้งกับฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็น
โดยอังกฤษจะดูแลพื้นที่ทั้งหมดของสิงคโปร์ ยกเว้นหมู่กือลัม (Kampung Gelam)ของสุลต่านฮุสเซ็น และหมู่บ้านเตอเมิงกง (Kampung Temenggung) ของเตอเมิงกงอับดุลราห์มาน ผู้มีอำนาจอันดับสองรองจากสุลต่านฮุสเซ็น
ในปี 1823 เซอร์
โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ได้เปลี่ยน Resident หรือผู้ปกครองสิงคโปร์
จากพันโทวิลเลี่ยม ฟาร์กูฮา มาเป็น จอห์น ครอเฟิร์ด
สุสานสุลต่านฮุสเซ็นในรัฐมะละกา
สิ่งที่เหลือให้เห็นผลงงานของสุลต่านฮุสเซ็นในปัจจุบัน คือ
มัสยิดสุลต่านที่สร้างจากเงินที่ได้รับจากอังกฤษ และวังของตนเองที่สร้างขึ้น
โดยปัจจุบันได้กลายมาเป็นศูนย์มรดกมลายู หรือ Malay Heritage Center
วังสุลต่านก่อนการซ่อมแซมปรับปรุง
ภายหลังการซ่อมแซม
สภาพภายในวังสุลต่าน
บริเวณศูนย์มรดกมลายู
มัสยิดสุลต่าน
มัสยิดสุลต่าน
มัสยิดสุลต่าน
ผู้เขียนเคยพานักศึกษาวิชาเอกมลายู ม.อ. ปัตตานี
ไปเยี่ยมศูนย์มรดกมลายู หรือ Malay Heritage Center เมื่อหลายปีก่อน
เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับมลายู
เคยถ่ายรูปสัญญาที่เป็นภาษามลายูอักขระยาวีที่อังกฤษทำกับฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็น
แต่เมื่อปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีอีกแล้ว ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า
เหมือนกับว่ารัฐบาลสิงคโปร์พยายามจะลบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบสุลต่านมลายูในสิงคโปร์
เหมือนกับว่าระบบสุลต่านมลายูไม่เคยเกิดขึ้นในสิงคโปร์
Tiada ulasan:
Catat Ulasan