Sabtu, 28 Mac 2015

กษัตริย์มลายูแห่งสิงคโปร์ที่ถูกลืม

โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
             เมื่อ 23 มีนาคม 2015 เป็นวันที่นายลี กวน ยิว อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้สิ้นชีวิตลง ชื่อของนายลี กวน ยิว ก็ถูกกล่าวในฐานะผู้ที่นำประเทศสิงคโปร์ จากประเทศเกาะที่แทบจะไม่มีอะไร จนกลายมาเป็นเสือทางเศรษฐกิจของเอเชีย และเมื่อมีการกล่าวถึงประเทศสิงคโปร์แล้ว นอกจากนายลี กวน ยิว แล้ว ก็จะมีการกล่าวถึงบุคคลอีกผู้หนึ่งที่ทางรัฐบาลถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ นั้นคือ เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles) 
           แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (อังกฤษ: Sir Thomas Stamford Raffles) จะเข้าไปยังสิงคโปร์ก็มีกษัตริย์มลายูปกครองสิงคโปร์อยู่แล้ว รวมทั้งกรณีการ “อุปโลก” เต็งกูฮุสเซ็นให้เป็นสุลต่านฮุสเซ็น สุลต่านแห่งสิงคโปร์ ก็มีความเกี่ยวข้องกับระบบกษัตริย์มลายู แต่ถ้าดูในหนังสือตำราต่างๆสิงคโปร์ จะเห็นถึงการพยายามจะลบประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ออกจากประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ จนคนรุ่นปัจจุบันแทบจะไม่ทราบถึงการเคยมีอยู่ของกษัตริย์มลายูแห่งสิงคโปร์

                ผู้เขียนมีหนังสืออยู่ 2 เล่มที่เขียนถึงเรื่องราวการมีอยู่ของกษัตริย์มลายูแห่งสิงคโปร์ เล่มแรกคือ Kerajaan Melayu Lama Singapura (รัฐมลายูเก่าแห่งสิงคโปร์) เขียนโดยนายอาลี อาซีซ พิมพ์เมื่อปี 1965 โดยสำนักพิมพ์อันตารา กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ส่วนเล่มที่ 2 คือ Sejarah Singapura (ประวัติศาสตร์สิงคโปร์) เขียนโดยนายฮัจญีบูยง  อาดิล พิมพ์เมื่อปี 1972 โดยสำนักเดวันบาฮาซาฯ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย  หนังสือข้างต้นได้อ้างบทความของ Dr. W. Linehan เรื่อง The King of 14th Century Singapore ซึ่งเขียนลงในวารสาร JMBRAS ในปี 1947 ความว่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์เคยถูกปกครองโดยกษัตริย์มลายูที่มีรากเหง้ามาจากเมืองปาเล็มบังถึง 5 องค์ด้วยกัน กษัตริย์มลายูดังกล่าวองค์แรก คือ Sri Tri Buana หรือ Sang Nila Utama ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1299-1347  องค์ที่สอง คือ Raja Kecil Besar หรือ Paduka Seri Pikrama Wira ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1347-1362  องค์ที่สาม คือ Raja Muda หรือ Seri Rana Wira Kerma ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1362-1375 ส่วนองค์ที่สี่ คือ Dasia Raja หรือ Paduka Seri Maharaja ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1375-1388 และองค์ที่ห้า คือ Raja Iskandar Shah หรือ Sri Parameswara ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1388- 1391
อดีตหมู่บ้านชาวมลายูในสิงคโปร์
อดีตหมู่บ้านชาวมลายูในสิงคโปร์
                หลังจากการล่มสลายของรัฐมลายูสิงคโปร์ที่มีกษัตริย์ปกครองอยู่ 5 องค์ เกาะสิงคโปร์ก็สิ้นบทบาท และอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐโยโฮร์ โดยรัฐโยโฮร์ในขณะนั้นมีดินแดนค่อนข้างกว้างมาก ประกอบด้วยโดยโฮร์-ปาหัง-สิงคโปร์ และหมู่เกาะเรียว ลิงฆา ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินโดเนเซีย  ในขณะที่สุลต่านมาห์มุด เรียยาต ชาห์ ที่ 3 ผู้เป็นสุลต่านรัฐโยโฮร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1761-1812 ได้สิ้นชีวิตลงที่เกาะลิงฆา (Pulau Lingga) ขณะนั้นเกาะลิงฆา เป็นศูนย์อำนาจของรัฐโยโฮร์ บางข้อมูลกล่าวว่าด้วยราชายะฟาร์ผู้มีอำนาจเป็นอันดับสองรองจากสุลต่านไม่ชอบเต็งกูฮุสเซ็น บุตรคนโตของสุลต่านมาห์มุด เรียยาต ชาห์ ที่ 3 ในการเป็นสุลต่านคนต่อไป แต่บางข้อมูลบอกว่าตามราชธรรมเนียมมลายู จะต้องมีการประกาศสุลต่านองค์ใหม่ก่อนพิธีฝังศพสุลต่านองค์เก่าที่สิ้นชีวิต แต่ขณะนั้นเต็งกูฮุสเซ็น อยู่ในปาหังไม่ทันกลับมาเข้าพิธีได้ ดังนั้นจึงมีการยกน้องชายคนละแม่ที่ชื่อว่าราชาอับดุลราห์มานขึ้นเป็นสุลต่านแห่งรัฐโยโฮร์ 
หมู่บ้านชาวประมงมลายูในสิงคโปร์
              เต็งกูฮุสเซ็นผิดหวังจึงไปอยู่ที่เกาะปือญืองัต (Pulau Penyengat) อังกฤษรู้ถึงความขัดแย้งดังกล่าว หลังจากนั้นอังกฤษ โดยเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ สั่งให้พันโท วิลเลี่ยม ฟาร์กูฮา เชิญเต็งกูฮุสเซ็นมายังสิงคโปร์ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1819 อังกฤษก็ทำพิธีแต่งตั้งเต็งกูฮุสเซ็นเป็นกษัตริย์หรือสุลต่านแห่งสิงคโปร์ เมื่อทำพิธีเสร็จอังกฤษก็ทำสัญญากับสุลต่านฮุสเซ็นโดยอังกฤษสามารถตั้งโกดังสินค้า และเป็นผู้ดูแลท่าเรือสิงคโปร์ และนับจากนั้นเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ก็ทำการสร้างเมืองสิงคโปร์ขึ้นมาใหม่  ต่อมาเมื่อ 26 มิถุนายน 1819 เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ และพันโทวิลเลี่ยม ฟาร์กูฮา ผู้ทำหน้าที่เป็น Resident ของสิงคโปร์ ได้ทำสัญญาอีกครั้งกับฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็น โดยอังกฤษจะดูแลพื้นที่ทั้งหมดของสิงคโปร์ ยกเว้นหมู่กือลัม (Kampung Gelam)ของสุลต่านฮุสเซ็น และหมู่บ้านเตอเมิงกง (Kampung Temenggung) ของเตอเมิงกงอับดุลราห์มาน ผู้มีอำนาจอันดับสองรองจากสุลต่านฮุสเซ็น ในปี 1823  เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ได้เปลี่ยน Resident หรือผู้ปกครองสิงคโปร์ จากพันโทวิลเลี่ยม ฟาร์กูฮา มาเป็น จอห์น ครอเฟิร์ด 

            และใน 7 มิถุนายน 1823 ฝ่ายเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้ทำสัญญาใหม่กับสุลต่านฮุสเซ็นเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายอังกฤษมากขึ้นอีก ต่อมาเมื่อ 2 สิงหาคม 1824 ฝ่ายอังกฤษ โดยจอห์น ครอเฟิร์ด เป็นตัวแทน ได้ทำสัญญากับฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็น โดยฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็นยอมมอบอำนาจทั้งหมดในเกาะสิงคโปร์และเกาะใกล้เคียงให้ฝ่ายอังกฤษเป็นผู้ปกครอง สุลต่านฮุสเซ็นอยู่ในสิงคโปร์แบบไร้อำนาจ ต่อมาในปี 1834 จึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานในรัฐมะละกา มาเลเซีย จนเสียชีวิตที่นั่น ทิ้งลูกหลานส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ 
สุสานสุลต่านฮุสเซ็นในรัฐมะละกา
         สิ่งที่เหลือให้เห็นผลงงานของสุลต่านฮุสเซ็นในปัจจุบัน คือ มัสยิดสุลต่านที่สร้างจากเงินที่ได้รับจากอังกฤษ และวังของตนเองที่สร้างขึ้น โดยปัจจุบันได้กลายมาเป็นศูนย์มรดกมลายู หรือ Malay Heritage Center
วังสุลต่านก่อนการซ่อมแซมปรับปรุง
ภายหลังการซ่อมแซม
สภาพภายในวังสุลต่าน

บริเวณศูนย์มรดกมลายู
มัสยิดสุลต่าน
มัสยิดสุลต่าน
มัสยิดสุลต่าน
ผู้เขียนเคยพานักศึกษาวิชาเอกมลายู ม.อ. ปัตตานี ไปเยี่ยมศูนย์มรดกมลายู หรือ Malay Heritage Center เมื่อหลายปีก่อน เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับมลายู เคยถ่ายรูปสัญญาที่เป็นภาษามลายูอักขระยาวีที่อังกฤษทำกับฝ่ายสุลต่านฮุสเซ็น แต่เมื่อปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีอีกแล้ว ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า เหมือนกับว่ารัฐบาลสิงคโปร์พยายามจะลบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบสุลต่านมลายูในสิงคโปร์ เหมือนกับว่าระบบสุลต่านมลายูไม่เคยเกิดขึ้นในสิงคโปร์


Jumaat, 27 Mac 2015

โครงการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 5 - HuSo PSU Research Day 2015

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้จัดงานโครงการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการมาแล้วสี่ครั้ง และในปี 2015 นี้ก็ได้จัดโครงการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ เป็นครั้งที่ 5  สำหรับการจัดโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการนี้ ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา โดยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 

Khamis, 26 Mac 2015

ปฏิบัติยามรุ่งอรุณ หรือ Hari Serangan Subuh (Dawn Raid) ของ ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ปฏิบัติการยามรุ่งอรุณ หรือ Serangan Subuh
ปฏิบัติการยามรุ่งอรุณ หรือ Serangan Subuh รู้จักในภาษาอังกฤษว่า  'Dawn Raid' เกิดขึ้นในปี  1981 กล่าวได้ว่าเป็นการประกาศเอกราชทางเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย แม้ว่าประเทศมาเลเซีย จะได้รับเอกราชมาตั้งแต่ปี 1957 ด้วยเศรษฐกิจของมาเลเซียยังคงถูกควบคุมโดยอังกฤษ

อังกฤษโดยผ่านบริษัทของอังกฤษยังคงควบคุมเศรษฐกิจมาเลเซีย และผลกำไรก็จะกลายเป็นของอังกฤษ เช่นบริษัท Guthrie ที่มีสวนถึง  200,000 เอเคอร์ หรือ 440,000 ไร่ ในปี 1981 เปรียบเทียบกับในปีทศวรรษ  1970 ที่มีเพียง 175,000 เอเคอร์ หรือ 385,000 ไร่
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด

การที่บริษัทอังกฤษพยายามจะคุมเศรษฐกิจมาเลเซียนั้น มีมาตั้งแต่ยุคตุนอับดุลราซัค  เมื่อ ดร. มหาเธร์เป็นนายกรัฐมนตรีได้ 2 เดือน  สิ่งที่มีเหตุจูงใจให้รัฐบาลมาเลเซีย เริ่มปฏิบัติการ Serangan Subuh หรือ Serangan Waktu Subuh ด้วยถูกกดดันจากสถานการณ์  ขณะนั้นบริษัทยักษ์ของคนจีนมาเลเซีย ที่ชื่อว่า MPH เริ่มมีการซื้อหุ้นของบริษัทอังกฤษ  ถ้าบริษัทจีน MPH สามารถซื้อหุ้นบริษัท Guthrie นั้นเท่ากับบริษัทคนจีนมาเลเซีย จะยิ่งสามารถคุมเศรษฐกิจมาเลเซีย  นอกจากนั้นมีนายทุนชาวจีนมาเลเซีย เริ่มซื้อที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ที่มีอังกฤษเป็นเจ้าของ

ในขณะนั้นกองทุนของรัฐบาลมาเลเซียที่ชื่อว่า  Pemodalan Nasional Berhad (PNB) มีหุ้นอยู่ในบริษัท Guthrie 25%  ดังนั้นกองทุน Pemodalan Nasional Berhad (PNB) จึงต้องการหุ้นอีกไม่มาก เพื่อที่จะสามารถควบคุมบริษัท Guthrie  ช่วงแรกในการเข้าซื้อหุ้นบริษัท Guthrie มีปัญหา ด้วยราคาหุ้นค่อนข้างแพง
เต็งกูราซาลี เต็งกูฮัมซะห์
ตุนอิสมาแอล โมฮัมหมัดอาลี
ตันสรีอับดุลคาลิด อิบราฮิม
ในหนึ่งปีต่อมา มีการวางแผนที่รัดคุมยิ่งขึ้น  ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และ  เต็งกูราซาลี เต็งกูฮัมซะห์ เป็นรัฐมนตรีการคลัง  ผู้วางแผนในการซื้อหุ้นคือ ตุน อิสมาแอล โมฮัมหมัด อาลี ซึ่งมีตำแหน่งเป็น ประธานของกองทุน Pemodalan Nasional Berhad (PNB) ก่อนหน้านั้น ตุน อิสมาแอล โมฮัมหมัด อาลี เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย โดยเขาเป็นคนมลายูคนแรกที่มีตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย นอกจากนั้นเขายังเป็นพี่ภรรยาของดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด

อีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในการปฏิบัติการ Serangan Subuh หรือ Serangan Waktu Subuh คือ ตันสรี อับดุบคาลิด   อิบราฮิม ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนของ Pemodalan Nasional Berhad (PNB) สาเหตุที่เขาได้รับให้ร่วมในการปฏิบัติการในครั้งนี้ เพราะเขาเคยทำงานกับบริษัท  Barings London โดยบริษัท Barings London เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท Guthrie   อีกหนึ่งที่มีส่วนในการปฏิบัติการในครั้งนี้ คือ N.M. Rothschild & Sons Ltd. โดยทาง John McDonald (Jock) GREEN-ARMYTAGE เป็นตัวแทนของ N.M. Rothschild & Sons Ltd. ในการวางแผนการยึดบริษัท Guthrie และอีกหนึ่งบริษัทที่ร่วมในครั้งนี้ คือ Rowe & Pittman มีบทบาทในการซื้อหุ้นบริษัท Guthrie สำหรับเงินทุนที่ใช้ในการซื้อหุ้นบริษัท  Guthrie เป็นเงินทุนที่มาจากเงินของกองทุนรัฐบาล เช่น Petrons, PERNAS และ  Amanah Saham Nasional (ASN)
ตลาดหลักทรัพย์กรุงลอนดอน
 ตลาดหลักทรัพย์กรุงลอนดอน
ตลาดหลักทรัพย์กรุงลอนดอน
วันปฏิบัติยามรุ่งอรุณ หรือ Hari Serangan Subuh (Dawn Raid)
การปฏิบัติการ เมื่อ 7 กันยายน 1981 เวลา 9.00 เช้าของประเทศอังกฤษ หรือเวลา 16.00 เย็นของประเทศมาเลเซีย  เป็นการปฏิบัติการแบบเงียบ  ไม่เช่นนั้นราคาหุ้นของบริษัท Guthrie จะสูงขึ้น  และถ้าเกิดข่าวรั่ว จะทำให้ฝ่ายอังกฤษมีการขัดขวางการซื้อหุ้นในครั้งนี้ด้วย

ทางตันสรีคาลิด  อิบราฮิม ถูกให้ทำหน้าที่ในการซื้อหุ้นต่างๆในประเทศมาเลเซีย ที่มีผู้ถือหุ้น เช่น Bank Simpanan, Genting และ Kuwait Investment Group ซึ่งการซื้อหุ้นต่างๆในประเทศมาเลเซียไม่มีปัญหา ส่วนตุนอิสมาแอล โมฮัมหมัดอาลี  ทำหน้าที่ในการซื้อหุ้นต่างๆในประเทศสิงคโปร์ เช่น หุ้นจากธนาคาร OCBC  ส่วนการซื้อหุ้นในประเทศอังกฤษ ผู้ที่ทำหน้าที่ คือ บริษัทนายหน้าค้าหุ้น Rowe & Pittman  และ Rothschilds

ข่าวร้ายจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อทางธนาคาร OCBC  ไม่ยอมขายหุ้นแก่ Pemodalan Nasional Berhad (PNB) แต่การปฏิบัติการก็ต้องดำเนินการต่อไป เพราะทาง Pemodalan Nasional Berhad (PNB) มีหุ้นจาก Bank Simpanan, Genting และ Kuwait Investment Group อยู่ในมือแล้ว

ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทางบริษัท  Rothschilds เจรจากับ M&G Investment Trust ให้ขายหุ้นจำนวน 11% แก่ทาง Pemodalan Nasional Berhad (PNB) ส่วนทาง Rowe & Pittman  มีการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อยชาวอังกฤษ จนสามารถรวบรวมได้ 5%  ในช่วงเวลาเพียง 4 ชั่วโมง ทาง Pemodalan Nasional Berhad (PNB) สามารถซื้อหุ้นของบริษัท Guthrie ได้ถึง 50.41%  โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นจากธนาคาร OCBC
หนังสือพิมพ์ลงข่าวปฏิบัติงานยึดบริษัท Guthri

หนังสือพิมพ์ลงข่าวปฏิบัติงานยึดบริษัท Guthri
การป้องกันหลังจากวันปฏิบัติยามรุ่งอรุณ หรือ Hari Serangan Subuh (Dawn Raid)
การปฏิบัติยามรุ่งอรุณถือเป็นการตบหน้าอังกฤษอย่างรุนแรง  เป็นการรุกยึดบริษัทอังกฤษของประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ หลังจากนั้นอังกฤษจึงออกกฎหมายเพื่อป้องกันเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก 
หลังจากที่มาเลเซียได้ปฏิบัติยามรุ่งอรุณ หรือ Hari Serangan Subuh (Dawn Raid) ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด จึงประกาศบอยคอตการใช้บริการและซื้อสินค้าอังกฤษ โดยใช้นโยบาย 'Buy British Last'  คือจะซื้อสินค้าของอังกฤษ เป็นสินค้าสุดท้าย เมื่อไม่มีสินค้าอื่นๆอีกแล้ว  ทางบริษัท Dunlop ซึ่งรับสัมปทานจากรัฐบาลมาเลเซีย ตั้งแต่ปี 1963 ก็ถูกยกเลิก โดยให้สัมปทานแก่บริษัทสหรัฐ จนในที่สุดบริษัท Dunlop ต้องขายหุ้นให้แก่บริษัททุนจีนมาเลเซียที่ชื่อ ว่า MPH

ภายใน 3 เดือนหลังจากที่หุ้นของบริษัท  Guthrie ถูกขายให้แก่ Pemodalan Nasional Berhad (PNB) ก็มีการทยอยขายหุ้นบริษัท  Guthrie เรื่อยๆ จนปลายปี 1981 ปรากฏว่า Pemodalan Nasional Berhad (PNB) สามารถมีหุ้นในบริษัท Guthrie ได้ครบ 100%

ผลสำเร็จจากปฏิบัติยามรุ่งอรุณ หรือ Hari Serangan Subuh (Dawn Raid)
หลังจากบริษัท Guthrie ถูกขายหุ้นให้แก่กองทุนของรัฐบาลมาเลเซียที่ชื่อว่า Pemodalan Nasional Berhad (PNB) ยังมีอีก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขายหุ้นให้แก่ Pemodalan Nasional Berhad (PNB) คือ Highlands & Lowlands, Barlows และ  Harrisons & Crosfield (H&C)  สำหรับบริษัท Harrisons & Crosfield (H&C)  ไม่เพียงมีสวนขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังมีสวนขนาดใหญ่ในประเทศนิวซีแลนด์และไต้หวันอีกด้วย  ดังนั้น Pemodalan Nasional Berhad (PNB) จึงกลายเป็น เจ้าของทรัพย์สินที่เคยเป็นของอังกฤษ ที่กระจายไปทั่วโลก และกลายเป็นเจ้าของสวนขนาดใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตันสรีคาลิด อิบราฮิม กล่าวว่า ความจริงเราได้บริษัท  Guthrie โดยฟรี  ด้วยหลังจากที่เราขายทรัพย์สินของบริษัทที่มีอยู่ในต่างประเทศ ปรากฏว่าได้รับกำไร ที่มากกว่าเงินที่ใช้ในการปฏิบัติยามรุ่งอรุณ หรือ Hari Serangan Subuh (Dawn Raid)

Sabtu, 14 Mac 2015

เสวนานูซันตารา ครั้งที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ ผู้เขียนได้รับแจ้งจากคุณอับดุลนัดดิน ซาอิดดิน ผู้สื่อข่าวอาวุโสของหนังสือพิมพ์อุตุซันบอร์เนียว (Utusan Borneo) หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งหนังสือพิมพ์นี้ จัดจำหน่ายทั้งในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค เขากับเพื่อนๆ เช่น คุณอาเกียะห์  บารัคบะค์ เจ้าหน้าที่อาวุโสสนามบินนานาชาติเมืองโกตากีนาบาลู รัฐซาบะห์ จะเดินทางมาเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้เขียนแจ้งว่าในช่วงเวลาที่เขาจะมานั้นเป็นช่วงระหว่างการสอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงไม่ค่อยจะสะดวกสักเท่าไร แต่เขาแจ้งกลับมาว่า ช่วงเวลานั้นตั๋วเรื่องบินจากเมืองโกตาบารูไปกรุงกัวลาลัมเปอร์อยู่ในช่วงราคาถูก และเขาก็ได้ซื้อตั๋วแล้ว ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องต้อนรับและเคลียร์งานเพื่อจะได้สะดวกในการต้อนรับช่วงการเดินทางของพวกเขา
 การต้อนรับคณะนักศึกษามลายูศึกษาในรัฐซาบะห์ มาเลเซีย
คุณ Akiah Barabaq เลี้ยงอาหารนศ.มลายูศึกษาที่รัฐซาบะห์
 การพาเที่ยวคณะนักศึกษามลายูศึกษาในรัฐซาบะห์ มาเลเซีย
 การพาเที่ยวคณะนักศึกษามลายูศึกษาในรัฐซาบะห์ มาเลเซีย
 คุณ Akiah Barabaq เลี้ยงคณะนักศึกษามลายูศึกษาที่รัฐซาบะห์
คุณ Akiah Barabaq เลี้ยงคณะนักศึกษามลายูศึกษาที่รัฐซาบะห์
 สมาคมนักเขียนรัฐซาบะห์เลี้ยงคณะนักศึกษามลายูศึกษา
คณะที่จะเดินทางมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในครั้งนี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับศูนย์นูซันตาราศึกษา ด้วยครั้งคณะนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แบกเป้เดินทางไปรับซาบะห์ รัฐซาราวัค และบรูไนนั้น คณะของนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากคณะชาวรัฐซาบะหที่จะเดินทางมา

ในวันที่ 12 มีนาคม 2015 วันที่ทางคณะชาวรัฐซาบะห์จะเดินทางมา ผู้เขียนได้สั่งให้นักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาไปยังโรงแรมมายการ์เดน เพื่อรอต้อนรับคณะชาวรัฐซาบะห ซึ่งเมื่อคณะชาวรัฐซาราวัคมาถึงโรงแรมก็สร้างความปลื้มใจแก่คณะชาวรัฐซาบะหหลังจากนั้นอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีน หัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาจึงนำคณะชาวรัฐซาบะห์ไปยังโรงอาหารลานประดู่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อทานอาหารร่วมกับนักศึกษาที่ไปต้อนรับที่โรงแรมมายการ์เดน เมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว อาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีน จึงนำคณะชาวรัฐซาบะห์ไปเยี่ยมสถานที่สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น เมืองโบราณยะรัง ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ในวันรุ่งขึ้นทางศูนย์นูซันตาราศึกษา จึงจัดงาน “เสวนานูซันตารา ครั้งที่ 3”  มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งเข้าร่วม ได้ปรึกษากับอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีนว่าจะจัดในช่วงไหนดี ถ้าจัดในช่วงเวลาที่อาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีนสอนวิชา Malay Culture ซึ่งเป็นวิชาของแผนกวิชาภาษามลายู ก็จะมีนักศึกษาจำนวนมาก ด้วยวิชานี้มีนักศึกษาลงทะเบียนราว 200 คน แต่มีนักศึกษาสาขามลายูศึกษาน้อยมาก เราจึงตัดสินว่า อย่าเข้าตัวเลขผู้ฟังเป็นหลัก แต่เราต้องเอานักศึกษาสาขามลายูศึกษาเป็นหลัก ถึงจะมีนักศึกษามาฟังน้อย มาฟังเท่าไร เราก็เอาเท่านั้นแหละ
ผู้เขียนได้เสนอให้คณะชาวรัฐซาบะห์ โดยเฉพาะคุณอาเกียะห์ บาราบัค ผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถบัส ค่าที่พัก ค่าอาหารให้คณะที่เดินทางมาว่า เมื่อเดินทางมาจังหวัดปัตตานีแล้ว ก็สมควรที่จะเดินทางไปจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลาด้วย ไม่เช่นนั้นจะบอกคนรัฐซาบะห์ และมาเลเซียว่าเดินทางมาถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างไร ทางคุณอาเกียะห์ บาราบัค เห็นด้วยกับการเดินทางไปยังจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ดังนั้นจึง้ป็นหน้าที่ของผู้เขียนที่จะต้องนำคณะชาวรัฐซาบะห์ไปยังจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา  โดยเราเดินทางไปยังจังหวัดนราธิวาสก่อน เมื่อเดินทางไปจังหวัดนราธิวาส โดยไปเยี่ยมสถานที่สำคัญบางแห่ง พร้อมเข้าไปดูร้านขายผ้าคลุมนูนุห์ ด้วยนายอับดุลนัดดินน้น ได้เปิดร้านขายผ้าคลุมหัวที่เมืองโกตากีนาบาลู จากนั้นจึงเดินทางไปจังหวัดยะลา ก็ไปเยี่ยมสถานที่สำคัญๆหลายแห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา มัสยิดกลางของจังหวัดยะลา และเดินทางกลับถึงจังหวัดปัตตานีในช่วงตอนกลางคืน ด้วยเกิดการสื่อสารกับเพื่อนผู้ขับรถตู้ผิดพลาด เพื่อนผู้ขับรถตู้เข้าใจว่าผู้เขียนจะกลับนราธิวาส ทั้งๆที่ผู้เขียนจะกลับปัตตานี ดังนั้น เขาถึงขับรถไปส่งผู้โดยสารไปนราธิวาส โดยให้ญาติมารับผู้จะไปนราธิวาส ที่บ้านบูเกะบากง แล้วขับรถตู้ไปส่งผู้เขียนกับคณะชาวรัฐซาบะห์ที่ปัตตานี และวันรุ่งขึ้นผู้เขียนและนักศึกษาจึงไปส่งคณะชาวรัฐซาบะห์ที่คิวรถที่จะเดินทางไปยังตลาดด่านนอก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา