Rabu, 18 Februari 2015

หลักศิลาจารึกในภูมิภาคมลาย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

หลักศิลาจารึกในภูมิภาคมลายู

              หลักศิลาจารึกมีการใช้ภาษต่าง ๆ เช่น

             หลักศิลาจารึกที่ใช้ภาษาสันสกฤต

- หลักศิลาจารึก Malawarman, เมือง Kuta สร้างประมาณปี

- หลักศิลาจารึก Tarumanagara,Ciaruteun จังหวัดชวาตะวันตก สร้างปี

       หลักศิลาจารึกที่ใช้ภาษามลายู

- หลักศิลาจารึก Kedukan bukit จังหวัดสุมาตราใต้ สร้างปี 683

- หลักศิลาจารึก Talang Tuwo, จังหวัดสุมาตราใต้ สร้างปี684

- หลักศิลาจารึก Kata Kapur จังหวัด Bangka Belitungสร้างปี 686

- หลักศิลาจารึก karang Brahiจังหวัดจัมบี สร้างปี 692

- หลักศิลาจารึก Telaga Batu

- หลักศิลาจารึก Melayu Gandasuli,Temanggung,จังหวัดชวากลางสร้างปี 832

- หลักศิลาจารึก Laguna,Manilaประเทศฟิลิปปินส์สร้างปี 900

- หลักศิลาจารึก Terengganu,Kuala Berang,Terengganu สร้างปี 1303

- หลักศิลาจารึก Minye Tujuh,Minye Tjujuh ,Acehสร้างปี 1380

*หลักศิลาจารึก Terengganu เป็นหลักศิลาจารึกเดียวที่ใช้ภาษามลายูจารึกด้วยอักขระยาวี

หลักศิลาจารึกภาษาชวา

- หลักศิลาจารึก Sukabumi,Sukabumi,Pare,Kediri จังหวัดชวาตะวันออกสร้างปี 804

- หลักศิลาจารึก Kakawin Tertua Jawaสร้างปี 856

- หลักศิลาจารึก Singhasari1351, Singosari, จังหวัดชวาตะวันออกสร้างปี 1351

- หลักศิลาจารึก Ngadoman,Ngadoman(Salatiga)จังหวัดชวากลาง สร้างปี 1450

- หลักศิลาจารึก Pakubuwanax,Surakarta จังหวัดชวากลางสรร้างปี 1938

             หลักศิลาจารึกภาษาบาลี

- หลักศิลาจารึก Bebetin,จังหวัดบาหลีสร้างปี 1049 ซึ่งเป็นการคัดลอกจากหลักศิลาจารึกดั้งเดิมที่สร้างปี  

        896

      หลักศิลาจารึกภาษาซุนดา

    - หลักศิลาจารึก Astana Gede,Kawaliจังหวัดชวาตะวันตกสร้างปี 1350

       หลักศิลาจารึกภาษามลายูโบราณ(จาม)

     - หลักศิลาจารึก Dong Yen Chaoเป็นหลักศิลาเป็นหลักศิลาจารึกทีสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 4


การวิวัฒนาการของภาษามลายู

นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งการพัฒนาการของภาษามลายูออกเป็น  3  ระดับ  คือ

1.  ภาษามลายูโบราณ (Bahasa Melayu Kuno)

2.  ภาษามลายูคลาสสิค (Bahasa Melayu  Klasik)

3.  ภาษามลายูสมัยใหม่ (Bahasa Melayu  Moden)


ภาษามลายูโบราณ

เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานูซันดารา  มีความรุ่งเรื่องตั้งแต่ศตวรรษที่  7 จนถึงศตวรรษที่  13 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย  เป็นภาษา lingua  franca  (ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน)  และเป็นภาษาที่ใช้ในการปกครอง  ผู้ที่พูดภาษามลายูโบราณ  ส่วนใหญ่จะอยู่ในแหลมมลายู  ,หมู่เกาะเรียว  และสุมาตรา

ภาษามลายูโบราณกลายเป็นภาษา lingua  franca  และภาษาที่ใช้ในการปกครองเพราะ

1.  มีลักษณะเรียบง่าย  และง่ายต่อการรับอิทธิพลจากภายนอก

2.  ไม่มีการผูกติดกับความแตกต่างทางชนชั้นของสังคม

3.  มีระบบที่ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาชวา

ภาษาชวานั้นค่อนข้างจะยากต่อการสื่อสาร เพราะว่าถ้าผู้พูดมีสถานะทางชนชั้นที่แตกต่างกันหรือมีวิจัยที่แตกต่างกัน  ความหมายหนึ่งจะใช้คำที่แตกต่างกันตามสถานะหรือวัยของผู้พูด  ภาษามลายูโบราณได้รับอิทธิพลจากระบบของภาษาสันสฤตมีการใช้คำสันสฤตในการสร้างคำที่เป็นเชิงความรู้

ภาษามลายูง่ายต่อการรับอิทธิพลของภาษาสันสฤตนั้นเป็นเพราะ

1.  อิทธิพลของศาสนาฮินดู

2.  ภาษาสันสฤตอยู่ในสถานะของภาษาของชนชั้นขุนนางและมีสถานะทางสังคมที่ค่อนข้างสูง

3.  ภาษามลายูง่ายต่อการใช้ตามสถานการณ์และตามความต้องการของผู้พูด

ภาษามลายูโบราณที่มีตามหลักศิลาจารึกในศตวรรษที่  7  ซึ่งเขียนด้วยอักขระปัลลาวา (Pallawa)

- ศิลาจารึก  Kedukan  Bukit , Palembang (683)

- ศิลาจารึก Talanh Ruwo ใกล้กับ Palembang (684)

- ศิลาจารึก Kota Kampur , Pulau Bangka (686)

- ศิลาจารึก Karang Brahi , meringin.Jambi (686)

ภาษามลายูโบราณที่มีในหลักศิลาจารึกที่  Gandasuli , ชวากลาง (832)  เขียนด้วยอักขระ Nagiri

ลักษณะของภาษามลายูโบราณ

- เติมไปด้วยคำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต

- การสร้างประโยคมีลักษณะของภาษามลายู

- เสี่ยง บ (B)  จะเป็นเสียง ว (W) ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  บูลัน  -  วูลัน (เดือน) 

- เสี่ยง อือไม่มี เช่น Dengan (ดืองัน) – Dangan (ดางัน) – กับ

- คำว่า Ber  จะเป็น Mar  ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  berlepas – marlapas

- คำว่า di  จะเป็น Ni  ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  diperbuat – miparwuat

- อักขระ ฮ (h)  จะหายไปในภาษามลายูสมัยใหม่  เช่น  Semua – samuha , Saya – Sahaya

            การเปลี่ยนจากภาษามลายูโบราณสู่ภาษามลายูคลาสสิค

การเปลี่ยนแปลงของภาษามลายูจากภาษามลายูโบราณสู่ภาษามลายูคลาสสิคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของศาสนาที่เริ่มมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่  13 หลังจากนั้นภาษามลายูได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าเรื่องโครงสร้างและการเขียนมีหลักศิลาจารึก  3  หลัก  ที่มีความสำคัญ  คือ

1.  หลักศิลาจารึก  Pagar Ruyung, Minangkabau  (1356)

-  เขียนด้วยอักขระอินเดีย

-  มีคำมลายูโบราณ  และมีคำกลอนภาษาสันสกฤต

-  มีความแตกต่างเล็กน้อยจากภาษาที่ใช้ในหลักศิลาจารึกในศตวรรษที่  7

2.  หลักศิลาจารึก Minye  Tujuh , Acheh (1380)

-  ยังคงเขียนด้วยอักขระอินเดีย

-  เป็นครั้งแรกที่มีการใช้คำภาษาอาหรับ  เช่น คำว่า Nabi, Allah และ Rahmat

3.  หลักศิลาจารึก  Kuala  Berang , Terengganu (1303)

-  เขียนด้วยอักขระยาวี

-  เป็นหลักฐานว่าอักขระยาวีมีการใช้ในภาษามลายูในศตวรรษดังกล่าว

ทั้งสามหลักศิลาจารึกนี้เป็นหลักฐานสุดท้ายถึงการพัฒนาการของภาษามลายู  เพราะหลังจากศตวรรษที่  14  แล้วเริ่มเกิดวรรณกรรมมลายูในรูปแบบของการเขียน

ความรุ่งเรืองของภาษามลายูคลาสสิค  แบ่งออกเป็น 3 สมัย  คือ

1. สมัยอาณาจักรมะละกา

2. สมัยอาณาจักรอาเจะห์

3. สมัยอาณาจักรโยโฮร์ – เรียว

บรรดานักเรียนที่มีชื่อเสียงคือ Hanzah  Fansuri , Syamsuddin A1 – Suma trani , Syeikh Nuruddin  A1 – Raniry และ Abdul Rauf  A1 – Singkel

ลักษณะของภาษามลายูคลาสสิค

- ประโยคจะยาว , ซ้ำ ๆ และซับซ้อน

- ใช้ภาษาวัง  

- มักใช้คำว่า Sebermula , alkisah ,hatta , adapun

- มักใช้คำว่า pun และ lah

ภาษามลายูสมัยใหม่

เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่  19  งานเขียนของ Munshi  Abdullan  ถือว่าเป็นงานเขียนแรกเริ่มของยุคภาษามลายูสมัยใหม่


Tiada ulasan: