เนื่องในโอกาสที่ ดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น
อดีตรองคณบดี สถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นเป็น Visiting Proffesor ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เดินทางจะกลับไปเยี่ยมน้องชายที่เจ็บอยู่ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย
วิทยาเขตรัฐกลันตัน การเดินทางครั้งนั้นต้องผ่านจังหวัดปัตตานี
ดังนั้นจึงถือโอกาสนี้ ให้ ดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น
แวะมาบรรยายให้นักศึกษามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ด้วยผู้เขียนรู้จักเป็นการส่วนตัวมานานแล้วกับดร.ซัยฟุลฮัก
บินฮุสเซ็น รู้จักกันตั้งแต่ผู้ขียนกำลังเรียนปริญญาโทที่สถาบันมลายูศึกษา
มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น
ขณะนั้นกำลังเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย
และขณะนั้นเขาทำงานเป็นครูที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในรัฐกลันตัน มาเลเซีย
ในการบรรยายของดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น
ครั้งนี้ ผู้เขียนถือโอกาสเป็นโครงการแรกของศูนย์นูซันตาราศึกษาในปี 2015 และผู้เขียนใช้ชื่อโครงการครั้งนี้ว่า
“เสวนานูซันตารา ครั้งที่ 1” และจะเป็นโครงการต่อๆไปว่า
“เสวนานูซันตารา ครั้งที่ 2” “เสวนานูซันตารา ครั้งที่ 3” “เสวนานูซันตารา ครั้งที่ 4” และ“เสวนานูซันตารา
ครั้งที่.........”
การจัดบรรยายในครั้งนี้ ผู้เขียนมีการประชาสัมพันธ์ทางเฟสบุ๊ค
โดยประชาสัมพันธ์ในกลุ่มเฟสบุ๊คต่างๆ จนทำให้มีผู้สนใจจำนวนมากพอควร
แต่โฟกัสของผู้ฟังก็ยังคงอยู่ที่กลุ่มนักศึกษามลายูศึกษา นักศึกษาภาษามลายู ด้วยนักศึกษาทั้งสองกลุ่มนี้
ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานมาแล้วพอสมควร
นับเป็นเรื่องโชคดีในการบรรยายในครั้งนี้
ปรากฏว่ามีนายอุดม ปัตนวงศ์ อดีตประธาน กกต. จังหวัดยะลาได้เข้าร่วมฟังด้วย และปรากฏว่าดร.ซัยฟุลฮัก
บินฮุสเซ็น เดินทางมาถึงช้า ดังนั้นจึงให้นายอุดม ปัตนวงศ์เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับอัตลักษณ์มลายูปาตานีก่อน
และการบรรยายดำเนินไปด้วยดี โดยนายนายอุดม ปัตนวงศ์
บรรยายถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องักษาอัตลักษณ์มลายูของชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้
หลังจากนั้นเมื่อดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็นเดินทางมาถึง จึงบรรยายเกี่ยวกับภาษามลายู
การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับภาษามลายู
ดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็นได้บรรยายถึงความสำคัญของภาษามลายูในการใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
และในอนาคตภาษามลายูก็จะมีความสำคัญมากขึ้น
เพราะภาษามลายูสามารถจะเป็นภาษาสื่อสารของประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน
และชาวมลายูในสิงคโปร ในการเดินทางของดร.ซัยฟุลฮัก
บินฮุสเซ็นครั้งนี้ ผู้เขียนได้เจอกับบุคคลคนหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการจะพบ
ด้วยขณะที่ผู้เขียนและอาจารย์อับดุลราซัค
ปาแนมาแล อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กำลังทำวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยมาลายาอยู่นั้น
เราทั้งสองได้ร่วมโครงการวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย
โดยลงพื้นที่นอกจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสแล้ว ยังได้ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา
นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี
ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยมาลายาได้บุคคลผู้นั้นเป็นผู้นำทาง
เป็นผู้อำนวยความสะดวกตลอกของการเดินทางภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช
และในการเดินทางของดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็นครั้งนี้
ผู้เขียนก็ได้เจอกับบุคคลผู้นั้น โดยบังเอิญ เขาคือคุณอับดุลชูโกร์ ฮุสเซ็น ชาวมลายูแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราช
ดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น
สื่อมวรชนก็มาด้วย
การบรรยายดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็นครั้งนี้
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างผู้เขียนกับทางดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น และคุณอับดุลชูโกร์ ฮุสเซ็น เพราะหลังจากนี้ ทางศูนย์นันตาราจะต้องมีโครงการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชาวมลายูนครศรีธรรมราชกับชาวมลายูในนครศรีธรรมราช รวมทั้งชาวมลายูในภาคใต้ตอนบนต่อไป
กับคุณอับดุลชูโกร์ ฮุสเซ็น
กับดร.ซัยฟุลฮัก บินฮุสเซ็น
Tiada ulasan:
Catat Ulasan