เมื่อวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2014 มีงานสัมมนาพบปะของนักวรรณกรรม รวมทั้งผู้สนใจทางด้านวัฒนธรรมมลายูที่เรียกว่าเป็นงานสัมมนาทางด้านกวีนิพนธ์ระดับภูมิภาคงานหนึ่ง
โดยมีประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ นั้นคืองานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู โดยมีชื่อในภาษามลายูว่า
Pertemuan Penyair Nusantara ซึ่งประกอบด้วยนักกวี นักวรรณกรรมจากประเทศมาเลเซีย
อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ และภาคใต้ของประเทศไทย ที่ใช้ภาษามลายู/อินโดเนเซียในการผลิตงานเขียน
เราจากภาคใต้ของประเทศไทย
ที่เดินทางร่วมงานประกอบด้วยนายซาการียา อมาตยา
นักกวีรางวัลซีไรต์จากจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ด้านกวี
ท่านที่สองคืออาจารย์ ดร. เพาซาน เจ๊ะแว จากคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาตอนี
จังหวัดยะลา และผู้เขียนเองจากแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับผู้เขียนและอาจารย์ ดร. เพาซาน เจ๊ะแว
เราทั้งสองก็ขับเคลื่อนด้านวรรณกรรมและวัฒนธรรมภายใต้ชื่อ ศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) งานสัมมนานักวรรณกรรมในครั้งนี้เป็นงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู
ครั้งที่ 7 (Pertemuan Penyair Nusantara VII) ความจริงงานสัมมนาครั้งนี้ต้องจัดขึ้นในปี
2013 ที่ผ่านมา แต่ด้วยทางเจ้าภาพมีปัญหาในเรื่องการหางบประมาณสนับสนุน
กว่าจะหาผู้สนับสนุนงบสนับสนุนได้ ก็เลยเวลาไปหนึ่งปี จากปี 2013 จนต้องจัดงานในปี 2014
งานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู ครั้งแรกเริ่มขึ้นที่ เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ
ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อปี 2007 การจัดงานครั้งแรกไม่มีการคาดคิดว่าจะมีการจัดงานครั้งต่อๆ
จนกลายเป็นการจัดงานที่เป็นธรรมเนียมของบรรดานักกวี
นักวรรณกรรมที่ใช้ภาษามลายู/อินโดเนเซีย สำหรับงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู
ครั้งที่ 2 จัดงานในปี 2008 ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพคือ
เมืองเกอดีรี จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดเนเซีย
เมืองนี้มีชื่อเสียงด้านการผลิตบุหรี่และน้ำตาล
มีการพบหลักฐานทางประวัติถึงการจัดตั้งรัฐเกอดีรีที่นับถือศาสนาฮินดูในศตวรรษที่ 11
การจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงประเทศสถานที่จัดงานออกไป
เมื่อการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 3 จัดงานในปี
2009 ทางสมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย
หรือ Persatuan Penulis Nasional Malaysia (PENA) รับจัดงานขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย ซึ่งนับเป็นปีแรกที่ทางนักวิชาการด้านวรรณกรรมมลายูจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ได้เข้าร่วมงาน
ต่อมาในการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
4 จัดงานในปี 2010
ทางนายมูฮัมหมัดเจฟรีอารีฟ บินมูฮัมหมัดซินอารีฟ นักเขียนรางวัลซีไรต์จากประเทศบรูไนดารุสสาลาม
ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านภาษาและวรรณกรรมมลายูในมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ขณะนั้นเป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศบรูไน
รับเป็นผู้ดำเนินจัดงานขึ้นในประเทศบรูไนดารุสสาลาม
โดยผู้เขียนขณะนั้นเป็นหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาและอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีนจึงมีโอกาสได้เดินทางเข้าร่วมงานที่ประเทศบรูไนดารุสสาลาม ในปี
2011 เป็นการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
5 โดยจัดงานขึ้นในประเทศอินโดเนเซียอีกครั้ง
ในครั้งนี้เป็นการจัดงานขึ้นเมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ เมืองปาเล็มบัง ถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์
ด้วยยังคงมีร่องรอยของทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรศรีวิชัย ในการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
5 นี้ ทางผู้เขียน และนายริดวาน อาแซ
อาจารย์พิเศษของแผนกวิชามลายูศึกษาได้เข้าร่วมงาน พร้อมมีอาจารย์เพาซาน เจ๊ะแว
จากมหาวิทยาลัยฟาตอนีเข้าร่วมงานอีกคน
สำหรับการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
6 จัดงานในปี 2012 จัดขึ้นที่เมืองจัมบี
จังหวัดจัมบี ประเทศอินโดเนเซียอีกครั้ง สำหรับการจัดงานที่เมืองจัมบีนี้
ทางอาจารย์เพาซาน เจ๊ะแว พร้อมเข้าร่วมงานในนามของศูนย์นูซันตาราศึกษา
เพื่อความเป็นเอกภาพของผู้เข้าร่วมงานจากประเทศไทย ในการประชุมที่เมืองจัมบี เจ้าภาพคนต่อไปคือ
ประเทศสิงคโปร์
งานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู ครั้งแรกเริ่มขึ้นที่ เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ
ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อปี 2007 การจัดงานครั้งแรกไม่มีการคาดคิดว่าจะมีการจัดงานครั้งต่อๆ
จนกลายเป็นการจัดงานที่เป็นธรรมเนียมของบรรดานักกวี
นักวรรณกรรมที่ใช้ภาษามลายู/อินโดเนเซีย สำหรับงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู
ครั้งที่ 2 จัดงานในปี 2008 ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพคือ
เมืองเกอดีรี จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดเนเซีย
เมืองนี้มีชื่อเสียงด้านการผลิตบุหรี่และน้ำตาล
มีการพบหลักฐานทางประวัติถึงการจัดตั้งรัฐเกอดีรีที่นับถือศาสนาฮินดูในศตวรรษที่ 11
การจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงประเทศสถานที่จัดงานออกไป
เมื่อการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 3 จัดงานในปี
2009 ทางสมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย
หรือ Persatuan Penulis Nasional Malaysia (PENA) รับจัดงานขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย ซึ่งนับเป็นปีแรกที่ทางนักวิชาการด้านวรรณกรรมมลายูจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ได้เข้าร่วมงาน
ต่อมาในการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
4 จัดงานในปี 2010
ทางนายมูฮัมหมัดเจฟรีอารีฟ บินมูฮัมหมัดซินอารีฟ นักเขียนรางวัลซีไรต์จากประเทศบรูไนดารุสสาลาม
ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านภาษาและวรรณกรรมมลายูในมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ขณะนั้นเป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศบรูไน
รับเป็นผู้ดำเนินจัดงานขึ้นในประเทศบรูไนดารุสสาลาม
โดยผู้เขียนขณะนั้นเป็นหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาและอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีนจึงมีโอกาสได้เดินทางเข้าร่วมงานที่ประเทศบรูไนดารุสสาลาม ในปี
2011 เป็นการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
5 โดยจัดงานขึ้นในประเทศอินโดเนเซียอีกครั้ง
ในครั้งนี้เป็นการจัดงานขึ้นเมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ เมืองปาเล็มบัง ถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์
ด้วยยังคงมีร่องรอยของทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรศรีวิชัย ในการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
5 นี้ ทางผู้เขียน และนายริดวาน อาแซ
อาจารย์พิเศษของแผนกวิชามลายูศึกษาได้เข้าร่วมงาน พร้อมมีอาจารย์เพาซาน เจ๊ะแว
จากมหาวิทยาลัยฟาตอนีเข้าร่วมงานอีกคน
สำหรับการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่
6 จัดงานในปี 2012 จัดขึ้นที่เมืองจัมบี
จังหวัดจัมบี ประเทศอินโดเนเซียอีกครั้ง สำหรับการจัดงานที่เมืองจัมบีนี้
ทางอาจารย์เพาซาน เจ๊ะแว พร้อมเข้าร่วมงานในนามของศูนย์นูซันตาราศึกษา
เพื่อความเป็นเอกภาพของผู้เข้าร่วมงานจากประเทศไทย ในการประชุมที่เมืองจัมบี เจ้าภาพคนต่อไปคือ
ประเทศสิงคโปร์
Tiada ulasan:
Catat Ulasan