Ahad, 28 September 2014

Badaruddin H.O. นักเขียนแห่งประเทศบรูไน ผู้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

          Badaruddin H.O. เป็นนามปากกาของของรัฐมนตรีท่านหนึ่งของประเทศบรูไน ท่านผู้นี้มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของประเทศบรูไนดารุสสาลาม ชื่อเต็มของท่านคือ YB Pehin Udana Khatib Dato Paduka Seri Setia Ustaz Haji Awang Badaruddin Bin Pengarah Dato Paduka Haji Othman  

กับภรรยา ดาตินมัยมูนะห์ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้เอง

 เกิดเมื่อ 23 กันยายน  1942 ที่หมู่บ้าน Burong Pingai (หมู่บ้านน้ำ หรือที่เรียกว่า Kampong Ayer) กลางกรุงบันดาร์สรึเบอกาวัน ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมลายูเมืองบรูไน (Sekolah Melayu Pekan Brunei) และโรงเรียนมลายูสุลต่านมูฮัมหมัดยามาลุลอาลาม (ระหว่างปี 1950-1956) 

       ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลบรูไน ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอาหรับอัลยูนิด (Sekolah Arab Al-Junied) ประเทศสิงคโปร์ (ระหว่างปี 1956-1961) และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยอิสลามมาลายา ( Kolej Islam Malaya) รัฐสลังงอร์  (ระหว่างปี 1962-1967) และได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮาร์ (Universiti Al-Azhar)ประเทศอิยิปต์  (ระหว่างปี 1968-1971) ศึกษาจนจบระดับปริญญาโทด้านนโยบายกฎหมายชารีอะห์  (As-Siyasah Asy-Syari’iyah) 

       เริ่มทำงานในปี  1971 ในด้านการศึกษาศาสนา ดะวะห์ (เผยแพร่ศาสนาอิสลาม) ต่อมาทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ทั่วไป และการทูต  ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจนเกษียณจากราชการในปี  1997  

กำลังบรรยายธรรมในช่วงเช้าตรู่ ขณะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ

      เริ่มเข้าสู่วงการนักเขียนด้านวรรณกรรมตั้งแต่สมัยศึกษาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย พร้อมๆกับเคลื่อนไหวในแวดวงการกิจกรรมนักศึกษา เขาพร้อมกับอีก 2 นักเขียนบรูไน คือ Yahya M.S. และ Adi Rumi เป็นสามนักกวีหนุ่มชาวบรูไนที่มีผลงานเขียนในนิตยสารรายสัปดาห์และในนิตยสารมาเลเซียในยุคทศวรรษที่ 1960 ทั้งสามคนถูกกล่าวถึงมากที่สุดในบรรดานักเขียนชาวบรูไน

      เขามีผลงานเขียนทั้งทางด้านกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น บทละครวิทยุ และบทวิจารณ์ ที่ออกในนิตยสารทั้งในประเทศบรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย


    เมื่อครั้งที่มีการจัดงานสัมมนาด้านวรรณกรรมระดับภูมิภาคมลายู ที่ชื่อว่า Pertemuan Sastrawan Nusantara ที่ประเทศบรูไน ทางท่านได้เชิญให้มีการจัดเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้านพักของท่าน นับว่าเป็นคนกันเอง ไม่ถือตัว สุขุม 

      ผลงานการเขียนของเขามีดังต่อไปนี้

      รวมบทกวีที่ชื่อ ‘Episod-Episod Si Awang’  เป็นการรวมบทกวีส่วนตัวที่พิมพ์โดยDewan Bahasa dan Pustaka Brunei ในปี 1998

     รวมบทกวีชื่อ Puisi Baru Melayu 1942-1960 จัดพิมพ์โดย Dewan Bahasa Pustaka  Kuala Lumpur ในปี 1961

     ผลงานเขียนชื่อ Laungan จัดพิมพ์โดย Federal Publication Kuala Lumpur ในปี 1996

     ผลงานเรื่อง Pancaran Sajak

     ผลงานเรื่อง Pustaka Melayu Singapura ปี 1967

     ผลงานเรื่อง Perintis Sajak Melayu จัดพิมพ์โดย Penerbit Fajar Bakti, Kuala Lumpur ในปี 1971

     ผลงานเรื่อง Puisi Hidayat II, Jabatan Hal Ehwal Ugama, Brunei 1975

     ผลงานเรื่อง Pakatan พิมพ์โดย Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei  ปี 1976

     ผลงานเรื่อง Koleksi Sajak-sajak Darussalam พิมพ์โดย Syarikat Mega ประเทศบรูไน ปี 1979

     ผลงานเรื่อง Lagu Hari Depan พิมพ์โดยDewan Bahasa dan Pustaka Brunei  ปี 1980

     ผลงานเรื่อง Bunga Rampai Sastera Melayu Brunei พิมพ์โดย Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei ปี 1984 

    ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1984 ได้รับเครื่องอิสริยยศเป็น “Pehin Udana Khatib” จากสุลต่านบรูไน ตามความสามารถด้านศาสนาของเขา นอกจากนั้นได้รับรางวัล ASEAN-COCI (Information) ในปี 1993 และได้รับตำแหน่งเป็น Fellowship ของสถาบัน Lee Kuan Yew ของประเทศสิงคโปร์ ในปี 1995

    ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการศาสนาของประเทศบรูไน ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึงจะดำรงตำแหน่งทางการเมืองในรัฐาลของประเทศบรูไน แต่เขาก็ยังไม่ทอดทิ้งวงการนักเขียน ยังเข้าร่วมในกิจกรรมทางวรรณกรรมอยู่เสมอ

Isnin, 22 September 2014

Fajar di Ru Sembilan : sebuah puisi dari Patani Selatan hailand

                                            Fajar di Ru Sembilan

Ru Sembilan
Tiada siapa tahu
Padamu harapan
Padamu cinta

Fajar di Ru Sembilan
Aku bersujud padamu Ilahi
Berbakti padamu tanahairku
Berjasa padamu bumiku

Ru Sembilan
Disinilah sebuah kampung nelayan
Disinilah sebuah Menara Gading
Menara Gading melahirkan pemerintah
Memerintahkan anak bangsaku di kampung nelayan

Di atas tanah bumi
Di bawah langit matahari
Diantara bumi dan bintang
                                           Diantara Kampung nelayan dan Menara Gading

Ru Sembilanku
Semasa anak bangsaku masih tidur nyenyak
Engkau masih diselimuti kemiskinan
Engkau masih ditilami kedaifan

                                           Aku bangun di fajar ini
Aku bersujud padamu Ilahi
Berbakti, berjasa padamu Ru Sembilanku
Berbakti, berjasa padamu Pataniku
Panji Islam tetap bersamamu Ru Sembilanku
Panji Islam tetap bersamamu Pataniku

                                           Hamra  Hassan
                                           Ru Sembilan, Patani.

Sabtu, 13 September 2014

งานสัมมนากวีนิพนธ์ภูมิภาคมลายูครั้งที่ 7 (Pertemuan Penyair Nusantara ke VII) ที่ประเทศสิงคโปร์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

                เมื่อวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2014 มีงานสัมมนาพบปะของนักวรรณกรรม รวมทั้งผู้สนใจทางด้านวัฒนธรรมมลายูที่เรียกว่าเป็นงานสัมมนาทางด้านกวีนิพนธ์ระดับภูมิภาคงานหนึ่ง โดยมีประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ นั้นคืองานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู โดยมีชื่อในภาษามลายูว่า Pertemuan Penyair Nusantara ซึ่งประกอบด้วยนักกวี นักวรรณกรรมจากประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ และภาคใต้ของประเทศไทย ที่ใช้ภาษามลายู/อินโดเนเซียในการผลิตงานเขียน
                เราจากภาคใต้ของประเทศไทย ที่เดินทางร่วมงานประกอบด้วยนายซาการียา อมาตยา นักกวีรางวัลซีไรต์จากจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ด้านกวี ท่านที่สองคืออาจารย์ ดร. เพาซาน เจ๊ะแว จากคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาตอนี จังหวัดยะลา และผู้เขียนเองจากแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับผู้เขียนและอาจารย์ ดร. เพาซาน เจ๊ะแว เราทั้งสองก็ขับเคลื่อนด้านวรรณกรรมและวัฒนธรรมภายใต้ชื่อ ศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) งานสัมมนานักวรรณกรรมในครั้งนี้เป็นงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 7 (Pertemuan Penyair Nusantara VII) ความจริงงานสัมมนาครั้งนี้ต้องจัดขึ้นในปี 2013 ที่ผ่านมา แต่ด้วยทางเจ้าภาพมีปัญหาในเรื่องการหางบประมาณสนับสนุน กว่าจะหาผู้สนับสนุนงบสนับสนุนได้ ก็เลยเวลาไปหนึ่งปี จากปี 2013 จนต้องจัดงานในปี 2014
              
 งานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู ครั้งแรกเริ่มขึ้นที่ เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อปี 2007 การจัดงานครั้งแรกไม่มีการคาดคิดว่าจะมีการจัดงานครั้งต่อๆ จนกลายเป็นการจัดงานที่เป็นธรรมเนียมของบรรดานักกวี นักวรรณกรรมที่ใช้ภาษามลายู/อินโดเนเซีย สำหรับงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 2 จัดงานในปี 2008  ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพคือ เมืองเกอดีรี จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดเนเซีย เมืองนี้มีชื่อเสียงด้านการผลิตบุหรี่และน้ำตาล มีการพบหลักฐานทางประวัติถึงการจัดตั้งรัฐเกอดีรีที่นับถือศาสนาฮินดูในศตวรรษที่ 11  
การจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงประเทศสถานที่จัดงานออกไป เมื่อการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 3 จัดงานในปี 2009  ทางสมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Persatuan Penulis Nasional Malaysia  (PENA) รับจัดงานขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งนับเป็นปีแรกที่ทางนักวิชาการด้านวรรณกรรมมลายูจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ได้เข้าร่วมงาน       
 
 ต่อมาในการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 4 จัดงานในปี 2010 ทางนายมูฮัมหมัดเจฟรีอารีฟ บินมูฮัมหมัดซินอารีฟ นักเขียนรางวัลซีไรต์จากประเทศบรูไนดารุสสาลาม ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านภาษาและวรรณกรรมมลายูในมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ขณะนั้นเป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศบรูไน รับเป็นผู้ดำเนินจัดงานขึ้นในประเทศบรูไนดารุสสาลาม โดยผู้เขียนขณะนั้นเป็นหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาและอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีนจึงมีโอกาสได้เดินทางเข้าร่วมงานที่ประเทศบรูไนดารุสสาลาม                ในปี 2011 เป็นการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 5 โดยจัดงานขึ้นในประเทศอินโดเนเซียอีกครั้ง 
ในครั้งนี้เป็นการจัดงานขึ้นเมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ เมืองปาเล็มบัง ถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยยังคงมีร่องรอยของทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรศรีวิชัย ในการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 5 นี้ ทางผู้เขียน และนายริดวาน อาแซ อาจารย์พิเศษของแผนกวิชามลายูศึกษาได้เข้าร่วมงาน พร้อมมีอาจารย์เพาซาน เจ๊ะแว จากมหาวิทยาลัยฟาตอนีเข้าร่วมงานอีกคน 
สำหรับการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 6 จัดงานในปี 2012 จัดขึ้นที่เมืองจัมบี จังหวัดจัมบี ประเทศอินโดเนเซียอีกครั้ง สำหรับการจัดงานที่เมืองจัมบีนี้ ทางอาจารย์เพาซาน เจ๊ะแว พร้อมเข้าร่วมงานในนามของศูนย์นูซันตาราศึกษา เพื่อความเป็นเอกภาพของผู้เข้าร่วมงานจากประเทศไทย  ในการประชุมที่เมืองจัมบี เจ้าภาพคนต่อไปคือ ประเทศสิงคโปร์

ด้วยการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 7 ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น ทางสมาคมนักเขียนหนุ่มสาวสิงคโปร์ (Kumpulan Angkatan Muda Sastera - KAMUS) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการจัดงานมีปัญหาในการขอการสนับสนุนงบประมาณ ทำให้ต้องเลื่อนการจัดงานจากปี 2013 มาเป็นปี 2014  ในการจัดงานที่ประเทศสิงคโปร์นี้ ทางเจ้าภาพได้ดำริในมีการตั้งคณะกรรมการประจำสำหรับการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู เพื่อทำให้เป็นรูปธรรม โดยมีตัวแทนของแต่ละประเทศเป็นคณะกรรมการดำเนินการ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้การจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 8 มีจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูลเป็นเจ้าภาพ
               สำหรับในส่วนของประเทศไทย มีผู้เขียนและอาจารย์ ดร. เพาซาน เจ๊ะแว เป็นคณะกรรมการ และผู้เขียนเป็นรองประธานคณะกรรมการประจำสำหรับการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู นายยามาล  ตูกีมีน (Djamal  Tukimin) นักเขียนรางวัลตุน ศรีลานัง (Anugerah Tun Seri Lanang) จากประเทศสิงคโปร์ในฐานะเจ้าภาพจัดงานและประธานคณะกรรมการประจำสำหรับการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายู ได้ให้การสนับสนุนจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเจ้าภาพอย่างสุดแรง

             สิ่งนี้เกิดจากในปี 2011 ทางผู้เขียนและแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เคยจัดงานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษาครั้งที่ 1 (1st International Seminar on Malay Studies 2011)โดยเชิญวิทยากรจากมาเลเซีย อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน รวมทั้งนายยามาล  ตูกีมีน จากประเทศสิงคโปร์ ทำให้วิทยากรรับเชิญจากประเทศข้างต้นเหล่านั้น ได้เห็นสภาพความเป็นจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นว่ามันไม่ได้เลวร้ายเหมือนที่สื่อจากนอกประเทศได้เขียนถึง วิทยากรที่เดินทางมาเห็น มาสัมผัสพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่างมีความประทับใจในความเป็นมิตรของผู้คนในพื้นที่ ได้สัมผัสรสชาติอาหารที่อร่อยๆจากพื้นที่ ได้รับรู้สถานการณ์ที่เป็นจริง การจัดงานสัมมนาในครั้งนั้น ผู้เขียนได้นำวิทยากรไปสัมผัสทั้งจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมทั้งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 

จากการลงพื้นที่ในครั้งนั้น มีวิทยากรจากอินโดเนเซียกล่าวว่า เมื่อดูสภาพความยากจนในจังหวัดชานแดนภาคใต้แล้ว เขาว่าในอินโดเนเซียน่าจะมีสภาพที่แย่กว่า ดังนั้นเมื่อแต่ละคนเดินทางกลับ ก็จะเขียนบทความลงในสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศตนเองผู้เขียนจึงเห็นว่านับเป็นโอกาสจากการที่จะมีงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 8 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ เราจะสามารถให้สังคมมลายูภายนอกไม่ว่าจากอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ได้เห็น ได้สัมผัสพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าในดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีสิ่งดีๆ สิ่งงามๆอยู่ ผู้เขียนเสนอให้ใช้สโลแกนการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 8 ว่า ให้มีความสัมพันธ์กับบทกวีเพื่อสันติภาพ ซึ่งจะได้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของจังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 7 นี้มี รศ. ดร. ไฟซอล อิบราฮิม เลขานุการประจำสภาผู้แทนราษฎรของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคม  เป็นประธานเปิดงาน นักการเมืองผู้นี้มีตำแหน่งเป็นอันดับสาม รองจากรัฐมนตรีช่วยว่าการและรัฐมนตรีว่าการ นั้นหมายถึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับการเลื่อนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ เขาได้กล่าวว่า การจัดตั้งอาเซียนในปี 1967 รวมทั้งการจะเกิดประชาคมอาเซียนในปีหน้า จะทำให้เห็นว่าการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูเป็นสิ่งที่ดี เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มประเทศสมาชิกมีการใช้ภาษามลายูมากขึ้น

ส่วนองค์ปาฐกของงานครั้งนี้คือฮัจญีอาวังยะห์ยา บินอาวังอิบราฮิม หัวหน้าผู้พิพากษาศาลชารีอะห์ของประเทศบรูไน นักเขียนอาวุโสเจ้าของนามปากกาว่า ยะห์ยา เอ็ม.เอส. (Yahya M.S. ) ซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 1987  ส่วนผู้ทำหน้าที่ปิดงานคือฮัจญีสุรัตมาน มาร์กาซัน นักเขียนชาวสิงคโปร์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ในปี 1989
รูปแบบการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งทีผ่านๆมา นอกจากจะมีการสัมมนาด้านวรรณกรรมแล้ว จะมีการอ่านกวีนิพนธ์ ให้ผู้เข้าร่วมงานไปร่วมกิจกรรมทางวรรณกรรมในสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งการเดินทางเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ โบราณสถานต่างๆ  สำหรับงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที่ 7 นี้ด้วยจัดงานในบริเวณ Malay Heritage Center 

ซึ่งบริเวณดังกล่าวนอกจากมีอาคารที่ประชุม อาคารสำหรับทำกิจกรรมอื่นๆแล้ว ยังมีอาคารที่เป็นวังเก่าของสุลต่านฮุสเซ็น สุลต่านผู้ยกสิงคโปร์ให้กับอังกฤษ ปัจจุบันวังดังกล่าวกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้จึงไม่ต้องไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ไกลๆ เพียงอยู่ภายในบริเวณจัดงานนั้นเองการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งทีผ่านๆมารวมทั้งการจัดงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที 7 ที่ประเทศสิงคโปร์จะนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดงานในโอกาสต่อไปที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในหนังสือฉันทานุมัติได้กล่าวว่า ในกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถจัดงานได้ ทางจังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย พร้อมรับเป็นเจ้าภาพ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสามารถเป็นเจ้าภาพงานสัมมนากวีนิพนธ์ในภูมิภาคมลายูครั้งที 8 อันจะเป็นโอกาสสร้างภาพลักษณ์ด้านดีของจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่ประชาคมโลกมลายูต่อไป 


Khamis, 4 September 2014

Bunga-bungaku : Sebuah puisi dari Patani Selatan Thailand

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน


Bunga bungaku
Patani Darussalam nama negeriku
Patani Darul Maarif nama tanahairku
Patani Darul  Fatanah nama bumiku
Negeriku,  Tanahairku,  Bumiku
Disinilah nama nama besar  Al-Fatani di Nusantara


Sheikh Daud Abdullah di kota suci
Sheikh Ahmad Mohd. Zin di tanah suci
Tengku Mahmud Zuhdi di negeri Darul Ehsan
Sheikh Ahmad Nor di negeri Darul Iman
Sheikh Ibrahim Gajah Mati di negeri Darul Aman


Syeikh Abdul Qadir Abdur Rahman di Patani
Sheikh Abdul Rahman Gudang di Siak Seri Indrapura
Sheikh Abdul Jalil di Mempawah Kalimantan
Syeikh Ali bin Faqih di Kalimantan Barat


Nama namamu membungai
Negeriku  Tanahairku  Bumiku
Jasa jasamu menyinari
Panji Islam di seluruh Nusantara.

Hamra Hassan

Ru Sembilan, Patani.