ความเข้าใจเกี่ยวกับมลายูศึกษา
ด้วยในช่วงนี้มีนักศึกษาจำนวนหนึ่ง ที่ได้มีความประสงค์จะสมัครเรียนสาขาวิชาเอกมลายูศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ความสนใจในการสมัครนั้นมีทั้งที่พอเข้าใจเกี่ยวกับสาขาวิชานี้ แต่ก็ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ค่อนข้างสับสน เมื่อมีคำว่าศึกษาต่อท้ายจากคำว่ามลายู กลายเป็นมลายูศึกษา ทำให้บางส่วนสับสนนึกว่าเป็นสาขาที่ผลิตออกมาเป็นครู ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้านักศึกษาที่จบสาขาวิชามลายูศึกษา แล้วศึกษาต่อประกาศนียบัตรวิชาชีพครูอีก 1 ปี ก็สามารถจะเป็นครูได้จริง
แผนกวิชามลายูศึกษา = ศูนย์นูซันตาราศึกษา
เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของสาขาวิชามลายูศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมมีความคล่องตัวมากขึ้น ทางแผนกวิชามลายูศึกษา จึงมีการจัดตั้งองค์กรคู่ขนาน โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์นูซันตาราศึกษา หรือ Nusantara Studies Center สำหรับกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยและกิจกรรมภายนอกมหาวิทยาลัยบางส่วนทางแผนกวิชามลายูศึกษาจะเป็นผู้ดำเนินการ แต่สำหรับกิจกรรมต่างๆในต่างประเทศนั้นเพื่อความคล่องตัวทาง ศูนย์นูซันตาราศึกษา จะเป็นผูดำเนินการ
หลายต่อหลายคนคิดว่าสาขาวิชามลายูศึกษาเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศมาเลเซีย หรือไม่ก็อาจเป็นประเทศสิงคโปร ประเทศอินโดเนเซีย แต่ความจริงแล้วสาขาวิชามลายูศึกษาเกิดขึ้นครั้งแรกไม่ได้เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉีงใต้ แต่เกิดขึ้นครั้งแรกในทวีปยุโรป
สาขาวิชามลายูศึกษาเกิดขึ้นมานานแล้ว วิชามลายูศึกษาเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในทวีปยุโรปที่ "มหาวิทยาลัยไลเด็น (Leiden University)" ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 1876 ต่อมาวิชามลายูศึกษาจึงได้แพร่หลายยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐ จนถึงปัจจุบันในมหาวิทยาลัยไลเด็นก็ยังคงมีการเรียนการสอนด้านมลายูศึกษาถึงระดับปริญญาโท
รุ่นพี่ศิษย์เก่าสาขาวิชามลายูศึกษากับอาชีพการงาน
แผนกวิชามลายูศึกษาได้ผลิตบัณฑิตออกมาจำนวนหนึ่ง โดยส่วนหนึ่งนอกจากประกอบอาชีพส่วนตัวแล้ว อีกส่วนหนึ่งได้เข้าสู่การทำงานในภาครัฐ ยกตัวอย่างเฉพาะบัณฑิตรุ่นนี้
ถ่ายรูปกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรฯ มาเลเซีย
สำหรับนักศึกษารุ่นนี้ เท่าที่ผู้เขียนทราบชื่อ
เริ่มตั้งแต่แถวนั่งจากซ้ายมือ
-คนที่สอง คุณอาซีส ทำงานในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
-คนที่สาม ครูซาการียา เป็นข้าราชการครูภาษามลายูในโรงเรียนรัฐที่จังหวัดสตูล
-คนขวาสุดแถวนั่ง คุณยาฮารี เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
แถวยืนจากซ้ายมือไปขวามือ
-คนแรก คุณซัลมา ครูสอนภาษามลายูในโรงเรียนท่าอิฐวิทยา จังหวัดนนทบุรี
-คนที่สอง คุณซาฟียะห์ เป็นครูในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
-คนที่สี่ คุณ......เป็นครูโรงเรียนมัธยมในจังหวัดสตูล
-คนที่ห้า คุณชารีฟะห์ เป็นครูในจังหวัดกระบี่
-คนที่หก คุณฮูดา เป็นครูสอนภาษามลายูโรงเรียนสตรียะลา จังหวัดยะลา
-คนที่เจ็ด คุณซัมซียะห์ เป็นครูในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
-คนที่แปด คุณวรรณา เป็นเจ้าหน้าที่บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา
-คนที่เก้า คุณนิตยา เป็นเจ้าหน้าที่วิทยาลัยชุมชนจังหวัดสตูล
-คนที่สิบ คุณมารียะห์ เป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี หาดใหญ่
-คนที่สิบเอ็ด คุณสาและห์ เจ้าหน้าที่บริษัทในจังหวัดสตูล
-คนที่สิบสอง คุณตอริค เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในจังหวัดยะลา
-คนที่สิบสาม คุณฟาตะห์ ครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่
-คนที่สิบสี่ ครูอาดีลัน ครูสอนภาษามลายูในโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกุล จังหวัดปัตตานี
ความเป็นมาของสาขาวิชามลายูศึกษา
เรามาดูถึงความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา ในประเทศมาเลเซีย
ซึ่งถือเป็นต้นแบบของแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาในปี 2539 โดยมี ผศ. ดร. วรวิทย์ บารู เป็นผู้ดำเนินการในมหาวิทยาลัยมาลายา (ขณะนั้นตั้งอยู่ที่สิงคโปร์) ได้มีการจัดตั้งภาควิชามลายูศึกษาขึ้นเมื่อปี 1953 เป็นผลจากการเสนอรายงานของ Carr-Saunders เมื่อมีการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมาลายาที่กัวลาลัมเปอร์ เมื่อปี 1959 ทางภาควิชามลายูศึกษากลายเป็นภาควิชาที่ใหญ่ที่สุดของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายาในขณะนั้น
สำหรับแผนกวิชามลายูศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี อาจเป็นแผนกวิชาที่บิดเบี้ยวจากความเป็นจริง นั้นก็ด้วยก่อนการมีแผนกวิชามลายูศึกษา ทางภาควิชาภาษาตะวันออกได้มีแผนกวิชาภาษามลายูมาก่อนแล้ว
เมื่อแผนกวิชามลายูศึกษาได้รับการจัดตั้งขึ้น ทางภาควิชาภาษาตะวันออกจึงมีแผนกวิชาที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับมลายูอยู่
2 แผนกด้วยกัน คือ แผนกวิชาภาษามลายู และ แผนกวิชามลายูศึกษา แผนกวิชาภาษามลายูนั้นเป็นการศึกษาในเรื่องของภาษา
ส่วนแผนกวิชามลายูศึกษาจะเป็นการศึกษาในเรื่องสังคมวัฒนธรรมมลายู (Malay
Socio-Culture)
ในประเทศมาเลเซียนั้น เช่น สถาบันอารยธรรมและโลกมลายู มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Institut Alam dan Tamadun Melayu, Universiti Kebangsaan Malaysia) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเมื่อปี 1993 จากชื่อเดิมว่าสถาบันภาษา, วรรณกรรมและวัฒนธรรมมลายู หรือ Institut Bahasa, kesusasteraan dan kebudayaan Melayu จะเห็นได้ว่าสถาบันดังกล่าวได้แบ่งวิชามลายูศึกษาออกเป็น 3 ส่วน นั้นคือ ภาษามลายู, วรรณกรรมมลายู และวัฒนธรรมมลายู ส่วนสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา (Akademi Pengajian Melayu, Universiti Malaya) นั้นได้ แบ่งวิชามลายูศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ ภาษามลายู, ภาษาศาสตร์มลายู, วรรณกรรมมลายู และ สังคมวัฒนธรรมมลายู
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อกล่าวถึงแผนกวิชาภาษามลายู ก็หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับภาษามลายู และ วรรณกรรมมลายู ส่วนแผนกวิชามลายูศึกษาก็จะหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมมลายู ในปี 2551 ทั้งสองแผนกวิชาได้มีการรวมตัวกันเป็นแผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงแตกต่างไปจากประเทศมาเลเซีย
หลักสูตรมลายูศึกษา 2551 สำหรับการรวมแผนกวิชาทั้งสองเข้าด้วยกันนั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหลักสูตรภาษามลายูและมลายูศึกษา ปี 2551 ท่านหนึ่ง คือ รองศาสตราจารย์ ดร. รัตติยา สาและ ได้ให้ความเห็นถึงหลักสูตรดังกล่าวจากการรวมแผนกวิชาภาษามลายูกับแผนกวิชามลายูศึกษาว่า
“การปรับปรุงหลักสูตร 2 สาขา คือ สาขาภาษามลายูและสาขามลายูศึกษา โดยการยุบรวมเป็นสาขาเดียวกัน
คือ สาขาภาษามลายูและมลายูศึกษานั้น
รู้สึกว่าไม่ค่อยคุ้น เพราะว่าแต่ละสาขาวิชาดังกล่าวนี้ มีวิธีการสอนที่ต่างกัน”
ส่วนรองศาสตราจารย์ ดร. ไพทูรย์ มาศมินทร์ไชยนรา แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่นานยัง ประเทศสิงคโปร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวถึงหลักสูตรในส่วนของวิชามลายูศึกษาว่า
“รายวิชาในส่วนของมลายูศึกษานั้น มีมาตรฐานอยู่ในระดับสากลอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไข ปรบปรุงชื่อรายวิชา”
หลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555
ในปัจจุบันทางแผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษาก็ได้เริ่มปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งเพื่อใช้ในปีการศึกษา 2555 โดยมีการแยกสาขาวิชาอีกครั้งระหว่างภาษามลายูและมลายูศึกษา ดังนั้นในหลักสูตรของปีดังกล่าว นักศึกษาที่จบการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี สาขาภาษามลายู สำหรับหลักสูตรสาขาภาษามลายู และจะได้รับปริญญาตรี สาขามลายูศึกษา สำหรับหลักสูตรสาขามลายูศึกษา
ทุกวิชาของหลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555 จะมีการเปลี่ยนแปลงจากคำว่า ภูมิภาคมลายู หรือ Nusantara มาเป็น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในคำอธิบายรายวิชาของวิชามลายูศึกษา จะอธิบายว่า ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นภูมิภาคมลายู ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. รัตติยา สาและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555 ท่านได้ให้ความเห็นว่า
หลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555
ในปัจจุบันทางแผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษาก็ได้เริ่มปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งเพื่อใช้ในปีการศึกษา 2555 โดยมีการแยกสาขาวิชาอีกครั้งระหว่างภาษามลายูและมลายูศึกษา ดังนั้นในหลักสูตรของปีดังกล่าว นักศึกษาที่จบการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี สาขาภาษามลายู สำหรับหลักสูตรสาขาภาษามลายู และจะได้รับปริญญาตรี สาขามลายูศึกษา สำหรับหลักสูตรสาขามลายูศึกษา
ทุกวิชาของหลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555 จะมีการเปลี่ยนแปลงจากคำว่า ภูมิภาคมลายู หรือ Nusantara มาเป็น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในคำอธิบายรายวิชาของวิชามลายูศึกษา จะอธิบายว่า ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นภูมิภาคมลายู ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. รัตติยา สาและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555 ท่านได้ให้ความเห็นว่า
“หลักสูตรสาขาวิชามลายูศึกษา
(ฉบับปี 2555) โดยส่วนตัวมองว่าน่าจะเหมาะสมกว่าเดิม (ฉบับปี
2551) เพราะคำว่า “มลายูศึกษา” (Malay Studies) และ “ภาษามลายู” (Malay Language) มีตัวตนและทิศทางเฉพาะด้าน ถ้าถามว่าการกำหนดปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลกสูตรสาขาวิชามลายูศึกษาใหม่นี้เป็นอย่างไร
ก็พิจารณาจากตวอักษรคงไม่ได้ภาพความเป็นมลายูที่ชัดเท่าไร เพราะมีภาพซ้อนทับของความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบอยู่เสมอและที่ชัดมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้คำว่าสาขาวิชามลายูศึกษา
คงเป็นเพียงแขนงวิชาหนึ่งของสาขาวิชาตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น
ที่รอเวลาและจังหวะเพื่อยกฐานะเป็นสาขาวิชาเอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้”
ในหลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555 นอกจากเกือบทุกวิชาจะต่อท้ายด้วยคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น 431-330 กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 431-335 เศรษฐกิจการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 431-336 การเมืองการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีกหลายๆวิชาที่ลงท้ายด้วยคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว นักศึกษาต้องเรียนวิชาบังคับภาษามลายู 4 วิชาจากแผนกวิชาภาษามลายู และเรียนวิชาบังคับเกี่ยวกับภาษามลายูเพื่อมลายูศึกษาอีก 3 วิชาจากแผนกวิชามลายูศึกษาแล้ว ยังมีวิชาเลือกเกี่ยวกับภาษาอีก 4 วิชา คือภาษาอินโดเนเซีย 2 วิชา ภาษาฟีลีปีโน อีก 2 วิชา ซึ่งอยู่ในแผนกวิชามลายูศึกษา
ในหลักสูตรมลายูศึกษา ปี 2555 นอกจากเกือบทุกวิชาจะต่อท้ายด้วยคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น 431-330 กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 431-335 เศรษฐกิจการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 431-336 การเมืองการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีกหลายๆวิชาที่ลงท้ายด้วยคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว นักศึกษาต้องเรียนวิชาบังคับภาษามลายู 4 วิชาจากแผนกวิชาภาษามลายู และเรียนวิชาบังคับเกี่ยวกับภาษามลายูเพื่อมลายูศึกษาอีก 3 วิชาจากแผนกวิชามลายูศึกษาแล้ว ยังมีวิชาเลือกเกี่ยวกับภาษาอีก 4 วิชา คือภาษาอินโดเนเซีย 2 วิชา ภาษาฟีลีปีโน อีก 2 วิชา ซึ่งอยู่ในแผนกวิชามลายูศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า มลายูศึกษาคืออะไร ในที่นี้ขอนำบทความเกี่ยวกับมลายูศึกษาของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของโลก ที่ได้มีการอธิบายถึงกรอบของคำว่ามลายูศึกษา ซึ่งเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของภาควิชาดังกล่าวมาดังนี้"We are a small but exciting Department with staff members and visiting fellows studying the peoples and cultures of the Malay world. We adopt a broad definition of the Malay world, referring to the Malay-Indonesian Archipelago consisting of Indonesia, Malaysia, Brunei, southern Thailand and the southern Philippines. It also includes areas with Malay minorities such as Singapore, and countries to which the Malay diaspora had spread such as Sri Lanka, Madagascar and South Africa. Our research and teaching programme revolves around three core areas: social development and political economy, literature and history"
และได้อธิบายถึงความเป็นมาของภาควิชามลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ดังปรากฎในเว็บไซต์ภาควิชามลายูศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้ดังต่อไปนี้
และได้อธิบายถึงความเป็นมาของภาควิชามลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ดังปรากฎในเว็บไซต์ภาควิชามลายูศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้ดังต่อไปนี้
What is Malay Studies?
A department to promote Malay Studies was established at the University of Malaya, Singapore in the 1952/53 session on the recommendation of the Commission for University Education in Malaya. Za'ba (Zainal Abidin Ahmad) was the first head of department, followed later by Dr R. Roolvink. Following the independence of Malaya and the establishment of a separate University in Kuala Lumpur, the Department was transferred to Kuala Lumpur. Meanwhile, on January 1, 1962 the Singapore Division of the University of Malaya was re-established as the University of Singapore (renamed the National University of Singapore in 1980). On March 1, 1967, the Department of Malay Studies was re-established in Singapore with Prof Dr Syed Hussein Alatas as Head of Department.
The Department has always adopted a broad definition of the Malay world. This refers to the Malay-Indonesian Archipelago consisting of Indonesia, Malaysia, Brunei, southern Thailand and the southern Philippines. It also includes areas with Malay minorities such as Singapore, and countries to which the Malay diaspora had spread such as Sri Lanka, Madagascar and South Africa.
Currently, teaching and research in the Department revolves around three core areas: social development and political economy, history and literature/linguistics. In each of these core areas, attention is also paid to Islam in terms of its historical development in the Malay world, its interaction with social and political processes, and its various intellectual and literary expressions.
Students in the Department are exposed to the various aspects of Malay world not only through the teaching programme and the research activities of the academic staff, but also through intensive study tours that take students to the region and beyond.
The Department's program is an integral part of the arts degree offered by the Faculty of Arts and the Social Sciences, where students combine Malay Studies with other programs and subjects of studies according to their choice. In view of this, in general the career prospects of Malay Studies students are equal to other students.
Nevertheless, students of Malay Studies enjoy particular advantage in careers requiring an intimate and in depth understanding of the Malay/Muslim world of Southeast Asia, be it in the private or public sector. To boot, students of Malay Studies would also be in a good position to appreciate the dynamics of Muslim societies beyond the region.
Our graduates have gone on to careers in a wide range of areas including the corporate sector, foreign and civil service, journalism, translation, communications and education."
จากข้อความดังต้นจะเห็นได้ว่า ภาควิชามลายูศึกษาจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยมาลายา วิทยาเขตสิงคโปร์ (มหาวิทยาลัยมาลายามี 2 วิทยาเขต คือสิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์) เมื่อมีการแยกมหาวิทยาลัยทั้ง 2 วิทยาเขตเป็นอิสระต่อกัน มหาวิทยาลัยมาลายา ในสิงคโปร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ส่วนมหาวิทยาลัยมาลายาในกัวลาลัมเปอร์ คงใช้ชื่อเดิม และภาควิชามลายูศึกษาที่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์จึงโอนย้ายไปยังมหาวิทยาลัยมาลายา กัวลาลัมเปอร์ ต่อมามีการจัดตั้งภาควิชามลายูศึกษาขึ้นมาใหม่ในมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยมาลายากับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์นั้น มีการร่วมงานที่เป็นความสัมพันธ์ทั้งทางวิชาการ วัฒนธรรม และการกีฬามาตลอด
แม้แต่ รศ. ดร. ชาฮารุดดิน มาอารุฟ อดีตหัวหน้าภาควิชามลายูศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เอง ก็ประจำอยู่ที่สถาบันมลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยมาลายา สำหรับนักวิชาการมลายูศึกษาในประเทศไทยเอง ส่วนใหญ่ก็ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย
การวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยมาลายา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
"The Department of Malay Studies at the National University of Singapore produces undergraduate and graduate students of high quality with broad knowledge of the developments and problems in the Malay world of Southeast Asia and beyond. The department also actively engages in research on a wide range of issues concerning the Malay world from a multi-disciplinary perspective, promotes exchanges with centres of Malay studies worldwide, and encourages the development of new and alternative approaches to the understanding of Malay history, economy, politics, society and culture.
สาขาวิชามลายูศึกษากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้ว แผนกวิชามลายูศึกษายังส่งเสริมให้มีการออกภาคสนามไปสัมผัสประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศอาเซียน ดำเนินกิจกรรมโดยศูนย์นูซันตาราศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรคู่ขนานของแผนกวิชามลายูศึกษา กิจกรรมต่างๆดังกล่าวเช่น
สามนักศึกษามลายูศึกษาที่เดินทางมาแล้ว 8 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
สามนักศึกษาที่เดินทางมาแล้ว 8 ประเทศ
โครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในประเทศมาเลเซีย
นักศึกษามลายูได้เข้าร่วมโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ที่จัดขึ้นในประเทศมาเลเซีย
รัฐมะละกา
รัฐมะละกา
โครงการทัศนศึกษาประเทศมาเลเซีย
รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย
รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย
ตลาดโกตากีนาบาลู รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย
โครงการทัศนศึกษาประเทศสิงคโปร์
ส่งนักศึกษาร่วมแสดงงาน Festival Tarian Serumpun
มัสยิดสุลต่าน ประเทศสิงคโปร์
สิงโตพ่นนำ้ ประเทศสิงคโปร์
โครงการทัศนศึกษาประเทศอินโดเนเซีย
ในอาคารองค์กจารีตประเพณีมลายู เมืองบาตัม อินโดเนเซีย
เมืองบาตัม ประเทศอินโดเนเซีย
โครงการทัศนศึกษาประเทศบรูไนดารุสสาลาม
เยี่ยมมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม
หน้ามัสยิดในกรุงบันดาร์สรีเบอฆาวัน
โครงการทัศนศึกษาประเทศฟิลิปปินส์
สองนักศึกษามลายูศึกษาได้เดินทางไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์
โครงการทัศนศึกษาประเทศลาว-เวียดนาม-กัมพูชา
เส้นทางการเดินทาง
หน้าประตูชัย กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
ตลาดกลางคืนกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
ตลาดกลางคืนกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
หน้าราชวังกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
เมืองโฮชิมินห์ ประเทศเวียดนาม
Tiada ulasan:
Catat Ulasan