Jumaat, 14 Februari 2014

จังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซียที่ได้สัมผัสมา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
แผนที่จังหวัดเรียว
ประเทศอินโดเนเซียสำหรับผู้เขียนอาจไม่ใช่เป็นเรื่องอื่นไกลอีกแล้ว ด้วยหลายๆครั้งที่ได้เดินทางสัมผัสประเทศนี้ ทั้งในเกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะบอร์เนียว หรือเกาะในส่วนของอินโดเนเซียที่เรียกว่าเกาะกาลีมันตัน เมื่อได้สัมผัสพื้นที่ต่างๆเหล่านั้น แม้ประเทศนี้จะมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก การที่ประเทศนี้มีประชากรสองร้อยกว่าล้าน ดังนั้นประชากรที่มีกำลังซื้อสูง จึงอาจมีจำนวนมากกว่าประชากรทั้งประเทศของบางประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน แต่ผู้เขียนเชื่อว่าด้วยประเทศนี้มีการคอร์รัปชั่นที่ค่อนข้างสูง ทำให้เห็นร่องรอยของการขาดการพัฒนา  ช่องว่างที่ห่างกันระหว่างการพัฒนาของเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลีมันตัน
สภาพเมืองเปอกันบารู
สภาพเมืองเปอกันบารู
สภาพบ้านเมืองของเมืองเปอกันบารู
สภาพบ้านเมืองของเมืองเปอกันบารู เมืองเอกจังหวัดเรียว
                เมืองเปอกันบารู เป็นเมืองเอกของจังหวัดเรียว จังหวัดเรียวมีประชากรทั้งหมด 5.5 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบด้วยชนชาวมลายู ชาวชวา ชาวมีนังกาเบา ชาวบาตัก ชาวบูกิส  ภาษาท้องถิ่นของจังหวัดนี้จึงมีความหลากหลาย จังหวัดเรียวเดิมมีพื้นที่มากกว่านี้ ต่อมาพื้นที่ส่วนหนึ่งได้แยกตัวออกจากจังหวัดเรียวในปี 2004 โดยใช้ชื่อจังหวัดใหม่ว่า จังหวัดหมู่เกาะเรียว (Provinsi Kepulauan Riau) มีพื้นที่หมู่เกาะต่างๆ จังหวัดใหม่ที่แยกออกมาที่ประชากร 1.6 ล้านคน
หนึ่งในเจดีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณพุทธเจดีย์โบราณมัวราตากุส
หนึ่งในเจดีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณพุทธเจดีย์โบราณมัวราตากุส
หนึ่งในเจดีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณพุทธเจดีย์โบราณมัวราตากุส
หนึ่งในเจดีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณพุทธเจดีย์โบราณมัวราตากุส
           จังหวัดเรียวยังมีโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง คือ พุทธเจดีย์โบราณมัวราตากุส (Candi Muara Takus) จนถึงปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถระบุถึงปีที่สร้างโบราณสถานแห่งนี้ มีนักวิชาการทั้งที่กล่าวว่าสร้างขึ้นในศตวรรษที่  4  บางส่วนก็ระบุว่าสร้างในศตวรรษที่  7
ฐานขุดเจาะน้ำมัน
ฐานขุดเจาะน้ำมัน
ฐานขุดเจาะน้ำมัน
ฐานขุดเจาะน้ำมัน
ฐานขุดเจาะน้ำมัน
ฐานขุดเจาะน้ำมันแห่งแรกของจังหวัดเรียว
สวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดเรียว
สวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดเรียว
                ผู้เขียนได้สัมผัสเมืองปาเล็มบัง เมืองปาดัง เมืองบูกิตติงฆี เมืองจัมบี ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะสุมาตรา ก็ได้เห็นร่องรอยที่ยังต้องพัฒนาในบางด้านอีกมาก แต่เมื่อผู้เขียนเดินทางไปยังเมืองเปอกันบารู เมืองเอกของจังหวัดเรียว ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะสุมาตราเช่นกัน ผู้เขียนต้องตกใจกับสภาพของจังหวัดนี้ ด้วยจังหวัดนี้ ด้วยได้เห็นบ้านเมืองที่แสดงถึงความเจริญ สภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะดีกว่าเมืองอื่นๆในเกาะสุมาตราที่เคยสัมผัสมา ได้พบปะ เพื่อนฝูงชาวจังหวัดเรียว ตามคำกล่าวด้วยความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดเรียวว่า “จังหวัดเรียวนั้นใต้ดิน มีน้ำมัน ส่วนบนดินก็มีน้ำมัน(ปาล์มน้ำมัน)”  เมื่อผู้เขียนได้สัมผัสจังหวัดเรียว ซึ่งผู้เขียนได้เดินทางไปจังหวัดนี้มาแล้วสามครั้ง ก็เป็นจริงตามคำกล่าวของชาวจังหวัดเรียว  แหล่งน้ำมันใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอปาลาลาวัน และอำเภออินทราคีรีฮูลู ซึ่งทั้งสองอำเภอนี้มีบ่อน้ำมันที่ขุดแล้ว 180 บ่อ
ห้องสมุดโซมาน ฮาซีบวน
ห้องสมุดโซมาน ฮาซีบวน
ห้องสมุดโซมาน ฮาซีบวน
ป้ายที่ทำการสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัด
สำนักงานส่วนราชการจังหวัดเรียว
สำนักงานส่วนราชการจังหวัดเรียว
สำนักงานส่วนราชการจังหวัดเรียว
สำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว
ห้องสมุด สำนักงานส่วนราชการ สำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว
  
โรงละครอิดรุส ตินติน 
มัสยิดอันนูร์ มัสยิดประจำจังหวัดเรียว
                 จังหวัดเรียวมีห้องสมุดสาธารณะที่ชื่อว่าห้องสมุดโซมาน ฮาซีบวน ที่ใหญ่โต สูง 6 ชั้น มีสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดที่สง่างาม มีโรงละครประจำจังหวัดที่ชื่อว่าโรงละครอิดรุส ตินติน เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยมาก
ราชวังรัฐเซียะศรีอินทราปุรา 
ราชวังรัฐเซียะศรีอินทราปุรา 
                ที่จังหวัดเรียวในอดีตจะมีรัฐที่ปกครองด้วยสุลต่านจำนวนหลายรัฐด้วยกัน ที่น่าสนใจ รัฐเซียะศรีอินทราปุรา (Siak Indrapura) มีนักการศาสนาอิสลามจากปาตานีท่านหนึ่งชื่อ เชคอับดุลราห์มาน ฆูดัง (Sheikh Abdul Rahman Gudang) ไปเดินทางไปยังที่นั้น บุตรชายของนักการศาสนาท่านนี้ชื่อว่า ฮัจญีมูฮัมหมัดซอลและห์ อัล-ฟาตานี ได้แต่งงานกับบุตรีของขุนนางแห่งรัฐเซียะอินทราปุรา  เมื่ออินโดเนเซียได้รับเอกราช ฮัจญีมูฮัมหมัดซอลและห์ อัล-ฟาตานี ได้รับราชการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการศาสนาอิสลามของอินโดเนเซีย ท่านได้เขียนหนังสือจำนวนหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคือ Risalah Sullamit Tarsyid Tajwid พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Anglo Asiatic Press ที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี 1932
มหาวิทยาลัยเรียว
มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งรัฐสุลต่านชารีฟกาซิม
มหาวิทยาลัยอิสลามเรียว
                ได้พบปะนักศึกษาชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนหนึ่งที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิสลามเรียว (Universitas Islam Riau) นอกจากนั้นทางวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีก็ได้ส่งนักศึกษาไปเรียนเป็นเวลา 1 ปีที่มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งรัฐสุลต่านชารีฟกาซิม (Universitas Islam Negeri Sultan Syarif Kasim) สำหรับแผนกวิชามลายูศึกษา  ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะส่งนักศึกษาไปฝึกงานพร้อมเรียนภาษาอินโดเนเซียเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนที่มหาวิทยาลัยเรียว (Universuitas Riau) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดเรียว   
                เชื่อว่าในอนาคตนักศึกษาเหล่านี้จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจไทยในการนำสินค้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปจัดจำหน่ายในจังหวัดเรียวได้       

Tiada ulasan: