ระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2013 มีการจัดงานมหกรรมอารยธรรมมลายูครั้งที่
1
ปี 2013 (Festival Tamadun Melayu I 2013) ที่เมืองตันหยงปีนัง
เมืองเอกของจังหวัดหมู่เกาะเรียว
ซึ่งงานดังกล่าวทางเจ้าภาพได้เชิญผู้เขียนเข้าร่วมด้วย
และการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมในนามที่มาจากประเทศไทย
ทำให้ทางเจ้าภาพจัดผู้ดูแลผู้เขียนถึง 2 คน เปลี่ยนกันดูแล
ตามเวลาที่ตนเองว่าง หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากทางเจ้าภาพ
ผู้ดูแลทั้งสองคนประกอบด้วยนายอับดุลซาอุค
เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งจังหวัดหมู่เกาะเรียว และนายพังกี
เดซูอิน บัสการา นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Maritime
Raja Ali Haji เมืองตันหยงปีนัง
คุณอับดุลซาอุค ผู้ดูแลผู้เขียน
ทั้งสองเป็นนักศึกษาผู้มาดูแลผู้เขียน
ในช่วงเวลาว่างผู้เขียนได้ปรารภกับนายอับดุลซาอุค
ว่าอยากจะไปเยี่ยมหมู่บ้านเกเก บนเกาะบินตัน
ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการละเล่นมะโหย่งอยู่
ดังนั้นเมื่อมีเวลาว่างทางนายอับดุลซาอุค
จึงได้พาข้าพเจ้าค้นหาคณะมะโหย่งที่หมู่บ้านเกเก
และก็ได้พบกับบ้านดังกล่าว ซึ่งเป็นครอบครัวของเต็งกูมูฮัมหมัดอาตัน
นักแสดงมะโหย่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดหมู่เกาะเรียว
ปัจจุบันเขาเสียชีวิตแล้ว ได้พบกับคุณย่าซารียะห์
อายุ 76
ปี ภรรยาของเต็งกูมูฮัมหมัดอาตัน ซึ่งสืบทอดมรดกการละเล่นมะโหย่ง
โดยบุตรของคุณย่ากับเต็งกูมูฮัมหมัดอาตันที่ชื่อว่า
เต็งกูมุคตาร์เป็นผู้ดูแลการละเล่นมะโหย่งคณะนี้
เต็งกูมุคตาร์
คุณย่าซารียะห์
ผู้เขียนกับคุณย่าซารียะห์
อุปกรณ์การเล่นมะโหย่ง
หน้ากากต่างๆของคณะมะโหย่งแห่งหมู่บ้านเกเก เกาะบินตัน
ในจังหวัดหมู่เกาะเรียวจะมีคณะมะโหย่งอยู่หลายคณะ
เช่นของหมู่บ้านเกเก
หมู่บ้านมาตังอารัง สำหรับเต็งกูมูฮัมหมัดอาตัน
นั้นเป็นผู้ที่เกิดที่สิงคโปร์ ต่อมาย้ายมาอยู่หมู่บ้านมาตังอารัง
และแต่งงานกับคุณย่าซารียะห์ ซึ่งเป็นชาวมาตังอารัง
และต่อมาย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านเกเก สำหรับครอบครัวคุณย่าซารียะห์เป็นครอบครัวที่ครอบครองเอกสารเก่าแก่เกี่ยวกับการเล่นมะโหย่ง
ซึ่งเอกสารดังกล่าวถูกนำไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเสนอต่อองค์กร Unesco
ให้เป็นมรดกโลก ถึงอย่างไรก็ตามยังคงมีเอกสารเก่าๆที่เต็งกูมูฮัมหมัดอาตันเขียนเรื่องราวในการเล่นมะโหย่งเป็นภาษามลายูอักขระยาวี
เก็บไว้ที่บ้านของครอบครัวนี้ คุณย่าซารียะห์กล่าวว่าผู้ที่แรกเริ่มเล่นมะโหย่งคือคุณย่าอูงู
ซึ่งเป็นย่าของเต็งกูมูฮัมหมัดอาตัน
กล่าวว่าเอกสารเก่าแก่เกี่ยวกับมะโหย่งนี้ก็น่าจะนำมาจากปาตานีหรือรัฐกลันตัน
จากการสังเกตครอบครัวนี้ แม้ว่าจะครอบครองเอกสารเก่าแก่
แต่ด้วยเป็นครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ทำให้ขาดโอกาสในการขอสนับสนุนงบประมาณจากทางจังหวัดหมู่เกาะเรียวในการรักษาการละเล่นมะโหย่ง
ในทางกลับกันปรากฏว่านักแสดงมะโหย่งคณะอื่นๆ กลับสามารถของบประมาณจากทางราชการ
ถ่ายภาพที่ระลึกกับครอบครัวคุณย่าซารียะห์
เอกสารเกี่ยวกับมะโหย่งที่ยังคงอยู่ในครอบครองของครอบครัวนี้
มะโหย่งได้แพร่ไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย แต่ความแตกต่างของมะโหย่งที่จังหวัดหมู่เกาะเรียวจะใช้หน้ากากในการแสดง ในขณะที่มะโหย่งของปัตตานีและกลันตันจะไม่มีการใช้หน้ากาก
เอกสารเกี่ยวกับมะโหย่งที่ยังคงอยู่ในครอบครองของครอบครัวนี้
มะโหย่งได้แพร่ไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย แต่ความแตกต่างของมะโหย่งที่จังหวัดหมู่เกาะเรียวจะใช้หน้ากากในการแสดง ในขณะที่มะโหย่งของปัตตานีและกลันตันจะไม่มีการใช้หน้ากาก
รูปแบบมะโหย่ง บางข้อมูลกล่าวว่ามีอยู่ 7 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทอาจมีความแตกต่างกันบ้าง ประเภทต่างๆของมะโหย่งคือ
-มะโหย่งปัตตานี เป็นมะโหย่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส
-มะโหย่งกลันตัน
เป็นมะโหย่งที่มีการแสดงในรัฐกลันตัน และอำเภอเบอซุต รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
-มะโหย่งเคดะห์ พบการละเล่นมะโหย่งในรัฐเคดะห์
ประเทศมาเลเซีย
-มะโหย่งลาวต์ (Mak
Yong Laut) พบการละเล่นในรัฐเปอร์ลิส มาเลเซีย และจังหวัดสตูล
-มะโหย่งเรียว
พบการละเล่นมะโหย่งในจังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย
-มะโหย่งเมดาน
มีการพบการละเล่นมะโหย่งในจังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดเนเซีย
มะโย่งเป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี
เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 400 ปี มาแล้ว หลังจากนั้นแพร่หลายไปทางพื้นที่ต่างๆของภูมิภาคมลายู การแสดงมะโย่งได้ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในปี 1612 เมื่อปี 1612 ชาวยุโรปคนหนึ่งชื่อ ปีเตอร์ ฟลอเรส ได้รับเชิญจากราตูหรือเจ้าเมืองปัตตานีสมัยนั้นให้ไปร่วมเป็น
เกียรติในงานเลี้ยงต้อนรับสุลต่านรัฐปาหัง งานดังกล่าวปีเตอร์เล่าว่า มีการละเล่นอย่างหนึ่ง
ลักษณะการแสดงคล้ายนาฏศิลป์ชวา ผู้แสดงแต่งกายแปลกน่าดูมาก
ศิลปะดังกล่าวคงหมายถึงมะโย่ง ซึ่งส่วนใหญ่จัดแสดงในงานเพื่อให้อาคันตุกะ ได้ชม
ผู้แสดงมะโย่งคณะหนึ่งมีประมาณ 20-30 คน เป็นลูกคู่เล่นดนตรี 5-7 คน
นอกนั้นเป็นผู้แสดงและเป็นผู้ช่วยผู้แสดงบ้าง ผู้แสดงหรือตัวละครสำคัญมีอยู่ 4 ตัวคือ
-ปะโย่ง หรือ เปาะโย่ง
แสดงเป็นพระเอกในฐานะเป็นกษัตริย์หรือเจ้าชาย ใช้ผู้หญิงรูปร่างนางแบบ หน้าตาสะสวย
ขับกลอนเก่ง น้ำเสียงดีเป็นผู้แสดงแต่งกายด้วยกางเกงขายาว
นุ่งโสร่งพับครึ่งท่อนความยาวเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น สวมมงกุฏ กรองคอ เหน็บกริช
และถือมีดทวายหรือไม้เรียวอันหนึ่งเพื่อไว้ตีหัวเสนา
-มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง
แสดงเป็นนางเอกมีฐานะเป็นเจ้าหญิงหรือสาวชาวบ้าน การแต่งกายจะเปลี่ยนไปตามฐานะ
ถ้าเป็นสาวชาวบ้านจะนุ่งผ้าโสร่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อเข้ารูป
ถ้ามีฐานะเป็นเจ้าหญิงจะสวมมงกุฏ มีสร้อยข้อมือ กำไลเท้าและสวมแหวนหลายวง
-ปืนรันมูดา แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ 1 มีฐานะเป็นเสนาหนุ่มคนสนิทของเปาะโย่ง
-ปืนรันตูวา แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ 2 มีฐานะเป็นเสนาอาวุโส คนสนิทตัวรองของเปาะโย่ง สนิทสนมกับปือรันมูดา
และเป็นตัวคอยที่คอยสนับสนุนให้ปีรันมูดาสามารถตลกจี้เส้นได้มากขึ้น
การแต่งกายของปือรันมูดาและปืนรันตูวา คือนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อแขนยาวคอตั้ง
นุ่งผ้าทับแค่เข่าโพกศีรษะหรือสวมหมวกซอเกาะ
เมื่องานมหกรรมอารยธรรมมลายูครั้งที่ 1 เสร็จลงก็ได้เดินทางกลับประเทศ โดยระหว่างทางคิดอยู่ว่าเราน่าจะทำอะไรสักอย่างเพื่อครอบครัวนี้ อย่างน้อยให้ทางราชการ โดยเฉพาะทางจังหวัดหมู่เกาะเรียวมาดูแลครอบครัวที่มีเอกสารเก่าแก่เกี่ยวมะโหย่งครอบครัวนี้
บนเรือขณะเดินทางกลับ
บนเรือในน่านน้ำอินโดเนเซีย
Tiada ulasan:
Catat Ulasan