Jumaat, 14 Jun 2013

เข้าร่วมงาน โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จัก”

โดย  นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ด้วยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้รับการติดต่อจากคุณศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์ แห่งสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ให้เข้าร่วมเสนอบทความวิชาการในงานสัมมนาที่มีชื่อว่า โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จักที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ  ซึ่งข้าพเจ้าก็รับคำเชิญด้วยความยินดี

นอกจากข้าพเจ้าแล้วยังมีศาสตราจารย์  ดร.  ครองชัย  หัตถา  นักวิชาการแนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่อยู่ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ หรือ Historical Geography ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในอดีตไม่ค่อยจะให้การยอมรับเป็นอย่างมาก จนผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในอดีต มีการกล่าวว่าศาสตราจารย์  ดร.  ครองชัย  หัตถา  ทำการศึกษาวิจัยข้ามเขตสาขาที่ตนเองศึกษามาจากสาขาภูมิศาสตร์ไปยังสาขาประวัติศาสตร์

การเตรียมการเดินทางของข้าพเจ้ากับศาสตราจารย์  ดร.  ครองชัย  หัตถา  นั้นข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ท่านอาจารย์ดำเนินการทุกอย่าง  นับตั้งแต่ซื้อตั๋วเครื่องบินจากอำเภอหาดใหญ่ไปกรุงเทพฯ  รวมทั้งการใช้รถคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  เพื่อส่งพวกเราทั้งสองจากวิทยาเขตไป-กลับอำเภอหาดใหญ่   ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเดินทางไปร่วมสัมมนาในครั้งนี้ จะสามารถอาศัยช่วงเวลาที่ว่างไปเก็บข้อมูลที่ตนเองยังค้างอยู่ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส  ซึ่งมีข้อมูลหนึ่งคือการเปลี่ยนชื่อจากอำเภอบาเระเหนือไปเป็นอำเภอบาเจาะนั้น  ปรากฏว่าลืมถ่ายเก็บไว้ ทำให้ไม่สามารถอ้างอิงเอกสารในช่วงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

สำหรับงานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ เมื่อดูรายชื่อปรากฏว่าส่วนหนึ่ง และส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการอาวุโส ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ มีประสบการณ์ในแวดวงวิชาการ  แต่เมื่อเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ข้าพเจ้าจำเป็นต้องใช้สอนนักศึกษา โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย ถือว่าเป็นความรู้ที่ตกผลึกมาตั้งแต่เด็กๆ รวมทั้งประเทศมาเลเซีย เรียกได้ว่าข้าพเจ้าสัมผัสมาทุกรัฐ จนอาจเรียกได้ว่าดีกว่าชาวมาเลเซียแท้ๆอีกจำนวนมาก

สำหรับการส่งบทความในครั้งนี้ ด้วยขณะที่ทางเจ้าภาพได้ทำการทวงบทความนั้น ข้าพเจ้ายังอยู่ในเมืองโฮชิมินห์ ประเทศเวียดนาม พร้อมนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา  ที่ร่วมเดินทางสัมผัสกลุ่มประเทศอินโดจีน จึงใช้วิธีส่งบทความเก่าๆ ของตัวเองที่เป็นสมบัติทางวิชาการของมหาวิทยาลัยบูรพา  และแจ้งทางเจ้าภาพว่าเวลามีการเสนอบทความวิชาการจะใช้ Power Point พร้อมแทรกเนื้อหาใหม่ๆที่หลายต่อหลายคนไม่ทราบ
เมื่อทำ Power Point สำหรับงานสัมมนาในครั้งนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ตามหัวข้อการสัมมนาว่า จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จัก”  

แต่ขณะที่อยู่บนเครื่องบินเที่ยวบินหาดใหญ่-กรุงเทพฯ  ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งบนเครื่องบิน  ปรากฏว่าพบบทความที่คอลัมนิสต์ท่านหนึ่งเขียนลงในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เป็นบทความเกี่ยวกับรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย  โดยเขียนว่า รัฐซาราวัค ซึ่งเป็นรัฐเล็กๆของประเทศมาเลเซีย  ซึ่งความเป็นจริงรัฐซาราวัคถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย ดังนั้นหัวข้อใน Power Point จึงมีการเปลียนไป จากที่พิมพ์ว่า จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จัก”   มาเป็น จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรา (ไม่)รู้จัก”  

สำหรับงานสัมมนาในครั้ง เมื่ออ่านใบโครงการที่ส่งมา  ทำให้พอจะทราบว่า การสัมมนาในเรื่องจากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จักมีเนื้อหาดังนี้ :  

หลักการและเหตุผล
                                ส่วนหนึ่งของเนื้อหาคือ
                                โครงการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จัก”     จะเป็นการนำเสนอภูมิหลังเกี่ยวกับพัฒนาการของคาบสมุทรมลายูตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงทัศนคติและมุมมองที่ไทยมีต่อมลายูและมลายูมีต่อไทย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยกับมลายู  ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต ศาสนา ความเชื่อ และภาษาที่ไทยได้รับการสืบทอดมา     และด้วยเหตุที่ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ประกอบด้วยหลายชนเผ่าซึ่งล้วนแต่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมดังนั้น การผสมผสานทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างลงตัวของชนในชาติ  จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาและ      ได้ถูกรวมเข้าไว้ในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย 
                                อนึ่ง ในฐานะที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558  อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคอาเซียนต่อไปในอนาคต               การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตและจารีตประเพณีของกันและกันก็นับเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนในภูมิภาคด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์
1.            เพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
2.            เพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์จากอดีตถึงปัจจุบัน
3.            เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558
4.            เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของไทยและของประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สองประเทศ

การดำเนินงาน
1.            จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง  จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จัก
2.            จัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา

กลุ่มเป้าหมาย       
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 150 คน  ประกอบด้วย นักวิชาการ ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

งบประมาณ       งบประมาณของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร
ระยะเวลาดำเนินการ  วันที่ 5-6 มิถุนายน  2556

หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กลุ่มแปลและเรียบเรียง  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.            ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
2.            ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์จากอดีตถึงปัจจุบัน
3.            ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4.            ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่มีมาช้านาน

สำหรับกำหนดการของงานสัมมนาในครั้งนี้มีดังต่อไปนี้


                                              กำหนดการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง จากนานามาลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เรารู้จัก
    วันที่ 4-6  มิถุนายน  2556
ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
                                        ----------------------------------------------
วันที่ 5  มิถุนายน  2556
08.30 - 09.00 น.           -  ลงทะเบียน
09.00 -09.15 น.            -   พิธีเปิดการสัมมนา
09.15 - 10.00 น.            -   ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง มาเลเซีย สิงคโปร์ที่เรารู้จักและควรรู้จัก
                                         โดย นายอิศร  ปกมนตรี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศ
      10.00 - 10.15 น.               -   พักรับประทานน้ำชา
      10.15 - 12.00 น.              -    การอภิปรายหัวข้อ พัฒนาการของคาบสมุทรมลายูในบริบท เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                                                วิทยากร :  รศ. ดร. ชุลีพร วิรุณหะ
                                                                 รศ. ยงยุทธ ชูแว่น
                                                                 รศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
      12.00 - 13.00 น.            -    พักรับประทานอาหารกลางวัน
      13.00 -  16.00 น.          การอภิปรายหัวข้อ ไทยมองมลายู มลายูมองไทย มลายู  ในสายตาของชาวต่างชาติ
                                                วิทยากร ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร
                                                                    ดร. ธีรวัต ณ ป้อมเพชร
                                                                    อ.นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
      16.00 - 16.30 น.          -    อภิปรายตอบข้อซักถาม

วันที่  6  มิถุนายน  2556
      09.00 - 12.00         -   การอภิปรายหัวข้อ ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย มลายู
                                                วิทยากร : รศ. ประพนธ์  เรืองณรงค์
                                                                    ศ.ดร.ครองชัย  หัตถา
                                                                   อ.จรูญ หยูทอง
                                                                   อ.ประเสริฐ เย็นประสิทธิ์
      12.00 - 13.00  น.        -   พักรับประทานอาหารกลางวัน
      13.00 - 16.00 น.         -   การอภิปรายหัวข้อ บุคคลสำคัญของมาเลเซียและสิงคโปร์
                                                                      - Sir Stamford Raffles
                                                                      - Frank Swettenham
                                                                      - ตวนกู อับดุลรามาน
                                                                      - Lee Kuan Yew 
                                                วิทยากร : อ.อภิเชษฐ  กาญจนดิฐ
                                                                   อ.วิชุลดา พิไลพันธ์
                                                                  ผศ. ศุภการ สิริไพศาล
      16.00 - 16.30 น.          -   อภิปรายตอบข้อซักถาม
                                             -   พิธีปิดการสัมมนา

ความเห็นส่วนตัวแล้ว เห็นว่าสมควรที่จะมีการจัดงานในลักษณะนี้โดยหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องให้มากขึ้น เพื่อทำให้เราจะได้รู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ประเทศไทยมักชอบที่จะยกตัวเองให้สูงขึ้นกว่าประเทศเพื่อน
บ้าน ทั้งๆที่บางประเทศเขาไปไกลกว่าที่เราคิด นักวิชาการของประเทศไทยเอง เวลาจะทำการวิจัยเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน นักวิชาการไทยมีจุดด้อย จุดอ่อน ตรงไม่รู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน มักจะอ้างอิงหนังสือ งานวิจัยที่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ของนักวิชาการในประเทศนั้นๆก็ได้ 

ของเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่นชื่อบุคคลในงานสัมมนา ตอนมีการบรรยายถึงบุคคลที่ชื่อ Frank Swettenham  ผู้บรรยาย ซึ่งก็คงเป็นงานวิจัย จะเรียกว่า แฟรงค์ สเวตเตอนัม แรกๆก็จะรู้สึกว่าผู้บรรยายน่าจะพูดผิด เพราะข้าพเจ้าเคยเรียนและเคยได้ยินแต่เขาเรียกว่า แฟรงค์ สเวตเตินแฮม แต่ต่อมาปรากฎว่าผู้บรรยายเรียกชื่อบุคคลผู้นี้ตลิดว่า แฟรงค์ สเวตเตอนัม จึงเริ่มรู้สึกว่าน่าจะเรียกผิด และดูเอกสารประกอบการบรรยายก็เขียนว่า แฟรงค์ สเวตเตอนัม ข้าพเจ้าจึงออกจากห้องสัมมนา และยอมโทรศัพท์ทางไกลไปหาอาจารย์คนหนึ่งที่เคยสอนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย หรือ National University of Malaysia อาจารย์ท่านนั้นก็ยืนยันว่าชื่อที่ถูกต้องคือแฟรงค์ สเวตเตินแฮม ข้าพเจ้าจึงคิดว่าแม้แต่ชื่อที่ผู้วิจัยจะทำการวิจัย ยังเรียกผิด แล้วเนื้อหา ส่วนละเอียดของเนื้อหาจะไม่มีผิดหรือ 

ประมวลภาพการพบปะเพื่อนฝูง คนรู้จัก และคนที่รู้จักทางเฟสบุ๊ค
การเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ระหว่างเพื่อนฝูง คนรู้จัก รวมทั้งกลุ่มเพื่อนทางเฟสบุ๊ค
อาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์และคุณวงศ์ มุขยานุวงศ์ ภรรยา ซึ่งเข้าร่วมงานสัมมนาด้วย
คุณธนิดา รัตนสุวรรณกับคุณนัสริน แซสะ (คลุมหัว) สองนักศึกษาปริญญาโท ม. ธรรมศาสตร์
สองนักศึกษา ม. ธรรมศาสตร์ถ่ายภาพกับมูฮัมหมัดอินซัฟ คณะทำงานของผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา
คุณมูฮัมหมัดอินซัฟ คณะทำงานด้านโยธาของคุณ Joko Widodo ผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา
ผศ. ดร. อาดิศร์ อิดริส รักษมณี (คนขวาสุด) แห่งม. เกษมบัณฑิต
         
คุณอภิรัฐ  เจะเหล่า (ฆอซาลี) นักโบราณคดี กรมศิลปากร
คุณนก นิรมล แห่งทุ่งแสงตะวัน กำลังสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย  หัตถา
เก็บภาพเป็นที่ระลึก กับคุณนก นิรมล แห่งทุ่งแสงตะวัน
บรรยากาศบริเวณถนนข้าวสาร 
บรรยากาศบริเวณถนนข้าวสาร
โรงแรมเวียงใต้ เคยผ่านบ่อยๆ แต่ไม่นึกว่าวันนั้นจะได้พักที่นี้กับเขาด้วย

ประมวลภาพในงานสัมมนา "จากนานามลยรัฐสู่มาเลเซียและสิงคโปรืที่เรารู้จัก





การแสดงเปิดงานสัมมนา
ท่านอธิบดีกรมศิลปากรกล่าวเปิดงาน
ท่านอธิบดีกรมศิลปากรสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว
ท่านทูตอิศร  ปกมนตรี เป็นองค์ปาฐกของงานสัมมนา
สามนักวิชาการนามอุโฆษ  รศ. ดร. ชุลีพร วิรุณหะ     รศ. ยงยุทธ ชูแว่นรศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
รับมอบของที่ระลึก
กับสองนักวิชาการนามอุโฆษของไทย ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร และ ดร. ธีรวัต  ณ ป้อมเพชร                                                                                                                             
รับมอบของที่ระลึก
'รูญ ระโนด  รศ. ประพนธ์  เรืองณรงค์ อาจารย์อาดัม  เย็นประสิทธิ์ และศ. ดร. ครองชัย  หัตถา
รับมอบของที่ระลึก
รศ. ประพนธ์  เรืองณรงค์
รับมอบของที่ระลึก
'รูญ  ระโนด
รับมอบของที่ระลึก
สามนักวิชาการรุ่นใหม่
รับมอบของที่ระลึก

Tiada ulasan: