โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
วันที่ 22 มิถุนายน 2013 เป็นวันครบรอบ 486
ปีของการจัดตั้งกรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดเนเซีย กรุงจาการ์ตาเป็นเมืองหลวงที่ใหญ่มากอีกเมืองหนึ่ง ในปี
2011 มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน กรุงจาการ์ตามีชื่อที่หลากหลายตั้งแต่การจัดตั้ง
เช่น ก่อนปี 1527 มีชื่อว่า Sunda Kelapa
ระหว่างปี 1527- 1619 มีชื่อว่า Jayakarta ต่อมาระหว่างปี 1619-1942 มีชื่อว่าเมืองบาตาเวีย (Batavia) และในระหว่างปี 1942-1972 มีชื่อว่าจาการ์ตา หรือ Djakarta และตั้งแต่ปี 1972 เหลือแต่เพียง Jakarta ตามการสะกดอักขระใหม่
สภาพบ้านเมืองของกรุงจาการ์ตา
สภาพการจราจรที่ค่อนข้างจะติดขัดยิ่งกว่ากรุงเทพฯ ประเทศไทย
ความเจริญของบ้านเมืองที่ขัดแย้งกับสภาพความยากจนของพลเรือน
สภาพบ้านเมืองในมุมมองบวก เป็นประเทศที่มีช่องว่างระหว่างชนชั้นค่อนข้างสูงมาก
บ้านเมืองที่เต็มด้วยมัสยิด แต่ศาสนาอิสลามไม่ใช่ศาสนาประจำชาติของอินโดเนเซีย
ประวัติความเป็นมาของกรุงจาการ์ตา
ยุคที่เรียกว่าซุนดาเกอลาปา (Sunda
Kelapa)
ยุคแรกนั้นเริ่มขึ้นโดยท่าเรือ Sunda
Kelapa เป็นท่าเรือของอาณาจักรซุนดา ซึ่งอาณาจักรซุนดา
เป็นอาณาจักรที่เนื่องต่อมาจากอาณาจักตารูมานาฆารา (Tarumanagara) ในศตวรรษที่
12 เมืองท่า Sunda Kelapa มีความรุ่งเรือง
มีเรือสินค้าแวะมาค้าขาย ทั้งมาจากประเทศจีน
ญี่ปุ่น อินเดียใต้ และตะวันออกกลาง
เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างพ่อค้าต่างๆจากนานาประเทศ
จุดกำเนิดของกรุงจาการ์ตา ท่าเรือซุนดาเกอลาปา จุดท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศ
สภาพเรือบริเวณซุนดาเกอลาปา
ยุคที่เรียกว่าเมืองจายาการ์ตา (Jayakarta) (ปี 1527- 1619)
ชาติโปร์ตุเกสเป็นชาติยุโรปชาติแรกที่เข้ามายังกรุงจาการ์ตา ในศตวรรษที่ 16 กษัตริย์ซุนดาที่ชื่อว่า Surawisesa ได้ขอความช่วยเหลือจากชาติโปร์ตุเกสที่เมืองมะละกา
ให้เดินทางมาช่วยสร้างป้อมปราการที่เมืองท่าซุนดาเกอลาปา เพื่อป้องกันการโจมตีจากเมืองจีเรบน (Cirebon)
ซึ่งเมืองจีเรบนพยายามที่จะแยกตัวออกจากอาณาจักรซุนดา แต่ก่อนที่โปร์ตุเกสจะสร้างป้อมปราการเสร็จ
กษัตริย์ที่ชื่อว่า Fatahillah ก็สามารถขับไล่ออกจากเมืองท่าซุนดาเกอลาปา
ต่อมา Fatahillah ได้เปลี่ยนชื่อจากซุนดาเกอลาปา (Sunda
Kelapa)มาเป็นเมืองจายาการ์ตา (Jayakarta)ซึ่งมีความหมายว่า
“เมืองแห่งชัยชนะ” นายซูดีโร
(Sudiro) ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา ยุคปี 1956 ได้กำหนดให้วันดังกล่าว คือ วันที่
22 มิถุนายน ปี 1527 เป็นวันก่อตั้งกรุงจาการ์ตา
ยุคที่เรียกว่าเมืองบาตาเวีย (Batavia) (ปี 1619-1942)
ชาติฮอลันดาได้เดินทางมายังเมืองจายาการ์ตาในศตวรรษที่
16 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เมืองจายาการ์ตา
ถูกปกครองโดยกษัตริย์ที่ชื่อว่า Pangeran Jayakarta ซึ่งเป็นเครือญาติของราชวงศ์แห่งบันเตน
(Banten) ต่อมาในปี 1619 ทางบริษัทฮอลันดา ที่ชื่อว่า Vereenigde
Oostindische Compagnie หรือ VOC ที่มี Jan Pieterszoon Coen เป็นผู้นำ
จนทำให้กองทัพของอาณาจักรบันเตนพ่ายแพ้ และสามารถยึดครองเมืองจายาการ์ตาได้
และได้เปลี่ยนชื่อเมืองจาก เมืองจายาการ์ตา (Jayakarta) มาเป็นเมืองบาตาเวีย (Batavia) ใช้ชื่อเมืองในชื่อนี้เป็นเวลานานตลอดยุคที่ถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของฮอลันดา
แผนที่เมืองบาตาเวีย
ชาวฮอลันดายุคอาณานิคม
สภาพบ้านเมืองยุคอาณานิคม
ชาวอินโดเนเซียพื้นเมือง
โรงละครของเมืองบาตาเวีย
บ้านเมืองยุคอาณานิคม
รถม้าถือเป็นหนึ่งในการคมนาคมที่สำคัญในยุคอาณานิคม
ยุคที่เรียกว่าเมืองจาการ์ตา (Jakarta)
(ปี 1942-1972)
นับตั้งแต่การยึดครองของญี่ปุ่น
ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการเอาใจประชาชนอินโดเนเซีย
กองทัพญี่ปุ่นได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองบาตาเวีย (Batavia) มาเป็นเมืองจาการ์ตา ความเจริญของกรุงจาการ์ตามีมากขึ้น
เมื่อได้รับการเลือกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดเนเซีย
ตลาดปาซาร์เซอนิน กรุงจาการ์ตา
อนุสาวรีย์แห่งชาติ กรุงจาการ์ตา
ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงจาการ์ตา
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตานั้น
จะลงสมัครรับเลือกตั้งพร้อมกับรองผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา โดยมีวาระ 5 ปี
สำหรับคะแนนที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องได้คือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
ในกรณีไม่มีผู้ใดได้คะแนนเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จะต้องมีการเลือกตั้งรอบที่ 2
โดยเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 และ 2
สำหรับผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตาคนปัจจุบันคือ
นายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ส่วนรองผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา
เป็นชาวอินโดเนเซียเชื้อสายจีน ชื่อว่า นายบาซูกี
จาฮายา ปูร์นามา (Basuki Tjahaja Purnama) ทั้งสองคนเป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตา และรองผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตาที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาธิปไตยอินโดเนเซีย - การต่อสู้ (PDI-P : Partai Demokratik Indonesia - Perjuangan) ซึ่งมีนางเมฆาวาตี ซูการ์โน ปุตรี อดีตประธานาธิบดีอินโดเนเซียเป็นผู้นำ
เขตการปกครองกรุงจาการ์ตา
ด้วยกรุงจาการ์ตาเป็นเมืองที่ใหญ่
จึงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เขตการปกครอง และ 1 อำเภอ คือ
1. เขตการปกครองจาการ์ตาตะวันตก มีประชากรในเขตการปกครองจำนวน 2,260,341 คน
2. เขตการปกครองจาการ์ตากลาง
มีประชากรในเขตการปกครองจำนวน 861,531 คน
3. เขตการปกครองจาการ์ตาใต้ มีประชากรในเขตการปกครองจำนวน 2,057,080 คน
4. เขตการปกครองจาการ์ตาตะวันออก
มีประชากรในเขตการปกครองจำนวน 2,687,027
คน
5. เขตการปกครองจาการ์ตาเหนือ มีประชากรในเขตการปกครองจำนวน 1,468,840 คน
6. อำเภอปูเลาซือรีบู
มีประชากรในเขตการปกครองจำนวน 21,071 คน
กรุงจาการ์ตากับนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา
สาขาวิชาเอกมลายูศึกษา ของคณะมนุษยศาสตร์ฯ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นสาขาวิชาบูรณาการ นอกจากการเรียนภาษามลายูแล้ว ยังต้องเรียนเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ของประเทศต่างๆ ไม่เพียงแต่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ สำหรับนักศึกษาวิชาเอกมลายูนั้น การเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ด้วยต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ การเดินทางนอกเหนือจากประเทศมาเลเซีย ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการท้าทาย เป็นการผจญภัยในประเทศที่เราไม่เคยเดินทางไป ประเทศแรกที่นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาไปคือประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาจึงเป็นประเทศอินโดเนเซีย
สำหรับนักศึกษารุ่นแรกที่เดินทางไปยังประเทศอินโดเนเซีย ประกอบด้วยนักศึกษา 4 คน โดยเดินทางไปยังกรุงจาการ์ตา และเมืองบันดุง การเดินทางในครั้งนั้นนอกจากได้เยี่ยมมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอินโดเนเซียแล้ว ยังเดินทางไปยังสถาบันเทคโนโลียี่บันดุง สถาบันที่อดีตประธานาธิบดีซูการ์โนเคยเล่าเรียนที่นั่น การเดินทางของคณะนักศึกษาครั้งนั้น ทำให้ต่อมามีนักศึกษาคนหนึ่งในจำนวน 4 คนข้างต้น ได้สมัครทุนรัฐบาลอินโดเนเซีย เพื่อเรียนภาษาอินโดเนเซียเป็นเวลา 1 ปี
กรุงจาการ์ตากับนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา
สาขาวิชาเอกมลายูศึกษา ของคณะมนุษยศาสตร์ฯ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นสาขาวิชาบูรณาการ นอกจากการเรียนภาษามลายูแล้ว ยังต้องเรียนเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ของประเทศต่างๆ ไม่เพียงแต่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ สำหรับนักศึกษาวิชาเอกมลายูนั้น การเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ด้วยต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ การเดินทางนอกเหนือจากประเทศมาเลเซีย ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการท้าทาย เป็นการผจญภัยในประเทศที่เราไม่เคยเดินทางไป ประเทศแรกที่นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาไปคือประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาจึงเป็นประเทศอินโดเนเซีย
สำหรับนักศึกษารุ่นแรกที่เดินทางไปยังประเทศอินโดเนเซีย ประกอบด้วยนักศึกษา 4 คน โดยเดินทางไปยังกรุงจาการ์ตา และเมืองบันดุง การเดินทางในครั้งนั้นนอกจากได้เยี่ยมมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอินโดเนเซียแล้ว ยังเดินทางไปยังสถาบันเทคโนโลียี่บันดุง สถาบันที่อดีตประธานาธิบดีซูการ์โนเคยเล่าเรียนที่นั่น การเดินทางของคณะนักศึกษาครั้งนั้น ทำให้ต่อมามีนักศึกษาคนหนึ่งในจำนวน 4 คนข้างต้น ได้สมัครทุนรัฐบาลอินโดเนเซีย เพื่อเรียนภาษาอินโดเนเซียเป็นเวลา 1 ปี
ไปยืนอยู ณ บริเวณซุนดาเกอลาปา จุดเริ่มต้นของการเกิดกรุงจาการ์ตา
บริเวณเมืองเก่า หรือ Kota Lama ศูนย์อำนาจเก่ายุคฮอลันดาปกครอง
หน้าร้านกาแฟ ชื่อร้านบาตาเวีย (Batavia) บริเวณเมืองเก่าของกรุงจาการ์ตา
หน้าอาคารผู้ปกครองยุคอาณานิคมฮอลันดา เมืองเก่าของกรุงจาการ์ตา
ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของกรุงจาการ์ตา
ในสวนที่ย่อประเทศอินโดเนเซียเข้าด้วยกัน ที่ชื่อว่า Taman Indonesia Indah
หน้าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย
กับนักเขียนอินโดเนเซียที่ชื่อว่า Viddy Daery หน้าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย
กับศาสตราจารย์ ดร. Zulhasri Nasir ผู้อำนวยการศูนย์อารยธรรมมลายู ของมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย
อาคาร ตึกสูง ในกรุงจาการ์ตา
อนุสาวรีย์แห่งชาติ หรือ Monumen Nasional (Monas)
สภาพการจราจรที่ติดขัด สาหัสกว่ากรุงเทพฯ
กรุงจาการ์ตา ยังไม่มีรถไฟลอยฟ้าหรือใต้ดิน จะมีก็แต่ รถบัส TranJakarta ที่เดินบนเลนเฉพาะของตนเอง
นักศึกษามลายูศึกษารุ่นที่สองที่ได้เดินทางไปยังกรุงจาการ์ตา เป็นนักศึกษาที่เดินทางรอบแหลมมลายูของประเทศมาเลเซีย แล้วเข้าไปยังประเทศสิงคโปร์ ต่อจากนั้นจึงเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย
เดินทางไปยังบริเวณที่เรียกว่า "ซุนดาเกอลาปา" จุดเริ่มต้นของการเกิดกรุงจาการ์ตา
เยี่ยมมหาวิทยาลัยชารีฟฮีดายาตุลลอฮ
เยี่ยมมหาวิทยาลัยชารีฟฮีดายาตุลลอฮ
เยี่ยมมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย เมืองเดปอก
อาหารเกือบทุกมื้อด้วยร้านเค.เอฟ.ซี. ด้วยท้องไม่ชินกับอาหารพื้นเมือง
ไปยังเมืองเก่าที่เรียกว่า Kota Lama ศูนย์อำนาจยุคอาณานิคม
ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ณ เมืองเก่าของกรุงจาการ์ตา
เบื้อหลังคือสำนักงานผู้ว่าการยุคอาณานิคมฮอลันดา
เก็บภาพที่ระลึก โดยเบื้อหลังเป็นการแสดงของชนชาวเบอตาวี
ตอนไปเมืองเก่า ปรากฎว่ามีงานการแสดงของชาวกรุงจาการ์ตา
คุณอาฟีนี โต๊ะแว กับเบื้องหลังสถานีรถไฟจาการ์ตาโกตา ใกล้กับเมืองเก่าของกรุงจาการ์ตา
Tiada ulasan:
Catat Ulasan