Khamis, 28 Februari 2013

รัฐสุลต่านแห่งซูลู ฟิลิปปินส์ภาคใต้

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

รัฐสุลต่านแห่งซูลู
เป็นรัฐหนึ่งที่มีอำนาจในภาคใต้ฟิลิปปินส์ รัฐสุลต่านแห่งซูล฿จัดตั้งขึ้นในปี 1450  ในหนังสือ Nagarakretagama ได้บันทึกถึงรัฐนี้โดยใช้ชื่อว่า Solot

ความเป็นมาของรัฐสุลต่านแห่งซูลู
ในปี 1380 มีนักการศาสนาอิสลามผู้หนึ่ง ชื่อว่า Karim ul-Makdum ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาอิสลามยังหมู่เกาะซูลู ต่อมาในปี 1390 มี Raja Bagindo ซึ่งมาจากมีนังกาเบาได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาอิสลามยังหมู่เกาะดังกล่าวอีกครั้ง จนในที่สุด Raja Bagindo ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามจนถึงเกาะซีบูตู (Pulau Sibutu)

ราวในปี 1450 มีคนเชื้อสายอาหรับจากรัฐโยโฮร์ชื่อ Shari'ful Hashem Syed Abu Bakar ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะซูลู ต่อมาได้แต่งงานกับ Paramisuli  บุตรีของ Raja Bagindo  หลังจากนั้นในปี 1457  Shari'ful Hashem Syed Abu Bakar  ได้ประกาศตนเองเป็นสุลต่าน โดยใช้ชื่อว่า "Paduka Maulana Mahasari Sharif Sultan Hashem Abu Bakar"  เขาเป็นคนแรกที่ใช้ยศนำหน้าว่า สุลต่าน ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ ในขะที่ก่อนหน้านี้จะใช้คำว่า ราชา

ในทศวรรษที่ 1640 ทางสเปนได้ทำสนสัญญากับรัฐสุลต่านในภาคใต้ฟิลิปปินส์ เช่น รัฐสุลต่านซูลู  รัฐสุลต่านมากินดาเนา รับรองถึงความเป็นอิสระของรัฐข้างต้น

จากการที่รัฐสุลต่านแห่งซูลูได้ประกาศเรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย จะเห็นแต่เอกสารต่างๆที่มาจากในส่วนของรัฐซูลู แต่ไม่เคยปรากฎการเผยแพร่เอกสารที่มาจากฝ่ายบรูไนเลย ทั้งๆที่ประเทศบรูไนเอง น่าจะมีความชอบธรรมในรัฐซาบะห์ ไม่แพ้ หรืออาจจะมากกว่ารัฐซูลูด้วยซ้ำไป
เอกสารฉบับรัฐซูลูในเช่าถาวรซาบะห์
ทำไมบรูไนจึงไม่เรียกร้องสิทธิเหนือซาบะห์ ขณะที่มีการจัดตั้งสหพันธรัฐที่ชื่อว่า มาเลเซีย
 ทางสุลต่านบรูไนและเตอเมิงฆงบรูไน ได้ให้เช่าซาบะห์แก่  Gustavus Baron von Overbeck และผู้ที่สืบทอดต่อจากเขาในปี 1877 โดยเช่าจำนวน $15,000 ต่อปี  สำหรับคำว่าผู้สืบทอดต่อจากเขา ต่อมาก็คือรัฐบาลของบอร์เนียวเหนือ และรัฐบาลมาเลเซียที่ได้มาปกครองซาบะห์   ส่วนการเช่าครั้งนี้ คือการเช่าแบบถาวร โดยเขียนในสัญญาการเช่าว่า การเช่าจะยังคงมีอยู่ ตราบเท่าที่ผู้เช่ามีความต้องการเช่า  และจ่ายค่าเช่า แต่ถ้าไม่จ่ายค่าเช่าเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน บรูไนสามารถที่จะเอาคืนซาบะห์ แต่การที่มีการจ่ายค่าเช่ามาตลอด และต่อมาบรูไนและซาบะห์ ล้วนอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน คืออังกฤษ ทำให้บรูไนไม่ได้มีการเรียกร้องสิทธิเหนือซาบะห์ หรือบอร์เนียวเหนือ

สงครามระหว่างราชวงศ์บรูไนกินเวลาถึง 12 ปี โดยสุลต่านมุฮยิดดิน แห่งบรูไนขัดแย้งภายใต้เชื้อพระวงศ์ จึงขอความช่วยเหลือจากรัฐสุลต่านซูลูมาช่วยเหลือ แต่รัฐสุลต่านซูลูเองก็ไม่ได้มาช่วยเหลืออย่างจริงจังต่อสุลต่านมุฮยิดดิน แห่งบรูไน  ทำให้ในส่วนของประวัติศาสตร์บรูไนเอง ไม่เพียงไม่มีเอกสารหลักฐาน แม้แต่ในเอกสารประวัติศาสตร์บรูไน หรือ Tarsilah Brunei ก็ไม่มีการบันทึกถึงการมอบซาบะห์ของสุลต่านบรูไนให้แก่รัฐสุลต่านซูลู
ความเข้าใจของชาวซูลู ถึงอาณาเขตอาณาจักรของเขา
ในเรื่องการมอบดินแดนซาบะห์ของสุลต่านมุฮยิดดินแห่งบรูไนแก่รัฐสุลต่านแห่งซูลู นักวิชาการชาวมุสลิมมินดาเนาเองก็ยอมรับว่า เพียงเป็นที่รับรู้ในหมู่ชาวมุสลิมในภาคใต้ฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่ไม่มีเอกสารหลักฐานที่กล่าวถึงการมอบซาบะห์ให้แก่รัฐสุลต่านซูลูแต่อย่างใด (Cesar Adib Majul: “Muslims in the Philippines,” 1999)
ราชวังสุลต่านซูลู
สภาพราชวังสุลต่านซูลูหลังถูกพายุถล่ม

สุลต่านซูลู

การแสดงการต่อสู้ของชาวซูลู

 ชาวซูลูในอดีต
 สุลต่านซูลู 
สุลต่านซูลู
ในความเป็นจริงรัฐสุลต่านซูลูได้สิ้นสภาพความเป็นรัฐ  ตั้งแต่ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศฟิลิปปินส์แล้ว แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความจำเป็นต้องรักษาหรือประคับประคองในรัฐสุลต่านซูลูคงอยู่ ด้วยมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของฟิลิปปินส์ นั้นคือรัฐบาลฟิลิปปินส์นับตั้งแต่อดีตมีการอ้างความชอบธรรมในกรรมสิทธิ์ของรัฐซาบะห์ว่าเป็นดินแดนของตนเอง ที่ทางรัฐสุลต่านแห่งซูลู ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ให้เช่าแก่ผู้อื่น ไม่ได้มีการยกให้อย่างถาวร ดังนั้นการคงอยู่ของระบบสุลต่านซูลู จึงมีความจำเป็น เพื่ออ้างความชอบธรรมดังกล่าว
 เนื้อหาในรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์ ปี 1973
เนื้อหาในรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์ ปี 1987
บรรดาผู้ตั้งตัวเองเป็นสุลต่าน
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2009 มีกลุ่มชาวซูลูสัญชาติมาเลเซียมีผู้นำชื่อ ดาตูอับดุลราซัคดาตูอาลีอุดดิน ได้เผาธงรัฐซาบะห์ 6 ผืนที่เมืองเซิมโปร์นา รัฐซาบะห์ พร้อมได้ชักธงซูลูขึ้นแทน  ก่อนหน้าที่เขาได้ประกาศเป็นสุลต่านแห่งซาบะห์

การอุปโลกตนเองขึ้นเป็นสุลต่านแห่งซูลู
จากการสำรวจของนักเขียนมาเลเซีย (ibnususydi.blogspot.com) ได้กล่าวว่ามีบุคคลต่างๆแอบอ้างว่าเป็นสุลต่านแห่งซูลูทั้งหมด ราว 97 คน ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่าสุลต่านแห่งซูลูและบอร์เนียวเหนือ หรือ Sultan of Sulu & North Borneo  ในบรรดาผู้อุปโลกน์ตัวเองเหล่านี้ มีกิจกรรมอยู่เพียง 2 ประการคือ เรียกร้องซาบะห์คืนมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐซูลู และการได้รับเงินค่าเช่าถาวรรัฐซาบะห์จากมาเลเซีย  แต่ไม่มีสักคนที่มีการเรียกร้องความเป็นอิสระของรัฐซูลู  รวมทั้งสุลต่านที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ งานอีกอย่างหนึ่งของบรรดาสุลต่านอุปโลกน์เหล่านี้คือ การ ขายเครื่องราชอิสริยยศ ที่ใช้ชื่อนำหน้าว่า ดาโสรี หรือ Datuk Paduka

 สุลต่านซูลูที่ชื่อว่า สุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2 ได้สิ้นชีพลงในปี 1936  โดยสุลต่านองค์นี้ไม่มีบุตรเป็นผู้สืบราชบัลลังค์ นับตั้งแต่นั้นเริ่มมีผู้ที่ทั้งอาศัยอยู่ซาบะห์และหมู่เกาะซูลูจำนวนหนึ่งได้อ้างถึงความชอบธรรมในการเป็นสุลต่านคนต่อไป โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่อยู่ในตระกูล กีราม (Kiram)  


ภายหลังจากการสิ้นชีวิตของสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2 ก็มีการประกาศสืบทอดตำแหน่งสุลต่านคนต่อไป

1) สุลต่านมาวัลลี วาซีต หรือ Sultan Mawallil Wasit (1936)
ผู้นี้เป็นน้องชายของสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2  หลังจากการสิ้นชีวิตของสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2 ทางสภาของรัฐซูลู หรือที่เรียกว่า  Rumah Bichara ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารรัฐซูลู ก็แต่งตั้งให้เป็นสุลต่านมาวัลลี วาซีต แต่เป็นได้แค่ 6 เดือนก็สิ้นชีพด้วยยาพิษ และหนึ่งปีต่อมา ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ขณะนั้นคือประธานาธิบดี มานูเอ็ล ลุยส์ กูเอซอน วาย โมนีลา ( Manuel Luis Quezón y Molina) ได้ออกประกาศประธานาธิบดี ลงวันที่ 20 กันยายน 1937 ประกาศว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์จะไม่รับรองสุลต่านคนต่อไปอีกแล้ว 
2) สุลต่านอมรา อามิลบังซา หรือ Sultan Ombra Amilbangsa (1937-1950)
เขามีฐานะเป็นสามีของ Dayang-dayang Hajah Piandao ซึ่งเธอเป็นบุตรีของสุลต่านบาดารุดดิน หรือ Sultan Badaruddin  โดยเธอมีศักดิ์เป็นหลานอาของสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2 เมื่อสิ้นสุลต่านมาวัลลีล วาซิต เธอทำหน้าที่เป็น “Sandah” หรือผู้รักษาราชการแทนสุลต่านแห่งซูลู ดังนั้นในเดือนมกราคม 1937 เธอจึงประกาศแต่งตั้งสามีตัวเองซึ่งมาจากเกาะตาวี ตาวี ให้เป็นสุลต่านแห่งซูลู  โดยใช้ชื่อว่า สุลต่านอามีรุล อุมรา ที่ 2  เขาผู้นี้เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการซูลู ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาคองเกรสของฟิลิปปินส์อีกด้วย
3) สุลต่านเอสมาแล กีราม ที่ 1 หรือ Sultan Esmail Kiram I (1950-1974)
เขาเป็นบุตรของสุลต่านมาวัลลี วาซิน  ด้วยสุลต่านอมรา อามิลบังซา หรือ Sultan Ombra Amilbangsa ไม่ใช่ผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของราชวงศ์ซูลู  ดังนั้นในปี 1950  ทางราชสำนักซูลูจึงพร้อมใจแต่งตั้งให้สุลต่านเอสมาแล กีราม ที่ 1 เป็นสุลต่านแห่งรัฐซูลู โดยมีการแต่งตั้งที่เมืองโฮโล  ในปี 1962 เขาได้มอบอำนาจอธิปไตยของรัฐซูลูและบอร์เนียวเหนือให้แก่รัฐบาลของฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนั้นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คือ ประธานาธิบดี ดีออสดาโด  มากาปากัลป์ หรือ Diosdado Macapagal  เขาสิ้นชีพในปี 1974
4)สุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม หรือ  Sultan Muhammad Mahakuttah Kiram (1974-1980)
เขาเป็นบุตรคนโตจากภรรยาคนที่ 2 ของสุลต่านเอสมาแล กีราม ที่ 1 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสุลต่านแห่งซูลูสิ้นชีพ ซึ่งขณะนั้นราชทายาทที่สมควรจะได้รับการแต่งตั้งเป็นสุลต่าน คือ ดาตูปูนยุงัน ไปลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในซาบะห์ ด้วยเกิดความวุ่นวายในฟิลิปปินส์ มีการประกาศกฎอัยการศึก การแต่งตั้งสุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม ให้เป็นสุลต่านแห่งรัฐซูลูนี้ ดำเนินการโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนั้นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คือ ประธานาธิบดีเฟอดินัน มาร์คอส  สุลต่านคนนี้พักอาศัยอยู่ในโรงแรม Aurelio บริเวณถนน Mabini ในกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์

ต่อมาเมื่อในปี 1980 มีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก   ดาตูปูยุงัน จึงเดินทางกลับมายังดินแดนซูลู ดังนั้นสุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานอาของดาตูปูนยุงัน จึงสละตำแหน่งสุลต่าน พร้อมมอบตำแหน่งสุลต่านให้แก่อาของตนเอง โดยดาตูปูนยุงัน เป็นสุลต่านแห่งรัฐซูลูคนต่อมา โดยใช้ชื่อว่า สุลต่านปูนยุงัน  กีราม
สุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม
 สุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม
สุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม

 งานเลี้ยงการแต่งตั้งสุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม

สุลต่านมูฮัมหมัด มหากูตตาห์  กีราม
5) สุลต่าน อาลีอุดดิน ที่ 2 หรือ Sultan Aliuddin II (1980-2007)
ชื่อจริงคือ ดาตูอาลีอุดดิน ฮัดดิส  ปาบีลา บินดาตู เชค อิบนี มหาราชา สุลต่านมูฮัมหมัด อารานัน มีถิ่นฐานจากรัฐซาบะห์ ในยุคการปกครองของสุลต่านมูฮัมหมัด มหากุตตาห์ กีราม ได้เกิดเหตุการ์สำคัญ ที่ทำให้เห็นว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนเพื่อประโยชน์ของฟิลิปปินส์เท่านั้น และเมื่อมีการตรวจสอบหลักฐานถึงความชอบธรรมในสิทธิของการดำรงตำแหน่งสุลต่าน โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2004 สภาแห่งรัฐสุลต่านซูลู มีการประกาศแต่งตั้งดาตูอาลีอุดดิน ฮัดดิส  ปาบีลาขึ้นเป็นสุลต่านโดยใช้ชื่อว่า สุลต่านอาลีอุดดิน ที่ 2 หรือ Sultan Aliuddin II"  แต่ด้วยขาดทุนทรัพย์ จึงไม่สามารถประกอบพิธีการประกาศเป็นสุลต่านอย่างเป็นทางการ จนเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2007
สุลต่าน อาลีอุดดิน ที่ 2
6) ดาตูอาลี  กูยุง หรือ Datu Ali Kuyung (2007-kini)
มีชื่อจริงว่า ดาตูมูฮัมหมัด อาลี บินดาตูมาห์มูน จากสายตระกูล อารานัน (Aranan) มีศักดิ์เป็นหลานอาของสุลต่านอาลีอุดดิน ที่ 2  โดยฐานะเขาเป็นประธานสภาสภาแห่งรัฐสุลต่านซูลู  เขาสามารถรวบรวมเชื้อสายเจ้าแห่งรัฐสุลต่านซูลู จากสายตระกูลทั้ง กีรามบางส่วน และอารานัน โดยตกลงว่า พวกเขาจะไม่เรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือรัฐซาบะห์ ซึ่งการเรียกร้องดังกล่าวล้วนเป็นประโยชน์แก่ประเทศฟิลิปปินส์
Datu Ali Kuyung
ความร่วมมือระหว่างสายตระกูลอารานันกับบางส่วนของกีราม
 นอกจากบรรดาผู้ที่มีสิทธิชอบธรรมในการเป็นผู้สืบเชื้อสายสุลต่านแห่งซูลูแล้ว ก็ยังมีผู้ที่อุปโลกน์ตัวเองขึ้นมาเป็นสุลต่านแห่งซูลูอีกหลายต่อหลายคน  ทั้งๆที่ตัวเองไม่มีความชอบธรรมแต่อย่างใด ซึ่งรายชื่อบุคคลดังกล่าว เช่น

1) สุลต่าน โรดีนูด  กีราม หรือ Sultan Rodinood Kiram
เขาเป็นผู้สืบทอดอุดมการณ์การต่อสู้ของบิดาของเขา ที่ใช้ชื่อว่า สุลต่านยุลัสปี  กีราม โดยบิดาของเขาอ้างว่าเป็นบุตรคนเดียวของสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2  ซึ่งจากแหล่งข้อมูลกล่าวว่า บิดาของเขาที่ชื่อว่า ยุลัสปีนั้น เป็นบุตรของนายฮายีรุล หรือ Hadjirul  ซึ่งเป็นองครักษ์สุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 2 โดยนายฮายีรุลตกหลุมรักภรรยาน้อยของสุลต่าน สุลต่านไม่ทำโทษ แต่เนรเทศทั้งสองไปยังที่อื่น ต่อมาทั้งนายฮายีรุลอดีตองครักษ์และอดีตภรรยาสุลต่าน มีบุตรด้วยกันชื่อนายยุลัสปี ซึ่งต่อมานายยุลัสปีมีบุตรชื่อว่า โรดีนุด
2) สุลต่านเอสมาแอล กีราม ที่ 2 หรือ Sultan Esmail Kiram II
และสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3 หรือ dan Sultan Jamalul Kiram III
ทั้งสองเป็นบุตรของสุลต่านปุนยุงัน  กีราม ซึ่งสุลต่านปุนยุงัน  กีราม เป็นบุตรของสุลต่านมาวัลลี วาซิต  หลังจากสุลต่านปุนยุงัน  กีรามสิ้นชีวิตในปี 1983 บุตรชายคนโตจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสุลต่านโดยใช้ชื่อว่า สุลต่านยามาลุล  กีราม ที่ 3 แต่เขาตั้งถิ่นฐานในกรุงมะนิลา  ไม่ยอมกลับมาอาศัยในหมู่เกาะซูลู ไม่เป็นไปตามจารีตประเพณีของชาวซูลู  ดังนั้นในปี 2001 น้องชายของเขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นสุลต่านโดยใช้ชื่อว่า สุลต่านเอสมาแอล ที่ 2  


3) สุลต่านมูฮัมหมัด ฟูอัด อับดุลลอฮ กีราม หรือ Sultan Muhammad Fuad Abdulla Kiram
เขาถือเป็นหนึ่งในหุ่นเชิดของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการเรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือรัฐซาบะห์  เขาเป็นน้องชายของสุลต่านมูฮัมหมัด มหากุตตาห์ กีราม  โดยสุลต่านมูฮัมหมัด ฟูอัด อับดุลลอฮ กีราม ได้ประกาศตนเองเป็นสุลต่านในปี 2006 

สุลต่านมูฮัมหมัด ฟูอัด อับดุลลอฮ กีราม
4)สุลต่านชารีฟ อิบราฮิม  อยีบุล ปูลาลุน หรือ  Sultan Syarif Ibrahim Ajibul Pulalun
เขาถือเป็นบุคคลที่ไม่ได้มีเชื้อสายเจ้า แต่ต้องการเป็นสุลต่าน โดยเขาจัดพิธีตั้งตัวเป็นสุลต่านเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2005 ที่โรงแรม Grand Astoria เมือง Zamboanga

5) สุลต่านบันตีลัน มูอิซซูดดิน ที่ 2  หรือ Sultan Bantilan Muizzudin II
เขามีชื่อจริงว่า ดาตูลายามูรา  บินดาตู วาซิก หรือ Datu Ladjamura bin Datu Wasik แรกเริ่มเขาถูกส่งตัวไปยังหมู่เกาะซูลู เพื่อประชาสัมพันธ์ความชอบธรรมในการฟื้นฟูระบบสุลต่าน ต่อมาเขาได้ทำงานร่วมกับกลุ่มชาวซูลูที่เรียกว่า United Tausug Citizen (UTC) ต่อมาเขาได้ถูกกลุ่ม United Tausug Citizen (UTC)  ประกาศแต่งตั้งให้เป็นสุลต่าน โดยใช้ชื่อว่า สุลต่านบันตีลัน มูอิซซูดดิน ที่ 2  และกลุ่ม United Tausug Citizen (UTC) นี้เองเป็นกลุ่มที่เผยแพร่การออกใบสุจิบัตรของรัฐสุลต่านซูลูในรัฐซาบะห์  มาเลเซีย
หนังสือแต่งตั้งการเป็นสุลต่าน 
สุลต่านบันตีลัน มูอิซซุดดิน ที่ 2
6) สุลต่านอัยดัล  อาลีอุดดิน หรือ Sultan Aidal Aliuddin
เขาเป็นบุตรบุญธรรมของดาตู อาลีอุดดิน ฮัดดิส  ปาบีลา โดยในทศวรรษที่ 1970 บ้านของเขาถูกไฟไหม้  ทางดาตู อาลีอุดดิน ฮัดดิส  ปาบีลาจึงรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม  คนที่รู้จักเบื้องหลังของเขากล่าวว่า จริงๆเขาเป็นชาวบ้านธรรมดา มีบิดาชื่อวาฮิดดุน หรือ Wahiddun และมีมารดาชื่อ มิลลิง หรือ Milling มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเมืองตาวี-ตาวี ของจังหวัดโฮโล  ภาคใต้ฟิลิปปินส์  กิจกรรมหนึ่งของเขาคือ การขายบัตรประชาชนรัฐสุลต่านซูลู  บัตรประชาชนที่ไม่มีประเทศไหนให้การยอมรับ
7) สุลต่านอิบราฮิม  บาห์ยิน หรือ  Sultan Ibrahim Bahjin
เขาเพียงมีศักดิ์เป็นหลานของบรรดาผู้สืบเชื้อสายจากครอบครัวชากีราอุลลอฮ  นั้นคือจากเชื้อสายสุลต่านอากีมุดดิน อาบีรีน หรือ Sultan Agimuddin Abirin  เป็นผู้ที่ไม่ค่อยจะมีบทบาทใดๆ
8. สุลต่านมูดาราซุไลล์  กีราม หรือ Sultan Mudarasulail Kiram
เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เขาได้รับการลงข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อประกาศขอบริจาคเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อสร้างราชวังสำหรับรัฐสุลต่านซูลู 
สุลต่านมูดาราซุไลล์  กีราม
9. สุลต่านชารีฟุล ฮาชิม ที่ 2 หรือ  Sultan Shariful Hashim II
เขามีชื่อเดิมว่า ดาตูมูฮัมหมัด อักจาน หรือ  Datu Mohd Akjan  ได้รับการยกเป็นสุลต่านโดยดาตูอัลบี อาหมัด ซุลการ์ไนน์ หรือ Datu Albi Ahmad Julkernain และพรรคพวกที่ได้แยกตัวออกมาจาก United Tausug Citizen (UTC)   
สุลต่านชารีฟุลฮาชิม ที่ 2
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับหมู่เกาะซูลู ซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์

อ้างอิง
www.ibnurusydi.blogspot.com
www.gov.ph 
www.quezon.ph 


Tiada ulasan: