เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ผ่านมาทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้จัดงานมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 3 หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า 3rd Undergraduate Research Colliquium เป็นการร่วมงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทยและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศมาเลเซีย การจัดงานวิชาการครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับของงานมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการอีกระดับหนึ่ง ด้วยมีสถาบันการศึกษาจากประเทศมาเลเซียเข้าร่วม ดังนั้นงานในครั้งนี้จึงมีวงเล็บว่า นานาชาติ
สถาบันที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2. ม. ทักษิณ จังหวัดสงขลา
3. ม. อิสลามยะลา
4. ม. วลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
5. ม. สุลต่านซัยนาลอาบีดิน (Universiti Sultan Zainal Abidin) รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุลต่านซัยนาลอาบีดีน รัฐตรังกานู
ในโอกาสที่คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุลต่านซัยนาลอาบีดีน รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย จึงมีนางสาวนูรีฮัน รอยิง นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาที่เกิดในรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย มาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก โดยอาจารย์ที่อยู่ซ้ายมือเป็นศิษย์เก่า ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี เป็นอาจารย์สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสุลต่านซัยนาลอาบีดีน รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
นางสาวซาฟียา หะยีมิง หัวหน้าทีมนักศึกษามลายูศึกษา
ในการร่วมงานของนักศึกษามลายูศึกษาในงานมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 3 นี้ ทางแผนกวิชามลายูศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ส่งโครงงานวิจัยนักศึกษาเข้าร่วมด้วย โดยมีนางสาวซาฟียา หะยีมิง เป็นหัวหน้าทีมนักศึกษามลายูศึกษา ด้วยนางสาวซาฟียา หะยีมิง เคยเป็นหัวหน้านักศึกษาในโครงการรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย-อินโดเนเซีย-สิงคโปร์-บรูไน เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเดินทางของนักศึกษามลายูศึกษาไปทั่ว 13 รัฐของประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ และประเทศบรูไนดารุสสาลาม
โปสเตอร์โครงงานวิจัยของนางสาวพิรดาว ปูแล
โปสเตอร์โครงงานวิจัยของนางสาวรุสมีมี หะยีมือลี
โปสเตอร์โครงงานวิจัยของนางสาวซาฟียา หะยีมิงและคณะ
นางสาวพิรดาว ปูแล ทำการวิจัยในหัวข้อว่า การศึกษาการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษาบรรษัทสำนักงานมุขมนตรีแห่งรัฐกลันตัน (Perbadanan Menteri Besar Kelantan)
นางสาวรุสมีมี หะยีมือลี ทำการวิจัยในหัวข้อวิจัยว่า การศึกษาการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษาบรรษัทพัฒนาเศรษฐกิจแห่งรัฐกลัน (Perbadanan Kemajuan Iktisad Negeri Kelantan)
นางสาวรุสนี เดะซอ ทำการวิจัยในหัวข้อว่า การดำเนินงานของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษาสำนักงานกระทรวงการท่องเที่ยวมาเลเซีย สาขารัฐกลันตัน (เดิม Majlis Tindakan Pelancongan Negeri Kelantan)
นางสาวนูรีฮัน รอยิง ทำการวิจัยในหัวข้อวิจัยว่า การดำเนินงานการบริการฮัจญ์ในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษากองทุนฮัจญ์ (Tabung Haji)
นางสาวซาฟียา หะยีมิง หัวหน้าโครงงานวิจัยในหัวข้อว่า การค้าสินค้าเถื่อนบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย : กรณีศึกษาตลาดปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
นางสาวซาฟียา หะยีมิง นางสาวฮานาน สนิยือลอ และนางสาวแอเสาะ กอแล คณะวิจัยในหัวข้อวิจัยว่า การค้าสินค้าเถื่อนบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย : กรณีศึกษาตลาดปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
นางสาวฮานาน หนึ่งในคณะวิจัยในหัวข้อว่า การค้าสินค้าเถื่อนบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย : กรณีศึกษาตลาดปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
โปสเตอร์โครงงานวิจัยนักศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศโปสเตอร์โครงงานวิจัยนักศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
โปสเตอร์โครงงานวิจัยนักศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
โปสเตอร์โครงงานวิจัยนักศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมวิทยาและพัฒนาสังคม
โปสเตอร์โครงงานวิจัยนักศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมวิทยาและพัฒนาสังคม
อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี ผู้ประเมินโครงงานวิจััยนักศึกษากับนักศึกษาวิชาเอกสังคมวิทยา
คณะนักศึกษาวิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าร่วมส่งโครงงานวิจัย
อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี ผู้ประเมินโครงงานวิจััยนักศึกษาถ่ายภาพที่ระลึกกับนางสาวนูรีฮัน รอยิง นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาที่ส่งโครงงานวิจัย
อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี ผู้ประเมินโครงงานวิจััยนักศึกษาถ่ายภาพที่ระลึกกัคณะนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาที่ส่งโครงงานวิจัย
อาจารย์ผู้ประเมินกำลังซักถามนักศึกษาผู้ทำโครงงานวิจัย
อาจารย์ผู้ประเมินกำลังซักถามนักศึกษาผู้ทำโครงงานวิจัย
รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มอบของที่ระลึกแก่อาจารย์ผู้ประเมิน
คุณ ดีเจ เอกซ์ กำลังประกาศผลโครงงานนักศึกษาที่ชนะการแข่งขัน
รับประกาศนียบัตรจากผู้ช่วยคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์รับประกาศนียบัตรจากรองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี
รับประกาศนียบัตรจากผู้ช่วยคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์
นางสาวแอเสาะ กอแล ยืนเป็นแบบให้คณะช่างภาพ
คณะนักศึกษาวิชาเอกสังคมวิทยา ซึ่งลงเรียนวิชามลายูศึกษาเป็นวิชาโท
ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ส่งโครงงานวิจัยนักศึกษาจำนวน 3 โครงงานเข้าร่วมในงานมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 3
บรรยายพิเศษ
จากการที่อาจารย์อับดุลราซัค ปาแนมาแน หัวหน้าสาขาวิชาภูมิภาคศึกษา ม. วลัยลักษณ์ ได้เดินทางมายังม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อเข้าร่วมงานมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 3 จึงได้ใช้เวลา 1 ชั่วโมง เพื่อใช้อาจารย์ได้บรรยายถึงการเรียน การสอนในม. วลัยลักษณ์ และความสำคัญของภาษามลายูในกลุ่มประเทศอาเซียน
บรรยากาศการบรรยายในห้องเรียน ณ อาคาร 19
นางสาวนูรีฮัน รอยิงกำลังตอบคำถามของอาจารย์อับดุลราซัค ปาแนมาแล ถึงเรื่องความสำคัญของภาษามลายู สำหรับนางสาวนูรีฮัน รอยิง เป็นนักศึกษาที่เกิดในรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
นายนาซอล ดาโอ๊ะ รองนายกสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี กำลังตอบคำถามของอาจารย์อับดุลราซัค ปาแนมาแล ถึงความสำคัญของภาษามลายู
สำหรับงานมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4 ทางแผนกวิชามลายูศึกษา ก็คงจะยังส่งโครงงานวิจัยนักศึกษาเข้าร่วมอีก ด้วยแผนกวิชามลายูศึกษา มีวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอยู่ 2 วิชา คือ 431-447 สัมมนาทางมลายูศึกษา (Seminar in Malay Studies) และ 431-451 โครงงานมลายูศึกษา (Senior Project in Malay Studies) และทั้งสองวิชาก็มีการกำหนดให้เป็นงานวิจัยที่ทำในพื้นที่ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย บรูไน หรือถ้าจะทำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็สมควรทำบริเวณรอยต่อชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย
Tiada ulasan:
Catat Ulasan