
ประเทศอินโดเนเซียได้สูญเสียปูชนียบุคคลทางดนตรีอีกคน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2010 โดยนักร้องและนักแต่งเพลงที่ชื่อว่า เกอซัง มาร์โตฮาร์โตโน (Gesang Martohartono) ได้ลาโลกด้วยวัย 92 ปี ที่ เมืองสุราการ์ตา จังหวัดชวากลาง เขาเกิดเมื่อ 1 ตุลาคม 1917
เขาเป็นชาวอินโดเนเซีย เผ่าชวา เป็นนักร้องที่ได้รับการขานว่า บิดาแห่งแนวเพลงเกอรนจงอินโดเนเซีย





เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เขาคือเพลง Bengawan Solo โดยเพลงนี้เป็นที่นิยมทั่วภูมิภาคมลายู หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพลง Bengawan Solo ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 13 ภาษา รวมทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่นด้วย

เกอซัง มาร์โตฮาร์โตโน แต่งเพลง Bengawan Solo ในปี 1940 ขณะที่มีอายุได้เพียง 23 ปี แรงจูงใจในการแต่งเพลง Bengawan Solo อันเป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในเมืองโซโล เกิดขึ้นขณะที่เขานั่งอยู่ที่ริมแม่น้ำดังกล่าว เขาใช้เวลาถึง 6 เดือนกว่าเพลง Bengawan Solo จะเสร็จสมบูรณ์ เพลงนี้ยังเคยเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องหนึ่งของญี่ปุ่น

เพลงต่างๆที่สร้างชื่อเสียงแก่ เกอซัง มาร์โตฮาร์โตโน
1. Bengawan Solo
2. Jembatan Merah
3. Pamitan
4. Caping Gunung
5. Aja Lamis
6. Teirtonadi

เนื้อร้องของเพลงเบองาวันโซโล (Bengawan Solo)
Bengawan Solo
Riwayatmu ini
Sedari dulu jadi
Perhatian insani
Musim kemarau
Tak seberapa airmu
Di musim hujan, air
meluap sampai jauh
Mata airmu dari Solo
Terkurung Gunung Seribu
Air mengalir sampai jauh
Akhirnya ke laut
Itu perahu
Riwayatmu dulu
Kaum pedagang selalu
Naik itu perahu


เพลงแนวเกอรนจง (Keroncong)
ความเป็นมาของเพงแนวเกอรนจงนั้น ว่ากันว่าเป็นแนวเพลงที่มาจากเพลงประเภทหนึ่งของชาวโปร์ตุเกสที่รู้จักในชื่อว่า fada เป็นแนวเพลงที่นักเดินเรือและลูกเรือสินค้าชาวโปร์ตุเกสนำมาร้องยังภูมิภาคมลายูตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มชายฝั่งทะเลเมืองโกอา(Goa) ประเทศอินเดีย แพร่ขยายมาสู่ภูมิภาคมลายู ครั้งแรกมายังเมืองมะละกา ต่อมาลูกเรือชาวเกาะโมลุกะ หรือมาลูกู(Maluku)ได้นำมาร้อง ถึงแม้ว่าในศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของโปร์ตุเกสจะลดลง แต่แนวเพลงเกอรนจง (Keroncong)ไม่ได้ลดอิทธิพลแต่อย่างใด
แรกเริ่มแนวเพลงนี้เรียกว่า Moresco เป็นการใช้เครื่องดนตรีที่ใช้สาย แต่เมื่อนำมาใช้ในภูมิภาคมลายู จึงมีการผสมผสานกับเครื่องดนตรีท้องถิ่น ในศตวรรษที่ 19 แนวเพลงเกอรนจงได้รับคงามนิยมทั่วภูมิภาคมลายู
สำหรับในประเทศอินโดเนเซียนั้น แนวเพลงเกอรนจงที่ดังนั้นคือ Keroncong Tugu เป็นการร้องของกลุ่มเชื้อสายบุตรหลานของอดีตลูกเรือชาวโปร์ตุเกสที่มาจากเมืองอัมบน(Ambon) แห่งเกาะโมลุกะ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนที่มีชื่อว่า หมู่บ้านตูกู (Kampong Tugu) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตา ต่อมาได้แพร่ขยายไปยังด้านใต้ของกรุงจาการ์ตาโดยชาวเบอตาวี และหลังจากนั้นได้ขยายไปยังเมืองโซโล(Solo) โดยมีการปรับทำนองให้ช้าลงตามแบบฉบับของชาวชวา
แนวเพลงเกอรนจง
มีการแตกสาแหรกออกเป็นแนวเกอรนจงต่างๆ เช่น
1.Keroncong Beat
เป็นการเริ่มโดย Rudy Pirngadie ที่กรุงจาการ์ตาในปี 1959 เป็นการนำเครื่องดนตรีสำหรับร้องเพลงเกอรนจงมาร้องเพลงป๊อปตะวันตก
2. Campur Sari
เกิดขึ้นที่ Gunung Kidul อยู่ในเขตจังหวัดยอกจยาการ์ตา เมื่อปี 1968 โดยนาย Manthous เป็นการผสมผสานอุปกรณ์เครื่องดนตรีสำหรับเพลงเกอรนจงกับเครื่องดนตรีชวา โดยการผสมผสานนี้เกิดเป็นแนวเพลงที่เรียกว่า Campursari
3. Keroncong Koes-Plus
เป็นแนวเพลงร๊อคในอินโดเนเซีย เริ่มในช่วงปี 1974 เป็นการผสมผสานแนวเพลงเกอรนจงกับแนวเพลงร๊อคของตะวันตก
4. Keroncong Dangdut (Congdut)
เป็นการผสมผสานแนวเพลงเกอรนจงกับแนวเพลงดังดุต (dangdut) บางครั้งจะเรียกย่อเป็น Congdut เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980
การใช้ชื่อเพลง Begawan Solo เป็นชื่อทางธุรกิจ
ด้วยความที่เพลง Begawan Solo เป็นเพลงที่ดังมาหลายสิบปี ทำให้มีนักธุรกิจบางกลุ่มใช้ความดังของเพลงมาเป็นแบรนด์สินค้าของตนเอง ดังเช่น ร้านค้าในประเทศสิงคโปร์ หรือแม้แต่ชื่อร้านกาแฟบางแห่ง
.jpg)


Tiada ulasan:
Catat Ulasan