Rabu, 7 April 2010

งานสัมมนานานาชาติการศึกษาของชาวมลายู 2010 หรือ Seminar Pendidikan Melayu Antarabangsa 2010

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อวันที 29-31 มีนาคมที่ผ่านมา ทางองค์กร DMDI(Dunia Melayu Dunia Islam) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีนโยบายหลักในการในประสานงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวมลายูทั่วโลก องค์กรนี้มีสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐมะละกา ได้จัดสัมมนานานาชาติว่าด้วยการศึกษาของชาวมลายูขึ้น โดยร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาดังกล่าว สำหรับผู้เป็นตัวหลักในการสัมมนาครั้งนี้คือมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส (Universiti Malaysia Perlis) หรือรู้จักในคำย่อว่า UniMAP การสัมมนาครั้งนี้ใช้ชื่อว่า งานสัมมนานานาชาติการศึกษาของชาวมลายู 2010 หรือ Seminar Pendidikan Melayu Antarabangsa 2010 มีชื่อย่อว่า SePMA 2010 หัวข้อการสัมมนาคือ Pendidikan Teras diperkasa หรือ การศึกษาหลักที่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นที่เมืองกางาร์ เมืองเอกของรัฐเปอร์ลิส

องค์ประธานการสัมมนาเป็นรัชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส คือ ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัย (Tuanku Syed Faizuddin Putra Jamalullail) ผู้มีตำแหน่งเป็น Chancellor ของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส และมี พลจัตวาศาสตาจารย์ ดาโต๊ะ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (brigadier Gen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสเป็ผู้อำนวยการจัดงานสัมมนา การจัดงานครั้งมีลักษณะเป็น สามในหนึ่ง คือ หนึ่ง งานสัมมนานานาชาติ สอง การประกาศตัว องค์กร DMDI สาขารัฐเปอร์ลิส และสาม งานวัฒนธรรมโลกมลายู หรือ Festa Kebudayaan Nusantara

ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัยล์ (Tuanku Syed Faizuddin Putra Jamalullail)

พลจัตวาศาสตาจารย์ ดาโต๊ะ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (brigadier Gen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

สำหรับข้าพเจ้าได้ร่วมเสนอบทความวิชาในหัวข้อ "Cabaran Pendidikan Melayu Global" ในการเดินทางในครั้งนี้ ได้มีนักศึกษาจากแผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี และมหาวิทยาลัยอิสลาม จำนวน 16 คน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสัมมนานานาชาติในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นได้รู้จักเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ เช่น มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค (Universiti Malaysia) มหาวิทยาลัยการศึกษาสุลต่านอิดริส (Universiti Pendidikan Sultan Idris) มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) ฯลฯ สำหรับการปิดพิธีงานนั้น นักศึกษาจากประเทศไทย ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์อัล-กูรอ่าน

อาจารย์มัสรูลแห่งมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสที่มารับคณะจากประเทศไทยที่ตลาดปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส

คุณมูฮัมหมัดนอร์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสที่ทำหน้าที่ดูแลตลอดการจัดสัมมนา

เมื่อคณะนักศึกษาจากประเทศไทยเดินทางข้ามจากตลาดปาดังเบซาร์ ฝั่งไทย (อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา)ไปยังตลาดปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซีย (อำเภอปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส)โดยหลังจากตรวจตราหนังสือเดินทางที่ด่าน ตม.ฝั่งไทยแล้ว ก็เดินเท้าข้ามไปยังฝั่งมาเลเซีย ก่อนที่จะตรวจตราหนังสือเดินทางที่ด่าน ตม.ฝั่งมาเลเซียนั้น ปรากฎว่าทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสได้นำรถบัสมหาวิทยาลัยและรถยนต์มหาวิทยาลัยมารับลคณะของพวกเรา ถือเป็นการเดินทางที่น่าประทับใจยิ่ง

โรงแรมปุตราเพเลสที่ทางเจ้าภาพจัดให้พัก เป็นโรงแรมที่รัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐเปอร์ลิส ในนามของบรรษัทพัฒนาเศรษฐกิจแห่งรัฐ หรือ State Economy Development Corporation เป็นเจ้าของ

เมื่อการเดินทางถึงเมืองกางาร์ เมืองเอกของรัฐเปอร์ลิสแล้ว ข้าพเจ้ากับอาจารย์รีดวานได้ไปพักที่โรงแรมปุตราเพเลส (Putra Palace Hotel) ส่วนคณะนักศึกษานั้นทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสได้ให้ไปพักที่หอพักของมหาวิทยาลัย สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างข้าพเจ้ากับคณะนักศึกษาในเรื่องการพัก ด้วยการประสานงานเรื่องการเดินทางไปร่วมสัมมนาของคณะนักศึกษาจากประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการประสานผ่านองค์กร DMDI แห่งรัฐมะละกา แต่ในที่สุดก็แก้ไขปัญหาต่างๆได้ โดยมีนักศึกษาวิศวกรรมชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธคนหนึ่งเป็นคนดูแลคณะนักศึกษาจากประเทศไทย หลังจากที่แต่ละคนได้เข้าที่พักแล้ว ทางนักศึกษามาเลเซียผู้ดูแลจึงเสนอให้เดินทางไปกินข้าวตอนค่ำที่ท่าเรือที่กัวลาเปอร์ลิส ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใช้สำหรับเดินทางไปเกาะลังกาวี แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งด้วยเราเดินทางตอนกลางคืน ทำให้ไม่สามารถมองวิวทัศน์ของกัวลาเปอร์ลิสได้ชัดเจน

ภาพที่ระลึกที่กัวลาเปอร์ลิส

นายฮัมดัน หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจากประเทศไทยกับนางสาวลีซาวาตี ผู้ช่วยส่วนตัวขณะเดินทางไปกัวลาเปอร์ลิส

นักศึกษาบนรถมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ขณะกำลังเดินทางจะไปกินข้าวที่ บริเวณท่าเรือไปเกาะลังกาวี เมืองกัวลาเปอร์ลิส

สองนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสที่ร่วมเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาจากประเทศไทย คนขวามือเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธชื่อว่า Anusha Leemsuthep a/p Amphan กำลังศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์

คุณ Anusha Leemsuthep a/p Amphan นักศึกษาวิศวกรรมแห่งมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธผู้ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษาจากประเทศไทยตลอดงานสัมมนา

ในวันรุ่งขึ้นคณะนักศึกษาจากประเทศไทยจึงเดินทางเข้าร่วมการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นที่หอประชุมกาปีตอล มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ซึ่งหอประชุมนี้เดิมเป็นโรงภาพยนต์ ต่อมาเมื่อยกเลิกแล้ว ทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสจึงเข้าไปดำเนินการทำเป็นหอประชุมแทน ความแปลกของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสนั้น ด้วยเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ จึงมีการเช่าอาคารต่างๆมาเป็นสำนักงานของตนเอง ดังนั้นคำว่า มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส หรือ UniMAP จึงมีอยู่ทั่วรัฐเปอร์ลิส

อาจารย์รีดวาน ฮัสซัน ประธานมูลนิธีอิกตีซอมวิทยา จังหวัดสงขลา

ในคณะของเราที่มาจากประเทศไทยนั้น มีท่านหนึ่งเป็นนักการศึกษาศาสนาที่ชื่อว่า อาจารย์รีดวาน ฮัสซัน มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ท่านมีตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิที่ชื่อว่า มูลนิธิอิกตีซอมวิทยา เป็นมูลนิธิที่ทำหน้าที่พัฒนาและยกระดับการศึกษาของเยาวชนชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นักศึกษาจากประเทศไทยกำลังอ่านคัมภีร์อัลกูรอ่าน ในการเปิดพิธีงานสัมมนานานาชาติครั้งนี้

สัญลักษณ์พิธีเปิดงานสัมมนานานาชาติการศึกษาของชาวมลายู

คณะจากประเทศไทยได้รับการขอจากองค์กร DMDI ให้ทำหน้าที่เป็นผู้อ่านคัมภีร์อัลกูรอ่าน ในการเปิดพิธีงานสัมมนานานาชาติที่ชื่อว่า SePMA 2010 ซึ่งคุณฮาฟีส ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์อัลกูรอ่าน หลังจากนั้นจึงเริ่มอ่านดูอา และการกล่าวของบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้

ภาพหมู่ในหอประชุมงานสัมมนา เดวันกาปีตอล มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

ทางองค์กร DMDI และคณะผู้ดำเนินการจัดสัมมนาได้จัดให้ผู้เสนอบทความวิชาการและตัวแทนจากองค์กร DMDI จากที่ต่างๆ ได้เข้าเฝ้าเจ้าผู้ครองรัฐเปอร์ลิส หรือที่เรียกว่า ราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส (Raja Perlis) พระองค์เคยดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี หรือ Yang DiPertuan Agong แห่งประเทศมาเลเซีย นับเป็นอดีตพระราชาธิบดีองค์ที่สองที่ข้าพเจ้าเคยพบ ส่วนองค์แรกนั้นคือ สุลต่านอาหมัด ชาห์ แห่งรัฐปาหัง เดิมนั้นทางองค์กร DMDI แจ้งว่าให้แต่ละคนแต่งสูท ต่อมามีการแจ้งเปลี่ยนแปลง โดยใช้แต่ละคนแต่งชุดบาติก แต่ก็ยังเพียงตัวแทนจากประเทศบรูไนเท่านั้นที่ยังคงแต่งสูท

ตวนกูสัยยิดซีรายุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัยล์ ราชาแห่งรัฐเปอร์ลิสและพระราชินีแห่งรัฐเปอร์ลิส

ภาพหมู่กับราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส ณ พระราชวังอานักบูกิ๊ต เมืองอาราว รัฐเปอร์ลิส

ขณะกำลังเข้าเฝ้าราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส ตวนกูสัยยิดซีรายุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย

กับคณะจากจังหวัดสตูล ประกอบด้วยรองนายก อบจ. สตูล และคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล

กับอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส, ดาโต๊ะอับดุลจามิล มุมิน รองประธาน DMDI, คุณยูซุฟ ลิว ตัวแทน DMDI ประเทศจีน และศาสตราจารย์ ดร. นานา ชาโอดิห์ สุกมาดีนาตา แห่งมหาวิทยาลัยการศึกษาอินโดเนเซีย เมืองบันดุง ประเทศอินโดเนเซีย

กับรศ. ดร. อาวังฮัสมาดี บินอาวังมูอิส จากมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม

รศ. ดร. อาวังฮัสสมาดี บินอาวังมูอิส แห่งมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

รับมอบของที่ระลึกจากมุขมนตรีรัฐเปอร์ลิส

ภาพหมู่ในหอประชุมเดวัน 2020 สถานที่จัดงานประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส

นักศึกษากำลังสลามกับองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐมะละกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส และผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

นักศึกษากำลังสลามกับองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐมะละกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส และผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

คณะนักศึกษาจากประเทศไทยภ่ายรูปกับดาโต๊ะศรีมูฮัมหมัดอาลี มูฮัมหมัดรุสตัม(Dato' Seri Mohd. Ali Mohd. Rustam) มุขมนตรีแห่งรัฐมะละกาและพลจัตวาศาสตาจารย์ ดาโต๊ะ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (brigadier Gen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

สองนักวิชาการแห่งรัฐเปอร์ลิส ดร.ชาฮ์รุดดิน กับภรรยา ดร. นูรชาบีฮะห์ ผู้มีรากเหง้ามาจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รู้จักมิตรอีกสองคน คือ ดร. ชาห์รุดดิน เขาเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย ต่อมาย้ายมาทำการสอนที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ส่วนภรรยาของเขาคือ ดร. นูรชาบีฮะห์ ทำให้ได้รู้จักศิษย์เก่าร่วมสถาบันอีกคนหนึ่ง ด้วยเขาจบปริญญาตรี-โท-เอกจากสถาบันมลายูศึกษา (Akademi Pengajian Melayu) มหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ จากการที่ได้พูดคุยกับทั้งสองคน ทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส มีแนวโน้มถึงความก้าวหน้าในอนาคต ด้วยมหาวิทยาลัยแห่งนี้มี Chancellor เป็นองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส และพระองค์ให้ความสำคัญยิ่งกับการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้

คุณฮัมดัน หัวหน้าคณะนักศึกษาจากประเทศไทยรับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมสัมมนาจากเจ้าภาพการจัดงานสัมมนา

สำหรับข้าพเจ้าเมื่อมีโอกาสไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดๆ หรือบุคคลใดๆ ข้าพเจ้ามักจะจัดให้มีการบรรยายที่เรียกว่า Ceramah Kilat หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็อาจแปลได้ว่า การบรรยายแบบพิเศษสุดๆ คือ ใครก็ได้ที่เห็นว่าสำคัญ มีความรู้ ก็เชิญมาบรรยายในสถานที่ที่เห็นว่าพอจะบรรยายได้ อาจเป็นใต้ต้นไม้ ชั้นเรียน หรือที่ใดก็ได้ และในการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ได้พบกับอาจารย์มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย รัฐเคดะห์ ที่ชื่อว่า รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟ (Prof. Madya Dr. Nuraini Yusoff) จึงทำการเชิญให้ท่านช่วยบรรยายพิเศษแก่คณะนักศึกษาจากประเทศไทยได้รับความรู้เล็กๆน้อยๆ

รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟแห่งมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซียกำลังบรรยายพิเศษแก่คณะนักศึกษาจากประเทศไทย

รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟแห่งมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซียกำลังบรรยายพิเศษแก่คณะนักศึกษาจากประเทศไทย

ถ่ายภาพหมู่กับ รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟ แห่งมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย

การเข้าร่วมสัมมนาของคณะนักศึกษาจากประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้ได้รับประสบการณ์หลายอย่าง ทั้งเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากการสัมมนา การได้เรียนรู้การจัดงานสัมมนานานาชาติของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นยังไดรู้จักเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ สิ่งที่น่าประทับใจคือคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในมาเลเซียตะวันออก บนเกาะบอร์เนียว คณะนักศึกษาเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัคให้เข้าร่วมการสัมมนา โดยทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัคเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้ได้เห็นว่ามหาวิทยาลัยในมาเลเซียนั้นให้การสนับสนุนนักศึกษาของตนเองได้เข้าร่วมสัมมนา หรือการทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ

นักศึกษาจากประเทศไทยถ่ายรูปกับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วมงาน

นักศึกษาจากประเทศไทยถ่ายรูปกับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วมงาน

การแสดงวัฒนธรรมของรัฐเปอร์ลิสในงานวัฒนธรรมโลกมลายู หรือ Festa Kebudayaan Nusantara

คุณรุสลี รีซาล ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียวกำลังร้องเพลงในงานเลี้ยง

มุขมนตรีรัฐมะละกา กำลังประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส โดยมีองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิสเป็นพยาน

การแสดงในงานเลี้ยงการประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส

ตวนกูสัยยิดไฟซุดดินปุตรา องค์ราชทายาท กำลังกล่าวในงานเลี้ยง การประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส

คณะจากรัฐมะละกา ทางขวามือคือคุณอัสลินดา ซูเบร์ เลขาธิการ DMDI

เดินทางบริเวณชายแดนมาเลเซีย-ประเทศไทย เพื่อข้ามไปยังตลาดปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

Tiada ulasan: