Selasa, 27 April 2010

เยี่ยมมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมสัมมนาทางวิชาการที่รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย โดยมีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสเป็นเจ้าภาพการจัดสัมมนาในครั้งนี้ การที่ได้สัมพัสมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทำให้ได้รับรู้ถึงความแปลกของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส เมื่อครั้งถึงรัฐเปอร์ลิส ในขณะที่อยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองกางาร์ (ชาวบ้านเรียกตามสำเนียงรัฐเปอร์ลิสว่า กางะ) อันเป็นเมืองเอกของรัฐเปอร์ลิส เมื่อมีการนัดพบกับคณะนักศึกษาจากแผนกวิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ร่วมเดินทางมาสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งคณะนักศึกษาพักอยู่ที่หอพักของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ทางเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแจ้งว่าให้นัดเจอกันที่หอประชุมของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกางาร์ ซึ่งมีชื่อว่า เดวันกาปีตอล ยูนีแม๊ป(Dewan Kapitol UniMAP)

มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
ด้วยความไม่รู้ว่าหอประชุมของมหาวิทยาลัยอยู่ที่ไหน จึงตามคนว่า UniMAP อยู่ที่ไหน คำตอบที่ได้รับคือ UniMAP หรือ Universiti Malaysia Perlis (มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส) ตั้งอยู่ทั่วรัฐเปอร์ลิส ต้องบอกว่าคุณจะไปที่ไหน เพราะมหาวิทยาลัยใช้วิธีการเช่าอาคาร สำนักงาน ในการดำเนินการ อาคาร สำนักงานถาวรนั้นมีเพียงบางหน่วยงานเท่านั้นที่ย้ายไปอยู่ ส่วนใหญ่ยังคงกระจัดกระจายอยู่ทั่ว แม้แต่เดวันกาปีตอล ยูนีแม๊ป(Dewan Kapitol UniMAP)ที่ถือเป็นหอประชุมมหาวิทยาลัย เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ที่ชื่อว่าโรงภาพยนตร์กาปีตอล เมื่อเลิกกิจการ ทางมหาวิทยาลัยจึงเช่าโรงภาพยนตร์มาทำเป็นหอประชุมของมหาวิทยาลัย

ที่เดวันกาปีตอลกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

หอประชุมเดวันกาปีตอลตั้งอยู่กลางตัวเมือง

หอประชุมเดวันกาปีตอลในยามค่ำคืน

หน้าหอประชุมเดวันกาปีตอล หอประชุมของมหาวิทยาลัย

หน้าหอพักนักศึกษานานาชาติ

อาจารย์รีดวาน หน้าหอพักนักศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัย

หน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

ยามค่ำคืนหน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

ยามค่ำคืนหน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

สภาพภายในหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

นักศึกษา มอ. ปัตตานี หน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

เรามาทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสกันดีกว่า

ตราสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส หรือ Universiti Malaysia Perlis มีชื่อย่อว่า UniMAP เป็นหนึ่งในบรรดาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐปอร์ลิส อินดรากายังงัน (Perlis Indera Kayangan) ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสถานะเป็น University College (สถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี) ชื่อว่า Kolej Universiti Kejuruteraan Utara Malaysia หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Northern Malaysia University College of Engineering โดยมีชื่อย่อว่า Kukum เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นด้านสาขาวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ได้รับการจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศมาเลเซีย เมื่อ 25 กรกฎาคม 2001การพัฒนาการเริ่มขึ้นหลังจากที่มีการแต่งตั้งอธิการบดีและรองอธิการบดี เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2002 หลังจากนั้นจึงมีการพัฒนาเกี่ยวกับหลักสูตร การรับบุคคากร รวมทั้งอาคาร สำนักงาน

มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2002 ที่วิทยาเขตชั่วคราวที่ กูบังฆายะห์ (Kubang Gajah)เมืองอาราว(Arau)โดยรับนักศึกษารุ่นแรกประจำปีการศึกษา 2002/2003 จำนวน 116 คน เมื่อ 20 มิถุนายน 2002 และตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2007 สถาบันแห่งนี้ก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อจาก Kolej Universiti Kejuruteraan Utara Malaysia(KUKUM)เป็น Universiti Malaysia Perlis(UniMAP)

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
สำหรับผู้บริหารของสถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซียนั้นจะใช้ระบบแบบอังกฤษ ซึ่งตำแหน่งต่างๆนั้นมีดังนี้ Chancellor คนแรกของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส คือ ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา อิบนีตวนกู สัยยิด ซีรายุดดิน ยามาลุลลัยล์(Tuanku Syed Faizuddin Putra Ibni Tuanku Syed Sirajuddin Jamalullail)ผู้เป็นองค์รัชทายาทของรัฐเปอร์ลิส โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 1 กันยายน 2003 ส่วน Pro Chancellor เป็นภรรยาขององค์ราชทายาทที่มีชื่อเรียกในมาเลเซียว่า DYTM Raja Puan Muda Perlis มีชื่อจริงว่า ตวนกูฮัจญะห์ไลลาตุล ชารีน อากาชา คาลิล(Tuanku Hajjah Lailatul Shareen Akashah Khalil) สำหรับอธิการบดี หรือที่เรียกในมาเลเซียว่า Vice Chancellor คือ พลจัตวา ศาสตราจารย์ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (Brig. Jen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin ) ส่วนรองอธิการบดี คือ ศาสตราจารย์ ดร. อาลี เยโอน มูฮัมหมัดชากัฟฟ (Prof. Dr. Ali Yeon Md. Shakaff)

ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา อิบนีตวนกู สัยยิด ซีรายุดดิน ยามาลุลลัยล์

ตวนกูฮัจญะห์ไลลาตุล ชารีน อากาชา คาลิล

พลจัตวา ศาสตราจารย์ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น

วิทยาเขตมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
วิทยาเขตถาวรของมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า วิทยาเขตอาลาม(Kampus Alam )ตั้งอยู่ที่ ปาอุห์ (Pauh )มีพื้นที่ 1050 เอเคอร์ (ประมาณ 660 ไร่) และวิทยาเขตที่สุไหงจูจุห์ (Sg. Chuchuh)ที่เรียกว่าวิทยาเขตเขียว (Kampus Hijau)มีพื้นที่ 300 เอเคอร์ (ประมาณ 2,310 ไร่) เป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยด้านเทคโนโลยี่การเกษตร ตั้งแต่เทอม 2 ปีการศึกษา 2009/2010 ศูนย์การศึกษาด้านวิศวกรรม ที่เรียกว่า Pusat Pengajian Kejuruteraan (PPK)จำนวน 2 ศูนย์ คือ ศูนย์การศึกษาวิศวกรรมการผลิต (PPK Pembuatan)และศูนย์การศึกษาวิศวกรรมเมกาโทรนิก (PPK Mekatronik)ได้ย้ายไปดำเนินการเรียนการสอนที่วิทยาเขตถาวร ที่เรียกว่า Kampus Alam

สำหรับวิทยาเขตชั่วคราวของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส จะตั้งอยู่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ เช่น ที่ กูบังฆายะห์(Kubang Gajah),เยอยาวี(Jejawi),กัวลาเปอร์ลิส(Kuala Perlis)ด้าน Automart,หมู่บ้านจัดสรร Taman Muhibbah,อาคาร KWSPKangar,
Dewan Kapitol ในตัวเมืองกางาร์ ส่วนที่พักอาศัยของนักศึกษา หรือที่เรียกว่า Kolej Kediaman จะกระจัดกระจายเช่นกัน เช่นตั้งอยู่ที่หมู่บ้านไว (Kampong Wai),เซอเบอรังราไม(Seberang Ramai), หมู่บ้านจัดสรร Taman Semarak,วังอูลู (Wang Ulu)และหมู่บ้านจัดสรร Taman Aman

แผนที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

ระบบการเรียนการสอน
การเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ระบบ lab-intensive เพื่อสร้างวิศวกรที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ 60% และการเรียนการสอนภาคทฤษฎี 40% เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

Anjung UniMAP
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานที่เรียกว่า Anjung UniMAP เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย โดยดำเนินงานนอกวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยในรัฐเปอร์ลิส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในลักษณะ One Stop Communications Centre การจัดตั้ง Anjung UniMAP นี้ได้จัดตั้งขึ้นตามมติของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อ 7 กันยายน 2004 โดยเห็นถึงความสำคัญของการที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย Anjung UniMAP เริ่มดำเนินงานเมื่อ 1 เมษายน 2005 สำหรับ Anjung UniMAP ในกรุงกัวลาลัมเปอร์นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์บริเวณใกล้ตึกแฝดเปโตรนัส ซึ่งศูนย์นี้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทั้งทางการเมือง การศึกษา การวิจัย เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม ศิลปกรรม และอื่นๆ

สำหรับ Anjung UniMAP แห่งที่สองได้จัดตั้งขึ้นที่เขตเทคโนโลยี่ชั้นสูงกูลิม (Taman Teknologi Tinggi Kulim) ในอำเภอกูลิม รัฐเคดะห์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 โดยAnjung UniMAP แห่งที่สองนี้ทำพิธีเปิดโดย ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา อิบนีตวนกู สัยยิด ซีรายุดดิน ยามาลุลลัยล์(Tuanku Syed Faizuddin Putra Ibni Tuanku Syed Sirajuddin Jamalullail) ผู้เป็น Chancellor ของมหาวิทยาลัย โดย Anjung UniMAP แห่งนี้จะทำหน้าที่ฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมบริเวณเขตเทคโนโลยี่ชั้นสูงกูลิม (Taman Teknologi Tinggi Kulim)

จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึง 20 สาขาวิชาด้านวิศวกรรม และ 2 สาขาวิชาด้านบริหารธุรกิจ ดังต่อไปนี้ :

ศูนย์การศึกษาด้านไมโครอีเลกโทรนิก(Pusat Pengajian Mikroelektronik)
1.วิศวกรรมไมโครอีเลกโทรนิก
2.วิศวกรรมอีเลกโทรนิก
3.วิศวกรรมโฟโตนิก

ศูนย์การศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม(Pusat Pengajian Komputer dan Perhubungan)
1.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.วิศวกรรมโทรคมนาคม
3.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เครือข่าย

ศูนย์การศึกษาด้านเมกาโทรนิก(Pusat Pengajian Mekatronik)
1.วิศวกรรมเมกาโทรนิก
2.วิศวกรรมเครื่องกล
3.วิศวกรรมอีเลกโทรนิกการแพทย์

ศูนย์การศึกษาด้านระบบอีเลกโทรนิก(Pusat Pengajian Sistem Elektrik)
1.วิศวกรรมระบบอีเลกโทรนิก
2.วิศวกรรมอุตสาหกรรมอีเลกโทรนิก

ศูนย์การศึกษาด้านการผลิต(Pusat Pengajian Pembuatan)
1.วิศวกรรมการผลิต
2.วิศวกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์

ศูนย์การศึกษาด้านวัตถุ(Pusat Pengajian Bahan)
1.วิศวกรรมวัตถุ
2.วิศวกรรมการโลหะ
3.วิศวกรรมโปลีเมอร์

ศูนย์การศึกษาด้านการผลิตไบโอ(Pusat Pengajian Bioproses)
1.วิศวกรรมการผลิตไบโอ
2.วิศวกรรมระบบไบโอ

ศูนย์การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม(Pusat Pengajian Alam Sekitar)
1.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
2.วิศวกรรมการก่อสร้าง

ศูนย์การศึกษาด้านนวัตกรรมธุรกิจ และเทคโนโลยี่ผู้ประกอบการ(Pusat Pengajian Inovasi Perniagaan & Teknousahawan)
1.การค้าระหว่างประเทศ
2.วิศวกรรมผู้ประกอบการ

สถาบันของมหาวิทยาลัย
สถาบันวิศวกรรมคณิต (Institut Matematik Kejuruteraan)
สถาบันวิศวกรรมอีเลกโทรนิกนาโน(Institut Kejuruteraan Nano Elektronik)

ศูนย์วิชาการ
ศูนย์ทักษะ การสื่อสารและการประกอบการ (Pusat Kemahiran Komunikasi & Keusahawanan)
ศูนย์ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม(Pusat Kerjasama Industri)
ศูนย์วิศวกรรม(Pusat Kejuruteraan)
ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร(Pusat Teknologi Maklumat & Komunikasi)
หอสมุด(Perpustakaan)

มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมตั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ระดับปริญญาเอก
ปริญญาเอกด้านวิศวกรรม

ปริญญาโท
ปริญญาโทด้านวิศวกรรม เช่น
1.สาขาวิศวกรรมไมโครอีเลกโทรนิก
2.สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม
4.สาขาวิศวกรรมเมกาโทรนิก
5.สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
6.สาขาวิศวกรรมการผลิตอีเลกโทรนิก
7.สาขาวิศวกรรมการผลิต
8.สาขาวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์
9.สาขาวิศวกรรมระบบไฟฟ้า
10.สาขาวิศวกรรมวัตถุดิบ
11.สาขาวิศวกรรมการผลิตไบโอ
12.สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
13.สาขาวิศวกรรมโปลีเมอร์

อนุปริญญาด้านวิศวกรรม1.สาขาวิศวกรรมไมโครอีเลกโทรนิก
2.สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.สาขาวิศวกรรมเมกาโทรนิก
4.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
5.สาขาวิศวกรรมการผลิต
6.สาขาวิศวกรรมโลหะ
7.สาขาวิศวกรรมทั่วไป

หอพักนักศึกษา
1.หอพัก Kolej Kediaman Tunku Abdul Rahman ตั้งอยู่ที่ Taman Aman, Kangar
หอพัก Kolej Kediaman Tunku Abdul Rahman

2.หอพัก Kolej Kediaman Tun Abdul Razak ตั้งอยู่ที่ Kg. Wai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Abdul Razak

3.หอพัก Kolej Kediaman Tun Hussein Onn ตั้งอยู่ที่ Kg. Wai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Hussein Onn

4.หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Mahathir ตั้งอยู่ที่ Kg. Wai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Mahathir

5.หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Ismail ตั้งอยู่ที่ Taman Semarak, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Ismail

6.หอพัก Kolej Kediaman Tun Ghaffar Baba ตั้งอยู่ที่ Seberang Ramai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Ghaffar Baba

7.หอพัก Kolej Kediaman Tan Sri Aishah Ghani ตั้งอยู่ที่ Wang Ulu
หอพัก Kolej Kediaman Tan Sri Aishah Ghani

หน่วยงานของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดูแลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอยู่หลายหน่วยงาน คือ
หน่วยงานฝ่ายทะเบียน (Jabatan Pendaftar),
หน่วยงานฝ่ายการเงิน(Jabatan Bendahari),
หน่วยงานฝ่ายหอสมุด(Jabatan Perpustakaan),
หน่วยงานฝ่ายกิจการนักศึกษา(Jabatan Hal Ehwal Pelajar),
หน่วยงานฝ่ายการพัฒนา(Jabatan Pembangunan) และ
ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร(Pusat Teknologi Maklumat & Komunikasi)

การมีงานทำของบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
จากการสำรวจบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสระหว่างปี 2006-2010 ปรากฎว่ามีสถิติดังต่อไปนี้
27 % เป็นวิศวกรในบริษัทระดับนานาชาติ
16 % ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ
16 % ทำงานในบริษัทท้องถิ่น
8 % ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ
2 % ประกอบอาชีพส่วนตัว
2 % ทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
17 % ยังอยู่ในระหว่างการหางานทำ

ผู้ที่สนใจสมัครเรียนหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส สามารถดูที่ www.unimap.edu.my
หรือ เว็บไซต์ภาษาไทยของมหาวิทยาลัยได้ที http://publicweb.unimap.edu.my/~thai/

Khamis, 22 April 2010

Bangsa Melayu Diserukan Terus Bersatu


จาก หนังสือพิมพ์อาเจะห์ ชื่อ Serambi Indonesia
 Dari : www.serambinews.com Thursday April 8th 2010

Seminar Pendidikan Melayu di Malaysia 2

Bangsa Melayu Diserukan Terus Bersatu
Mantan PM Malaysia, Mahathir Mohamad (kedua dari kiri), sosok pemimpin yang teguh memperjuangkan eksistensi dan martabat etnis Melayu di dunia internasional

SESUNGGUHNYA apa yang disebut orang Melayu, bukanlah suatu komunitas etnik atau sukubangsa sebagaimana dimengerti banyak orang dewasa ini. Sebab, ia lebih mirip dengan bangsa atau kumpulan etnik-etnik serumpun yang saat ini tinggal di berbagai kawasan negara di dunia, yang sekarang menggunakan bahasa yang sama yaitu bahasa Melayu dan menganut agama yang sama yakni agama Islam.

Sejarawan Melayu, Nik Abdul Rakib bin Nik Hassan, yang sekarang menjabat sebagai Ketua Jurusan Pengajian Melayu di Faculty of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, Pattani, Thailand Selatan, mengatakan istilah Melayu sebagaimana diartikan dan dipahami oleh UNESCO pada 1972 silam adalah satu suku bangsa yang mendiami beberapa negara, seperti Malaysia, Thailand, Indonesia, Filipina, Madagaskar, Suriname, dan Afrika Selatan.

Dalam makalahnya berjudul “Pendidikan Teras Bangsa Diperkasa” yang dipaparkan dalam forum Seminar Pendidikan Melayu Antarbangsa (Sepma) 2010 yang berlangsung di Universiti Malaysia Perlis (Unimap), Perlis, Malaysia, pada 29-31 Maret lalu, mengatakan bahwa pengertian tersebut sampai sekarang dipahami secara berbeda oleh negara-negara serumpun.

Di Malaysia, misalnya, istilah Melayu menurut lembaga-lembaga resmi setempat hanya merujuk kepada orang-orang keturunan Melayu yang menganut agama Islam. Atau dengan kata lain, bukan semua orang yang nenek moyangnya berasal dari keturunan Melayu digolongkan sebagai orang Melayu. “Sedangkan di Indonesia, Melayu adalah salah satu suku yang mendiami Pulau Sumatera,” kata Nik Abdul Rakib.

Istilah Melayu di Thailand, katanya, lain lagi. Di negara yang berbatasan langsung dengan semenanjung Malaysia itu, yang dimaksud Melayu adalah salah satu suku yang bertutur kata dalam bahasa Melayu dan menganut kebudayaan Melayu. “Tapi, sebaliknya jika orang Melayu itu sudah berasimilasi dengan menggunakan bahasa Thai, maka mereka disebut Thai Muslim,” ujarnya.

Menurutnya, istilah Melayu yang merujuk pada nama bangsa atau bahasa, mengalami perkembangan baru setelah adanya Kesultanan Melayu Malaka, di mana kemudian dalamnya melebur pula penduduk keturunan asing seperti Arab, Persia, Cina dan India, di samping keturunan dari etnik Nusantara lain. “Semua itu dapat terjadi karena selain mereka hidup lama bersama orang Melayu, karena juga memeluk agama yang sama serta menggunakan bahasa Melayu dalam penuturan sehari-hari,” katanya.

Hal itulah kemudian yang menyebabkan orang Melayu memiliki keunikan tersendiri dibanding misalnya orang Jawa atau Sunda. Etnik-etnik serumpun lain pada umumnya menempati suatu daerah tertentu. Tapi orang Melayu tidak, mereka tinggal di beberapa wilayah terpisah, bahkan di antaranya saling berjauhan. “Namun di mana pun berada, bahasa dan agama mereka sama, Melayu dan Islam. Adat istiadat mereka juga relatif sama, karena didasarkan atas asas agama dan budaya yang sama,” kata Nik Abdul Rakib.

Karena itu, tambahnya, tidak mengherankan apabila Kemelayuan identik dengan Islam, dan kesusastraan Melayu identik pula dengan kesusastraan Islam. Bagi mereka yang tidak mengetahui latar belakang sejarahnya fenomena ini tidak mudah dipahami. “Untuk itu uraian tentang sejarahnya sangat diperlukan,” pungkasnya.

Arus globalisasi
Merujuk pada pernyataan Ketua Menteri Malaka yang juga Presiden Dunia Melayu Dunia Islam (DMDI), Dato’ Sri Mohamad Ali bin Rustam, yang disampaikan sebelumnya di forum Sepma 2010 itu, di tengah kondisi etnis rumpun Melayu yang tinggal di negara yang berbeda-beda tersebut, maka masyarakat Melayu di setiap negara perlu mencari “rakan kongsi” bangsa serumpun untuk menjaga dan melestarikan budaya Melayu dari derasnya arus globalisasi.

Hadirnya DMDI di berbagai negara serumpun termasuk Indonesia, diharapkan menjadi benteng yang kokoh bagia upaya menjaga dan merawat kelestarian bahasa dan budaya Melayu. Lembaga yang pucuk pimpinannya dijabat secara bergilir antarsesama negara anggota itu, diharapkan pula terus mengkaji dan mengembangkan ragam keunikan budaya Melayu agar budaya yang bersendikan ajaran Islam ini tetap awet dan relevan sepanjang masa.

Konsep paling efektif dan efisien untuk terus membumikan bahasa dan dan budaya Melayu, yang sekarang ini dipakai dan dianut oleh lebih dari 250 juta orang di dunia itu, adalah lewat dunia pendidikan di masing-masing negara serumpun. “Konsep ini sudah dipraktikkan oleh sejumlah negara serumpun sejak beberapa tahun terakhir dan telah memperlihatkan hasil yang cukup menggembirakan,” kata Dato’ Sri Mohamad Ali.

Di Malaysia, misalnya, sejak masa pemerintahan PM Mahathir Mohamad, ada satu konstitusi yang memberikan keistimewaan bagi orang Melayu dalam setiap urusan pelayanan publik. Guna menjalankan amanat konstitusi tersebut, Yang Dipertuan Agong selaku kepala negara diserahi pula tanggung jawab untuk menjaga kedudukan istimewa orang Melayu tersebut sebagai penduduk pribumi.

Sampai saat ini, harus diakui bahwa Malaysia telah memainkan peran penting dalam upaya mencerdaskan anak-anak bangsa serumpun dari etnis Melayu. Beberapa perguruan tinggi di Malaysia, kini terbuka pula untuk mahasiswa dari berbagai alam Melayu lainnya seperti Thailand, Filipina, dan Indonesia termasuk Aceh. “Bahkan, khusus Indonesia, tidak kurang dari 14.000 mahasiswanya, kini menuntut ilmu di berbagai perguran tinggi yang ada di Malaysia,” kata Dato’ Sri Mohamad Ali.

Perkembangan menggembirakan terkait dengan upaya menjaga kelestarian budaya Melayu itu, antara lain dilaporkan juga terjadi di Indonesia, Brunei Darussalam, Singapura, Thailand, Filipina, Kamboja, Vietnam, Srilanka, Afrika Selatan, Arab Saudi, bahkan sejumlah kawasan di daratan Eropa.

Di samping memasukkan dalam kurikulum berbagai jenjang pendidikan, di negara-negara tersebut kini juga telah berdiri lembaga pendidikan yang khusus mempelajari tentang bahasan dan khazanah budaya Melayu lainnya,” kata Presiden DMDI itu mengakhiri sambutannya dengan menyerukan agar bangsa etnis rumpun Melayu terus bersatu.

(asnawi kumar)

Rabu, 7 April 2010

งานสัมมนานานาชาติการศึกษาของชาวมลายู 2010 หรือ Seminar Pendidikan Melayu Antarabangsa 2010

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อวันที 29-31 มีนาคมที่ผ่านมา ทางองค์กร DMDI(Dunia Melayu Dunia Islam) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีนโยบายหลักในการในประสานงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวมลายูทั่วโลก องค์กรนี้มีสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐมะละกา ได้จัดสัมมนานานาชาติว่าด้วยการศึกษาของชาวมลายูขึ้น โดยร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาดังกล่าว สำหรับผู้เป็นตัวหลักในการสัมมนาครั้งนี้คือมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส (Universiti Malaysia Perlis) หรือรู้จักในคำย่อว่า UniMAP การสัมมนาครั้งนี้ใช้ชื่อว่า งานสัมมนานานาชาติการศึกษาของชาวมลายู 2010 หรือ Seminar Pendidikan Melayu Antarabangsa 2010 มีชื่อย่อว่า SePMA 2010 หัวข้อการสัมมนาคือ Pendidikan Teras diperkasa หรือ การศึกษาหลักที่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นที่เมืองกางาร์ เมืองเอกของรัฐเปอร์ลิส

องค์ประธานการสัมมนาเป็นรัชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส คือ ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัย (Tuanku Syed Faizuddin Putra Jamalullail) ผู้มีตำแหน่งเป็น Chancellor ของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส และมี พลจัตวาศาสตาจารย์ ดาโต๊ะ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (brigadier Gen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสเป็ผู้อำนวยการจัดงานสัมมนา การจัดงานครั้งมีลักษณะเป็น สามในหนึ่ง คือ หนึ่ง งานสัมมนานานาชาติ สอง การประกาศตัว องค์กร DMDI สาขารัฐเปอร์ลิส และสาม งานวัฒนธรรมโลกมลายู หรือ Festa Kebudayaan Nusantara

ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัยล์ (Tuanku Syed Faizuddin Putra Jamalullail)

พลจัตวาศาสตาจารย์ ดาโต๊ะ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (brigadier Gen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

สำหรับข้าพเจ้าได้ร่วมเสนอบทความวิชาในหัวข้อ "Cabaran Pendidikan Melayu Global" ในการเดินทางในครั้งนี้ ได้มีนักศึกษาจากแผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี และมหาวิทยาลัยอิสลาม จำนวน 16 คน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสัมมนานานาชาติในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นได้รู้จักเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ เช่น มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค (Universiti Malaysia) มหาวิทยาลัยการศึกษาสุลต่านอิดริส (Universiti Pendidikan Sultan Idris) มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) ฯลฯ สำหรับการปิดพิธีงานนั้น นักศึกษาจากประเทศไทย ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์อัล-กูรอ่าน

อาจารย์มัสรูลแห่งมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสที่มารับคณะจากประเทศไทยที่ตลาดปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส

คุณมูฮัมหมัดนอร์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสที่ทำหน้าที่ดูแลตลอดการจัดสัมมนา

เมื่อคณะนักศึกษาจากประเทศไทยเดินทางข้ามจากตลาดปาดังเบซาร์ ฝั่งไทย (อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา)ไปยังตลาดปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซีย (อำเภอปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส)โดยหลังจากตรวจตราหนังสือเดินทางที่ด่าน ตม.ฝั่งไทยแล้ว ก็เดินเท้าข้ามไปยังฝั่งมาเลเซีย ก่อนที่จะตรวจตราหนังสือเดินทางที่ด่าน ตม.ฝั่งมาเลเซียนั้น ปรากฎว่าทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสได้นำรถบัสมหาวิทยาลัยและรถยนต์มหาวิทยาลัยมารับลคณะของพวกเรา ถือเป็นการเดินทางที่น่าประทับใจยิ่ง

โรงแรมปุตราเพเลสที่ทางเจ้าภาพจัดให้พัก เป็นโรงแรมที่รัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐเปอร์ลิส ในนามของบรรษัทพัฒนาเศรษฐกิจแห่งรัฐ หรือ State Economy Development Corporation เป็นเจ้าของ

เมื่อการเดินทางถึงเมืองกางาร์ เมืองเอกของรัฐเปอร์ลิสแล้ว ข้าพเจ้ากับอาจารย์รีดวานได้ไปพักที่โรงแรมปุตราเพเลส (Putra Palace Hotel) ส่วนคณะนักศึกษานั้นทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสได้ให้ไปพักที่หอพักของมหาวิทยาลัย สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างข้าพเจ้ากับคณะนักศึกษาในเรื่องการพัก ด้วยการประสานงานเรื่องการเดินทางไปร่วมสัมมนาของคณะนักศึกษาจากประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการประสานผ่านองค์กร DMDI แห่งรัฐมะละกา แต่ในที่สุดก็แก้ไขปัญหาต่างๆได้ โดยมีนักศึกษาวิศวกรรมชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธคนหนึ่งเป็นคนดูแลคณะนักศึกษาจากประเทศไทย หลังจากที่แต่ละคนได้เข้าที่พักแล้ว ทางนักศึกษามาเลเซียผู้ดูแลจึงเสนอให้เดินทางไปกินข้าวตอนค่ำที่ท่าเรือที่กัวลาเปอร์ลิส ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใช้สำหรับเดินทางไปเกาะลังกาวี แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งด้วยเราเดินทางตอนกลางคืน ทำให้ไม่สามารถมองวิวทัศน์ของกัวลาเปอร์ลิสได้ชัดเจน

ภาพที่ระลึกที่กัวลาเปอร์ลิส

นายฮัมดัน หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจากประเทศไทยกับนางสาวลีซาวาตี ผู้ช่วยส่วนตัวขณะเดินทางไปกัวลาเปอร์ลิส

นักศึกษาบนรถมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ขณะกำลังเดินทางจะไปกินข้าวที่ บริเวณท่าเรือไปเกาะลังกาวี เมืองกัวลาเปอร์ลิส

สองนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสที่ร่วมเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาจากประเทศไทย คนขวามือเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธชื่อว่า Anusha Leemsuthep a/p Amphan กำลังศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์

คุณ Anusha Leemsuthep a/p Amphan นักศึกษาวิศวกรรมแห่งมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธผู้ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษาจากประเทศไทยตลอดงานสัมมนา

ในวันรุ่งขึ้นคณะนักศึกษาจากประเทศไทยจึงเดินทางเข้าร่วมการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นที่หอประชุมกาปีตอล มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ซึ่งหอประชุมนี้เดิมเป็นโรงภาพยนต์ ต่อมาเมื่อยกเลิกแล้ว ทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสจึงเข้าไปดำเนินการทำเป็นหอประชุมแทน ความแปลกของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสนั้น ด้วยเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ จึงมีการเช่าอาคารต่างๆมาเป็นสำนักงานของตนเอง ดังนั้นคำว่า มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส หรือ UniMAP จึงมีอยู่ทั่วรัฐเปอร์ลิส

อาจารย์รีดวาน ฮัสซัน ประธานมูลนิธีอิกตีซอมวิทยา จังหวัดสงขลา

ในคณะของเราที่มาจากประเทศไทยนั้น มีท่านหนึ่งเป็นนักการศึกษาศาสนาที่ชื่อว่า อาจารย์รีดวาน ฮัสซัน มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ท่านมีตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิที่ชื่อว่า มูลนิธิอิกตีซอมวิทยา เป็นมูลนิธิที่ทำหน้าที่พัฒนาและยกระดับการศึกษาของเยาวชนชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นักศึกษาจากประเทศไทยกำลังอ่านคัมภีร์อัลกูรอ่าน ในการเปิดพิธีงานสัมมนานานาชาติครั้งนี้

สัญลักษณ์พิธีเปิดงานสัมมนานานาชาติการศึกษาของชาวมลายู

คณะจากประเทศไทยได้รับการขอจากองค์กร DMDI ให้ทำหน้าที่เป็นผู้อ่านคัมภีร์อัลกูรอ่าน ในการเปิดพิธีงานสัมมนานานาชาติที่ชื่อว่า SePMA 2010 ซึ่งคุณฮาฟีส ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์อัลกูรอ่าน หลังจากนั้นจึงเริ่มอ่านดูอา และการกล่าวของบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้

ภาพหมู่ในหอประชุมงานสัมมนา เดวันกาปีตอล มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

ทางองค์กร DMDI และคณะผู้ดำเนินการจัดสัมมนาได้จัดให้ผู้เสนอบทความวิชาการและตัวแทนจากองค์กร DMDI จากที่ต่างๆ ได้เข้าเฝ้าเจ้าผู้ครองรัฐเปอร์ลิส หรือที่เรียกว่า ราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส (Raja Perlis) พระองค์เคยดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี หรือ Yang DiPertuan Agong แห่งประเทศมาเลเซีย นับเป็นอดีตพระราชาธิบดีองค์ที่สองที่ข้าพเจ้าเคยพบ ส่วนองค์แรกนั้นคือ สุลต่านอาหมัด ชาห์ แห่งรัฐปาหัง เดิมนั้นทางองค์กร DMDI แจ้งว่าให้แต่ละคนแต่งสูท ต่อมามีการแจ้งเปลี่ยนแปลง โดยใช้แต่ละคนแต่งชุดบาติก แต่ก็ยังเพียงตัวแทนจากประเทศบรูไนเท่านั้นที่ยังคงแต่งสูท

ตวนกูสัยยิดซีรายุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัยล์ ราชาแห่งรัฐเปอร์ลิสและพระราชินีแห่งรัฐเปอร์ลิส

ภาพหมู่กับราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส ณ พระราชวังอานักบูกิ๊ต เมืองอาราว รัฐเปอร์ลิส

ขณะกำลังเข้าเฝ้าราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส ตวนกูสัยยิดซีรายุดดิน ปุตรา ยามาลุลลัย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย

กับคณะจากจังหวัดสตูล ประกอบด้วยรองนายก อบจ. สตูล และคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล

กับอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส, ดาโต๊ะอับดุลจามิล มุมิน รองประธาน DMDI, คุณยูซุฟ ลิว ตัวแทน DMDI ประเทศจีน และศาสตราจารย์ ดร. นานา ชาโอดิห์ สุกมาดีนาตา แห่งมหาวิทยาลัยการศึกษาอินโดเนเซีย เมืองบันดุง ประเทศอินโดเนเซีย

กับรศ. ดร. อาวังฮัสมาดี บินอาวังมูอิส จากมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม

รศ. ดร. อาวังฮัสสมาดี บินอาวังมูอิส แห่งมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

รับมอบของที่ระลึกจากมุขมนตรีรัฐเปอร์ลิส

ภาพหมู่ในหอประชุมเดวัน 2020 สถานที่จัดงานประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส

นักศึกษากำลังสลามกับองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐมะละกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส และผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

นักศึกษากำลังสลามกับองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐเปอร์ลิส มุขมนตรีแห่งรัฐมะละกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส และผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

คณะนักศึกษาจากประเทศไทยภ่ายรูปกับดาโต๊ะศรีมูฮัมหมัดอาลี มูฮัมหมัดรุสตัม(Dato' Seri Mohd. Ali Mohd. Rustam) มุขมนตรีแห่งรัฐมะละกาและพลจัตวาศาสตาจารย์ ดาโต๊ะ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (brigadier Gen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส

สองนักวิชาการแห่งรัฐเปอร์ลิส ดร.ชาฮ์รุดดิน กับภรรยา ดร. นูรชาบีฮะห์ ผู้มีรากเหง้ามาจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รู้จักมิตรอีกสองคน คือ ดร. ชาห์รุดดิน เขาเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย ต่อมาย้ายมาทำการสอนที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ส่วนภรรยาของเขาคือ ดร. นูรชาบีฮะห์ ทำให้ได้รู้จักศิษย์เก่าร่วมสถาบันอีกคนหนึ่ง ด้วยเขาจบปริญญาตรี-โท-เอกจากสถาบันมลายูศึกษา (Akademi Pengajian Melayu) มหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ จากการที่ได้พูดคุยกับทั้งสองคน ทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส มีแนวโน้มถึงความก้าวหน้าในอนาคต ด้วยมหาวิทยาลัยแห่งนี้มี Chancellor เป็นองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิส และพระองค์ให้ความสำคัญยิ่งกับการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้

คุณฮัมดัน หัวหน้าคณะนักศึกษาจากประเทศไทยรับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมสัมมนาจากเจ้าภาพการจัดงานสัมมนา

สำหรับข้าพเจ้าเมื่อมีโอกาสไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดๆ หรือบุคคลใดๆ ข้าพเจ้ามักจะจัดให้มีการบรรยายที่เรียกว่า Ceramah Kilat หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็อาจแปลได้ว่า การบรรยายแบบพิเศษสุดๆ คือ ใครก็ได้ที่เห็นว่าสำคัญ มีความรู้ ก็เชิญมาบรรยายในสถานที่ที่เห็นว่าพอจะบรรยายได้ อาจเป็นใต้ต้นไม้ ชั้นเรียน หรือที่ใดก็ได้ และในการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ได้พบกับอาจารย์มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย รัฐเคดะห์ ที่ชื่อว่า รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟ (Prof. Madya Dr. Nuraini Yusoff) จึงทำการเชิญให้ท่านช่วยบรรยายพิเศษแก่คณะนักศึกษาจากประเทศไทยได้รับความรู้เล็กๆน้อยๆ

รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟแห่งมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซียกำลังบรรยายพิเศษแก่คณะนักศึกษาจากประเทศไทย

รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟแห่งมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซียกำลังบรรยายพิเศษแก่คณะนักศึกษาจากประเทศไทย

ถ่ายภาพหมู่กับ รศ. ดร. นูรอัยนี ยูซุฟ แห่งมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย

การเข้าร่วมสัมมนาของคณะนักศึกษาจากประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้ได้รับประสบการณ์หลายอย่าง ทั้งเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากการสัมมนา การได้เรียนรู้การจัดงานสัมมนานานาชาติของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นยังไดรู้จักเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ สิ่งที่น่าประทับใจคือคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในมาเลเซียตะวันออก บนเกาะบอร์เนียว คณะนักศึกษาเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัคให้เข้าร่วมการสัมมนา โดยทางมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัคเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้ได้เห็นว่ามหาวิทยาลัยในมาเลเซียนั้นให้การสนับสนุนนักศึกษาของตนเองได้เข้าร่วมสัมมนา หรือการทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ

นักศึกษาจากประเทศไทยถ่ายรูปกับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วมงาน

นักศึกษาจากประเทศไทยถ่ายรูปกับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วมงาน

การแสดงวัฒนธรรมของรัฐเปอร์ลิสในงานวัฒนธรรมโลกมลายู หรือ Festa Kebudayaan Nusantara

คุณรุสลี รีซาล ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียวกำลังร้องเพลงในงานเลี้ยง

มุขมนตรีรัฐมะละกา กำลังประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส โดยมีองค์ราชทายาทแห่งรัฐเปอร์ลิสเป็นพยาน

การแสดงในงานเลี้ยงการประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส

ตวนกูสัยยิดไฟซุดดินปุตรา องค์ราชทายาท กำลังกล่าวในงานเลี้ยง การประกาศจัดตั้ง DMDI ประจำรัฐเปอร์ลิส

คณะจากรัฐมะละกา ทางขวามือคือคุณอัสลินดา ซูเบร์ เลขาธิการ DMDI

เดินทางบริเวณชายแดนมาเลเซีย-ประเทศไทย เพื่อข้ามไปยังตลาดปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา