โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมสัมมนาทางวิชาการที่รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย โดยมีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสเป็นเจ้าภาพการจัดสัมมนาในครั้งนี้ การที่ได้สัมพัสมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทำให้ได้รับรู้ถึงความแปลกของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส เมื่อครั้งถึงรัฐเปอร์ลิส ในขณะที่อยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองกางาร์ (ชาวบ้านเรียกตามสำเนียงรัฐเปอร์ลิสว่า กางะ) อันเป็นเมืองเอกของรัฐเปอร์ลิส เมื่อมีการนัดพบกับคณะนักศึกษาจากแผนกวิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ร่วมเดินทางมาสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งคณะนักศึกษาพักอยู่ที่หอพักของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ทางเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแจ้งว่าให้นัดเจอกันที่หอประชุมของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกางาร์ ซึ่งมีชื่อว่า เดวันกาปีตอล ยูนีแม๊ป(Dewan Kapitol UniMAP)
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
ด้วยความไม่รู้ว่าหอประชุมของมหาวิทยาลัยอยู่ที่ไหน จึงตามคนว่า UniMAP อยู่ที่ไหน คำตอบที่ได้รับคือ UniMAP หรือ Universiti Malaysia Perlis (มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส) ตั้งอยู่ทั่วรัฐเปอร์ลิส ต้องบอกว่าคุณจะไปที่ไหน เพราะมหาวิทยาลัยใช้วิธีการเช่าอาคาร สำนักงาน ในการดำเนินการ อาคาร สำนักงานถาวรนั้นมีเพียงบางหน่วยงานเท่านั้นที่ย้ายไปอยู่ ส่วนใหญ่ยังคงกระจัดกระจายอยู่ทั่ว แม้แต่เดวันกาปีตอล ยูนีแม๊ป(Dewan Kapitol UniMAP)ที่ถือเป็นหอประชุมมหาวิทยาลัย เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ที่ชื่อว่าโรงภาพยนตร์กาปีตอล เมื่อเลิกกิจการ ทางมหาวิทยาลัยจึงเช่าโรงภาพยนตร์มาทำเป็นหอประชุมของมหาวิทยาลัย
ที่เดวันกาปีตอลกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
หอประชุมเดวันกาปีตอลตั้งอยู่กลางตัวเมือง
หอประชุมเดวันกาปีตอลในยามค่ำคืน
หน้าหอประชุมเดวันกาปีตอล หอประชุมของมหาวิทยาลัย
หน้าหอพักนักศึกษานานาชาติ
อาจารย์รีดวาน หน้าหอพักนักศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัย
หน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
ยามค่ำคืนหน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
ยามค่ำคืนหน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
สภาพภายในหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
นักศึกษา มอ. ปัตตานี หน้าหอพักมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
เรามาทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสกันดีกว่า
ตราสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
การจัดตั้งมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส หรือ Universiti Malaysia Perlis มีชื่อย่อว่า UniMAP เป็นหนึ่งในบรรดาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐปอร์ลิส อินดรากายังงัน (Perlis Indera Kayangan) ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสถานะเป็น University College (สถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี) ชื่อว่า Kolej Universiti Kejuruteraan Utara Malaysia หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Northern Malaysia University College of Engineering โดยมีชื่อย่อว่า Kukum เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นด้านสาขาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ได้รับการจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศมาเลเซีย เมื่อ 25 กรกฎาคม 2001การพัฒนาการเริ่มขึ้นหลังจากที่มีการแต่งตั้งอธิการบดีและรองอธิการบดี เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2002 หลังจากนั้นจึงมีการพัฒนาเกี่ยวกับหลักสูตร การรับบุคคากร รวมทั้งอาคาร สำนักงาน
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2002 ที่วิทยาเขตชั่วคราวที่ กูบังฆายะห์ (Kubang Gajah)เมืองอาราว(Arau)โดยรับนักศึกษารุ่นแรกประจำปีการศึกษา 2002/2003 จำนวน 116 คน เมื่อ 20 มิถุนายน 2002 และตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2007 สถาบันแห่งนี้ก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อจาก Kolej Universiti Kejuruteraan Utara Malaysia(KUKUM)เป็น Universiti Malaysia Perlis(UniMAP)
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
สำหรับผู้บริหารของสถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซียนั้นจะใช้ระบบแบบอังกฤษ ซึ่งตำแหน่งต่างๆนั้นมีดังนี้ Chancellor คนแรกของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส คือ ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา อิบนีตวนกู สัยยิด ซีรายุดดิน ยามาลุลลัยล์(Tuanku Syed Faizuddin Putra Ibni Tuanku Syed Sirajuddin Jamalullail)ผู้เป็นองค์รัชทายาทของรัฐเปอร์ลิส โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 1 กันยายน 2003 ส่วน Pro Chancellor เป็นภรรยาขององค์ราชทายาทที่มีชื่อเรียกในมาเลเซียว่า DYTM Raja Puan Muda Perlis มีชื่อจริงว่า ตวนกูฮัจญะห์ไลลาตุล ชารีน อากาชา คาลิล(Tuanku Hajjah Lailatul Shareen Akashah Khalil) สำหรับอธิการบดี หรือที่เรียกในมาเลเซียว่า Vice Chancellor คือ พลจัตวา ศาสตราจารย์ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น (Brig. Jen. Prof. Dato' Dr. Kamarudin Hussin ) ส่วนรองอธิการบดี คือ ศาสตราจารย์ ดร. อาลี เยโอน มูฮัมหมัดชากัฟฟ (Prof. Dr. Ali Yeon Md. Shakaff)
ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา อิบนีตวนกู สัยยิด ซีรายุดดิน ยามาลุลลัยล์
ตวนกูฮัจญะห์ไลลาตุล ชารีน อากาชา คาลิล
พลจัตวา ศาสตราจารย์ ดร. กามารุดดิน ฮุสเซ็น
วิทยาเขตมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
วิทยาเขตถาวรของมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า วิทยาเขตอาลาม(Kampus Alam )ตั้งอยู่ที่ ปาอุห์ (Pauh )มีพื้นที่ 1050 เอเคอร์ (ประมาณ 660 ไร่) และวิทยาเขตที่สุไหงจูจุห์ (Sg. Chuchuh)ที่เรียกว่าวิทยาเขตเขียว (Kampus Hijau)มีพื้นที่ 300 เอเคอร์ (ประมาณ 2,310 ไร่) เป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยด้านเทคโนโลยี่การเกษตร ตั้งแต่เทอม 2 ปีการศึกษา 2009/2010 ศูนย์การศึกษาด้านวิศวกรรม ที่เรียกว่า Pusat Pengajian Kejuruteraan (PPK)จำนวน 2 ศูนย์ คือ ศูนย์การศึกษาวิศวกรรมการผลิต (PPK Pembuatan)และศูนย์การศึกษาวิศวกรรมเมกาโทรนิก (PPK Mekatronik)ได้ย้ายไปดำเนินการเรียนการสอนที่วิทยาเขตถาวร ที่เรียกว่า Kampus Alam
สำหรับวิทยาเขตชั่วคราวของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส จะตั้งอยู่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ เช่น ที่ กูบังฆายะห์(Kubang Gajah),เยอยาวี(Jejawi),กัวลาเปอร์ลิส(Kuala Perlis)ด้าน Automart,หมู่บ้านจัดสรร Taman Muhibbah,อาคาร KWSPKangar,
Dewan Kapitol ในตัวเมืองกางาร์ ส่วนที่พักอาศัยของนักศึกษา หรือที่เรียกว่า Kolej Kediaman จะกระจัดกระจายเช่นกัน เช่นตั้งอยู่ที่หมู่บ้านไว (Kampong Wai),เซอเบอรังราไม(Seberang Ramai), หมู่บ้านจัดสรร Taman Semarak,วังอูลู (Wang Ulu)และหมู่บ้านจัดสรร Taman Aman
แผนที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
ระบบการเรียนการสอน
การเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ระบบ lab-intensive เพื่อสร้างวิศวกรที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ 60% และการเรียนการสอนภาคทฤษฎี 40% เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
Anjung UniMAP
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานที่เรียกว่า Anjung UniMAP เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย โดยดำเนินงานนอกวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยในรัฐเปอร์ลิส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในลักษณะ One Stop Communications Centre การจัดตั้ง Anjung UniMAP นี้ได้จัดตั้งขึ้นตามมติของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อ 7 กันยายน 2004 โดยเห็นถึงความสำคัญของการที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย Anjung UniMAP เริ่มดำเนินงานเมื่อ 1 เมษายน 2005 สำหรับ Anjung UniMAP ในกรุงกัวลาลัมเปอร์นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์บริเวณใกล้ตึกแฝดเปโตรนัส ซึ่งศูนย์นี้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทั้งทางการเมือง การศึกษา การวิจัย เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม ศิลปกรรม และอื่นๆ
สำหรับ Anjung UniMAP แห่งที่สองได้จัดตั้งขึ้นที่เขตเทคโนโลยี่ชั้นสูงกูลิม (Taman Teknologi Tinggi Kulim) ในอำเภอกูลิม รัฐเคดะห์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 โดยAnjung UniMAP แห่งที่สองนี้ทำพิธีเปิดโดย ตวนกู สัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา อิบนีตวนกู สัยยิด ซีรายุดดิน ยามาลุลลัยล์(Tuanku Syed Faizuddin Putra Ibni Tuanku Syed Sirajuddin Jamalullail) ผู้เป็น Chancellor ของมหาวิทยาลัย โดย Anjung UniMAP แห่งนี้จะทำหน้าที่ฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมบริเวณเขตเทคโนโลยี่ชั้นสูงกูลิม (Taman Teknologi Tinggi Kulim)
จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึง 20 สาขาวิชาด้านวิศวกรรม และ 2 สาขาวิชาด้านบริหารธุรกิจ ดังต่อไปนี้ :
ศูนย์การศึกษาด้านไมโครอีเลกโทรนิก(Pusat Pengajian Mikroelektronik)
1.วิศวกรรมไมโครอีเลกโทรนิก
2.วิศวกรรมอีเลกโทรนิก
3.วิศวกรรมโฟโตนิก
ศูนย์การศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม(Pusat Pengajian Komputer dan Perhubungan)
1.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.วิศวกรรมโทรคมนาคม
3.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เครือข่าย
ศูนย์การศึกษาด้านเมกาโทรนิก(Pusat Pengajian Mekatronik)
1.วิศวกรรมเมกาโทรนิก
2.วิศวกรรมเครื่องกล
3.วิศวกรรมอีเลกโทรนิกการแพทย์
ศูนย์การศึกษาด้านระบบอีเลกโทรนิก(Pusat Pengajian Sistem Elektrik)
1.วิศวกรรมระบบอีเลกโทรนิก
2.วิศวกรรมอุตสาหกรรมอีเลกโทรนิก
ศูนย์การศึกษาด้านการผลิต(Pusat Pengajian Pembuatan)
1.วิศวกรรมการผลิต
2.วิศวกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์
ศูนย์การศึกษาด้านวัตถุ(Pusat Pengajian Bahan)
1.วิศวกรรมวัตถุ
2.วิศวกรรมการโลหะ
3.วิศวกรรมโปลีเมอร์
ศูนย์การศึกษาด้านการผลิตไบโอ(Pusat Pengajian Bioproses)
1.วิศวกรรมการผลิตไบโอ
2.วิศวกรรมระบบไบโอ
ศูนย์การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม(Pusat Pengajian Alam Sekitar)
1.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
2.วิศวกรรมการก่อสร้าง
ศูนย์การศึกษาด้านนวัตกรรมธุรกิจ และเทคโนโลยี่ผู้ประกอบการ(Pusat Pengajian Inovasi Perniagaan & Teknousahawan)
1.การค้าระหว่างประเทศ
2.วิศวกรรมผู้ประกอบการ
สถาบันของมหาวิทยาลัย
สถาบันวิศวกรรมคณิต (Institut Matematik Kejuruteraan)
สถาบันวิศวกรรมอีเลกโทรนิกนาโน(Institut Kejuruteraan Nano Elektronik)
ศูนย์วิชาการ
ศูนย์ทักษะ การสื่อสารและการประกอบการ (Pusat Kemahiran Komunikasi & Keusahawanan)
ศูนย์ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม(Pusat Kerjasama Industri)
ศูนย์วิศวกรรม(Pusat Kejuruteraan)
ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร(Pusat Teknologi Maklumat & Komunikasi)
หอสมุด(Perpustakaan)
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมตั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ระดับปริญญาเอก
ปริญญาเอกด้านวิศวกรรม
ปริญญาโท
ปริญญาโทด้านวิศวกรรม เช่น
1.สาขาวิศวกรรมไมโครอีเลกโทรนิก
2.สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม
4.สาขาวิศวกรรมเมกาโทรนิก
5.สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
6.สาขาวิศวกรรมการผลิตอีเลกโทรนิก
7.สาขาวิศวกรรมการผลิต
8.สาขาวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์
9.สาขาวิศวกรรมระบบไฟฟ้า
10.สาขาวิศวกรรมวัตถุดิบ
11.สาขาวิศวกรรมการผลิตไบโอ
12.สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
13.สาขาวิศวกรรมโปลีเมอร์
อนุปริญญาด้านวิศวกรรม1.สาขาวิศวกรรมไมโครอีเลกโทรนิก
2.สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.สาขาวิศวกรรมเมกาโทรนิก
4.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
5.สาขาวิศวกรรมการผลิต
6.สาขาวิศวกรรมโลหะ
7.สาขาวิศวกรรมทั่วไป
หอพักนักศึกษา
1.หอพัก Kolej Kediaman Tunku Abdul Rahman ตั้งอยู่ที่ Taman Aman, Kangar
หอพัก Kolej Kediaman Tunku Abdul Rahman
2.หอพัก Kolej Kediaman Tun Abdul Razak ตั้งอยู่ที่ Kg. Wai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Abdul Razak
3.หอพัก Kolej Kediaman Tun Hussein Onn ตั้งอยู่ที่ Kg. Wai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Hussein Onn
4.หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Mahathir ตั้งอยู่ที่ Kg. Wai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Mahathir
5.หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Ismail ตั้งอยู่ที่ Taman Semarak, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Dr. Ismail
6.หอพัก Kolej Kediaman Tun Ghaffar Baba ตั้งอยู่ที่ Seberang Ramai, Kuala Perlis
หอพัก Kolej Kediaman Tun Ghaffar Baba
7.หอพัก Kolej Kediaman Tan Sri Aishah Ghani ตั้งอยู่ที่ Wang Ulu
หอพัก Kolej Kediaman Tan Sri Aishah Ghani
หน่วยงานของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดูแลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอยู่หลายหน่วยงาน คือ
หน่วยงานฝ่ายทะเบียน (Jabatan Pendaftar),
หน่วยงานฝ่ายการเงิน(Jabatan Bendahari),
หน่วยงานฝ่ายหอสมุด(Jabatan Perpustakaan),
หน่วยงานฝ่ายกิจการนักศึกษา(Jabatan Hal Ehwal Pelajar),
หน่วยงานฝ่ายการพัฒนา(Jabatan Pembangunan) และ
ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร(Pusat Teknologi Maklumat & Komunikasi)
การมีงานทำของบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
จากการสำรวจบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิสระหว่างปี 2006-2010 ปรากฎว่ามีสถิติดังต่อไปนี้
27 % เป็นวิศวกรในบริษัทระดับนานาชาติ
16 % ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ
16 % ทำงานในบริษัทท้องถิ่น
8 % ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ
2 % ประกอบอาชีพส่วนตัว
2 % ทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
17 % ยังอยู่ในระหว่างการหางานทำ
ผู้ที่สนใจสมัครเรียนหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส สามารถดูที่ www.unimap.edu.my
หรือ เว็บไซต์ภาษาไทยของมหาวิทยาลัยได้ที http://publicweb.unimap.edu.my/~thai/
Tiada ulasan:
Catat Ulasan