Khamis, 18 Februari 2010

ชนชาวชวา ในเกาะชวา ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในเกาะชวามีชนเผ่าที่อาศัยอยู่มากมาย แต่มีชนเผ่าที่สำคัญ เช่น ชาวชวา ชาวซุนดา ชาวมาดูรา ชาวเบอตาวี และชนเผ่าเล็กๆอีกนับสิบเผ่า สำหรับชนชาวชวานั้นนับว่ามีความสำคัญยิ่งในประเทศอินโดเนเซีย ด้วยชาวชวาถือได้ว่าเป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดเนเซีย ในประเทศไทยนั้นบางครั้งเรามีความสับสนเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับคำว่า คนชวา เกาะชวา หรือประเทศชวา ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศอินโดเนเซียประกอบด้วยเกาะหลายพันเกาะ และเกาะชวาเป็นหนึ่งในเกาะที่ใหญ่ของประเทศอินโดเนเซีย และเกาะชวาเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ มีทั้งเผ่าชวา เผ่าซุนดา และอีกนับสิบเผ่า นอกจากนั้นคนเผ่าชวาเองก็ไม่ได้อาศัยอยู่เพียงในเกาะชวาเท่านั้น แต่อาศัยอยู่เกือบทุกเกาะใหญ่ๆของอินโดเนเซีย ในประเทศมาเลเซียก็มีชนเผ่าชวาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเรียกชาวอินโดเนเซียว่าคนชวา ไม่ถูกต้องนัก หรือเรียกประเทศอินโดเนเซียว่า ประเทศชวาก็ไม่ถูกต้อง เพราะชาวอินโดเนเซียหรือประเทศอินโดเนเซียไม่ได้มีเพียงชนเผ่าชวาเท่านั้น และเมื่อกล่าวถึงคนชวา ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนชวาในประเทศอินโดเนเซีย อาจเป็นชาวชวาในมาเลเซีย ในประเทศสุรีนาม หรือในประเทศอื่นๆอีกก็ได้

แผนที่แบ่งภาษาพูดในเกาะชวา มีทั้งภาษามลายู ภาษาชวา ภาษาซุนดา ภาษามาดูรา

ชนชาวชวา
ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกรวมกันว่ามลายูนั้น ชาวชวา ถือเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ชาวชวามีภาษาเป็นของตนเอง แต่ภาษาชวาไม่ได้รับการยอมรับเผยแพร่เหมือนภาษามลายู หรือที่ในอินโดเนเซีย เรียกว่า ภาษาอินโดเนเซีย ด้วยภาษาชวา ค่อนข้าง มีคำศัพท์ที่ค่อนข้างลำบากต่อการเรียน หรือ พูด มีการใช้ภาษาต่ำ ภาษาสูง สิ่งของหนึ่งในภาษาชวาจะมีหลายคำตามสภาพของภาษาต่ำ หรือภาษาสูง ชาวชวามีประชากรประมาณ 100 ล้านคน กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น

จังหวัดชวากลาง 33 ล้านคน
จังหวัดยอกยาการ์ตา 3 ล้านคน
จังหวัดชวาตะวันออก 30 ล้านคน
จังหวัดชวาตะวันตก 5.5 ล้านคน
จังหวัดบันเต็น 500,000 คน
กรุงจาการ์ตา 3 ล้านคน
จังหวัดลัมปุง 4.5 ล้านคน
จังหวัดสุมาตราใต้ 1.9 ล้านคน
จังหวัดเรียว 1.2 ล้านคน
จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก 7 แสนคน
จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก 4 แสนคน
จังหวัดจัมบี 7 แสนคน
จังหวัดกาลีมันตันกลาง 3 แสนคน
จังหวัดเบงกูลู 3 แสนคน
จังหวัดปาปัว 3 แสนคน
ประเทศมาเลเซียประมาณ 1-2 ล้านคน
ประเทศสุรีนาม แสนกว่าคน

ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวชวา
ชาวชวามีทั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ และยึดถือความเชื่อที่เรียกว่า ศาสนาชวา หรือ Kejawen
คนชวาที่ยึดถือความเชื่อดั้งเดิมนั้นมักไม่แยกเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานกับพวกเขา คนชวามีการแบ่งตามสังคมดังนี้

Wong Cilik (คนเล็ก) หมายถึงชาวนาชาวไร่ที่มีรายได้ต่ำ
Kaum Priyayi หมายถึงกลุ่มข้าราชการและปัญญาชน
Kaum Ningrat หมายถึงกลุ่มชนชั้นสูงของสังคม

นอกจากนั้นคนชวา ยังแบ่งได้ตามความเชื่อได้เป็น 2 พวก คือ
1.Jawa Kejawen
ซึ่งบางครั้งมีการเรียกว่า Abangan เป็นพวกที่ดำรงอยู่ด้วยวิถีชีวิตโดยยึดถือความเชื่อดั้งเดิมก่อนอิสลาม พวก Kaum Priyayi นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นพวกที่ถือความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) แม้ว่าพวกเขาโดยทางการแล้วจะยอมรับว่าตัวเองเป็นชาวมุสลิม
2.Santri
เป็นกลุ่มที่มีจิตสำนึกในความเป็นมุสลิมและดำรงชีวิตอยู่ตามวิถีทางของอิสลาม

ชายหญิงแต่งกายชุดประจำเผ่าชวา

ชายหญิงแต่งกายชุดประจำเผ่าชวา

ชายหญิงในพิธีแต่งงานแต่งกายชุดประจำเผ่าชวา

ความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen)
คำว่าเกอยาเวนเป็นภาษาชวา เป็นความเชื่อที่ชาวชวาส่วนหนึ่งนับถือมีลักษณะเป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดู +
ความเชื่อดั้งเดิม + ความเชื่อทางศาสนาอิสลาม หรือ คริสต์ก็มีอิทธิพลอยู่ด้วย นักมานุษยวิทยาชาวสหรัฐที่ชื่อว่า Clifford Geertz ในหนังสือที่ชื่อว่า The Religion of Java เขาเรียกว่า ศาสนาชวา (Agami Jawi)

ความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) คือแนวความคิดที่ผสมผสานระหว่างหลักการของศาสนาอิสลามกับแนวความเชื่อดั้งเดิมของคนชวา คนชวานั้นมีการเน้นด้านจิตวิญญาณ Niels Mulder ได้กล่าวว่าเป็นร่องรอยที่ยังเหลืออยู่ของความเชื่อทางศาสนาพุทธและฮินดูของคนชวา ส่วนใหญ่ของสังคมชวาเป็นสังคมที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) หรือ Islam Abangan พวกเขาไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามตามที่ศาสนาได้บัญญัติ เช่น ไม่ละหมาดวันละ 5 เวลา ไม่ไปมัสยิด และไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอม การปฏิบัติของคนชวาที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) คือการถือศีลอด คนชวา กลุ่มนี้จะถือศีลอดในวันจันทร์,พฤหัส หรือถือศีลอดในวันเกิด คนชวาที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) ถือว่าการ bertapa เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในความหมายของ Bertapa ของคนชวาที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) นั้นมีลักษณะคล้ายกับการถือศีลอด (Berpuasa) การถือศีลอดของสังคมชวานั้นมีหลากหลายชนิด บางครั้งตรงกับหลักการของศาสนาอิสลาม แต่ก็มีอีกมากที่เป็นการถือศีลอดโดยยึดถือหลักการสอนของความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen)

การ Bertapa / Berpuasa ของสังคม Jawa Kejawen
Tapa Mutih (1) - กินเพียงข้าว 7 วัน ติดต่อกัน
Tapa Mutih (2) - ห้ามกินเกลือเป็นเวลา 3 วัน หรือ 7 วัน
Tapa ngrawat - กินเพียงพักเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
Tapa pati geni - ห้ามกินอาหารที่ทำให้สุกด้วยไฟเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน
Tapa ngebleng - ไม่กินและไม่นอนเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
Tapa ngrame - พร้อมที่เสียสละและเข้าช่วยเหลือใครในเวลาทันทีทันใด
Tapa ngoli - การลอยตัวในน้ำ
Tapa mendem - การซ่อนตัวต่อสาธารณะ
Tapa Kungkum - การดำน้ำ
Tapa nggntung - การแขวนตัวบนต้นไม้

ชาวชวาในพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวาในพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวากำลังประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวาในชุดประจำเผ่าเพื่อประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวากำลังประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวากำลังประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวากำลังประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน

ชาวชวาในชุดประจำเผ่าเข้าพิธีกรรมทางความเชื่อชวาเกอยาเวน


ความแตกต่างระหว่างคนชวา Kejawen กับคนชวา Santri เช่นที่ประเทศสุรีนาม คนชวาที่มี่ความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) นั้นตอนอยู่ในชวาจะละหมาดทางทิศตะวันตก เมื่อไปถึงประเทศสุรีนามก็ยังละหมาดทางทิศตะวันตก ต่อมาเมื่อมีคนชวารุ่นที่สองเดินทางไปยังประเทศสุรีนาม พวกเขาจะละหมาดทางทิศตะวันออก ดังนั้นคนชวาในประเทศสุรีนามจึงมี 2 พวก คือ พวกที่ละหมาดทางทิศตะวันออก ดังนั้นคนชวาในประเทศสุรีนามจึงมี 2 พวก คือ พวกที่ละหมาดทางทิศตะวันตกจะมีความเชื่อเกี่ยวกับความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) ส่วนพวกที่ละหมาดทางทิศตะวันออกจะมีความเชื่อทางศาสนาอิสลามสูงกว่าพวกแรด มีการนำหลักการอิสลามมาใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่ากลุ่มแรก

ศิลปะ การแสดงของชนชาวชวา
ชนชาวชวานั้นมีศิลปะ การแสดงที่ค่อนข้างหลากหลาย ศิลปะการแสดงของชนชาวชวามีความสวยงาม ส่วนหนึ่งของศิลปะ การแสดงนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ด้วยชนชาวชวาก่อนที่จะนับถือศาสนาอิสลามนั้น เคยนับถือศาสนาพุทธ-ฮินดูมาก่อน

การแสดงของชาวชวาที่เรียกว่า Reog ที่มีชื่อเสียงต้องมาจากเมือง Ponorogo

การแสดงของชาวชวาที่เรียกว่า Reog

การแสดงของชาวชวาที่เรียกว่า Reog Ponorogo

การแสดงของชาวชวาที่เรียกว่า Reog Ponorogo

การแสดงของชาวชวาที่เรียกว่า Reog จากเมือง Ponorogo

การแสดงของชาวชวาที่เรียกว่า Reog Ponorogo

การรำของชาวชวาที่เรียกว่า Tarian Jaipong

การรำของชาวชวาที่เรียกว่า Tarian Kuda Kepang

การรำของชาวชวา

การแสดงชนิดหนึ่งของชาวชวา

การรำของชาวชวา

การรำร่วมสมัยของชาวชวา

การรำของชาวชวาที่เรียกว่า Tarian Remo

การเชิดหนังชวา

ตัวหนังชวา

ตัวหนังชวา

ตัวหนังชวา

ตัวหนังชวา

หนังคนของชาวชวา

หนังคนของชาวชวา

หนังคนของชาวชวา

หนังคนของชาวชวา

หนังคนของชาวชวา

ภาษาชวา
ชนชาวชวาเป็นอีกชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินโดเนเซียที่มีภาษาพูด มีอักขระในการเขียนเป็นของตนเอง สำหรับชาวชวานั้นนอกจากจะพูดภาษาอินโดเนเซียแล้ว ในชีวิตประจำวันยังใช้ภาษาชวาอีกด้วย

พยัญชนะของอักขระชวา

สระของอักขระชวา

หนังสืออักขระชวา

เอกสารโบราณอักขระชวา

วรรณกรรมอักขระชวา

หนังสืออักขระชวา

หนังสืออักขระชวา

ป้ายถนนเขียนด้วยอักขระชวา

Tiada ulasan: