โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในประเทศกลุ่มโลกมลายู โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดเนเซียนั้น มีการผลิตเครื่องบินและรถยนต์ด้วย บางครั้งเราอาจไม่คาดคิดว่าประเทศทั้งสองมีการผลิตเครื่องบินและรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั้นทั้งสองประเทศได้ใช้ยี่ห้อท้องถิ่นเป็นของตนเอง เรามาทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินและรถยนต์ของประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย
ประเทศมาเลเซีย
บริษัทอุตสาหกรมมรถยนต์แห่งชาติจำกัด (Perusahaan Otomobil Nasional Snd. Bhd.)
บริษัทนี้มีชื่อย่อในภาษามาเลเซียว่า โปรตอน (Proton) จัดตั้งขึ้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 1983 โดยใช้เงินลงทุนครั้งแรก 150 ล้านริงกิต (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) บริษัทนี้เป็นผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อมาเลเซียเป็นบริษัทแรกของประเทศ การจัดตั้งบริษัทนี้เป็นการขานรับนโยบายการนำประเทศมาเลเซียสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมของ ดร. มหาเดร์ โมฮัมหมัด ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซียในขณะนั้น ผู้ที่เป็นตัวหลักในการจัดตั้งบริษัทผลิตรถยนต์นี้คือ บรรษัทอุตสาหกรรมหนักแห่งมาเลเซียจำกัด หรือ Perbadanan Industri Berat Malaysia อันเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลมาเลเซีย การจัดตั้งบริษัทอุตสาหกรมมรถยนต์แห่งชาติจำกัดนี้ มีบรรษัทอุตสาหกรรมหนักแห่งมาเลเซียจำกัด ถือหุ้นอยู่ 70 เปอร์เซ็นต์ บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นคือ Mitsubishi Motors Corporation ถือหุ้นอยู่ 15 เปอร์เซ็นต์ และบริษัท Mitsubishi Corporation ถือหุ้นอยู่ 15 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทโปรตอนโฮลดิ้งจำกัด (Proton Holding Berhad)
การจัดตั้งบริษัทผลิตรถยนต์
เกิดจากแนวความคิดของ ดร. มหาเดร์ โมฮัมหมัด ที่ต้องการผลิตรถยนต์ยี่ห้อมาเลเซีย โดยความคิดนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งประธานบริษัทมิซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาเยี่ยมประเทศมาเลเซีย เมื่อปี 1981 และในเดือนกุมภาพันธ์ 1982 ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นที่บรรษัทอุตสาหกรรมหนักแห่งมาเลเซียคณะทำงานนี้มีหน้าที่ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ และเพื่อทำสัญญาการผลิตรถยนต์กับบริษัทมิซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น
เหตุการณ์การดำเนินงานของบริษัทผลิตรถยนต์มาเลเซีย
7 พฤษภาคม 1983: การจัดตั้งบริษัทโปรตอน
23 พฤษภาคม 1983: พิธีการเซ็นสัญญา ประกอบด้วย
- สัญญาการลงทุนร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
- สัญญาความช่วยเหลือด้านเทคนิค
- สัญญาการช่วยเหลือด้านเงินกู้
- สัญญาการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์
- สัญญาผลิตภัณฑ์ประกอบรถยนต์และอะไหล่รถยนต์
25 มิถุนายน 1984 ทำสัญญาเกี่ยวกับพนักงานบริษัท
27 มิถุนายน 1984 ประกาศชื่อรถยนต์แห่งชาติว่า ชื่อ Proton Saga
1 กรกฎาคม 1984 การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ เริ่มดำเนินงาน
29 ตุลาคม 1984 การประเมินร่วมกัน เพื่อประกันคุณภาพของรถยนต์
1 ธันวาคม 1984 มีการย้ายสำนักงานไปยังเมืองชาห์อาลาม เมืองเอกของรัฐสลังงอร์
18 เมษายน l 1985 การผลิตรถยนต์รุ่นแรกได้เสร็จสิ้นลง
1 กรกฎาคม 1985 เริ่มการผลิตรถยนต์ภายใต้ยี่ห้อ Proton Saga.
9 กรกฎาคม 1985 การเปิดโรงงานผลิตรถยนต์เป็นทางการ และการเปิดตัวรถยนต์ Proton Saga โดย ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในขณะนั้น
15 มกราคม 1986 มีการผลิตรถยนต์ Proton Saga จำนวน 10,000 คัน
26 กุมภาพันธ์ i 2005 มีการเปิดโรงงานรถยนต์ Proton แห่งที่สอง ที่เมือง Tanjung Malim รัฐเปรัค (รัฐเปรัคมีชายแดนติดต่อกับจังหวัดยะลา)
2 สิงหาคม 2008: การผลิตรถยนต์ครบคันที่สามล้าน
รูปแบบรถยนต์โปรตอน
มีการผลิตรถยนต์โปรตอนออกมาหลายรุ่น เช่น
Proton Arena
รุ่นนี้มีชื่อว่า Proton Jumbuck ในประเทศอังกฤษและออสเตรเลีย
Proton Gen-2
เป็นรถยนต์ที่ชิ้นส่วนทั้งหมดผลิตขึ้นในประเทศมาเลเซีย
Proton Iswara
เป็นรุ่นที่ปรับปรุงรูปแบบมาจากุรุ่น Proton Saga
Proton Juara
เป็นรถ MPV และมีขนาดเล็ก ใช้รูปแบบจากรถมิชูบิชิ รุ่น Mitsubishi Town Box.
Proton Persona
เป็นรถที่นำรูปแบบมาจากProton Gen-2 และใช้เครื่องยนต์ 82kW Campro
Proton Perdana
เป็นรถที่ใช้รูปแบบของ Mitsubishi Eterna เป็นรถที่ราคาค่อนข้างแพง เริ่มสู่ตลาดในปี 1994
Proton Perdana V6
เป็นรถปรับปรุงมาจากรถรุ่น Proton Perdana
Proton Pert
เป็นรถที่นำมาจากรถมิชูบิชิ รุ่น Mitsubishi Lancer Evolution
Proton Putra
เป็นรถที่นำแบบรถมาจาก Mitsubishi Mirage
Proton Saga
เป็นรถรุ่นแรก นำแบบมาจาก Mitsubishi Lancer Fiore ต่อมามีการปรับปรุงรูปแบบเป็นของตนเอง โดยใช้เครื่องยนต์ Campro IAFM 1.3L.
Proton Satria
เป็นรถ Sedan 3 ประตู นำแบบมาจาก Mitsubishi Mirage
Proton Satria GTI
เป็นรถ Hatchback sport 3 ประตู ได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย และออสเตรเลีย
Proton Satria R3
เป็นรถที่ใช้แข่งขัน ผลิตจำกัดเพียง 150 คันเท่านั้น
Proton Satria Neo
เป็นรถรุ่นใหม่ ที่ประกาศตัวในปี 2006 ใช้เครื่องยนต์ Campro เพื่อชิงตลาดรถยนต์ในประเทศมาเลเซีย
Proton Savvy
เป็นรถ 5 ประตู มีขนาด 1,200 cc เป็นรถที่มีรูปแบบแทนที่ รุ่น Proton Tiara และใช้เครื่องยนต์ของบริษัท Renault.
Proton Tiara
เป็นรถที่นำรูปแบบมาจาก Citroën AX โดยบริษัทได้รับอนุญาตการผลิตระหว่างปี 1996 ถึง 2000
Proton Wajaเป็นรถมีรูปแบบเป็นของตนเอง รถรุ่นนี้เมื่อจำหน่ายในประเทศยุโรปมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Proton Impian Proton Wiraเป็นรถที่รู้จักในชื่อว่า Proton Persona เมื่อมีการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ
Proton Exora
เป็นรถโปรตอนรุ่นล่าสุดที่ประกาศตัว เป็นรถมินิแวน
บริษัทโปรดัว จำกัด (Perodua)
เป็นบริษัทผลิตรถยนต์บริษัทที่สองของประเทศมาเลเซีย จัดตั้งขึ้นเมื่อ 27 สิงหาคม 1994 มีโรงงานตั้งอยู่ที่ สุไหงโจะห์ (Sungai Choh) เมือง Serendah รัฐสลังงอร์ ชื่อบริษัทว่า Perodua นั้นย่อมาจากชื่อเต็มว่า บริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งที่สอง หรือ Perusahaan Otomobil Kedua
รูปแบบรถโปรดัว
มีหลายรุ่นด้วยกัน เช่น
Perodua Kancil
เป็นที่รู้จักกันเมื่อจัดจำหน่ายในอังกฤษในนามของ Perodua Nippa เป็นรถรุ่นแรกที่ผลิตโดยบริษัทโปรดัว
Perodua Rusa (1996)
เป็นรถแวน
Perodua Kembara (1998-2008)
เป็นรถที่นำรูปแบของ Daihatsu Terios
Perodua Kenari (2000)
เป็นรถ 5 ที่นั่ง นำรูปแบบของ Daihatsu Move L900.
Perodua Kelisa (2001)
หยุดการผลิตในปี 2007 ภายหลังการเปิดตัว Perodua Viva เป็นรถที่นำรูปแบบของ Daihatsu Mira
Perodua MyVi (2005)
เป็นรถที่ร่วมมือกัน 3 ฝ่ายคือ โปรดัว, โตโยต้า และ ไดฮัทสุ ใช้รูปแบบของ Daihatsu Boon(Daihatsu Sirion II) และ Toyota Passo
Perodua Viva (2007)
เดิมที่ผลิตขึ้นเพื่อแทนรถรุ่น Perodua Kancil และ Perodua Kelisa ต่อมาใช้แทนรถ Perodua Kelisa อย่างเดียว ใช้เครื่องยนต์ DVVT Daihatsu
Perodua Nautica (2008)
เป็นรถที่แพงที่สุดของปรดัว ใช้รูปแบบของ Daihatsu Terios
Perodua Alza (2009)
กลุ่มบริษัท นาซ่า (Kumpulan Naza)
กลุ่มบริษัทนี้เป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายรถยนต์จากต่างประเทศ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เริ่มจัดตั้งบริษัทขึ้นมาในปี 1975 ผู้นำของกลุ่มบริษัทนาซ่า คือ นักธุรกิจชาวมลายูที่ชื่อว่า SM Nasimuddin SM Amin ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ลูกๆเป็นผู้ดำเนินการแทน กลุ่มบริษัทนี้ถือลิขสิทธิ์ในการผลิตรถยนต์เกาหลีใต้เพื่อการจัดจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย กลุ่มบริษัทนาซ่าได้ทำการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ นาซ่า โดยรุ่นที่ออกจำหน่าย คือ
Naza Sutera นำรูปแบบของ Hafei Loba
Naza Bestari นำรูปแบบของ Peugeot 206
Naza Ria นำรูปแบบของ Kia Carnival
Naza Citra นำรูปแบบของ Kia Caren
การวิจารย์ของดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดต่อกลุ่มบริษัทนาซ่า
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดได้วิจารย์กลุ่มบริษัทนาซ่าที่ทำการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ นาซ่า โดย ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด วิจารย์ว่า รถยนต์ยี่ห้อ นาซ่า ไม่สมควรจะได้รับการรับรองว่าเป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศมาเลเซีย ด้วยรถยนต์นาซ่านั้น เป็นรถยนต์ที่ใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ส่วนใหญ่ผลิตในประเทศเกาหลีใต้ แล้วนำมาประกอบขึ้นในประเทศมาเลเซีย ไม่เหมือนกับรถยนต์โปรตอน และรถยนต์โปรดัว ที่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นในประเทศมาเลเซีย
ประเทศอินโดเนเซีย
บริษัทตีมอร์ปุตรานาชั่นแนลจำกัด (PT Timor Putra Nasional)
รถยนต์ของอินโดเนเซียที่ชื่อว่า Timor หรือมีความหมายเป็นภาษามาเลเซีย-อินโดเนเซียว่า ตะวันออก เป็นรถยนต์ที่เริ่มจัดจำหน่ายในกลางปี 1990 รถยนต์นี้ถือเป็นรถยนต์แห่งชาติของประเทศอินโดเนเซีย โดยนำรูปแบบมาจากรถยนต์ของประเทศเกาหลี ที่ชื่อว่า Kia Sephia เมื่อประเทศมาเลเซียมีรถยนต์แห่งชาติ ทางประเทศอินโดเนเซียก็สนใจในการมีรถยนต์แห่งชาติด้วย บริษัทนี้มีนายทอมมี่ ซูฮาร์โต(Tommy Soeharto) บุตรชายอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นเจ้าของหุ้นส่วนใหญ่ โดยร่วมทุนกับบริษัท KIA Motors จากประเทศเกาหลีใต้ คำว่า Timor มาจากคำย่อของ Teknologi Industri Mobil Rakyat มีความหมายเป็นภาษามาเลเซีย-อินโดเนเซียว่า เทคโนโลยี่อุตสาหกรรมรถยนต์ประชาชน กล่าวกันว่าการเกิดขึ้นของบริษัทนี้ ก็อาศัยอำนาจบารมีของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต มีการอาศัยอำนาจประธานาธิบดีในการบังคับให้ธนาคารเป็นผู้ปล่อยเงินกู้แก่บริษัท การอาศัยอำนาจในการยกเว้นการเสียภาษีรถยนต์นำเข้า ด้วยบริษัทนี้มีลักษณะเป็นการนำเข้ารถยนต์เกาหลี โดยเปลี่ยนยี่ห้อมาเป็นยี่ห้ออินโดเนเซีย และเมื่ออดีตประธานาธิบดีผู้นี้ตกจากอำนาจในการปกครองประเทศอินโดเนเซีย ก็ส่งผลกระทบกับบริษัทนี้ด้วย จนต่อมาต้องหยุดกิจการลง
รูปแบบของรถยนต์ตีมอร์
รถยนต์ยี่ห้อตีมอร์ของอินโดเนเซีย มีหลายรุ่นด้วยกัน เช่น
Timor S515 1498cc SOHC Karburator
Timor S515i 1498cc DOHC Injection
Timor SW515i 1600cc DOHC Injection
Timor Sport Edition 1600cc Prodrive Lisence
Timor SOHC Injection
Timor SL516i Limousine 4-doors & 6-Doors
Timor S513 City Car
บริษัทดีร์ฆันตารา อินโดเนเซีย (PT Dirgantara Indonesia)
บริษัทนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Indonesian Aerospace Inc. บริษัทผลิตเครื่องบินของประเทศอินโดเนเซียแห่งนี้เป็นบริษัทที่มีรัฐบาลอินโดเนเซียเป็นเจ้าของ จัดตั้งเป็นชื่อ PT Dirgantara Indonesia จากชื่อเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2000 ตั้งอยู่ที่เมืองบันดุง (Bandung) เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องบินพาณิชย์ เครื่องบินทหาร มีพนักงานทั้งหมด 3,720 คน www.indonesian-aerospace.com
เดิมบริษัทนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 26 เมษายน 1976 ภายใต้ชื่อว่า PT Industri Pesawat Terbang Nurtanio โดยมีอดีตประธานาธิบดี BJ Habibie เป็นประธานบริษัท ต่อมาใน11 ตุลาคม 1985 มีการเปลี่ยนชื่อเป็น Industri Pesawat Terbang Nusantara (IPTN) หลังจากนั้นมีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเมื่อ 24 สิงหาคม 2000
บริษัทนี้ไม่เพียงผลิตเครื่องบินเท่านั้น แต่ยังผลิตเฮลีคอปเตอร์ ศัตราวุธ การบริการซ่อมเครื่องยนต์ของเครื่องบิน นอกจากนั้นบริษัทยังเป็นบริษัทรับช่วงของบริษัทผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น บริษัท Boeing, General Dynamic, Fokker และอื่นๆ
นายNurtanio Pringgoadisuryo บิดาแห่งการผลิตเครื่องบินอินโดเนเซีย
ประวัติการสร้างเครื่องบินของอินโดเนเซีย
การจัดตั้ง LAPIP
LAPIP เป็นคำย่อของ Lembaga Persiapan Industri Penerbangan มีความหมายว่า องค์กรเตรียมพร้อมเพื่ออุตสาหกรรมการบิน องค์กรนี้จัดตั้งโดยผู้บัญชาการกองทัพอากาศของอินโดเนเซีย เมื่อ 16 ธันวาคม 1961 เป็นการเตรียมตัวสำหรับอุตสาหกรรมการบินของประเทศอินโดเนเซีย และในปีเดียวกันนั้นทาง LAPIP ได้เซ็นสัญญากับ องค์การการบินของประเทศโปแลนด์ที่ชื่อว่า CEKOP เพื่อผลิตเครื่องบิน PZL-104 Wilga ภายใต้ชื่อว่า Gelatik จนสามารถผลิตเครื่อง Gelatik เพื่อการเกษตรจำนวน 44 ลำ
การจัดตั้ง LIPNUR
ในปี 1965 มีการจัดตั้ง KOPELAPIP ซึ่งย่อมาจาก Komando Pelaksana Industri Pesawat Terbang มีความหมายว่า หน่วยบัญชาการดำเนินงานอุตสาหกรรมเครื่องบิน และมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาชื่อว่า PN. Industri Pesawat Terbang Berdikari มีความหมายว่า รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมเครื่องบินด้วยการพึ่งตนเอง ตามคำสั่งของประธานาธิบดีอินโดเนเซีย ต่อมาเมื่อ Nurtanio Pringgoadisuryo ผู้ถือเป็นบิดาแห่งการผลิตเครื่องบินอินโดเนเซียเสียชีวิตลง ขณะที่มีอายุเพียง 42 ปี จากเครื่องบินตก ทำให้รัฐบาลอินโดเนเซียได้รวม KOPELAPIP กับ PN. Industri Pesawat Terbang Berdikari เข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อใหม่ว่า LIPNUR มาจากคำว่า Lembaga Industri Penerbangan Nurtanio มีความหมายว่า องค์กรอุตสาหกรรมการบินนูร์ตานีโอ เพื่อเป็นเกียรติแก่ Nurtanio Pringgoadisuryo ต่อมาอดีตประธานาธิบดี BJ Habibie ได้เข้ามาร่วมงานและทำการเปลี่ยนชื่อใหม่จากชื่อ LIPNUR มาเป็น IPTN เป็นคำย่อของ Industri Pesawat Terbang Nusantara มีความหมายว่า อุตสาหกรรมการบินนูซันตารา เมื่อ 11 ตุลาคม 1985 และได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น PT Dirgantara Indonesia ในปี 2000
การผลิตเครื่องบิน
บริษัทนี้มีการผลิตเครื่องบินหลายรุ่นด้วยกัน เช่น
เครื่องบิน รุ่น Kunang เครื่องบินยุคแรกที่อินโดเนเซียสร้าง
เครื่องบิน รุ่น Belalang เครื่องบินยุคแรกที่อินโดเนเซียสร้าง
เครื่องบิน รุ่น Sikumbang เครื่องบินยุคแรกที่อินโดเนเซียสร้าง
รุ่น N-2130 รุ่นนี้มีการหยุดสร้างหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997
รุ่น N-250 อยู่ระหว่างการทดสอบการบิน
รุ่น NC-212
รุ่น CN-235
รุ่น N-219 อยู่ระหว่างการผลิต และจะทดลองบินในปี 2010
รุ่น Sikumbang เป็นการผลิตในยุค นาย Nurtanio
รุ่น Belalang เป็นการผลิตในยุค นาย Nurtanio
รุ่น Kunang เป็นการผลิตในยุค นาย Nurtanio
รุ่น Gelatik เป็นการผลิตในยุคที่ยังเป็น LAPIP โดยได้รับลิขสิทธิ์การผลิตจาก CEKOP จากประเทศโปแลนด์ ปัจจุบันรู้จักเครื่องบินรุ่นนี้ในนามของ PZL
การผลิตเฮลีคอปเตอร์
บริษัทได้ทำการผลิตเฮลีคอปเตอร์หลายรุ่นด้วยกัน เช่น
รุ่น NBO 105 เป็นรุ่นที่มีการนำไปใช้ทั่วประเทศอินโดเนเซีย โดยได้รับลิขสิทธิ์จากบริษัทเยอรมันที่ชื่อว่า MBB
รุ่น NBK 117
รุ่น NBell 412 ได้รับลิขสิทธิ์จากบริษัทสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อว่า Bell Helicopter
รุ่น NAS 330 Puma ได้รับลิขสิทธิ์จากบริษัทฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Aerospatiale
รุ่น NAS 332 Super Puma เป็นการพัฒนาจากรุ่น รุ่น NAS 330 Puma ได้รับลิขสิทธิ์จากบริษัทฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Aerospatiale
ผู้บริหารของบริษัท PT Dirgantara Indonesia
ผู้บริหารตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัทในปี 2000 มีดังนี้
Jusman Syafii Djamal (2000-2002)
Edwin Sudarmo (2002-2005)
Muhammad Nuril Fuad (2005-2007)
Budi Santoso (2007-ถึงปัจจุบัน)
Tiada ulasan:
Catat Ulasan