Rabu, 15 Februari 2023

ประวัติความเป็นมาของธงชาติอินโดเนเซีย

โดย  นิอับดุลรากิ๊บ  บินนฮัสซัน

ขอเขียนถึงประวัติความเป็นมาของธงชาติอินโดเนเซีย  ความจริงธงชาติอินโดเนเซียนั้น ยังมีอิทธิพลต่อธงชาติของประเทศสิงคโปร์ เพียงสิงคโปร์ได้มีการเติมดาวบนธงแดง-ขาว มีจำนวน 5 ดาวขึ้นมา

                                     ธงชาติของประเทศสิงคโปร์

นอกจากนั้น สองพรรคของคนมลายูในมาเลเซีย คือพรรคอัมโน (United Malays National Organisation)  และพรรคปาส (Parti Islam Se-Malaysia)

ก็ใช้ธงแดง-ขาว เพียงแต่ละพรรคจะเติมสิ่งที่นอกเหลือแดง-ขาว คือ พรรคอัมโน (United Malays National Organisation) จะเติมกริชอยู่ในวงกลมเหลืองอยู่กลางธง และพรรคปาส (Parti Islam Se-Malaysia) จะเติมวงกลมสีเขียวอยู่ในแถบสีแดง

               ธงพรรคอัมโน (United Malays National Organisation)  



                      ธงพรรคปาส (Parti Islam Se-Malaysia)

ประวัติธงชาติอินโดเนเซีย หรือ ซังเมระฮ์ ปูเตะฮ์ (Sang Merah Putih)

เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาฮิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

กล่าวว่าธงชาตินี้มีความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์ เพียงกลับหัวกัน และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น

 

ความหมาย

สัญลักษณ์ในธงชาติอินโดเนเซียมีความหมายดังนี้

 

สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพของมนุษย์

สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ หรือจิตวิญญาณของมนุษย์

 

ประวัติ

การเชิญธงชาติอินโดเนเซียขึ้นสู่ยอดเสาครั้งแรกในพิธีประกาศเอกราชของประธานาธิบดีวูการ์โน วันที่ 17 สิงหาคม  1945  สีแดงและสีขาวของธงชาติอินโดเนเซียมีที่มาจากสีธงของอาณาจักรมัชปาฮิต ซึ่งเป็นอาณาจักรชวาโบราณในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการชาตินิยมในอินโดเนเซียได้ฟื้นฟูธงนี้ขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านการกดขี่ของเนเธอร์แลนด์ในอาณานิคมอินเดียตะวันออกของดัตช์ โดยธงสีแดง-ขาวได้โบกสะบัดครั้งแรกบนเกาชวาในปี ค.ศ. 1928 ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ในระยะนั้นทำให้ธงนี้มีสถานะเป็นธงต้องห้าม ต่อมาเมื่ออินโดเนเซียได้ประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม 1945 ธงสีแดง-ขาว จึงได้ถูกชักขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของประเทศอินโดเนเซียครั้งแรก และมีฐานะเป็นธงชาติอย่างแท้จริงนับแต่นั้นเป็นต้นมา

                         การประกาศเอกราชของประธานาธิบดีซูการ์โน

                    การชักธงแดง-ขาวขึ้นเสา ครั้งแรกตอนประกาศเอกราช

ต้นฉบับร่างคำประกาศเอกราชอินโดเนเซีย คำร่างนี้ถูกทิ้งลงถังขยะ แต่มีนักข่าวคนหนึ่งได้เก็บไว้

นอกจากนี้ยังมีประวัติของธงชาติอินโดเนเซียอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อธงชาติเนเธอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์สายนี้กล่าวว่า ในสมัยภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์นั้น ทุกพื้นที่การปกครองของอินเดียตะวันออกของดัตช์ จะต้องชักธงสามสีของเนเธอร์แลนด์เป็นเครื่องหมายสำคัญ ธงใด ๆ ก็ตามที่หมายถึงอินโดนีเซียจะเป็นธงต้องห้ามทั้งหมด เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความต้องการขับไล่ชาวดัตช์ นักชาตินิยมและขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินโดนีเซียกลุ่มต่าง ๆ จึงทำลายธงชาติเนเธอร์แลนด์โดยการฉีกเอาส่วนล่างสุดที่เป็นสีน้ำเงินออก คงไว้แต่เฉพาะสีแดงกับสีขาวเท่านั้น เหตุผลสำคัญคือสีน้ำเงินของธงชาติเนเธอร์แลนด์ในความคิดของพวกชาตินิยมคือเครื่องหมายของ "พวกอภิชนเลือดน้ำเงิน" ผู้กดขี่คนพื้นเมือง ในทางกลับกัน สีแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์เลือดในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ส่วนสีขาวนั้นอาจมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ของชาวอินโดนีเซีย

 

ชื่อธงชาติอินโดนีเซียมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้

 

1. "ซังเมระฮ์ปูเตะฮ์" (Sang Merah Putih) - ชื่ออย่างเป็นทางการตามที่บัญญัติในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ค.ศ. 1945

 

2."ซังดวีวาร์นา" (Sang Dwiwarna) หรือ "เบินเดราเมระฮ์ปูเตะฮ์" (Bendera Merah Putih) – ชื่อเรียกโดยทั่วไป

 

3. "ซังซากาเมอระฮ์ปูเตะฮ์" (Sang Saka Merah Putih) - ชื่อที่ใช้อ้างอิงถึงธงในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า "เบินเดราปูซากา" (Bendera Pusaka) เป็นธงที่ได้ปลิวสะบัดอยู่ที่หน้าบ้านพักของประธานาธิบดีซูการ์โนในเวลาไม่นานหลังจากที่เขาได้กล่าวคำประกาศเอกราชของประเทศ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1945

 

ธงตัวต้นแบบนั้นเย็บโดยนางฟัตมาวาตี ซูการ์โน ภริยาคนที่ 3 ของซูการ์โน มารดาของนางเมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี และจะมีการอัญเชิญขึ้นสู่ยอดเสาธงที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีในพิธีฉลองวันประกาศเอกราชของทุกปี ธงนี้ได้ถูกชักขึ้นครั้งสุดท้ายในวันที่ 17 สิงหาคม 1968   โดยระหว่างปี 1946- 1968  นั้นธงนี้จะชักขึ้นเสาเฉพาะในวันประกาศเอกราชของอินโดเนเซียนั้น หลังจากนั้นจึงได้มีการผ่านกระบวนการอนุรักษ์และจัดทำธงจำลองขึ้นใช้แทน เพราะตัวธงของเดิมมีสภาพที่บอบบาง เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายมาก

นางฟัตมาวาตี ภรรยาคนที่ 3 ของประธานาธิบดีซูการ์โน ขณะกำลังเย็บธงชาติ และธงชาติแรกที่ถูกระกาศเป็นมรดกของชาติ


การใช้ธงสีแดง-ขาว นี้ถือเป็นความเชื่อตามตำนานของชาวมลายู-โปลีเนเซีย มีความหมายว่า เป็นแผ่นดิน และฟ้า ไม่เพียงอาณาจักรมาชาปาฮิตเท่านั้นที่ใช้ธงสีแดง-ขาว แต่ยังมัฐอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้สีแดง-ขาว เช่น รัฐเกอดี บนเกาะชวา ธงรบของกษัตริย์ซีซีงามังฆารา ที่ 9 (singamangaraja IX) แห่งดินแดนบาตัก บนเกาะสุมาตรา และรัฐโบเน ของชาวบูกิส แห่งเกาะสุลาเวซี ก็ใช้ธงสีแดง-ขาวเช่นกัน


Tiada ulasan: