Khamis, 22 September 2022

อักขระยาวีกับจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย  นิอับดุลรากิ๊บ   บินนิฮัสซัน

อักขระยาวี หรือในอินโดเนเซีย เรียกว่า อักขระอาหรับมลายู เกิดขึ้นเผยแพร่มายังภูมิภาคมลายูราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือก่อนหน้านั้น ดังปรากฏว่ามีการสลักชื่อบนสุสานเก่าแก่ 

หินปักหลักของชาวมุสลิม ที่ชื่อว่า ฟาตีมะห์ บินตีมัยมูน บินฮีบาตุลลอฮ (Fatimah binti Maimun bin Hibatullah) เป็นสตรีมุสลิมที่เสียชีวิตมื่อวันศุกร์ วันที่ 7 เดือนรายับ ปีฮิจเราะห์ศักราช 475 หรือวันที่ 2 ธันวาคม ปีคริสต์ศักราช 1082 เขียนในภาษาอาหรับด้วยอักขระกูฟา ถือว่าเป็นสุสานชาวมุสลิมที่ค้นพบว่า เก่าก่ที่สุดของโลกมลายู


การปรากฏตัวของมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับการมาถึงของศาสนาอิสลามไปยังหมู่เกาะมลายู ตัวอักขระยาวี นี้มีพื้นฐานมาจากอักขระอาหรับและใช้ในการเขียนคำพูดภาษามาเลย์ ดังนั้นเสียงที่ไม่สามารถใช้อักขระอาหรับ มีการเพิ่มหรือแก้ไขตัวอักษรบางตัวเพื่อรองรับเสียงที่ไม่มีอยู่ในภาษาอาหรับ ซึ่งยังมีการถกกันอยู่ว่า อักขระที่เพิ่ม แก้ไขนั้น มีเสียงออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งกลาวว่า ชาวมลายูเป็นคนแก้ไขทั้งหมด แต่อีกส่วนหนึ่ง กล่าวว่า เป็นอักขระที่ยืมมาจากอักขระที่แก้ไขแล้วโดยชาวเปอร์เซีย หนึ่งในนักวิชาการที่เห็นในกลุ่มหลังนี้ คือ ศาสตราจารย์ ดร. บูคอรี  ลูบิส ชาวมาเลเซียผู้จบปริญญาเอกด้านวรรณกรรมเปอร์เซีย

ป้ายถนนภาษามลายูอักขระยาวีในประเทศมาเลเซีย


ป้ายถนนภาษามลายูอักขระยาวีในจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

ตอนนี้ตัวอักขระยาวี นี้ยังใช้อยู่ในรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเคดาห์ รัฐเปอร์ลิส และรัฐยะโฮร์ ของมาเลเซีย นอกจากนั้นในแหล่งชุมชนชาวมลายูในอินโดเนเซีย รวมทั้งในจังหวัดชายแดนาคใต้ด้วย


งานเขียนประวัติศาสตร์ หรือ ฮีกายัต ด้วยภาษามลายูอักขระยาวี

เอกสารเก่าแก่ภาษามลายูอักขระยาวี คือหนังสือที่สุลต่านอาบูฮายัต สุลต่านห่งเมืองเตอร์นาเต เขียนถึงกษัตริย์โปร์ตุเกส ในปี 1521 และปี 1522

 

ภาษามลายูอักขระยาวี เป็นมรดกของชาวมลายู รวมทั้งชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นสิ่งที่ชาวมลายูรวมทั้งชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องอนุรักษ์ รักษาแต่ในขณะเดียวกันชาวมลายูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ต้องฝึกหัดการเขียนภาษามลายูอักขระรูมี เรียนรู้การใช้ไวยกรณ์ภาษามลายูให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ใช้ในการสื่อสารกับชาวมลายูในมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน ได้อย่างคล่อง

Tiada ulasan: