โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
อักขระยาวี หรือในอินโดเนเซีย เรียกว่า อักขระอาหรับมลายู เกิดขึ้นเผยแพร่มายังภูมิภาคมลายูราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือก่อนหน้านั้น ดังปรากฏว่ามีการสลักชื่อบนสุสานเก่าแก่
หินปักหลักของชาวมุสลิม
ที่ชื่อว่า ฟาตีมะห์ บินตีมัยมูน บินฮีบาตุลลอฮ (Fatimah binti Maimun bin
Hibatullah) เป็นสตรีมุสลิมที่เสียชีวิตมื่อวันศุกร์ วันที่ 7 เดือนรายับ
ปีฮิจเราะห์ศักราช 475 หรือวันที่ 2 ธันวาคม ปีคริสต์ศักราช 1082 เขียนในภาษาอาหรับด้วยอักขระกูฟา
ถือว่าเป็นสุสานชาวมุสลิมที่ค้นพบว่า เก่าก่ที่สุดของโลกมลายู
การปรากฏตัวของมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับการมาถึงของศาสนาอิสลามไปยังหมู่เกาะมลายู ตัวอักขระยาวี นี้มีพื้นฐานมาจากอักขระอาหรับและใช้ในการเขียนคำพูดภาษามาเลย์ ดังนั้นเสียงที่ไม่สามารถใช้อักขระอาหรับ มีการเพิ่มหรือแก้ไขตัวอักษรบางตัวเพื่อรองรับเสียงที่ไม่มีอยู่ในภาษาอาหรับ ซึ่งยังมีการถกกันอยู่ว่า อักขระที่เพิ่ม แก้ไขนั้น มีเสียงออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งกลาวว่า ชาวมลายูเป็นคนแก้ไขทั้งหมด แต่อีกส่วนหนึ่ง กล่าวว่า เป็นอักขระที่ยืมมาจากอักขระที่แก้ไขแล้วโดยชาวเปอร์เซีย หนึ่งในนักวิชาการที่เห็นในกลุ่มหลังนี้ คือ ศาสตราจารย์ ดร. บูคอรี ลูบิส ชาวมาเลเซียผู้จบปริญญาเอกด้านวรรณกรรมเปอร์เซีย
ป้ายถนนภาษามลายูอักขระยาวีในประเทศมาเลเซีย
ตอนนี้ตัวอักขระยาวี นี้ยังใช้อยู่ในรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเคดาห์ รัฐเปอร์ลิส และรัฐยะโฮร์ ของมาเลเซีย นอกจากนั้นในแหล่งชุมชนชาวมลายูในอินโดเนเซีย รวมทั้งในจังหวัดชายแดนาคใต้ด้วย
งานเขียนประวัติศาสตร์
หรือ ฮีกายัต ด้วยภ
ภาษามลายูอักขระยาวี
เป็นมรดกของชาวมลายู รวมทั้งชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นสิ่งที่ชาวมลายูรวมทั้งชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องอนุรักษ์
รักษาแต่ในขณะเดียวกันชาวมลายูจังหวัดชายแดนภาคใต้
ก็ต้องฝึกหัดการเขียนภาษามลายูอักขระรูมี
เรียนรู้การใช้ไวยกรณ์ภาษามลายูให้ถูกต้อง
เพื่อจะได้ใช้ในการสื่อสารกับชาวมลายูในมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน
ได้อย่างคล่อง