โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
การทำโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในรัฐปาหัง และรัฐนัครีซัมบีลัน
รวมทั้งเดินทางไปสัมผัสกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้นักศึกษา และในครั้งนี้
ลองมาดูบันทึกของนายอารีฟ อดีตนักศึกษามลายูศึกษาเขาขียนถึงประสบการณ์ของตัวเอง
ดังต่อไปนี้ :-
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 กลุ่มนักศึกษาได้มีการรวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อที่จะเดินทางไปประเทศมาเลเซีย
โดยที่กลุ่มนักศึกษามีทั้งหมด 18 คน ชาย 7 คน หญิง 11 คน ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้เป็นนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา
และในวันแรกของการเดินทาง เราได้เดินทางเข้าทางอำเภอตากใบของจังหวัดนราธิวาส
และพอข้ามไปในประเทศมาเลเซีย โดยมีการประทับตราพาสปอร์ตเพื่อที่จะเข้าประเทศมาเลเซีย
ซึ่งถือว่าเป็นการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียเป็นครั้งแรกของตัวผม ทำให้ผมมีความรู้สึกที่ตื่นเต้นพอสมควร
และผมคิดว่าเพื่อนๆอีกหลายคนก็มีความรู้สึกไม่ต่างจากผม
และการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียในครั้งนี้เป็นการลงภาคสนามของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา
ความรู้สึกที่มีต่อหมูบ้านแรกที่ผมไปอยู่นั้น
คือ หมู่บ้านกัวลาบือรา(Kg. Kuala Bera) ซึ่งวันแรกผมมีความรู้สึกว่า ผมกลัวและไม่กล้าที่จะสื่อสารพูดคุยกับพวกเขาคือพูดกันง่ายๆ
คือเวลาคุยก็ถ้าเขาถามมาคำหนึ่ง ผมก็จะตอบไปคำหนึ่งไม่กล้าที่จะพูดมาก อาจจะเป็นหน้าตาของพวกเขาด้วยที่มีหน้าตาค่อนข้างดุ เพราะว่าบ้านที่ผมไปอยู่นั้นเป็นครอบครัวใหม่ซึ่งแต่งได้ไม่นานมากนัก
คราวนี้ทำให้ผมได้มีความคิดขึ้นมาว่า”คนเราจะดูที่หน้าตาอย่างเดียวไม่ได้บางทีหน้าตาดุ
แต่ใจดีก็ได้ และบางคนก็หน้าตาดีแต่นิสัยไม่ได้เรื่องก็มีจากที่ผมประสบมา” แต่พอพูดคุยนานๆ กับพวกเขาก็เกิดความเคยชิน
พวกเขาก็ใจดีมากๆ เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของ
มารีย๊ะ ที่อยู่หน้าบ้านของผมและบ้านข้างหรือว่าในระแวกนั้นต่างก็ใจดีซึ่งทำให้
ผมคิดว่าระหว่างตัวเรากับครอบครัวและชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงมีความรู้สึกดีๆเกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นตัวของผมเองหรือว่าครอบครัวที่ผมอยู่ด้วย
ทั้ง พ่อ แม่ พี่ชายอีกสองคน และน้อง ๆ อีก3 คนและคนอื่น ๆก็คือพูดง่ายๆ
มีความรักความผูกพันธุ์ที่เกิดขึ้น ความรักที่เกิดขึ้น และทำให้ผมมีความรู้สึกว่า
การมีพี่ชายแล้วมันเป็นยังไง มีความรู้สึกยังไง มีทั้งดีและไม่ดี
โดยที่หมู่บ้านแรกก็คือที่ หมู่บ้านหมู่บ้านกัวลาบือรา
(Kg. Kuala Bera) ตั้งอยู่ที่รัฐปาหัง( Negeri Pahang Darul
Makmur) ของประเทศ มาเลเซีย และ ครอบครัวอุปถัมภ์ (Keluarga angkat) ของผมก็มีพ่ออุปถัมภ์(Ayah angkat) ชื่อว่าอับดุลฮาดี
( Abdul Hadi) และแม่อุปถัมภ์(
Ibu angkat) ชื่อว่าอาลีซา(Aliza) ซึ่งครอบครัวนี้เป็นครอบครัวใหม่
เป็นครอบครัวที่พึ่งแต่งงาน ผมสังเกตได้จากพ่อก็คือจะแต่งกายเหมือนคนวัยรุ่นอีก
แม่ก็เหมือนกัน และที่บ้านผมอาศัยอยู่นั้นเป็นศูนย์รวมของพวกวัยรุ่นในหมู่บ้าน
โดยทุกคืนเด็กวัยรุ่นจะมาอยู่ที่บ้านของผมเกือบทุกคืน
ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าคนในหมู่บ้านนี้มีความสามัคคี มีการรวมกลุ่มเวลาจะทำงานร่วมกันหรือมาพูดคุยหรืออะไรทำร่วมกัน
และตัวผมเองพออาศัยอยู่นานๆก็ทำให้เกิดความรู้สึกว่า
มันเกิดทั้งความรักและความผูกพันขึ้นมา คือ ระหว่างผมกับพ่อ แม่ พี่ชาย และน้องๆและคนอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
และที่สำคัญอย่างยิ่งกับตัวผมจากการที่ได้ไปประเทศที่มาเลเซียในครั้งนี้ทำให้ผมได้ทั้งพ่อแม่อุปถัมภ์
พี่น้องอุปถัมภ์ และที่สำคัญที่ผมอยากจะได้มากที่สุดก็คือ
พี่สาว และ น้องสาวเพราะว่าตัวผมเองนั้นก็ไม่มี พี่สาว และไม่มีน้องสาวด้วย
และที่หมู่บ้านแห่งนี้ผมมีครอบครัวอุปถัมภ์(Keluarga
angkat) ถึง 3 ครอบครัว ก็คือครอบครัวแรกคือครอบครัวพ่อ
Abdul Hadi กับ แม่ Aliza ครอบครัวที่สองคือครอบครัวแม่
Anida และครอบครัวสุดท้ายคือครอบครัวแม่ Amida
ตอนที่ผมอาศัยอยู่ที่นี่นั้นผมจะมีความสนิทสนมกันชาวบ้านในหมู่บ้านอย่างมากเพราะว่าพวกเขานั้น
ดีกับผมมาก ตรงนี้มันก็ทำให้เกิดความสนิทสนม และความรักขึ้นมา และพ่อ แม่ทั้ง 3
บ้านนี้ก็ดูแลผมเป็นอย่างดี เอาใจใส่ผมดูแลผมอยู่ตลอดเวลา ก็คือว่า
ตอนที่ผมอยู่นั้น อาหารเช้าผมก็จะไปรับประทานบ้านนี้
พออาหารเที่ยงผมก็ไปรับประทานอีกบ้านหนึ่ง และพออาหารเย็นหรือว่าอาหารค่ำก็ไปกินอีกบ้านหนึ่ง
ซึ่งผมคิดว่าทั้ง 3 บ้านนี้มีความสนิทสนม มีความรัก ให้กับผม
ดูแลผมเหมือนกับผมนั้นเป็นคนหนึ่งหรือเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว และอีกอย่างผมจำได้เลยว่า
นางสาวซอบารียะ (ดีเร๊าะ) ได้เล่าถึงน้องสาวอุปถัมภ์ของเขาซึ่งผมเองก็มีความผูกพัน
และมีความรักให้กับน้องสาวอุปถัมภ์ของนางสาว ซอบารียะ(ดีเร๊าะ) เหมือนกัน
น้องสาวคนนี้ มีอายุ 8 ขวบ มีชื่อว่าน้อง Adiba คือวันนั้นเป็นเวลาเช้าของวันสุดท้ายก็เกิดเหตุการณ์หนึ่งคือ
หลังจากที่ น้อง Adiba นั้นละหมาด ซุบฮีเสร็จแล้ว
น้องเขาไปนอนขว้างประตูก็คือจะบ่งบอกว่าน้องไม่อยากให้นางสาวซอบารียะ (ดีเร๊าะ)นั้นจากไป
และจากที่นางสาวซอบารียะ(ดีเร๊าะ) เล่าให้ฟังแล้วทำให้ผมรู้สึกว่าคนที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นมีความรักให้กับพวกเราเป็นอย่างมาก
และที่สำคัญก็ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าผมอยากจะอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือราไม่อยากจากไปที่อื่น และในช่วงที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นก็มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ทำให้ผมและเพื่อน
ๆ นั้นเกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม 18 คน
เพราะว่ามีการทำงานร่วมกันและทำกิจกรรมร่วมกัน ก็ทำให้เกิดความสนิทสนมขึ้นมา
ก็คือจากคนที่ไม่เคยคุยกันเลยก็มาคุยกันและเกิดความสนิทสนมกัน คือได้ทั้ง เพื่อน
พ่อแม่อุปถัมภ์ พี่สาวน้องสาวอุปถัมภ์ และอีกมากมาย
แต่ผมคิดว่าที่ไหนที่เราอยู่แล้วเรารู้สึกว่าเรามีความสุข เวลามันก็จะเดินเร็ว
ก็เหมือนกับที่เราอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรา
เพราะว่าเวลาที่เราอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นเป็นเวลาแค่เพียงสัปดาห์เดียวเอง
และในความคิดนั้นเราควรจะอยู่เพียงที่เดียวเองเพราะว่าเราจะได้ศึกษาถึงชีวิตความเป็นอยู่
ของคนในหมู่บ้านว่าเป็นอย่างไร
ตอนที่พวกเราอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นพวกเราก็ได้ไปดูและไปสัมผัสกับชีวิตของชนมลายูดั้งเดิม(Orang asli) เป็นเผ่าSemelai ซึ่งผมคิดว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขานั้นจะดีกว่าเราเป็นอย่างมาก ขนาดพวกเขาอยู่ในป่า อยู่ในเขา
ก็คือเราสามารถบ่งบอกได้ว่าทางรัฐบาลของมาเลเซียนั้นดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง และวันสุดท้ายนั้นบ้านที่อยู่ข้างบ้านผมก็มีการจัดงานแต่งงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่
ก็ทำให้พวกผมได้รู้ถึงวัฒนธรรมของชาวมลายู ที่หมู่บ้านกัวลาบือราว่ามีการจัดงานแต่งงานอย่างไร
พอมาถึงวันสุดท้ายที่พวกเราจะต้องไปจากหมู่บ้านกัวลาบือราทุกคนก็จากกันด้วยรอยยิ้มเป็นส่วนมาก
แต่ก็มีส่วนน้อยที่จากกันโดยน้ำตา
ซึ่งเราสามารถคิดและรู้สึกว่าทุกคนต่างก็มีความสุขและอยากให้เราอยู่ต่อ และในเรื่องอุปสรรคนั้นในทางด้านความคิดและความรู้สึกว่าเป็นปัญหานั้นไม่มีเลย
ส่วนมากแล้วจะความรู้สึกที่ดีๆ ความรักและการดูแลเอาใจใส่จากคนในหมู่บ้าน
ความรู้สึกที่มีต่อหมู่บ้านที่สอง คือหมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวง
(Felda Mengkuang)ที่รัฐปาหัง ในหมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงวันแรกที่ไปถึงนั้นเขาก็ต้อนรับพวกเราที่งานเลี้ยงแต่งงาน
และที่หมู่บ้านนี้ผมได้อยู่กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง คือนายอับดุลฟาตะห์ คือหมู่บ้านที่สองนี้เราจะอาศัยอยู่กันสองคนซึ่งทางเขาจะจัดการให้เพราะว่าเพื่อนบางคนก็มีที่ไม่สามารถพูดภาษามลายูได้
ก็คือจะให้คนที่พูดภาษามลายูไม่ได้อยู่กับคนที่พูดภาษามลายูได้เพราะว่าจะช่วยเหลือกันในทางด้านภาษาและการสื่อสาร
และผมคิดว่าผมโชคดีมากที่สุดคือผมได้อยู่กับครอบครัวของคนอำเภอสายบุรี
จังหวัดปัตตานี โดยที่แม่ Kadiyah มาแต่งงานกับพ่อ Mohm
Zuki และแม่ Kadiyah
ก็ได้โอนสัญชาติเป็นคนมาเลเซีย
ซึ่งแม่ Kadiyah
คนนี้มีลูกอยู่ 4 คน ซึ่งถ้ารวมผมกับนายอับดุลฟาตะห์แล้วก็เป็น 6
คน ซึ่งน้องทั้ง 4 คน
นั้นเรียนหนังสือกันทุกคน โดยจะมีการศึกษาทุกคนและมีหลายระดับ คือ คนแรกลูกคนโตชื่อเล่นว่า
Along จะเรียนอยู่ในระดับ มหาวิทยาลัย คนที่สองคือ ชื่อเล่นว่า
Kakak จะเรียนอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งผมก็ได้ไปดูโรงเรียนของน้องสาวอุปถัมภ์แล้วถือว่ามีความแตกต่างกับโรงเรียนมัธยมของทางประเทศไทยเป็นอย่างมาก
คือโรงเรียนของเขาจะใหญ่กว่ามากถ้ามาเทียบกับโรงเรียนของประเทศไทย คนที่สามมีชื่อเล่นว่า
Angahจะเรียนอยู่ในระดับการศึกษาทางด้านการอาชีพ
ซึ่งน้องคนที่ 3 นั้นศึกษาอยู่ด้านเทคนิคที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และคนสุดท้ายคือ Adik
นั้นเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา แต่ใน 4 คนนี้ที่สนิทกับผมมากที่สุด
คือ น้องคนที่ 3 คือ Angah เพราะว่าในช่วงที่พวกเราอยู่นั้นน้องจะอยู่บ้านตลอดไม่ได้ไปเรียนเพราะว่า
ยังรอหนังสือเรียกตัวของวิทยาลัยดังนั้นเราจะสนิทกับคนที่ 3
มากกว่าเพราะว่าเวลาเรามีอะไร
หรือว่าเราจะไปที่ไหนน้องก็จะขับรถไปส่งตลอดมีอะไรก็จะคุยกับน้องเขา
ความสนิทสนมนั้นก็จะทำให้เรากล้าที่จะคุย และในทางด้านแม่Kadiyah นั้นถือว่าเป็นคนที่ใจดีมากที่สุด
ขนาดเสื้อผ้าแม่เขาจะจัดการซักให้ และจะคอยจะจัดการอาหารเช้า อาหารเที่ยง
และอาหารเย็น และอาหารค่ำรวมถึงอาหารว่าง เช่น น้ำชา ขนม และอื่น ๆ และที่ผมมีความรู้สึกประทับใจในครอบครัวนี้มากที่สุดคือ
ผมมีความรู้สึกว่าตัวผมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเพราะว่าผมรู้สึกรักและมีความผูกพันกับน้องๆทุกคนแม้ว่าบางคนจะไม่ค่อยพูดกับผม
เช่น Kakak น้องคนที่สองตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้าไปอยู่นั้นเขาไม่เคยเขามาคุยกับผมเลยเพราะว่าวันที่เราไปอยู่ที่บ้านนั้น
น้องเขาไปเรียนพอดี เลยทำให้ไม่ได้คุยกัน
ถึงแม้ว่าน้องเขาจะไม่มาคุยกับเราแต่การกระทำของน้องเขาบ่งบอกได้อย่างดีเลยว่าน้องเขาก็รักพวกเราเหมือนกันเพราะว่า
คืนวันสุดท้ายที่เราจะจากไปอีกที่หนึ่งนั้นน้องเขาก็อยู่รอเพื่อที่จะส่งพวกเราและวันสุดท้ายในตอนกลางคืนน้องเขาไม่ได้นอนเลยเพราะว่าน้องเขานั่งทำสายข้อมือให้กับผมและนั่งทักพวงกุญแจให้กับผมและนายอับดุลฟาตะห์
ซึ่งทำให้ผมรู้ว่าน้องเขาก็เป็นห่วงพวกผมเหมือนกัน
และในวันที่สามที่ผมอยู่ที่บ้านของพ่อ Mohm Zuki กับแม่ Kadiyah ผมก็ชวนเพื่อน ๆ หลายๆคนมาทำอาหารกินที่บ้าน ก็ได้ทำ ต้มย้ำ กับผัดผัก
และได้เชิญชาวบ้านบางส่วนที่มีความสนิทสนมให้มารับประทานอาหารที่บ้าน และที่สำคัญชาวบ้านในหมู่บ้านทุกคนก็เป็นกันเองเหมือนกันไม่มีใครถือตัว
และตอนรับพวกเราเป็นอย่างดีและอีกอย่างหนึ่งในทางด้านอาหารการกินก็คือว่าเวลาไปข้างนอกหรือว่าออกไปทำกิจกรรมที่ไหนก็ต้องจบหรือว่าต้องปิดท้ายกับการรับประทานอาหารทุกครั้งด้วย
เช่นน้ำชา ขนม และอื่นๆ และอีกมากมาย และพอเวลากลับบ้านก็ต้องกินอีก
เพราะว่าทางบ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นก็จะเตรียมอาหารให้กับเรา
ซึ่งตอนมาอยู่ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวง
(Felda Mengkuang) ก็มีชาวอินเดียประมาณ
3-4 ครอบครัวอยู่ด้วย
ซึ่งในช่วงที่พวกเราอยู่นั้นก็มีการจัดงานแต่งงานของชาวอินเดียขึ้นอย่างยิ่งใหญ่แต่เสียดายที่ผมไม่ได้ไปเพราะว่าวันนั้น
พ่อกับแม่ไม่ว่างที่จะพาไปแต่จากที่ได้ดูรูปจากที่เพื่อนถ่ายมาให้ดูก็จัดงานได้อย่างยิ่งใหญ่เหมือนกันโชคดีที่เพื่อนได้ถ่ายรูปกลับมาให้ดูก็ทำให้ได้ทราบถึงวัฒนธรรมการแต่งงานของชาวอินเดีย
ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงนั้นเป็นชาวบ้านที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานนิคมสร้างตนเองของรัฐบาลมาเลเซีย
ผมคิดว่าชาวมาเลเซียนั้นจะเป็นคนโชคดีเพราะว่าทางรัฐบาลของมาเลเซียจะจัดการเรื่องที่อยู่อาศัย
จัดการเรื่องการทำงานและในเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านด้วย และชาวนิคมสร้างตนเองนั้นอยู่เฉย
ๆ ก็ยังได้เงินเดือนด้วย แต่ว่าในทางด้านผลิตผลที่ได้มานั้นพอไปขายแล้ว พอได้เงินมา
ทางรัฐบาลก็จะมีการหักส่วนหนึ่งทุกครั้ง
พูดง่าย ๆ
คือการผ่อนจ่ายแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับผลผลิตว่าได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งตัวผมเองก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ตอนที่ผมอยู่ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงนั้นผมก็มีความสนิทสนมกับคนๆหนึ่งก็คือครอบครัวอุปถัมภ์ของนางสาวนูรฮูดาคือผมจะสนิทกับ แม่อุปถัมภ์ของฮูดาและน้อง ๆ อีก 3 คน
ซึ่งมีอายุประมาณ 8 ขวบ
ผมมีความรู้สึกว่าตัวผมมีความผูกพันกับครอบครัวที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงมากกว่าที่อื่น
วันสุดท้ายนั้นเราก็ได้จากกันด้วยน้ำตาพวกเราเกือบทั้งหมดที่ร้องไห้ออกมาเพราะมีความรักให้ต่อกันและกันและมีความผูกพันก็คือเราจะมีความประทับใจในแต่ละที่ที่แตกต่างกัน
ตัวผมเองนั้นผมคิดว่าเวลาจากกันนั้นผมจะไม่ร้องไห้แต่ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวง
ครั้งนี้มันกลั้นน้ำตาไม่ได้เลยทำให้ต้องร้องไห้ออกมา
และผมจำภาพของวันสุดท้าย วันของการจากลาได้ตลอดเวลาก็คือว่าวันนั้นผมโดนแม่ๆอุปถัมภ์
ประมาณ 4-5 คนได้ที่เข้ามากอดและหอมแก้มผม ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าพวกแม่ ๆอุปถัมภ์
นั้นรักและเป็นห่วงผมและเพื่อน ๆ จริงๆ
และส่วนในทางด้านของ ปัญหาหรือว่าอุปสรรคนั้นก็ไม่มีเพราะว่าหมู่บ้านที่เราอยู่นั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก
ๆ สามารถที่จะไปหากันได้ และที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงนั้นก็เป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่และทำให้ผมได้เรียนรู้ชีวิตอีกแบบหนึ่งของชาวมาเลเซียอีกแบบหนึ่ง
ความรู้สึกที่สุดท้ายคือ ที่หมู่บ้านปือดัสตืองะห์(
Kampong Pedas Tengah) ที่รัฐนัครีซึมบีลันดารุลคูซุส(
Negeri Sembilan Darul Khusus)
วันแรกที่ไปถึงผมเห็นความแตกต่างในทางด้านวัฒนธรรมของคนรัฐนัครีซึมบีลันก็คือพอพวกผมไปถึงนั้นก็จะมีการโปรยข้าวสาร
โดยจะมีผู้หญิงมาต้อนรับและคอยโปรยข้าวสารก็คือความคิดผมนั้นผมรู้สึกว่าเขาต้องการที่จะขจัดและไล่สิ่งที่เลวร้ายที่อยู่ติดตัวกับตัวพวกเรา
ซึ่งจะเป็นการตอนรับที่แตกต่างก็คือที่อื่นอาจจะต้อนรับแบบธรรมดา
และที่รัฐนัครีซึมบีลันนั้นผมมีพี่น้องทั้งหมด
9 คน รวมผมกับนายอับดุลฟาตะห์ ก็เป็น 11 คน แต่ที่อยู่ที่บ้านนั้นมีเพียง 6 คน
เพราะว่าแต่งงานไปแล้ว 2 คน และอีกคนก็เป็นทหารเรืออยู่ นานๆ ก็กลับบ้านครั้งหนึ่ง
ก็ไม่ได้เจอ แต่ 2 คนที่แต่งงานแล้วพอรู้ว่า แม่ที่บ้านรับลูกอุปถัมภ์( Anak Angkat )พี่ทั้ง 2
คนก็กลับมาเพื่อที่จะเจอกับพวกเรา ความเป็นอยู่ที่หมู่บ้านปือดัสตืองะห์นั้นก็มีอุปสรรคก็คือ
การที่ผมกับนายอับดุลฟาตะห์อยู่ไกลกว่าเพื่อนและเวลาจะทำกิจกรรมอะไรบางวันก็ไม่มีรถออกไปและบางวันก็จะต้องเดิน
และสังคมที่นี้นั้นจะมีความแตกต่าง กับสังคมสองที่สังคมที่ผ่านมา
คือสังคมที่รัฐนัครีซึมบีลันนั้นชาวบ้านทุกคนจะดูแลเรา
เอาใจเรา ก็คือมีความผูกพันดีต่อกัน แต่ว่าสังคมที่นี้นั้นเขาจะมีความเห็นแก่ตัวมาก
ๆ
เพราะว่าสังคมที่นี้นั้นอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นสังคมเมืองเลยเห็นเรื่องของตนเองเป็นเรื่องใหญ่
แต่ว่ามีอยู่คนหนึ่งที่ทำงานอยู่คนเดียวและดีกับพวกเรามากที่สุดก็คือ ผู้ใหญ่บ้าน
ท่านจะดูแลพวกเราทุกคนเลยคอยช่วยเหลือพวกเราตลอด และภรรยาของผู้ใหญ่บ้านก็ใจดีเหมือนกัน
แต่บ้านของผมอยู่นั้นที่ผมสนิทสนมมากที่สุดคือน้องคนที่ 6 และน้องคนสุดท้องเพราะว่าน้องทั้งสองนั้นเข้ามาคุยกับผมตลอดเวลากลับบ้านหลังไปทำกิจกรรมเสร็จแม้ว่าครั้งแรกของการคุยนั้นบางครั้งอาจจะคุยไม่รู้เรื่อง
แต่ว่าพอคุยนานก็ทำให้ฟังรู้เรื่อง เพราะว่าภาษาถิ่นของรัฐนัครีซึมบีลันนั้นเป็นภาษาเฉพาะของรัฐเลยทำให้เป็นภาษาที่แปลก
และบางครั้งน้องทั้ง 2
คนก็ชวนผมไปเล่นตะกร้อกับคนในหมู่บ้าน
และในทางด้านอาหารการกินนั้นที่นี้ส่วนมากจะกินเผ็ด การมาอยู่ที่รัฐนัครีซึมบีลันนั้นส่วนมากจะเป็นการไปทัศนศึกษาตามสถานที่สำคัญโดยส่วนใหญ่ทำให้ได้รู้เรื่องของสถานที่สำคัญต่าง
และในวันสุดท้ายของการอยู่ที่รัฐนัครีซึมบีลัน เราก็ได้ไปทัศนศึกษาที่รัฐมะละกาก็ไปศึกษาตามสถานที่สำคัญของรัฐมะละกาโดยในวันนั้นก็มี
แม่ ๆอุปถัมภ์ ที่รัฐนัครีซึมบีลัน ไปกับพวกเราด้วยพอถึงเวลาตอนเย็นก็กลับมาส่ง
แม่ ๆอุปถัมภ์ ที่รัฐนัครีซึมบีลัน
แล้วพวกเราก็เดินต่อไปที่กรุงกัวลาลัมเปอร์โดยไปอยู่ที่บ้านพัก
ของสมาพันธ์นักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Rumah
GAPENA ที่อยู่ใกล้ ๆกับ Dewan Bahasa dan Pustaka
เป็นเวลาสองวัน และเวลาสองวันนี้ก็คือเป็นการเที่ยวและซื้อของฝากให้กับคนที่บ้านแล้วพวกเราก็กลับบ้านพร้อมกับกลุ่มนักศึกษาวิชาเอกเอก
ภาษามลายู แต่ว่าการมาที่กรุงกัวลาลัมเปอร์นี้ก็ทำให้ผมได้รู้จักกับวัยรุ่นปัตตานีที่มาเปิดร้านอาหารอยู่ที่นี้
ประมาณ 5-6 คน
การมามาเลเซียครั้งนี้ทำให้ผมได้รู้จักกับวัฒนธรรมของชาวมาเลเซียซึ่งแต่ละที่จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
และทำให้ได้รู้จักกับคนที่มาเลเซีย และทำให้ผมกล้าที่พูดออกมาว่าผมก็มี พ่อแม่อุปถัมภ์
พี่น้องอุปถัมภ์ และเพื่อนๆ อยู่ที่
ประเทศมาเลเซีย ซึ่งการมาที่ประเทศมาเลเซียครั้งนี้พวกเราทั้ง 18 คน ต้องชม และ
ยกเครดิตให้กับอาจารย์นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซันเพราะว่าตอนแรกผมรู้มาว่าการไปแต่ละที่ของพวกเรา
18 คนนี้อาจารย์ไม่ได้เตรียมตัวและไม่ได้เตรียมโครงการเลย ก็คือพูดง่าย ๆ
อย่างที่อาจารย์ชอบพูดว่า เป็นการเอาพวกเรา 18 คน ไปปล่อยเกาะ และค่อยคิดว่าจะเอายังไงต่อ
สาขาวิชามลายูศึกษาทำให้พวกเราได้ผจญภัยที่ประเทศมาเลเซีย