Isnin, 27 September 2021

นายตัน มะละกา (Tan Malaka) วีรบุรุษแห่งชาติของอินโดเนเซีย จากปีกฝ่ายซ้าย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

นายตัน มะละกา (Tan Malaka) หรือ อิบราฮิม มียศชื่อตามธรรมเนียมมีนังกาเบา ว่า ดาโต๊ะซูตัน มะละกา (Datuk Sutan Malaka) เกิดเมื่อ 2 มิถุนายน 1897 เสียชีวิตเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 1949 เป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินโดนีเซีย และเป็นผู้ก่อตั้งพรรค Murba หรือชื่อเต็มว่า Partai Musyawarah Rakyat Banyak  พรรค Murba นี้จัดตั้งเมื่อ 7 พฤศจิกายน 1948 นอกจากนายตัน มะละกา มีแกนนำจัดตั้งพรรคนี้ เช่น นายคัยรุล ซอลและห์ (Chaerul Saleh) เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎร นายซูการ์นี (Sukarni) เคยดำรงตำแหน่งทูตอินโดเนเซียประจำประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ และนายอาดัม มาลิก เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี ในสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต


ชีวประวัติ

นายตัน มะละกา (Tan Malaka) หรือ ซูตัน อิบราฮิม มียศชื่อตามธรรมเนียมมีนังกาเบา ว่า ดาโต๊ะซูตัน มะละกา (Datuk Sutan Malaka) เกิดเมื่อ 2 มิถุนายน 1897 เสียชีวิตเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 1949 เป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินโดนีเซีย และเป็นผู้ก่อตั้งพรรค Murba หรือชื่อเต็มว่า Partai Musyawarah Rakyat Banyak  พรรค Murba นี้จัดตั้งเมื่อ 7 พฤศจิกายน 1948 นอกจากนายตัน มะละกา มีแกนนำจัดตั้งพรรคนี้ เช่น นายคัยรุล ซอลและห์ (Chaerul Saleh) เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎร นายซูการ์นี (Sukarni) เคยดำรงตำแหน่งทูตอินโดเนเซียประจำประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ และนายอาดัม มาลิก เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี ในสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต

 

นายตัน มะละกา มีวันเกิดที่ยังไม่แน่ชัด ในขณะที่สถานที่เกิดของเขาคือ Nagari Pandam Gadang, Suliki ปัจจุบันอยู่ที่ Gunuang Omeh) Lima Puluh Kota สุมาตราตะวันตก พ่อของเขา ชื่อว่า เอ็ช.เอ็ม. ราซาด (HM. Rasad) เป็นลูกจ้างในการเกษตร ส่วนแม่ของเขาชื่อ รังกายอ ซีนะห์ (Rangkayo Sinah) เป็นลูกสาวของผู้เป็นที่เป็นที่นับถือในหมู่บ้าน ในสมัยเด็ก นายตัน มะละกา ชอบศึกษาศาสนาอิสลาม และฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว (pencak silat)  ในปี 1908 เขาเข้าเรียนที่ Kweekschool (โรงเรียนฝึกหัดครูของรัฐ) ในเมืองฟอร์ต เดอ คอก (Fort de Kock) ในปัจจุบัน คือ เมืองบูกิตติงฆี (Bukittinggi) ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก

 

ครูของโรงเรียน Kweekschool (โรงเรียนฝึกหัดครูของรัฐ)  ที่ชื่อว่า ครู GH Horensma กล่าวถึงนายตัน มะละกา ว่า เป็นนักเรียนที่ฉลาด แม้ว่าบางครั้งจะไม่เชื่อฟังก็ตาม [7] ที่โรงเรียนนี้ นายตัน มะละกา ชอบเรียนภาษาดัตช์ ดังนั้น ครู GH Horensma จึงแนะนำให้นายตัน มะละกา เป็นครูที่โรงเรียนดัตช์ นอกจากนั้น นายตัน มะละกา เขายังเป็นนักฟุตบอลที่มีความสามารถ ภายหลังจบการศึกษาจากโรงเรียนข้างตันในปี 1913 นายตัน มะละกา ได้รับยศดาโต๊ะตามธรรมเนียมของชนเผผ่ามีนังกาเบา และได้รับคู่หมั้นอย่างไรก็ตาม เขารับเพียงชื่อดาโต๊ะเท่านั้น ส่วนคู่หมั้น เขาไม่รับ

                  Indische Sociaal Democratische Vereeniging (ISDV 

การศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์

แม้จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นดาโต๊ะ (datu) หรือ ดาตูวะ (dakatuk) ในจารีตประเพณีชาวมีนังกาเบา ในเดือนตุลาคม 1913 เขาก็ออกจากหมู่บ้านไปเรียนที่ Rijkskweekschool (โรงเรียนฝึกหัดครูของรัฐบาล) ในประเทศเนเอร์แลนด์ ด้วยความช่วยเหลือทางการเงินจากบรรดาผู้นำชนชั้นสูของหมู่บ้านของเขา เมื่อมาถึงเนเธอร์แลนด์ นายตัน มะละกา ก็ประสบกับการซ๊อตทางวัฒนธรรม และในปี 1915 เขาเป็นโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ระหว่างเรียนวิทยาลัย ความรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติของเขาเริ่มปรากฏขึ้น  และเพิ่มมากขึ้นหลังจากอ่านหนังสือชื่อว่า de Fransche Revolutie ซึ่งเขาได้รับจากบางคนก่อนจะเดินทางไปเนเธอร์แลนด์

 

หลังการปฏิวัติรัสเซียในเดือนตุลาคม 1917 เขาเริ่มสนใจศึกษาลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่นั้นมา เขามักจะอ่านหนังสือของคาร์ล มาร์กซ์ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ (Friedrich Engels) และ วลาดีเมีร์  เลนิน (Vladimir Lenin)  นอกจากนั้นนายตัน มะละกา ยังยึดถือนายฟรีดริช นีทเชอ (Friedrich Nietzsche) เป็นแบบอย่างของเขาอีกด้วย และในตอนนั้นเองที่นายตัน มะละกา เริ่มเกลียดชังวัฒนธรรมดัตช์และประทับใจในสังคมเยอรมันและอเมริกา เนื่องจากความรู้มากมายเกี่ยวกับเยอรมนี

 

เขาจึงมุ่งมั่นที่จะสมาชิกของกองทัพเยอรมัน จากนั้นเขาก็เข้าเกณฑ์ทหารกองทัพเยอรมัน แต่ถูกปฏิเสธ เพราะกองทัพเยอรมันไม่ยอมรับชาวต่างชาติ  หลังจากนั้นไม่นาน เขาได้พบกับนาย Henk Sneevliet ชาวฮอลันดา หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Indische Sociaal Democratische Vereeniging (ISDV องค์กรที่เป็นผู้บุกเบิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย จากนั้นเขาก็ถูกนาย Henk Sneevliet เชิญเขาให้เข้าร่วมกับ Sociaal Democratische-Onderwijzers Vereeniging (SDOV หรือ Teachers' Social Democratic Association) จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 1919  เขาสำเร็จการศึกษาและได้รับประกาศนียบัตรที่เรียกว่า hulpactie

 

งานสอนหนังสือ

หลังจากจบการศึกษาจาก SDOV เขากลับไปยังหมู่บ้านของเขา จากนั้นเขาก็ยอมรับคำเชิญจาก ดร. ซี.ดับบลิว. แจนเซ่น (Dr. C.W. Janssen) ที่ให้เขาช่วยสอนลูกๆ ของคนงานในไร่ชาที่เขตซาเนมบา ตันจุง โมราวา เดลี สุมาตราเหนือ(Sanembah, Tanjung Morawa, Deli, Sumatra) เขาเดินทางไปถึงที่นั่นในเดือนธันวาคม 1919 และ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2463 เริ่มสอนเด็กๆ ด้วยภาษามลายู นอกเหนือจากการสอนแล้ว นายตัน มะละกา ยังเขียนคำโฆษณาชวนเชื่อแก่คนงานรถไฟที่เรียกว่า Deli Spoor c]tในช่วงเวลานี้ เขาได้สังเกตและทำความเข้าใจถึงความทุกข์และความล้าหลังของชาวพื้นเมืองเกาะสุมาตรา นอกจากนั้นเขายังเกี่ยวข้องกับ  Indische Sociaal Democratische Vereeniging (ISDV) และบางครั้งเขายังเขียนบทความให้สื่อมวลชน สำหรับผลงานแรกๆ ของเขาคือ "Tanah Orang Miskin (ที่ดินคนจน)" ซึ่งอธิบายถึงความแตกต่างโดยสิ้นเชิงในความมั่งคั่งระหว่างนายทุนกับคนงาน ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร Het Vrije Woord ฉบับเดือนมีนาคม 1920 

 

เขายังเขียนเกี่ยวกับชะตากรรมของชาวไร่ชาที่สุมาตราด้วย ต่อจากนั้น นายตัน มะละกา ยังเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งในปี 1920 โดยเขาเป็นตัวแทนของฝ่ายซ้าย อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเขาก็ลาออกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1921 โดยไม่มีเหตุผลชัดเจน จากนั้นเขาก็เปิดโรงเรียนในเมืองเซมารังด้วยความช่วยเหลือจากนายดาร์โซโน ผู้นำของพรรคการเมือง Sarekat Islam (SI) ฝ่ายแนวแดง โรงเรียนนี้เรียกว่า Sekolah Rakyat หรือโรงเรียนประชาชน โรงเรียนมีหลักสูตรเหมือนกับโรงเรียนในสหภาพโซเวียต ซึ่งทุกเช้านักเรียนจะร้องเพลงชาติ นายตัน มะละกายังได้พบกับนักเคลื่อนไหวมากมาย เช่น นายโอมาร์ ซาอิด โจโกรอามีโนโต (Oemar Said Tjokroaminoto และ ฮัจญี อาฆุส สาลิม (H. Agus Salim) ในอัตชีวประวัติของเขา นายตัน มะละกา ถือว่าพรรคการเมือง Sarekat Islam (SI) ภายใต้ นายโอมาร์ ซาอิด โจโกรอามีโนโต (Oemar Said Tjokroaminoto) เป็นพรรคมวลชนที่ดีที่สุดเพียงคนเดียวที่เขารู้จัก อย่างไรก็ตาม นายตัน  มะละกาได้วิพากษ์วิจารณ์เมื่อพรรคการเมือง Sarekat Islam (SI) มีการแตกแยกภายในองค์กร

 

ชีวิตโสด

นายตัน มะละกามีชีวิตโสดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต มีรายงานว่า นายตัน มะละกา ไม่เคยแต่งงาน แต่เขาก็ยอมรับว่าเขาตกหลุมรักสาวมาถึงสามครั้ง คือ ตอนที่เขาอยู่ในเนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีรายงานว่านายตัน มะละกา มีความสัมพันธ์กับหญิงสาวชาวดัตช์ชื่อนางสาว Fenny Struyvenberg นักศึกษาแพทย์ที่มักมาที่หอพักของเขา ขณะอยู่ที่ฟิลิปปินส์ เขาก็ตกหลุมรักหญิงสาวชื่อ นางสาวคาร์เมน ลูกสาวของอดีตกบฏในฟิลิปปินส์และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมะนิลา ในขณะที่เขายังอยู่ในอินโดนีเซีย เขาได้ตกหลุมรักกับนักศึกษาหญิงคนเดียวในโรงเรียนของเขาในเวลานั้น คือ นางสาวชารีฟะห์ นาวาวี (Syarifah Nawawi) ส่วนเหตุผลที่เขาไม่ได้แต่งงานเพราะเขามุ่งแต่งานการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินโดนีเซีย

 

หลังจากที่อินโดเนเซียได้รับเอกราช นายตัน มะละกา ก็กลายเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแนวฝ่ายซ้าย นอกจากนี้ เขายังมีส่วนร่วมในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 1946 ด้วยการก่อตั้งสมาคมการต่อสู้ (Persatuan Perjuangan) และถูกกล่าวว่า เป็นมันสมองในการเป็นผู้บงการการลักพาตัวนายซูตัน ชาห์รีร์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผลให้เขาถูกจำคุกโดยไม่มีการพิจารณาคดีเป็นเวลาสองปีครึ่ง หลังจากเกิดเหตุการณ์การจลาจลใน Madiun เมื่อกันยายน 1948 ภายใต้การนำของนาย Musso และ Amir Syarifuddin ทางรัฐบาลก็ปล่อยตัวนายตัน มะละกา เป็นอิสระ

ความตายของนายตัน มะละกา

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1949  นายตัน มะละกาถูกฆ่าตาย โดยนายซูราดี เตเกเบก (Suradi Tekebek) ผู้ที่ได้รับคำสั่งจากร้อยโทโซโกโจ ( Soekotjo) แห่งกองพันซิกาตัน ทหารภาคบราวิจายา ภายหลังการฆ่าแล้ว   นายตัน  มะละกาถูกฝังไว้กลางป่าใกล้กับหน่วยของร้อยโทโซโกโจ การเสียชีวิตของนายตัน  มะละกา ไม่ได้รายงานหรือถูกสอบสวนเพิ่มเติมแต่อย่างใด  สำหรับวันเวลาของการเสียชีวิตของนายตัน มะละกา นั้นนาย harry A. Poeze ชาวฮอลันดาเขียนไว้ในหนังสือชื่อว่า Tan Malaka, Gerakan Kiri dan Revolusi  Indonesia Jilid IV โดยเขาเขียนว่า นายตัน  มะละกา ถูกจับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1949 โดยร้อยโทโซโกโจ ( Soekotjo) ใช้เวลาหนึ่งในการตัดสินฆ่านายตัน มะละกา และในเวลาต่อมา ร้อยโทโซโกโจ ( Soekotjo) ก็ได้รับต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองสุราบายา รักษาการ หลังจากนายกเทศมนตรีคนเมถูกจับกุม ข้อหามีความร่วมมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์

 

ตามคำสั่งประธานาธิบดี ฉบับที่ 53 ลงวันที่ 28 มีนาคม 1963 ซึ่งลงนามโดยประธานาธิบดีซูการ์โน ได้ประกาศให้นายตัน มะละกา เป็นวีรบุรุษของชาติ

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2017 ครอบครัวของนายตัน มะละกา และสมาชิกของสถาบันตัน มะละกา มีความประสงค์ที่จะย้ายสุสานของนายตัน มะละกา จากที่ตั้งบนเกาะชวา เพื่อกลับไปฝังยังจังหวัดสมาตราตะวันตก แต่ก็สามารถเพียงย้ายดินเป็นเชิงสัญลักษณ์ กล่าวคือการนำดินจากหลุมศพของนายตัน มะละกา กลับไปที่บ้านเกิด ส่วนสุสานยังคงตั้งอยู่บนเกาะชวา                                       




     


หนังสือที่แต่งโดยนายตัน มะละกา มีหลายเล่ม ที่สำคัญๆ เช่น Madilog  Gerpolek รวมทั้งหนังสือที่จุดประเด็นการจัดตั้งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย คือ Naar De “Republiek Indonesia เขียนในปี 1924

อ้างอิง      

Penumpasan PKI di Surabaya จาก https://historia.id/politik/articles/penumpasan-pki-di-surabaya-6joym/page/2

Sarekat_Islam จาก https://id.wikipedia.org/wiki/Sarekat_Islam

Front Demokrasi Rakyat จากhttps://www.kompas.com/stori/read/2021/10/08/120000479/front-demokrasi-rakyat-fdr---latar-belakang-tujuan-dan-kegiatan?page=all

 Murba Party จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Murba_Party

https://id.wikipedia.org/wiki/Tan_Malaka#CITEREFSyaifudin2012

 

 

Tiada ulasan: