โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ศาสนาอิสลามได้เข้ามาสู่ดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว
ด้วยปัตตานีเคยเป็นหนึ่งในท่าเรือสินค้าของพ่อค้าต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าต่างชาติมักแวะพักเรือสินค้าเพื่อทำการค้าที่ปัตตานี ซึ่งในบรรดาพ่อค้าเหล่านั้นมีพ่อค้าจากประเทศอาหรับและเปอร์เซียด้วย
อินเดียได้เป็นแหล่งหนึ่งที่มีการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยเป็นศูนย์การค้าขายระหว่างพ่อค้าอาหรับ, เปอร์เซียและจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้นต่อมาศาสนาอิสลามได้ถูกเผยแพร่ไปยังประเทศจีน, จามปา พร้อม ๆ กับที่มีการเผยแพร่สู่แหลมมลายูและหมู่เกาะมลายู
มีหลักฐานที่แสดงว่าศาสนาอิสลามได้เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 และ 12
บรรดาพ่อค้าอาหรับได้เดินทางไปยังประเทศจีนโดยผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ที่เกาะชวามีการค้นพบหินหลักหลุมศพ (Nisan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับซึ่งแสดงถึงความนานของศาสนาอิสลามได้เข้าสู่เกาะดังกล่าว โดยมีการจารึกว่าปี ค.ศ. 1082 หรือ 1102
ที่จามปาที่การค้นพบหินหลักหลุมศพเขียนด้วยอักขระอาหรับปี ค.ศ. 1039 ส่วนในแหลมมลายูนั้นได้มีการค้นพบหินหลักหลุมศพสตรีอาหรับโดยจารึก ปี
ค.ศ. 1028
ในสมัยมาร์โค โปโล เดินทางกลับมาประเทศจีนโดยผ่านช่องแคบมะละกา เมื่อปี 1292 นั้นเขาได้ยินที่กว่าทางตะวันออกของเกาะสุมาตรานั้นคือรัฐเปอร์ลัก ประชาชนของรัฐดังกล่าวได้เข้ารับศาสนาอิสลามตามพ่อค้าชาวอาหรับที่ทำการค้าขายในสมัยนั้น
นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่ารัฐปัตตานีกับรัฐปาหังเป็นสองรัฐแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม ตามหลักฐานที่มีว่า นักเดินทางชาวโปร์ตุเกสาที่ชื่อว่า de Eredia ได้บันทึกไว้เมื่อปี 1613 ความว่า
“More ever the faith of the Maumeth (Islam) was accepted in Patane (Patani) and Pan (Pahang) and in Certain islands of Aromaik Archipelago especially at the part of Bantan in Jawa Major, Later it was accepted and eucouraged by Permicuri (Permaisuri) at Malacca in the year 1411.
หินปักสุสานหรือ
บาตูแนแซ (Batu Nesan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับ
เมื่อหลายร้อยปี ซึ่งพบที่จามปา ประเทศเวียดนาม
หินปักสุสานหรือ บาตูแนแซ (Batu Nesan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับ ปี ค.ศ. 1039 พบที่จามปาใต้ (เมืองพันราง) ประเทศเวียดนาม แสดงว่าศาสนาอิสลามเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์เกือบพันปีมาแล้ว
หินปักสุสานหรือ บาตูแนแซ (Batu Nesan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับ ผู้ตายชื่อนางฟาตีมะห์ บินตีมัยมุน ปี ค.ศ. 1082 พบที่เลรัน ใกล้เมืองสุราบายา ประเทศอินโดเนเซีย
ศิลาจารึก(Batu Bersurat) ที่รู้จักกันในนามของศิลาจารึกตรังกานู เป็นศิลาจารึกแรกในแหลมมลายูที่ใช้อักขระอาหรับ
ปี ค.ศ. 1303
พบที่รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
การเข้ารับศาสนาอิสลามแรกเริ่มไม่ได้มาจากชนชั้นสูงเช่นกษัตริย์และขุนนางต่าง ๆ แต่มาจากชนชั้นสามัญชน หรือประชาชนทั่วไป ดังเช่นที่มีการกล่าวไว้ในตำนานปัตตานีหรือ Hikayat Patani ว่ากษัตริย์ปัตตานีได้ปฏิเสธศาสนาอิสลามแต่บรรดาพ่อค้านั้นประกอบด้วยผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในการนี้หนังสือประวัติศาสตร์มลายู หรือ Sejarah Melayu ได้บันทึกว่า กษัตริย์ศรีวังศา (Raja Sri Wangsa) แห่งโกตามะห์ลีกัย (Kota Mahligai) ได้ต่อต้านกษัตริย์สุไลมานแห่งรัฐมะละกา แต่ไม่สำเร็จดังนั้นพระองค์จึงเข้ารับศาสนาอิสลามความสุลต่านสุไลมานแห่งรัฐมะละกา ซึ่งแนวความคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของนักประวัติศาสตร์ที่มี Daniel Gorge E. Hall ที่เขียนหนังสือชื่อ A History of South East Asia”
สุสานพญาอินทิรา
เจ้าเมืองคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม
สุสานพญาอินทิรา
เจ้าเมืองคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม
การเข้ารับศาสนาอิสลามของกษัตริย์ปัตตานีนั้นมีอยู่ 2 ทัศนะ ทัศนะแรกปรากฏตามหนังสือตำนานปัตตานี (Hikayat Patani) ได้กล่าวว่าก่อนกษัตริย์ปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลามนั้นมีหมู่บ้านอิสลามตั้งอยู่ชานเมืองปัตตานี หมู่บ้านนั้นมีชื่อว่าหมู่บ้านปาไซ (Pasai) เมื่อกษัตริย์ปัตตานีที่ชื่อ พญาตู นักพา(Phya Tu Naqpa) เป็นโรคผิวหนัง ไม่มีหมอผู้ใดสามารถรักษาได้ มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อว่า เชค ซาอิค อัลบาซีซา(Sheikh Said Al-Basisa) จากหมู่บ้านดังกล่าวรักษาโรคของกษัตริย์ปัตตานีโดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อหายแล้วจะต้องเข้ารับศาสนาอิสลาม ในที่สุดโรคของพระองค์ก็หาย ต่อมาพระองค์จึงเข้ารับศาสนาอิสลามโดยใช้ชื่อว่า สุลต่านอิสมาแอลชาห์ ส่วนทัศนะที่สอง ตามหนังสือ Sejarah Kerajaan Melayu Patani กล่าวว่า บุตรของพญาตูนักพากษัตริย์ปัตตานีที่ชื่อว่า พญาตูอินทิรา(Phya Tu Intira) เป็นผู้เข้ารับศาสนาอิสลามโดยใช้ชื่อว่าสุลต่านมูฮัมหมัดชาห์
สุสานเชคซาอิด
ผู้ทำให้พญาอินทิรา เข้ารับศาสนาอิสลาม
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทั้งสุลต่านอิสมาแอลชาห์ และสุลต่านมูฮัมหมัดชาห์ คือบุคคลคนเดียวกัน
กล่าวกันว่ามีประชาชนชาวปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากเริ่มประมาณปี ค.ศ. 1475
หลังจากนั้นศาสนาอิสลามจึงปักหลักด้วยความมั่นคงในปัตตานี
จนปัตตานีกลายเป็นศูนย์เผยแพร่ศาสนาอิสลามในภูมิภาคนี้ แม้แต่รัฐกลันตันเองก็กล่าวกันว่าได้รับศาสนาอิสลามจากปัตตานีด้วยการเผยแพร่ของนักปราชญ์ศาสนาอิสลามผู้หนึ่งจากปัตตานี
การเผยแพร่ศาสนาอิสลามครั้งนั้นเกิดขึ้นราว ค.ศ. 1150