การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ของประเทศมาเลเซียในครั้งนี้
ได้หักปากกาเซียนวิเคราะห์การเมืองในประเทศไทยมากมาย
เพราะแต่ละคนฟันธงว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลจะได้รับชัยชนะ
เพียงว่าคะแนนอาจจะลดลงเท่านั้นเอง แต่ปรากฏว่า
พรรคแนวร่วมแห่งชาติได้รับความพ่ายแพ้แก่พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง (Pakatan
Harapan) อย่างถล่มทลาย
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับการเลือกตั้งในประเทศมาเลเซีย การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกมีขึ้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 1955 ก่อนการประกาศเอกราชของประเทศ และก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้
จะเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 13 ซึ่งครั้งนั้น
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ ก็ยังครองเสียงส่วนใหญ่
และปกครองประเทศนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกจนครั้งที่ 13 โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 เป็นการแข่งขันกัน 2 ขั้ว ประกอบด้วย
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ ที่มีดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัคเป็นผู้นำ กับพรรคแนวร่วมประชาชน (Pakatan Rakyat) ซึ่งประกอบด้วยพรรคความยุติธรรมของประชาชน (Parti Keadilan Rakyat) ของดาโต๊ะสรีอันวาร์ อิบราฮิม พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (Parti Islam SeMalaysia) หรือรู้จักในนามพรรคปาส (Parti Pas) และพรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน โดยพรรคแนวร่วมประชาชน (Pakatan Rakyat) นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 11 เมษายน 2008 และเลิกกลุ่มพรรค เมื่อ 16 กรกฎาคม 2015 การเลือกตั้งครั้งที่ 13 นั้น แม้ว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติจะชนะการเลือกตั้งได้ 133 ที่นั่ง ส่วนพรรคแนวร่วมประชาชน ได้ 89 ที่นั่ง แต่เสียง Popular vote ปรากฏว่า พรรคแนวร่วมแห่งชาติได้น้อยกว่าพรรคแนวร่วมประชาชน โดยพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ได้ 5,237,699 เสียง คิดเป็น 47.38 % มีเสียงลดลงจากการเลือกตั้งครั้งที่ 12 คิดเป็น 2.89 % ส่วนพรรคแนวร่วมประชาชนได้ 5,623,984 เสียง คิดเป็น 50.87 % มีเสียงมากขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่ 12 คิดเป็น 4.12 %
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ ที่มีดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัคเป็นผู้นำ กับพรรคแนวร่วมประชาชน (Pakatan Rakyat) ซึ่งประกอบด้วยพรรคความยุติธรรมของประชาชน (Parti Keadilan Rakyat) ของดาโต๊ะสรีอันวาร์ อิบราฮิม พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (Parti Islam SeMalaysia) หรือรู้จักในนามพรรคปาส (Parti Pas) และพรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน โดยพรรคแนวร่วมประชาชน (Pakatan Rakyat) นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 11 เมษายน 2008 และเลิกกลุ่มพรรค เมื่อ 16 กรกฎาคม 2015 การเลือกตั้งครั้งที่ 13 นั้น แม้ว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติจะชนะการเลือกตั้งได้ 133 ที่นั่ง ส่วนพรรคแนวร่วมประชาชน ได้ 89 ที่นั่ง แต่เสียง Popular vote ปรากฏว่า พรรคแนวร่วมแห่งชาติได้น้อยกว่าพรรคแนวร่วมประชาชน โดยพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ได้ 5,237,699 เสียง คิดเป็น 47.38 % มีเสียงลดลงจากการเลือกตั้งครั้งที่ 12 คิดเป็น 2.89 % ส่วนพรรคแนวร่วมประชาชนได้ 5,623,984 เสียง คิดเป็น 50.87 % มีเสียงมากขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่ 12 คิดเป็น 4.12 %
การเลือกตั้งในประเทศมาเลเซียนั้น
จะเป็นการเลือกตั้ง 2 ระดับ คือ การเลือกตั้งระดับประเทศ
เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกคณะผู้บริหารประเทศ
เป็นรัฐบาลกลางต่อไป และการเลือกตั้งระดับรัฐ
เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ เพื่อเลือกคณะผู้บริหารรัฐ
เป็นรัฐบาลท้องถิ่น ด้วยระบบการปกครองของมาเลเซียเป็นการปกครองแบบสหพันธรัฐ
จึงมีการกำหนดอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น
สำหรับรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศมาเลเซีย ก็คล้ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบ.จ.
ของประเทศไทย แต่รัฐบาลท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียจะมีอำนาจที่มากกว่า
มีการปกครองตนเอง มีอำนาจในการออกกฎหมายอิสลาม โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ
อำนาจด้านที่ดิน การเกษตร และการป่าไม้ หน่วยงานบริหารท้องถิ่น และอีกอื่น ๆ
การสมัครรับเลือกตั้งในประเทศมาเลเซียนั้น
ผู้สมัครสามารถที่จะสมัครในระดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และระดับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งสองระดับ หรือระดับใดระดับหนึ่งก็ได้
และจะสังกัดหรือจะสมัครอิสระก็ได้ โดยผู้สมัครระดับชาติ
หรือ สภาผู้แทนราษฎร จะต้องวางเงินประกัน จำนวน 10,000 ริงกิต และผู้สมัครระดับรัฐ หรือ สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
จะต้องวางเงินประกัน จำนวน 5,000 ริงกิต
ผู้ลงคะแนนต้องมีอายุ 21 ปีขึ้นไป
ส่วนผู้สมัครรับการเลือกตั้งก็มีอายุ 21 ปีขึ้นไปเช่นกัน สำหรับผู้สมัครที่ได้คะแนนไม่ถึง 1 ใน 8 หรือ ไม่ถึง 12.5 % ของคะแนนทั้งหมด
เงินประกันจะถูกริบ
เวลาของการสมัครรับเลือกตั้งค่อนข้างจะสั้นกว่าของประเทศไทย คือระหว่างเวลา 09.00-10.00 น. และเวลาของการตรวจสอบเอกสารและการคัดค้านการรับสมัคร ระหว่างเวลา 10.00-11.00 น. และในการรับสมัครการเลือกตั้งในครั้งที่ 14 นี้ กกต.ของมาเลเซีย ค่อนข้างจะเข้าข้างพรรคแนวร่วมแห่งชาติของรัฐบาลอย่างเห็นชัด อย่างคู่แข่งของมุขมนตรีรัฐนัครีซัมบีลัน เพียงลืมนำบัตรผู้สมัครที่ออกให้ แม้ว่าจะจ่ายค่าประกันผู้สมัครแล้ว ก็ได้รับการคัดค้านจากฝ่ายตรงข้าม จนมุขมนตรีรัฐนัครีซัมบีลัน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นอดีตมุขมนตรีไปแล้ว กลายเป็นผู้ชนะรับเลือกตั้งโดยไม่มีคู่แข่ง
เวลาของการสมัครรับเลือกตั้งค่อนข้างจะสั้นกว่าของประเทศไทย คือระหว่างเวลา 09.00-10.00 น. และเวลาของการตรวจสอบเอกสารและการคัดค้านการรับสมัคร ระหว่างเวลา 10.00-11.00 น. และในการรับสมัครการเลือกตั้งในครั้งที่ 14 นี้ กกต.ของมาเลเซีย ค่อนข้างจะเข้าข้างพรรคแนวร่วมแห่งชาติของรัฐบาลอย่างเห็นชัด อย่างคู่แข่งของมุขมนตรีรัฐนัครีซัมบีลัน เพียงลืมนำบัตรผู้สมัครที่ออกให้ แม้ว่าจะจ่ายค่าประกันผู้สมัครแล้ว ก็ได้รับการคัดค้านจากฝ่ายตรงข้าม จนมุขมนตรีรัฐนัครีซัมบีลัน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นอดีตมุขมนตรีไปแล้ว กลายเป็นผู้ชนะรับเลือกตั้งโดยไม่มีคู่แข่ง
เรามารู้จักพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่
14 กันครับ พรรคการเมืองกลุ่มแรก คือ
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional) จัดตั้งเมื่อวันที่ 1
มกราคม 1973 แต่ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อ 1
มิถุนายน 1974 ในฐานะเป็นพรรคการเมืองหนึ่ง เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นโดย ตุนอับดุลราซัค ฮุสเซ็น อดีตนายกรัฐมนตรี
ผู้เป็นบิดาของดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค พรรคแนวร่วมแห่งชาติ
เป็นพรรคที่รับช่วงต่อจากพรรคพันธมิตร (Parti Perikatan)
ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 30 ตุลาคม 1957 ซึ่งประกอบด้วย
พรรคสหมลายูแห่งชาติ หรือพรรคอัมโน (United Malays National Oganisation) พรรคสมาคมจีนมาเลเซีย (Malaysia Chinese Association) และพรรคสภาอินเดียมาเลเซีย (Malaysia Indian Congress) เมื่อมาเป็นพรรคแนวร่วมแห่งชาติ
ก็มีสมาชิกพรรคเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมี 13 พรรค
ความจริงยังมีพรรคการเมืองอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคแนวร่วมแห่งชาติ แต่เมื่อได้รับการคัดค้านจากพรรคใดพรรคหนึ่งใน 13 พรรค ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วม เช่น พรรคสภาอินเดียมุสลิมมาเลเซีย หรือ Kongres India Muslim Malaysia (Kimma) โดยพรรคสภาอินเดียมาเลเซีย (Malaysia Indian Congress) คัดค้านว่า ตัวแทนกลุ่มชาวอินเดียมีอยู่แล้ว ถ้าจะเข้าร่วมก็สลายกลุ่มเข้ามาผ่านพรรคสภาอินเดียมาเลเซีย พรรคการเมืองที่สังกัดพรรคแนวร่วมแห่งชาติก็มีเข้าออก เช่น พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ก็เคยเข้าร่วมกับพรรคแนวร่วมแห่งชาติ จนลาออกจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติครั้งเกิดความขัดแย้งเรื่องการบริหารรัฐกลันตัน ในปี 1978
ความจริงยังมีพรรคการเมืองอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคแนวร่วมแห่งชาติ แต่เมื่อได้รับการคัดค้านจากพรรคใดพรรคหนึ่งใน 13 พรรค ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วม เช่น พรรคสภาอินเดียมุสลิมมาเลเซีย หรือ Kongres India Muslim Malaysia (Kimma) โดยพรรคสภาอินเดียมาเลเซีย (Malaysia Indian Congress) คัดค้านว่า ตัวแทนกลุ่มชาวอินเดียมีอยู่แล้ว ถ้าจะเข้าร่วมก็สลายกลุ่มเข้ามาผ่านพรรคสภาอินเดียมาเลเซีย พรรคการเมืองที่สังกัดพรรคแนวร่วมแห่งชาติก็มีเข้าออก เช่น พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ก็เคยเข้าร่วมกับพรรคแนวร่วมแห่งชาติ จนลาออกจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติครั้งเกิดความขัดแย้งเรื่องการบริหารรัฐกลันตัน ในปี 1978
กลุ่มพรรคการเมืองที่สองคือ
พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง (Pakatan Harapan) เป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน เมื่อ 22 กันยายน 2015
เป็นกลุ่มพรรคการเมืองที่ประกอบด้วยพรรคกิจประชาธิปไตย (DAP-Democratic
Action Party) พรรคความยุติธรรมของประชาชน (Parti Keadilan
Rakyat) และพรรคคนงานมาเลเซีย (Parti Pekerja Pekerja
Malaysia)
แต่ต่อมาพรรคคนงาน ถูกแทนที่โดยพรรคอามานะห์แห่งชาติ (PAN-Parti Amanah
Negara) ภายใต้การนำของนายมูฮัมหมัด ซาบู ซึ่งเป็นพรรคที่แตกออกมาจากพรรคปาส
สำหรับพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง (Pakatan Harapan)
เป็นกลุ่มพรรคที่รับช่วงต่อมาจากกลุ่มพรรคการเมืองที่ชื่อว่า
พรรคแนวร่วมประชาชน (Pakatan Rakyat)
โดยพรรคแนวร่วมประชาชนประกอบด้วย พรรคกิจประชาธิปไตย (DAP-Democratic
Action Party) พรรคความยุติธรรมของประชาชน (Parti Keadilan
Rakyat) และพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือพรรคปาส พรรคแนวร่วมประชาชนสลายตัว
เมื่อพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียออกจากกลุ่มพรรคแนวร่วมประชาชน ในปี 2015
สำหรับพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซีย (Bersatu –
Parti Pribumi Bersatu Malaysia) ซึ่งเป็นพรรคภายใต้การนำของตุนมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรี และตันสรีมุฮยิดดิน
ยัสซิน อดีตรองประธานพรรคอัมโน และอดีตรองนายกรัฐมนตรีที่ถูกดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ
ตุนอับดุลราซัคปลดออกจากตำแหน่ง กรณีเขากังขาความบริสุทธิ์ของดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ
ตุนอับดุลราซัคที่มีต่อการคอรัปชั่นบริษัทของรัฐที่มีชื่อว่า 1MDB
(1
Malaysia Development Berhad) ที่เกิดความเสียหายเป็นหนี้ 4
หมื่นกว่าล้านริงกิต
สำหรับพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียถือว่าเป็นพรรคที่แตกออกมาจากพรรคอัมโน
และอีกพรรคหนึ่งคือพรรคมรดกซาบะห์ (Parti Warisan Sabah)
เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นในรัฐซาบะห์
โดยดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดชาฟีอี
อัปดาล อดีตรัฐมนตรีพัฒนาชนบทและดินแดน และผู้ช่วยประธานพรรคอัมโน
ที่ถูกปลดในกรณีเกี่ยวกันกับตันสรีมุฮยิดดิน ยัสซิน พรรคมรดกซาบะห์ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง แต่เป็นพรรคพันธมิตรของพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง
กลับมายังพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียต่อ
สำหรับสำหรับพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 กันยายน 2016 แต่พรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียถูกสำนักงานจดทะเบียนองค์กร (Registry of Society) สั่งให้ยุบพรรคเป็นการชั่วคราว เมื่อ 5 เมษายน 2018 ด้วยเหตุผลไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การที่สำนักงานจดทะเบียนองค์กร (Registry of Society) สั่งยุบพรรคเป็นการชั่วคราว ได้รับการโจมตีจากหลายฝ่าย โดยกล่าวว่าทางสำนักงานจดทะเบียนองค์กร (Registry of Society) ได้รับใบสั่งจากทางรัฐบาล ดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค เคยท้าตุนมหาเธร์ มูฮัมหมัด ให้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา พอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ก็ทำทุกวิธีทางในการสกัดพรรคการเมืองใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมา ดังนั้นแม้โดยทางการพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียไม่สามารถจะเป็นส่วนหนึ่งของพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง แต่โดยพฤตินัย สมาชิกพรรคและกลไกพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซีย เป็นส่วนหนึ่งของพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง
สำหรับสำหรับพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 กันยายน 2016 แต่พรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียถูกสำนักงานจดทะเบียนองค์กร (Registry of Society) สั่งให้ยุบพรรคเป็นการชั่วคราว เมื่อ 5 เมษายน 2018 ด้วยเหตุผลไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การที่สำนักงานจดทะเบียนองค์กร (Registry of Society) สั่งยุบพรรคเป็นการชั่วคราว ได้รับการโจมตีจากหลายฝ่าย โดยกล่าวว่าทางสำนักงานจดทะเบียนองค์กร (Registry of Society) ได้รับใบสั่งจากทางรัฐบาล ดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค เคยท้าตุนมหาเธร์ มูฮัมหมัด ให้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา พอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ก็ทำทุกวิธีทางในการสกัดพรรคการเมืองใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมา ดังนั้นแม้โดยทางการพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซียไม่สามารถจะเป็นส่วนหนึ่งของพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง แต่โดยพฤตินัย สมาชิกพรรคและกลไกพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซีย เป็นส่วนหนึ่งของพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง
กลุ่มพรรคการเมืองที่สาม คือ แนวร่วมแห่งสันติสุข Gagasan Sejahtera) เมื่อพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย
อกจากพรรคแนวร่วมประชาชน จึงออกมาจัดตั้งกลุ่มพรรคของตนเอง
เรียกตัวเองว่ากลุ่มทางเลือกที่สาม ประกอบด้วยพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ภายใต้การนำของฮั
จญีอับดุลฮาดี อาวัง พรรคพันธมิตรแห่งชาติมาเลเซีย
(Ikatan –
Parti Ikatan Bangsa Malaysia)
ภายใต้การนำของตันสรีอับดุลกาเดร์
เชคฟาดีร์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงประชาสัมพันธ์ ยุคตุนอับดุลลอฮ บาดาวี เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคแนวร่วมอิสลามแห่งมาเลเซีย
(Berjasa –
Barisan Jemaah Islamiah SeMalaysia)
เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นโดย ดาโต๊ะฮัจญีมูฮัมหมัด บินนาเซร์ อดีตมุขมนตรีรัฐกลันตัน
เมื่อปี 1977 ครั้งที่ ดาโต๊ะฮัจญีมูฮัมหมัด
บินนาเซร์ ถูกขับออกจากพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย สำหรับพรรคแนวร่วมอิสลามแห่งมาเลเซียก็มีการลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่
13 แต่ไม่ได้รับเลือก และพรรครักมาเลเซีย (Parti
Cinta Malaysia)
เป็นพรรคเล็กๆที่รวมตัวจากกลุ่มคนที่ลาออกจากพรรคเดิมของตนเอง รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) นับร้อยกลุ่มที่รวมตัวในนามของสภาประชาชน (Kongres Rakyat) แต่โดยทั่วๆไป
คนจะรู้จักพรรคแนวร่วมอิสลามแห่งมาเลเซียมากกว่าชื่อของแนวร่วมแห่งสันติสุข (Gagasan
Sejahtera)
การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซียจะแตกต่างจากประเทศไทย
นั้นคือจะไม่ใช้หมายเลขในการลงคะแนน แต่จะใช้สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองแทน
หรือผู้สมัครอิสระก็จะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ช้าง ถ้วย รถจักรยาน และอื่นๆ
ผู้เขียนคิดว่าสำหรับผู้เฒ่า คนแก่ จะเหมาะกว่าการใช้หมายเลข สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่
14 นี้ กลุ่มพรรคการเมืองที่ชื่อพรรคแนวร่วมแห่งชาติ
ทั้ง 13 พรรคจะใช้สัญลักษณ์เดียวกัน นั้นคือตราชั่ง
ส่วนกลุ่มพรรคการเมืองที่รวมตัวในนามของพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง
รวมทั้งพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซีย
จะใช้สัญลักษณ์ของพรรคความยุติธรรมของประชาชน ของดาโต๊ะสรีอันวาร์ อิบราฮิม สำหรับแนวร่วมแห่งสันติสุข (Gagasan
Sejahtera) แม้จะเป็นการรวมตัวของหลายพรรคก็ตาม
แต่พรรคหลักคือพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย
ดังนั้นสัญลักษณ์ของกลุ่มพรรคการเมืองนี้ จึงใช้สัญลักษณ์ของพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย แต่ในรัฐซาบะห์ ทางพรรคกิจประชาธิปไตย (DAP) และพรรคความยุติธรรมของประชาชน (PKR) ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แต่ว่าแต่ละเขต พรรคจะใช้สัญลักษณ์ของพรรคตัวเอง ในบางเขตจะเป็นการแข่งขันกันสามฝ่าย ทั้งจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง และกลุ่มพรรคแนวร่วมแห่งสันติสุข ดังนั้นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ในครั้งนี้ ถือเป็นการเลือกตั้งที่ค่อนข้างดุเดือด จนถือเป็นการยากที่จะวิเคราะห์ว่าบางเขตฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ เพราะมีการตัดคะแนนกันเอง พรรคอัมโนก็แตกออกมาเป็นพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซีย ส่วนพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียเอง ก็แตกออกมาเป็นพรรคอามานะห์แห่งชาติ
ดังนั้นสัญลักษณ์ของกลุ่มพรรคการเมืองนี้ จึงใช้สัญลักษณ์ของพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย แต่ในรัฐซาบะห์ ทางพรรคกิจประชาธิปไตย (DAP) และพรรคความยุติธรรมของประชาชน (PKR) ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แต่ว่าแต่ละเขต พรรคจะใช้สัญลักษณ์ของพรรคตัวเอง ในบางเขตจะเป็นการแข่งขันกันสามฝ่าย ทั้งจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง และกลุ่มพรรคแนวร่วมแห่งสันติสุข ดังนั้นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ในครั้งนี้ ถือเป็นการเลือกตั้งที่ค่อนข้างดุเดือด จนถือเป็นการยากที่จะวิเคราะห์ว่าบางเขตฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ เพราะมีการตัดคะแนนกันเอง พรรคอัมโนก็แตกออกมาเป็นพรรคภูมิบุตรสามัคคีแห่งมาเลเซีย ส่วนพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียเอง ก็แตกออกมาเป็นพรรคอามานะห์แห่งชาติ
ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 นี้ ไม่เพียงจะเป็นการตัดคะแนนกันไปมาระหว่างกลุ่มพรรคการเมืองที่แตกตัวออกมา
แต่มีการเจรจากันทางลับ ระหว่างพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียกับพรรคอัมโน
โดยตัวแทนพรรคทั้งสองได้เจรจาถึงโอกาสในการร่วมมือกัน
และก่อนการลงคะแนนเพียง 1 วัน ทางพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย โดยดาโต๊ะสรีฮัจญีอับดุลฮาดี อาวัง ประธานพรรค
ได้ออกหนังสือเวียนถึงผู้สนับสนุนพรรคว่า
ในเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครพรรคได้รับเสียงสูง ก็ให้สนับสนุนพรรคอย่างเต็มที่ แต่ในกรณีที่ผู้สมัครของพรรคมีเสียงที่ไม่ดีนัก
ก็ขอให้ผู้สนับสนุนพรรคลงคะแนนให้พรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งการกระทำเช่นนี้
ถือเป็นการป้องกันพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง โดยผู้สมัครจากพรรคอามานะห์แห่งชาติ
จะชนะการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มาเลเซีย
ได้กำหนดให้เปิดสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 28 เมษายน 2018 และมีการลงคะแนนล่วงหน้าในวันที่ 5 พฤษภา 2018
สำหรับบุคคลต่างๆ เช่น ทหาร ตำรวจ
ผู้สื่อข่าวและผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ
เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข เจ้าหน้าที่หน่วยดับเพลิง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และอื่นๆ
ตามที่กำหนด และให้ลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 9 พฤษภา 2018
ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. โดยมีเวลาในการหาเสียง 11 วัน
บางทีเราอาจสงสัยว่าทำไมเวลาค่อนข้างสั้นมาก
เราต้องเข้าใจว่าระบบกพรรคการเมืองของประเทศมาเลเซียนั้นจะเป็นแบบพรรคมวลชน
หรือ Mass party นั้นคือในแต่ละพื้นที่ จะมีสาขาพรรค
กลไกพรรคกระจายไปทั่วประเทศ สาขาพรรคจะทำหน้าที่เคลื่อนไหวตลอด
แม้มีเวลาหาเสียงก็จริง แต่พรรค สาขาพรรค กลไกพรรคมีการเคลื่อนไหว
หาเสียงมาเป็นเวลานับเดือน นับปีแล้ว ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 นี้ มีผู้ลงคะแนนทั้งหมด 14,940,624 คน โดยในการเลือกตั้งในครั้งนี้
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 222 ที่นั่ง และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ จำนวน 505 ที่นั่ง
ยกเว้นสภานินิบัญญัติแห่งรัฐของรัฐซาราวัค เพราะมีการเลือกตั้งแล้วเมื่อปี 2017
สำหรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้
ได้หักปากกาเซียนนักวิเคราะห์การเมืองเป็นแถว
โดยผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 มีดังนี้
ชื่อพรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ 79 166
พรรคปาส 18 90
พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง 113 226
พรรคมรดกซาบะห์ 8 21
ผู้สมัครอิสระ 3 -
อื่นๆ 1 2
รวม 222 505
รัฐที่ฝ่ายพรรคแนวร่วมแห่งชาติชนะสามารถจัดตั้งรัฐบาลท้องถิ่น
รัฐปาหัง
ชื่อพรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ 9 25
พรรคปาส 8
พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง 5 9
รวมที่นั่ง 14
รัฐเปอร์ลิส
ชื่อพรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
พรรคแนวร่วมแห่งชาติ 2 10
พรรคปาส - 2
พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง 1 3
รวมที่นั่ง 3 15
Tiada ulasan:
Catat Ulasan