โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
อิทธิพลของวรรณกรรมอาหรับในสังคมมลายู
นอกจากมีการเผยแพร่วรรณกรรมฮินดู
และวรรณกรรมชวาแล้ว
วรรณกรรมอาหรับก็มีการเผยแพร่สู่ภูมิภาคมลายู เป็นเวลานานแล้ว ในบันทึกของจีนใต้กล่าวว่าในปี 977
มีทูตที่นับถือศาสนาอิสลามชื่อ บูอาลี (อาบูอาลี)
ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนโดยเขาเดินทางมาจากรัฐโปนี (Poni) (บรูไน)
ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคมลายู
แรกเริ่มนั้นวรรณกรรมฮินดูที่ได้รับการยอมรับในสังคมมลายูได้ถูกแทรกด้วยความเชื่อของอิสลาม
ด้วยวิธีดังกล่าวทำให้สังคมมลายูง่ายต่อการยอมรับความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นก็เกิดเรื่องเกี่ยวกับศาสดา (Nabi) , บรรดาซอฮาบัต (Sahabat) และนักรบอิสลามคนอื่นๆ
ทั้งหมดนั้นเป็นการเล่าเรื่องด้วยวาจาครั้งตอนเผยแพร่ศาสนาอิสลาม จะถูกแพร่ยังภูมิภาคมลายูก่อนหน้านั้น แม้แต่คำว่า “Hikayat” ที่ใช้ในเรื่องราวของวรรณกรรมฮินดูและวรรณกรรมชวาก็ยืมมาจากคำในภาษาอาหรับ
หินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของกสุลต่านมาลีกุลซอลและห์
หินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของสุลต่านมาลีกุลซอลและห์
หินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของ Fatimah bt Maimun
อิทธิพลของภาษาอาหรับนั้นสามารถเห็นได้จากหินปักหลุมศพ
(Batu
Nisan) ของกสุลต่านมาลีกุลซอลและห์ (Sultan Malik-ul-Saleh) ซึ่งหินปักหลุมศพนั้นกล่าวว่ามาจาก Kembayat
(กัมพูชา)
น่าจะมาจากจามปามากกว่า
อักขระที่ใช้ที่หินปักหลุมศพนั้นได้กล่าวถึงเวลาที่สุลต่านมาลีกุลซอลและห์ ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งรัฐปาไซ (Pasai)
บนเกาะสุมาตรา องค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม และที่ Leran , Gresik เกาะชวา
ได้มีการพบหินปักหลุมศพของผู้หญิงมุสลิมคนหนึ่งชื่อ Fatimah bt
Maimun บันทึกว่า ปี
1082 ส่วนที่ตรังกานู (มาเลเซีย)
มีการพบศิลาจารึกด้วยอักขระที่สืบทอดบทบาทต่อจากอักขระเรนจง (Rancong) การสร้างอักขระยาวีนั้นแน่นอนต้องก่อนศตวรรษที่ 13
เพราะมีการใช้อักขระยาวีใน Hikayat
Raja Pasai ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของคนมลายูในการมีความคิดที่สูงและเค็มไปด้วยศิลปะ
Tiada ulasan:
Catat Ulasan