Rabu, 24 Januari 2018

อิทธิพลของวรรณกรรมอาหรับในสังคมมลายู

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
อิทธิพลของวรรณกรรมอาหรับในสังคมมลายู
         นอกจากมีการเผยแพร่วรรณกรรมฮินดู และวรรณกรรมชวาแล้ว  วรรณกรรมอาหรับก็มีการเผยแพร่สู่ภูมิภาคมลายู  เป็นเวลานานแล้ว  ในบันทึกของจีนใต้กล่าวว่าในปี  977  มีทูตที่นับถือศาสนาอิสลามชื่อ บูอาลี (อาบูอาลี)  ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนโดยเขาเดินทางมาจากรัฐโปนี (Poni) (บรูไน)  ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคมลายู
         แรกเริ่มนั้นวรรณกรรมฮินดูที่ได้รับการยอมรับในสังคมมลายูได้ถูกแทรกด้วยความเชื่อของอิสลาม  ด้วยวิธีดังกล่าวทำให้สังคมมลายูง่ายต่อการยอมรับความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  หลังจากนั้นก็เกิดเรื่องเกี่ยวกับศาสดา (Nabi) , บรรดาซอฮาบัต (Sahabat)  และนักรบอิสลามคนอื่นๆ   ทั้งหมดนั้นเป็นการเล่าเรื่องด้วยวาจาครั้งตอนเผยแพร่ศาสนาอิสลาม  จะถูกแพร่ยังภูมิภาคมลายูก่อนหน้านั้น  แม้แต่คำว่า “Hikayat”  ที่ใช้ในเรื่องราวของวรรณกรรมฮินดูและวรรณกรรมชวาก็ยืมมาจากคำในภาษาอาหรับ
                                 หินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของกสุลต่านมาลีกุลซอลและห์
หินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของสุลต่านมาลีกุลซอลและห์

                            หินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของ Fatimah  bt  Maimun
         อิทธิพลของภาษาอาหรับนั้นสามารถเห็นได้จากหินปักหลุมศพ (Batu Nisan) ของกสุลต่านมาลีกุลซอลและห์ (Sultan Malik-ul-Saleh) ซึ่งหินปักหลุมศพนั้นกล่าวว่ามาจาก Kembayat (กัมพูชา)  น่าจะมาจากจามปามากกว่า  อักขระที่ใช้ที่หินปักหลุมศพนั้นได้กล่าวถึงเวลาที่สุลต่านมาลีกุลซอลและห์  ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งรัฐปาไซ (Pasai) บนเกาะสุมาตรา องค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม  และที่ Leran , Gresik เกาะชวา ได้มีการพบหินปักหลุมศพของผู้หญิงมุสลิมคนหนึ่งชื่อ Fatimah  bt  Maimun  บันทึกว่า ปี 1082  ส่วนที่ตรังกานู (มาเลเซีย)  มีการพบศิลาจารึกด้วยอักขระที่สืบทอดบทบาทต่อจากอักขระเรนจง (Rancong)  การสร้างอักขระยาวีนั้นแน่นอนต้องก่อนศตวรรษที่  13  เพราะมีการใช้อักขระยาวีใน Hikayat  Raja Pasai ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของคนมลายูในการมีความคิดที่สูงและเค็มไปด้วยศิลปะ

Isnin, 22 Januari 2018

ตุน สรีลานัง ผู้เขียนประวัติศาสตร์มลายู

โดย นิอับดุลรากิบ  บินนิฮัสซัน

       Tun Sri Lanang ผู้เขียนประวัติศาสตร์ชาติมลายู
       ชื่อ Tun Sri Lanang เป็นชื่อเล่น (Nama Timangan) ของ Tun Muhammad bin Orang Kaya Paduka Raja Ahmadเขาได้รับแต่งตั้งเป็น Bendahara ของรัฐโยโฮร์ในสมัยของสมัยของ Suhan Ala Jalla Abdul Jalil Syah (Raja Abdullah) เขาเกิดเมื่อปี 1565ที่ Bukit Seluyut, Kota Tinggi ของรัฐโยโฮร์   ต่อมา Sultan Alauddin Riayat Syah และ Tun Sri Lanang ได้ลี้ภัยทางการเมืองจากรัฐโยโฮร์ไปยังอาเจะห์ และ Tun Sri Lanang เสียชีวิตที่เมื่อปี 1615 Tun Sri Lanang ได้เขียนหนังสือชื่อ  Salalatus หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า การเขียนหนังสือเกิดขึ้นจากคำสั่งของสุลต่านที่ให้มีการปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องของหนังสือ Hikayat Melayu

หนังสือ Selalatus Salatin ถือเป็นหนังสือที่เป็นแกนหลักของหนังสือประวัติศาสตร์ของชนชาติมลายูหนังสือ Hikayat Melayu ที่ Tun Sri Lanang ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องนั้นเป็นหนังสือ HiKayut Melayuจากเกาะสุลาเวซี นำมายังรัฐโยโฮร์และ Raja Ali Haji มีชื่อเดิมว่า Raja Haji Ali bin Raja Haji Ahmad (1809 - 1870) โดย Raja Haji Aliได้รับการศึกษาจากระบบการศึกษาศาสนา (อาหรับ) งานเขียนของเขาจะมีคำในสมัยภาษามลายูคลาสสิค โดยได้รับอิทธิพลด้วยคำในภาษาอาหรับ