โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ชีวประวัติดร. อาลี
ชารีอาตี (Dr. Ali
Shariati) (1933–1977)
เป็นนักสังคมวิทยาชาวอิหร่าน
งานเขียนส่วนใหญ่จะเป็นด้านสังคมวิทยาศาสนา เกิดในปี 1933 ที่เมืองมาซีนาน (Mazinan) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของเมืองซาบเซวาร์ (Sabzevar) ประเทศอิหร่าน บิดาของเขาเป็นนักชาตินิยมก้าวหน้าและเป็นนักการศาสนา
ซึ่งมีผลทำให้การเข้าร่วมในขบวนการทางการเมืองของ ดร. อาลี ชารีอาตีในเวลาต่อมา
ในสมัยที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยครู
เขาได้คบค้าสมาคมกับเยาวชนที่มาจากชนชั้นด้อยทางเศรษฐกิจ
เขาเองมีความรู้เกี่ยวกับวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และปรัชญา โดยเขาได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของ Moulana Rumi และ Muhammad Iqbal. เขาได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมาชฮัด
(University of Mashhad) ต่อมาศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นที่มหาวิทยาลัยปารีส (University of Paris) โดยเขาได้รับปริญญาเอกด้านสังคมวิทยา
ในปี 1964. ต่อมาในปี 1965 เขาได้เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมาชฮัด (University
of Mashhad) เขาได้รับการยอมรับจากผู้คนในด้านความรู้วิชาการของเขา
จนเขาถูกจับโดยพระเจ้าชาห์ เมื่อเขาถูกปล่อยตัว
เขาได้เดินทางไปยังกรุงเตหะราน
โดยเข้าสอนที่สถาบันการศึกษาที่มีชื่อว่าสถาบันฮุสเซ็นนียา เอร์ชาด
การสอนของเขายิ่งเพิ่มจำนวนผู้เข้าฟังมากขึ้น
จนทางพระเจ้าชาห์ทำการจับกุมเขาและนักศึกษาจำนวนหนึ่ง เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ต่อมาได้รับการปล่อยตัว เมื่อ
20 มีนาคม 1975
โดยมีเงื่อนไขห้ามมีการสอน
การพิมพ์งานเขียน
หรือเข้าไปเกี่ยวข้องใดๆกับกิจกรรมทางการเมือง
ทางหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า SAVAK จะติดตามการเคลื่อนไหวของเขาทุกย่างก้าว
เขาปฏิเสธเงื่อนไขดังกล่าวโดยเดินทางออกนอกประเทศ ไปยังประเทศอังกฤษ สามสัปดาห์ต่อมาเขาสิ้นชีวิต โดยมีการประกาศว่าเป็นโรคหัวใจวาย แต่เป็นที่รับรู้ว่าการตายของเขาเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า SAVAK
สุสานของเขาตั้งอยู่บริเวณสุสานของนางไซนับ บินตีอาลี (Zainab bint Ali) ในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย
สำหรับงานเขียนของเขาที่สำคัญมีดังนี้ Hajj (The Pilgrimage), Where Shall We Begin?,
Mission of a Free Thinker, The Free Man and Freedom of the Man, Extraction and
Refinement of Cultural Resources,
Martyrdom (book), Arise and Bear Witness, Ali, Declaration of Iranian's
Livelihood, Islamology งานเขียนของเขามีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งได้รับการแปลเป็นภาษามลายูและภาษาไทย สำหรับหนังสือที่แปลเป็นภาษาไทย ส่วนหนึ่งมีอยู่ในหอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
Tiada ulasan:
Catat Ulasan