Jumaat, 23 Jun 2017

ขบวนการอาเจะห์เสรี ตอนที่ 7

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
2. จากสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์สู่ขบวนการอาเจะห์เสรี
การขาดการติดต่อนสื่อสารและการประสานงานครั้งนี้ไม่ทำให้ขวัญกำลังของดาวุด  บือเระห์  และผู้สนับสนุนของเขาลดลง  เพียงว่าดารุด  บือเระห์มีความรู้สึกเสียใจว่าทำไมบรรดาผู้อาวุโสองเขา เช่น  มูฮัมหมัด  นาเซร์และชัฟรุดดิน  ปราวีรานคราต้องการมอบตัวต่อซูการ์โน  ถึงอย่างนั้นก็ตาม ดาวุด  บือเระห์มีความมั่นใจว่าประชาชนชาวอาเจะห์สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูขวัญกำลังใจการต่อสู้ของพวกเขาเอง  สำหรับดาวุด  บือเระห์แล้ว  ดารุลอิสลามสามารถฟื้นฟูและดำเนินการต่อสู้ปฏิวัติอาเจะห์ได้  ทั้งที่ความจริงแล้ว  ขณะนั้นมันไม่ใช่เป็นเรื่อง่ายเลยต่อดาวุด  บือเระหืในการต่อสู้กับซูการ์โน  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ด้วยหลังจากมูฮัมหมัด  นาเซร์ได้มอบตัวแล้ว  ผู้นำดารุลอิสลามจำนวนมากได้ร่วมมอบตัว  อย่างเช่น  คณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์มีเพียง  10  คน  นอกจากนั้นได้มอบตัวกลับสู่อ้อมกอดสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ด้วยเพราะบรรดาผู้นำหนุ่มของดารุดอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียยังคงร่วมต่อสู้  ดังนั้น  ดาวุด  บือเระห์จึงยืนหยัดต่อสู้ต่อไป

เพื่อสร้างความมั่นใจต่อกลุ่มตนเอง  และเพื่อเป็นการร่วมกำลังในการต่อสู้ของเขา  ไม่กี่วันหลังจากมูฮัมหมัด  นาเซร์มอบตัว  ในช่วงเดือนสิงหาคม  1961  ดาวุด  บือเระห์ได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์  เหตุการณ์นี้เป็นที่ชัดเจนว่าสามารถฟื้นฟูขวัญกำลังใจการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์ต่อซูการ์โน  ด้วยการประกาศสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์นี้การต่อสู่ของประชาชนชาวอาเจะห์ได้กลายเป็นแบ่งแยกจากการต่อสู้ที่หลากหลายพื้นที่อื่น  อาเจะห์ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ของดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียอีกต่อไป  สำหรับดาวุด  บือเระห์  การต่อสู้ของสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์เป็นสงคราม  และการต่อสู้สงครามศักดิ์สิทธิ์ในดินแดนอาเจะห์  และเพื่อประชาชนชาวอาเจะห์เท่านั้น

ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการก่อกบฏ  กลุ่มผู้ก่อกบฏสามารถมีอำนาจเกือบทั้งหมดของดินแดนอาเจะห์ (11) ขวัญกำลังของประชาชนมีเพียงเพื่อทำให้การจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์สำเร็จเท่านั้น  ยกเว้นเมื่องใหญ่ๆ  เช่น  เมืองบันดาอาเจะห์,  ซิกลี,  ลังซา  และมือลาโยะห์  ที่กลุ่มกบฏดาวุด  บือเระห์ไม่สามารถมีอำนาจเหนือได้  นอกนั้น  เกือบทั้งหมดของทปูบ้านให้การสนับสนุนดาวุด บือเระห์  การประกาศแนวดาวุด  บือเระห์นี้ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันในพื้นที่ชนบท  สถานการณ์ทั่วดินแดนอาเจะห์มีความรู้สึกว่าอยู่ในการปฏิวัติ  ประชาชนชาวอาเจะห์กล้ายกำลังเตรียมพร้อมในการทำสงครามศาสนากับคนนอกศาสนา  (กาฟีร์)  โดยการร้องตะโกนว่า  พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่  กองกำลังดาวุด  บือเระหื  ไม่มีความเกรงกลัวในการผจญหน้ากับกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซีย


ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้เพราะในหมู่ประชาชนชาวอาเจะห์มีความรู้สึกว่าพวกเขาถูกกดขี่โดยรัฐบาลซูการ์โน  ด้วยเหตุนี้ประชาชนชาวอาเจะห์รู้สึกว่าเกียรติยศของตนเองถูกเหยียบหยาม  ความจริงนั้นคือ  ประชาชนได้พบเห็นโดยตรงถึงการที่รัฐบาลซูการ์โนได้ทำให้โครงสร้างผู้นำทางขนบธรรมเนียมประเพณีต้องสูญสิ้นไป  และไม่สนใจบทบาทของผู้นำศาสนาต่อการดำรงชีวิตภายในประเทศ  ซูการ์โนไม่เคยเรียนรู้อาเจะห์ไม่ว่าเกี่ยวกับวัฒนธรรม  ศาสนา  แต่ได้ทำให้อาเจะห์เป็นจังหวัดที่มีล้านปัญญาชน  และในขณะที่ประชาชนชาวอาเจะห์กำลังต่อสู้อย่างเข้มข้นนั้น  รัฐบาลซูการ์โนแก้ไขปัญหาด้วยกำลังอาวุธ

ด้วยอาวุธที่มีจำกัดของกำลังดาวุด  บือเระหื  ทำให้พวกเขามีความลำลากในการควบคุมพื้นที่ที่ถูกยึด  กองกำลังของดาวุด  บือเระห์  มักถูกกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซียขับไล่โดยง่าย  ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ตามพวกเขาได้ต่อสู้ด้วยทำสงครามจรยุทธในหลายพื้นที่ชนบาท  จนถึงก่อนถึงวาระสุดท้ายของประวัติศาสตร์สาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์  กองกำลังของดาวุด  บือเระห์  เพียงเคลื่อนไหวในเขตป่าและพื้นที่ชนบทของอาเจะห์ปีดี  และอาเจะห์เหนือ  นอกนั้นกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซียสามารถขับไล่พวกกบฏโดยง่ายความอ่อนแอของกำลังทหารและอาวุธที่มีจำกัดเช่นนี้  ทำให้กองกำลังสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์รู้สึกอ่อนล้า  ปันป่วน  หมดหวัง  เพียงภายในเวลาหนึ่งปีขวัญกำลังใจ  การก่อกบกของพวกเขาถดถอย

ไม่เป็นเรื่องแปลกเมื่อมีข้อเสนอจากพลเอก  เอ.เอช. นาซูตียุน  รัฐมนตรีรักษาความสงบภายในให้กองกำลังสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์กลับคืนสู่อ้อมกอดของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ปรากฏว่าพวกเขาก็ทำตาม  ข้อเสนอของนาซูตียุน  ถูกส่งผ่านแม่ทัพภาคที่ 1  อิสกันดาร์  มูดา  ที่ชื่อพันเอก  มูฮัมหมัด  ยาซีน  ยาซีนผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลางนี้ได้ดำเนินติดต่อกับผู้สนับสนุนดาวุด  บือเระห์  มีการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายหลายครั้ง  เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่หลั่งเลือดในพื้นที่นั้น  ในการเจรจาของทั้งสองฝ่ายนั้นมีนักการศาสนาได้เข้าร่วมด้วย  จนกระทั่งนักการศาสนาบอกกล่าวถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นตัวทำลายทั้งต่อดาวุด  บือเระห์  หรือต่อ  มูฮัมหมัด  ยาซีน  ที่เป็นตัวแทนสาธารณรัฐอินโดเนเซีย

ไม่เพียงเท่านั้น  ก่อนหน้าที่  ยาซีนได้ขอร้อง  เอช.เอ็ม. นูร์เอล-อิบราฮีมี  ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตอาเจะห์ให้เดินทางกลับบ้านเกิดโดยด่วน  อิบราฮิมถูกขอร้องให้ค้นหา  พบปะ  และเกลี้ยกล่อมดาวุด   บือเระห์  บังเอิญว่าดาวุด  บือเระห์เป็นต่อตาของอิบราฮิม  ผู้นำการต่อสู้ของอาเจะห์ผู้นี้จึงไม่อาจปฏิเสธได้  เจาจึงเข้าป่าเพื่อค้นหาพ่อตาตัวเองภายหลังจากมีการเจรจาเป็นเวลา  5 วัน  5  คืน  ในที่สุด  ดาวุด  บือเระห์ก็เห็นด้วยสำหรับการลงจากภูเขาขานรับข้อเสนอของพลเอก  เอ.เอช. นาซูตียุด  รัฐมนตรีรักษาความสงบภายใน  และยุติการก่อกบฏพร้อมกลับสู่อ้อมอกของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย

สำหรับด้านอื่นนั้น  จากการเจรจากับผู้นำอาเจะห์หลายครั้งในที่สุดมีการเห็นชอบโดยรัฐบาลกลางจะให้สิทธิเต็มที่ในการดำเนินการปฏิบัติตามหลักชารีอะห์กฎหมายอิสลามแก่ประชาชนชาวอาเจะห์  ดาวุด  บือเระห์  พร้อมผู้สนับสนุนก็เต็มใจรับข้อเสนอดังกล่าว  ทั้งสองฝ่ายจึงมีโครงการจัดดำเนินการตามหลักการชารีอะห์ต่อประชาชนชาวอาเจะห์  (แต่ว่าจนถึงปัจจุบันร่างโครงการจัดดำเนินตามหลักการชารีอะห์ถูกระงับโดยรัฐบาลกลาง)

เส้นทางแห่งสันติภาพที่มีขึ้นจนได้โดยไม่มีฝ่ายใดลงโทษประหารชีวิตแต่สิ่งที่มีขึ้นคือการอภัยโทษต่อสมาชิกทุกคนของกองกำลังสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์  สำหรับพวกเขาที่สนใจเข้าร่วมเป็นกำลังของกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย  ทางรัฐบาลกลางก็ยินดีรับเข้าร่วม  ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอิสลามอาเจะห์  คือ พันเอกฮาซัน  ซาและห์ ซึ่งเข้าร่วมกับกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย  และคงได้รับผลเป็นพันเอกเช่นเดิม   การก่อกบฎก็ได้กลายเป็นอดีตที่ข่มขื่น  เพราะตลอดการเกิดกบฎดารุลอิสลามอินโดนีเซียที่อาเจะห์ ตั้งแต่ปี 1953 จนถึง 1964  มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,000 คน

เพื่อทำให้เกิดสิ่งที่ดีกว่านี้  ประชาชนชาวอาเจะห์จึงมีการรวมชุมนุมขนาดใหญ่โดยเรียกว่าการประชุมประชาชนชาวอาเจะห์  ( Musyuarat  Kerukunan  Rakyat  Aceh ) การชุมนุมที่มีประชาชนและบรรดานักการเมืองครั้งนี้เกิดขึ้นที่พลังปาดัง  เมื่อ 22 ธันวาคม  1962  การประชุมประชาชนชาวอาเจะห์  ครั้งนี้ต่อมาเป็นปฎิญญาพลังปาดังโดยมีผู้ทำสำคัญของอาเจะห์จำนวน  17 คน ภายหลังการเกิดปฎิญญานี้ดินแดนอาเจะห์ก็สงบลงและร่มเย็นเป็นปกติ  ไม่มีการก่อกบฏเกิดขึ้นอีกเลยและกองกำลังดารุลอิสลามและกองทัพอิสลามอินโดนีเซียทั้งหมดก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม   อีกส่วนหนึ่งนั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย  จนวาระสุดท้ายของรัฐบาลยุคเก่าภายใต้การนำของซูการ์โนดินแดนอาเจะห์ก็สงบสุขเป็นปกติ  ประชาชนชาวอาเจะห์สามารถลืมรอยแผลจากการก่อกบฎดารุลอิสลาม / กองทัพอินโดนีเซียได้    เอกเช่นเดียวกันกับในสมัยต้นของยุคใหม่ภายใต้การทำของซูการ์โน ดินแดนอาเจะห์ก็ยังสงบสุข   เหตุการณ์ 6- 30 –s  /PKI และการปฎิบัติการกวาดล้างต่อคนที่ถูกถือว่าเป็นลูกสมุนของพรรคคอมมิวนีสต์อินโดนีเซียในอาเจะห์  แต่ไม่ครึกโครมเหมือนในจังหวัดสุมาตราเหนือ  อันเป็นจังหวัดพื้นบ้าน

3. การเกิดขบวนการอาเจะห์เสรี
กลับมาดูสถานการณ์ในอาเจะห์อีกครั้ง  เพราะบรรดาผู้นำอาเจะห์เห็นว่ารัฐบาลยุคใหม่ภายการนำของซูฮาร์โต  เป็นที่แน่ชัดว่าไม่ได้ทำผลประโยชน์อะไรเลยเข้ามาสู่ดินแดนอาเจะห์   ซูฮาร์โต และซูการ์โนไม่แตกต่างกันเลย   ยิ่งซูฮาร์โตเริ่มแสดงออกถึงพฤติกรรมของความโลภโดยขโมยทรัพยากรณ์ธรรมชาติของอาเจะห์ผ่นโครงการระดับนานาชาติในยุคปี 1970  ความหวาดระแวงของผู้ทำอาเจะห์ครั้งนี้ก็เป็นจริง  ภายหลังเห็นว่าซูฮาร์โตรับอำนาจนิติบัญญัติผ่านการเลือกตั้งในปี  1971  ที่นำพรรคโกลการ์ชนะแบบทะล่มทะลาย  จากสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้นำหัวรุนแรงของดารุลอิสลามส่วนหนึ่งมีความแน่วแน่ที่ต้องจัดตั้งขบวนการ  โดยวิธีการเริ่มก่อนการเลือกตั้งในปี  1977            จนกระทั่งได้เกิดเป็นขบวนการอาเจะห์เสรี( GAM )


ถึงแม้ว่าขบวนการอาเจะห์เสรีได้เกิดขึ้นแล้ว  แต่ในการเลือกตั้งปี  1977  ประชาชนชาวอาเจะห์ยังมีไม่มากที่รับรู้เกี่ยวกับขบวนการต่อสู้ดังกล่าว  ที่พวกเขารู้มีเพียงพรรคร่วมพัฒนา (Partai Persatuan  Pembangunan) หรือ PPP ที่มีสัญญาลักษณ์ภาพกะบะห์  เป็นการเกิดการต่อสู้ใหม่  ของจิตวิญญาณดารุลอิสลาม  ในขณะนี้นช่วงการเลือกตั้งปี  1977  สถานการณ์ที่อาเจะห็เริ่มมีวิกฤติ   นั้นคือรัฐบาลยุคใหม่เริ่มมีการแทรกแซงควบคุมดินแดนแห่งระเบียบมะกะห์นี้ส่วนหนึ่งของผู้นำอาเจะห์ที่เพียงมีผลประโยชน์ส่วนตัวได้ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสนับสนุนพรรคโกลการ์  ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐบาลยุคใหม่  ในการเลือกตั้งปี  1977 ประชาชนรุ้สึกว่าถูกกดขี่จึงได้ปฏิเสธสิ่งนั้น  เหตุการณ์นี้ได้ทำให้สถานการณ์เอื้ออำนวยต่อขบวนการอาเจะห์เสรีที่เพิ่งเกิด  เพื่อปลูกฝังอิทธิพลของเขาต่อประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลกลางดังนั้นการแย่งชิงกันระหว่างสามเส้าคือประชาชน  -  ขบวนการอาเจะห์เสรี รัฐบาล  ยุคใหม่มในขณะนั้นไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน   ความขัดแย้งเหล่านั้นค่อนข้างจะปิดลับ

อ้างอิง 
11. Hasan  Saleh (1992) : Mengapa Aceh Bergolak.

Tiada ulasan: