โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
ในหลักการของดาวุด บือเระห์
ประเทศอิสลามอินโดเนเซีย
เขตอาเจะห์
เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการปกครองอิสระที่กว้างขวาง จังหวัดปกครองอิสระนี้มีผู้นำโดยตรงคือ ดาวุด
บือเระห์ ในการนำของดาวุด บือเระห์นั้น
มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ 3
คน คือ
ฮาซัน อาลี รับผิดชอบเขตอาเจะห์ใหญ่, ปีดี
และอาเจะห์กลาง ฮาซัน สาและห์รับผิดชอบเขตอาเจะห์เหนือ, อาเจะห์ตะวันตก และตาปานูลีตะวันตก สำหรับการปกครองระดับ 2
(อำเภอ) ดาวุด บือเระห์
ได้แต่งตั้งนายอำเภอจำนวนหนึ่ง
นายอำเภออาเจะห์ใหญ่ คือ สุไลมาน
ดาวุด
ตอนที่แรกเริ่มการต่อสู้ของประเทศอิสลามอินโดเนเซียจับกุมในปี 1954
ตำแหน่งของเขาจึงถูกแทนที่โดยอิสหัก
อามีน
ส่วนอาเจะห์ปีดีมีนายอำเภอชื่อ
ที.เอ.ฮาซัน
อาเจะห์เหนือมือนายอำเภอชื่อ
เธอ อับดุลฮามิด อาเจะห์ตะวันออกมีนายอำเภอชื่อ สาและห์อัครี
และอาเจะห์ใต้มีนายอำเภทชื่อ
ซากาเรีย ยูนุส สำหรับการต่อสู้ทางทหาร ดาวุด
บือเระห์ ได้จัดตั้ง 7
กองพันทหาร
และอีกหน่วยตำรวจภายใต้การนำของ
เอ อาร์. ฮาชิม
ภายหลังจากได้จัดตั้งหน่วยพลเรือนและทางทหารแล้ว ดาวุด
บือเระห์
ก็ดำเนินการต่อสู้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนเซีย การต่อสู้นี้เกิดขึ้นเนื่องจากได้รับการกดดันจากกำลังทหารของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย เมื่อหลีกเลี่ยงการสงครามอย่างเปิดเผย
และการถูกจับกุมจากกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซีย (TNI) ทางกองกำลังประเทศอิสลามอินโดเนเซีย เขตอาเจะห์
เลือกการเข้าป่า
จากตรงนี้พวกเข้าได้สร้างพลังของดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย
สว่นรัฐบาลซูการ์โนนั้นใช้วิธีการหลากหลายวิธี
รวมทั้งการเจรจาการทูตเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่อาเจะห์นี้
ถึงจะฉะนั้นก็ตาม บรรดานักต่อสู้ชาวอาเจะห์
ไม่สนใจสิ่งนั้นพวกเขายิ่งผิดหวังต่อซูการ์โน นั่นคือเมื่อเดือนมีนาคม 1955
เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวบ้าน
ซึ่งกระทำโดยรัฐบาลซูการ์โน
ขณะนั้นมีประชาชนประมาณ 64 คน
ที่ไม่มีความผิดที่หมู่บ้าน
โจต จิมปา, อาเจะห์ใหญ่
ถูกบังคับให้เข้าเรียงแถวที่สนามแห่งหนึ่ง
แล้วพวกเขาถูกยิงจนเสียชีวิต
พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคนของดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย
แต่ตามคำบอกเล่าของอดีตหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และการศึกษาของกองทัพประชาชนอินโดเนเซีย เขตฆาระห์ 1 อาเจะห์ คือ
นาย เอช.เอ็ม.นูร์ เอล – อิบราฮีมี ได้ยืนยันว่าพวกเขาไม่ผิด พวกเขาเป็นเพียงประชาชนทั่วไปที่ตามคนอื่นเท่านั้น (8)
การกระทำสิ่งนี้ยังทำให้ผู้นำอาเจะห์ที่สนับสนุนรัฐบาลซูการ์โนผิดหวังด้วย
มีผลทำให้ประชาชนชาวอาเจะห์ยิ่งสนับสนุนดาวุด บือเระห์
มากขึ้นในการเลือกตั้งปี 1955
ที่เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์ที่สงบในอาเจะห์ ตรงกับวันที่
23 กันยายน 1955
บรรดาผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดสมัชชาประชาชนชาวอาเจะห์
กิจกรรมครั้งนี้ต่อมารู้จักในนามสมัชชามาตีกรง
ความจริงแล้วสมัชชาครั้งนี้เกิดจากการผลักดันของบรรดาผู้นำดารุลอิสลามเพื่อสร้างความมั่นคงของการปกครองของประเทศอิสลามอินโดเนเซีย
ที่อาเจะห์ที่พวกเขาได้ประกาศสนับสนุนเมื่อ 2 ปี
ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 21
กันยายน 1953 ในการประชุมสมัชชาครั้งนี้บรรดาผู้นำดารุลอิสลามได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับรัฐอิสลามที่พวกเขาได้จุดประกายเมื่อสองปีที่แล้ว
บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาประชาชนอาเจะห์ได้พร้อมกันยกผู้นำรัฐเป็นประธานรัฐประชาชนอาเจะห์ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยว่า ผู้เข้าร่วมสมัชชาจะพร้อมกันยกเต็งกู มูฮัมหมัด
ดาวุด บือเระห์ เป็นผู้นำรัฐและประธานรัฐประชาชนอาเจะห์
หลักการเกี่ยวกับประเทศของพวกเขาเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง ถ้าในตอนประกาศสนับสนุนการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซียภายใต้การนำของการ์โซวีร์โจ เมื่อวันที่
21 กันยายน 1953
นั้น บรรดาผู้นำดารุดอิสลาม /
กองทัพอิสลามอินโดเนเซียถือว่าอาเจะห์เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอิสลามอินโดเนเซีย ดังนั้นตั้งแต่การประชุมสมัชชา, ประชาชนอาเจะห์
พวกเขากล่าวว่าอาเจะห์เป็นรัฐอาเจะห์ซึ่งอยู่ในสหพันธรัฐของประเทศอิสลามอินโดเนเซียที่มีผู้นำชื่อการ์โตโซวีร์โจ ที่ชาวตะวันตก
ด้วยประการฉะนั้น บรรดาผู้นำดารุลอิสลาม /
กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย เขตอาเจะห์ ได้เห็นถึงระบบการปกครองแบบทวิเป็นเวลา 2 ปี
สุดท้ายในการต่อสู้ของพวกเขานั้นไม่สัมพันธ์กันอีกต่อไป พวกเขาจึงลงมติใช้ระบบการปกครองแบบปกติโดยการแยกการปกครองพลเรือนและอำนาจทหาร
พวกเขามั่นใจว่าการปกครองพลเรือนต้องดำเนินการโดยนักการเมืองพลเรือน ส่วนอำนาจทางทหารนั้น สมควรที่บรรดานักการทหารเป็นผู้รับผิดชอบ
จนทำให้การต่อสู้กับกองกำลังซูการ์โนมีผลและสำเร็จเพื่อทำให้การปกครองมีผลทางสมัชชาประชาชนอาเจะห์ได้จัดตั้งสภาผู้แทนราษฎร โดย เต็งกู
ฮูซิน อัล –
มูจาฮิด
ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฏรหรือสมัชชาซูรอ
หลังจากส่วนประกอบทั้งสามได้พร้อมใจกันแล้ว
บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาได้ลงมติจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์ โดยทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาของรัฐ
นี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอาเจะห์ที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์ ที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแบบสมัยใหม่
นี้นับเป็นก้าวหนึ่งของประชาชนชาวอาเจะห์ในการต่อสู้กับการปกครองของซูการ์โน ผู้ว่าราชการอาเจะห์ขณะนั้นคือ อับดุลวาฮับ
เหมือนไม่สามารถจะทำอะไรได้เลยต่อการกดดันทางการเมืองจากบรรดานักต่อสู้กดารุลอิสลาม ไม่เพียงอับดุลวาฮับเท่านั้น นับตั้งแต่ดาวุด บือเราะห์ได้เข้าป่า และประกาศสงคามต่อการปกครองชองซูการ์โน บรรดาผู้นำการปกครองท้องถิ่นที่อาเจะห์ล้วนวางตัวเป็นกลาง
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาเจะห์เพียงปลงตกต่อสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจังหวัดอาเจะห์ถูกยุบลง
นับตั้งแต่จังหวัดอาเจะห์ถูกยุบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราเหนือ ผู้นำท้องถิ่นดินแดนแห่งเบียงมักกะห์นี้ถูกโอนให้กับดานูโบรโตในปี 1951
การนำของเขามีอายุไม่นานนัก เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ต่อมาถูกมอบอำนาจให้แก่ สุไลมาน
ดาวุด , อับดุลวาฮับ และอับดุลราซิค
ทั้งหมดนี้ล้วนสามารถอยู่ได้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น
การกดดันจากนักต่อสู้ดารุลอิสลามรุนแรงยิ่งนัก โดยเฉพาะหลังจากการประชุมสมัชชาประชาชนอาเจะห์
ยิ่งสมัชชานั้นสามารถจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์ประกอบด้วยบุคคล 9 คน
โดยการนำของนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อว่า
ฮาซัน อาลี
พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย,
พันโทฮูซัน ยูซูฟ เป็นรัฐมนตรีกลาโหม, เต็งกูไซนาล
อาบีดิน เป็นรัฐมนตรียุติธรรม,
เอ.จี.มูเทียรา
เป็นรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์,
มูฮัมหมัดอามีน
เป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจและทรัพยากร,
มูฮัมหมัด อาลีกาซิม เป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการ, เต็งกูฮารุน
บี.อี.
เป็นรัฐมนตรีกิจการสังคม
และเอ็ม.วาย. ฮาริม เป็นรัฐมนตรีการประสานงาน
สำหรับผู้นำการทหาร รัฐอาเจะห์ได้แบ่งออกเป็น 7 หน่วยการทหาร และการต่อสู้ กรมที่ 1 / ฆายะห์ปูเตะห์ ผู้นำคือ
อิบราฮิม ซาและห์, กรมที่ 2 / สมุทรา ผู้นำคือ
เอช. อิบราฮิม, กรมที่ 3 /
ซาลาฮุดดินย ผู้นำคือ ลาอุตตาวาร์
ผู้นำคือ อิลเลียส ลือเบ,
กรมที่ 6 / โกตาการัง
ผู้นำคือ อับดุลวาฮับ อิบราฮิม
และกรมที่ 7 / ตาร์มีฮิน
ผู้นำคือ ฮาซานุดดิน ซีเรฆาร์
นอกจากผู้นำการทหารในหลายพื้นที่
มีการตั้งผู้นำพลเรือน
ในการประชุมสมัชชาครั้งนั้นมีการลงมติให้รัฐอาเจะห์มี 6
อำเภอ
โดยศูนย์กลางตั้งอยู่ที่อาเจะห์ปีดี, อาเจะห์เหนือ,
อาเจะห์ตะวันออก,
อาเจะห์ตะวันตก, อาเจะห์กลาง และอาเจะห์ใหญ่
การจัดตั้งการปกครองพลเรือนและผู้บัญชาการการทหารนี้มีการจัดกิจกรรมการทำงานแยกกัน สำหรับการทำงานของคณะรัฐมนตรี บรรดารัฐมนตรีของรัฐอาเจะห์มีการชุมนุมเฉพาะในวันที่ 27
กันยายน 1955 หรือ
4 วันหลังจากที่มีการจัดตั้ง
แต่กิจกรรมนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะบรรดานักต่อสู้ดารุลอิสลามถูกกดดันอย่างหนักจากรัฐบาลส่วนกลางที่ได้ส่งกำลังทหารจำนวนหนึ่งจากกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซียที่ร่วมกันในปฏิบัติการ 17
สิงหาคม
ถึงแม้ว่าจะส่งกำลังทหารจากกองทัพแห่งชาติ
แต่นักการเมืองในกรุงจาการ์ตาดำเนินการในการเจรจาทางการทูต
รัฐบาลซูการ์โนแสดงออกการประนีประนอมด้วยการสัญญาให้สถานะเขตปกครองพิเศษแก่อาเจะห์ทั้งหมดนี้แสดงออกเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อ
หนึ่งในการพยายามที่เป็นยุทธวิธีคือในวันที่ 27 มกราคม 1957
ซูนาร์โย
รัฐมนตรีมหาดไทยได้แต่งตั้งผู้นำนักการศาสนาอาเจะห์ที่ชื่อ อาลี
ฮัชมี
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดินแดนระเบียงมักกะห์แห่งนั้น การแต่งตั้งอาลี ฮัชมี
เป็นภาพลักษณ์ของการประนีประนอมรัฐบาลซูการ์โน ต่อการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
ก้าวต่อมาติดตามด้วยกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซีย มีการแต่งตั้งพันโทซามาอูน ฆาฮารู
เป็นผู้บัญชาการการทหารเขตอาเจะห์
ซามาอูน ฆาฮารู
เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังที่ไปจู่โจมฐานของบรรดาขุนนางอาเจะห์ที่ต่อต้านการประกาศเอกราชสาธารณรัฐอินโดเนเซียในเดือนกันยายน 1945 เหตุการณ์จู่โจมครั้งนั้นรู้จักกันในนามเหตุการณ์จุมบอก
ซึ่งเป็นการยุติประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของกลุ่มขุนนางที่อาเจะห์ การทำงานของอาลี ฮัชมีและ
ฆาฮารู
มีผลทำให้ไดรับความร่วมมือจากนักต่อสู้ดารุลอิสลาม /
กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย พวกเขาได้ทำการพบปะหลายครั้งจนทำให้มีการยุติสงครามระหว่างรัฐบาลอินโดเนเซียกับบรรดานักต่อสู้ดารุลอิสลาม
/ กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย
สำหรับก้าวแรกที่ต้องทำเพื่อยุติการเป็นศัตรูต่อกัน มีการลงนามเรียกว่าปฏิญญาลามเทในเดือนกรกฎาคม 957
เนื้อหาของปฏิญญานั้นหนึ่งในนั้นมีว่าจะเชิดชูเกียรติและความสำคัญของศาสนาอิสลามประชาชนและดินแดนอาเจะห์
นับแต่นั้นสถานการณ์การก่อกบฏในอาเจะห์ก็สามารถดับลง เหตุการณ์อาเจะห์ก็สงบลง
เป็นที่น่าเสียดาย สถานการณ์สงบนี้มีอยู่ได้ไม่นาน ในวันที่ 15
กุมภาพันธ์ 1958 เกิดกบฏขึ้นเรียกตัวเองว่า การปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย (PRRI) และเปอร์เมสตา
(Permasta)
เกิดขึ้นในหลายพื้นที่
ที่เกาะสุมาตราศูนย์ของกบฏตั้งอยู่ที่สุมาตราเหนือ และสุมาตราตะวันตก ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนักต่อสู้ดารุลอิสลามที่อาเจะห์กับกลุ่มการปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
/ เปอร์เมสตา
ทำให้สถานการณ์ของอาเจะห์กลับร้อนขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 1958
ผู้นำผู้ปกครองที่ปฏิวัติของสาธารณรัฐอินโดเนเซียทำให้การทำงานร่วมกันกับบรรดาผู้นำรัฐอาเจะห์มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านการทหาร รัฐบาลส่วนกลางก็กังวลที่ต้องประสบกับสิ่งนี้
ในขณะที่เกิดกบฏผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ดาวุด
บือเระห์ได้ตัดสินยุติความสัมพันธ์กับดารุลอิสลาม /
กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย ของการ์โตโซวีร์โจที่ชาวตะวันตก
ซึ่งขณะนั้นเกือบทั้งหมดถูกปราบโดยซูการ์โน การแสดงออกของดาวุด
บือเระห์ที่เข้าร่วมกับผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรรัฐอินโดเนเซียได้มีคำถามจากบรรดาผู้นำดารุลอิสลาม
/ กองทัพอิสลามที่อาเจะห์
คำถามก็คือแนวทางการเมืองระหว่างดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียค่อนข้างจะมีความแตกต่างมาก ยิ่งเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ดารุลอิสลาม /
กองทัพอิสลามอินโดเนเซียนั้นต่อสู้ด้วยพื้นฐานการต่อสู้เพื่ออิสลามส่วนผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียนั้นมีความเนเซคูลาร์ยิ่ง
นอกจากนั้นผู้นำของผู้ปกครองที่ปฏิวัติของสาธารณรัฐอินโดเนเซียคือ พันเอก
มาลูดี ซิมโบโลน นั้นเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารภาค 1 / บูกิตบารีซัน
กรมทหารนี้ก่อนหน้านี้นั้นเป็นเครื่องมือของซูการ์โนและมีความแข็งกร้าวในกาปราบขบวนการดารุลอิสลาม
/ กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย
เขตอาเจะห์
การปราบปรามครั้งนั้นมีพันเอก
มาลูดี ซิมโบโลน เป็นผู้นำ
แล้วทำไมดาวุด บือเระห์ ต้องการร่วมมือกับศัตรูสำคัญของนักต่อสู้ดารุลอิสลาม
/ กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย ดาวุด
บือเระห์ได้กล่าวว่าเขาเห็นว่ามีความเหมือนกันในการต่อสู้ของผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
นั้นคือต้องการต่อต้านการครอบงำของรัฐบาลส่วนกลางภายใต้การนำของซูการ์โน วัตถุประสงค์ระยะสั้นของเขาต้องการให้ซูการ์โนถูกโค่นโดยเร็ว
8. สัมภาษณ์ H. M. Nur
El Ibrahimy
ในนิตยสาร Tempo ฉบับ 26 ธันวาคม 1999