โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ผู้เขียนได้รับการติดต่อจากทางสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก
(Persatuan
Guru-Guru Melayu Malaysia Barat) เพื่อร่วมจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภาษามลายู
จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ "ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน"
โดยมีนักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา
และวิชา 431-412 โครงงานมลายูศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการโครงการสัมมนาดังกล่าว
โครงการสัมมนาวิชาการ
“ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน”
1. ชื่อโครงการ
โครงการสัมมนาวิชาการ
“ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน”
2. หลักการและเหตุผล
ด้วยการเรียนการสอนวิชา
431-411 สัมมนามลายูศึกษา
เป็นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับมลายูศึกษา
นอกจากนั้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสัมมนา
ดังนั้นจึงเห็นสมควรได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการในหัวข้อภาษามลายูกับประชาคมอาเซียน
โดยประสานงานร่วมกับสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก (Persatuan
Guru-Guru Melayu Malaysia Barat) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
การได้เรียนรู้ ได้เข้าใจความเป็นมา และความสำคัญของภาษามลายู
จากวิทยากรของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ภาษามลายู จะทำให้นักศึกษาได้รับรู้ข้อมูลจริงจากวิทยากร
จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีการพัฒนาในการเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์นูซันตาราศึกษา
4. วัตถุประสงค์
1)
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
2)
เพื่อให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความสำคัญของภาษามลายู
3)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา
5. เป้าหมาย
1) เป้าหมายเชิงปริมาณ
มีนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาเข้าร่วมประมาณ 150 คน
2) เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา สามารถเขียนรายงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษามลายูได้
จำนวน 1 เล่ม
6.
ลักษณะการดำเนินโครงการ
จัดสัมมนาโดยประสานงานกับสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก (Persatuan
Guru-Guru Melayu Malaysia Barat) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
เพื่อให้ส่งวิทยากรด้านภาษามลายู จำนวน 3 คน
และให้นักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาที่เคยไปฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐกลันตัน
สมาคมเสียงหนุ่มสาว และคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน จำนวน 3 คน ร่วมเป็นผู้นำเสนอประสบการณ์การใช้ภาษามลายูขณะไปฝึกงานในแต่ละสถานที่
กำหนดการสัมมนาวิชาการ
“ภาษามลายูกับประชาคมอาเซียน”
ห้อง
58101 อาคารเรียนรวม 58
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
วันที่
28 กันยายน 2559 เวลา 13.00-16.00 น
13.00 น. ประธานจัดโครงการสัมมนากล่าว
13.10 น.
ประธานพิธีเปิดการสัมมนากล่าวต้อนรับ
13.20-13.50 น.
ประสบการณ์ด้านภาษามลายูของนักศึกษาสาขาวิชา
มลายูศึกษาในการฝึกงานที่รัฐกลันตัน
มาเลเซีย
- นางสาวอัสมะ จิตบรรจง
ประสบการณ์ที่พิพิธภัณธ์แห่งรัฐกลันตัน
- นางสาวปาโลซ่า หมู่อำหมัดยู่โซะ
ประสบการณ์ที่สมาคมเสียงหนุ่มสาว
- นางสาวฟาตีเม๊าะ หะมิมะดิง
ประสบการณ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน
14.00-15.45 น. ประสบการณ์จากประเทศมาเลเซีย
- นาย Abu Bakar Bin
Mohd Abdullah หัวข้อ Peribahasa dalam Bahasa Melayu
- นาย Ismail Bin
Hassan หัวข้อ Sejarah
Bahasa Melayu
- นาย Kamarulzaman
Bin Ismail หัวข้อ Pelajaran
Bahasa Melayu di Abad ke 21
15.50-16.00 น. ประธานพิธีกล่าวปิดการสัมมนา
และหลังจากเสร็จการสัมมนาแล้ว
ผู้เขียนได้เชิญวิทยากรและผู้เข้าร่วมจากประเทศมาเลเซีย เข้าชั้นเรียนวิชา 431-211 อารยธรรมมลายู เพื่อให้ความรู้กับนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา
และนอกจากนั้นได้ร่วมเซ็นหนังสือ Momerundum of Understanding ระหว่างศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) กับสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก สาขารัฐตรังกานู และ 8 โรงเรียนมัธยมของรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
ประมวลภาพการจัดสัมมนา
"ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน"