โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามลายูขึ้น โดยตั้งผู้อำนวยการศึกษาภาษามลายูในยุโรป
ขึ้นในสถาบันที่ชื่อว่า Ecole
des Languages Orientes เมื่อวันที่ 2 กันยายน
ปี 1844 มีนาย Edmund Dulaurier เป็นผู้อำนวยการ โดยมีการแปลหนังสือภาษามลายูที่ชื่อว่า Kitab
Pelayaran Abdullah ในปี 1850 และมีการผลิตพจนานุกรมภาษามลายู-ฝรั่งเศส
แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
นอกจากนั้นสถาบันวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษา
เช่น สถาบันที่ชื่อว่า Ecole Francais d’Extreme Orient มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนชาวจามในกลุ่มประเทศอินโดจีน,
สถาบันที่ชื่อว่า Institut National des Languaes et civilizations
orientales เป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ตั้งอยู่ในกรุงปารีส โดยสถาบันนี้เริ่มสอนภาษามลายูในปี 1841 มีการจัดตั้งฝ่ายภาษามลายูขึ้นในมหาวิทยาลัย
La Havre และมหาวิทยาลัย La Rochelle โดยในมหาวิทยาลัย La Rochelle มีการจัดตั้งสถาบันโลกมลายู หรือ Maison du Monde Malais
มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า Wisma Dunia
Melayu มีผู้อำนวยการชื่อ Philippe Grange’
ซึ่งมีความชำนาญเกี่ยวกับชนชาวบาจาว ทั้งในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย
และฟิลิปปินส์
มีสถาบันการศึกษาที่สอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายูอีกหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส
เช่น Ecole des
Hautes etudes en
sciences sociales (ประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยา)ของคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาวิทยาลัยปารีส และคณะมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัย Aix-en-Provence และมีสถาบันที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูที่มีชื่อเสียงคือ
Centre national de la recherché
scientifique, Musee Guimet, Musee
d’Histoire naturelle Musee
del Homeme โดยสถาบันนี้ผลิตวารสารที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย มีชื่อว่า Archipel ตั้งแต่ปี 1973