เมื่อกล่าวถึงภูมิภาคมลายู
หรือ นูซันตารา (Nusantara)สองเกาะที่เรามักละเลยที่จะกล่าวถึง เกาะทั้งสองนั้นคือเกาะคริสต์มาสและเกาะโคโคส ด้วยเมื่อเรากล่าวถึงภูมิภาคมลายู
ย่อมต้องไม่มีประเทศออสเตรเลียอยู่ในพื้นที่ของภูมิภาคมลายู แต่เมื่อเราดูตามแผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว
จะเห็นได้ว่าเกาะคริสต์มาสและเกาะโคโคสยังอยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เกาะทั้งสองตั้งอยู่ใกล้กับประเทศอินโดเนเซียมากกว่าประเทศออสเตรเลีย
นอกจากนั้นเกาะทั้งสองยังเคยอยู่ภายใต้การปกครองของกระทรวงอาณานิคมอังกฤษ หรือ Colonial
Office แต่เป็นการปกครองผ่านระบบสเตร็ทเซตเติ้ลเมนต์ส (Straits
Settlements) ซึ่งสเตร็ทเซตเติ้ลเมนต์สนี้จะประกอบด้วยรัฐปีนัง
รัฐมะละกา และสิงคโปร์ ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าเกาะทั้งสองยังอยู่ในภูมิภาคมลายู
แต่ว่าโดยภูมิรัฐศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย
เรามารู้จักเกาะคริสต์มาสกันดีกว่า สำหรับเกาะคริสต์มาส เป็นเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย เป็นเกาะภายใต้การปกครองของประเทศ โดยเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของประเทศออสเตรเลีย
เกาะคริสต์มาสอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของ Australian Department of Transport and Regional Services เกาะคริสต์มาสตั้งอยู่ห่างจากเมืองเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ราว 2,360 กิโลเมตร และห่างจากเกาะชวา ประเทศอินโดเนเซียไปทางใต้ ราว 360 กิโลเมตร เกาะคริสต์มาสมีขนาดพื้นที่
155 ตารางกิโลเมตร
ประชากรของเกาะคริสต์มาสมีประชากรประมาณ 2 พันกว่าคน ประชากรของเกาะคริสต์มาสจะประกอบด้วยชาวจีนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แรกๆเป็นการอพยพของคนจีนจากกวางตุ้ง จนบางชุมชนมีชื่อเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เช่น ชุมชนปูนซาน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการอพยพของคนจีนจากรัฐปีนัง จากสิงคโปร์ จากนั้นจะมีชาวมลายู เป็นประชากรรองของเกาะคริสต์มาส โดยชาวมลายูจะมาจากรัฐปีนัง รัฐมะละกา และสิงคโปร์ ส่วนที่เหลือจะเป็นชาวตะวันตก ชาวอินเดีย บนเกาะคริสต์มาสจะมีศูนย์กลางการปกครอง หรือที่เรียกว่า ชุมชน มีชื่อว่า Fly Fish Cove แต่ชาวเกาะคริสต์มาสจะเรียกว่า กำปง หรือ The Settlement
ประชากรของเกาะคริสต์มาสมีประชากรประมาณ 2 พันกว่าคน ประชากรของเกาะคริสต์มาสจะประกอบด้วยชาวจีนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แรกๆเป็นการอพยพของคนจีนจากกวางตุ้ง จนบางชุมชนมีชื่อเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เช่น ชุมชนปูนซาน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการอพยพของคนจีนจากรัฐปีนัง จากสิงคโปร์ จากนั้นจะมีชาวมลายู เป็นประชากรรองของเกาะคริสต์มาส โดยชาวมลายูจะมาจากรัฐปีนัง รัฐมะละกา และสิงคโปร์ ส่วนที่เหลือจะเป็นชาวตะวันตก ชาวอินเดีย บนเกาะคริสต์มาสจะมีศูนย์กลางการปกครอง หรือที่เรียกว่า ชุมชน มีชื่อว่า Fly Fish Cove แต่ชาวเกาะคริสต์มาสจะเรียกว่า กำปง หรือ The Settlement
ความเป็นมาของชื่อเกาะนั้น ด้วยกัปตันวิลเลี่ยม มัยนอร์ส (Captain William Mynors) กัปตันเรือเรือที่ชื่อว่า Royal Mary ของบริษัทอิสต์อินเดีย
ได้เดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้ โดยไม่ได้แวะพัก เพียงผ่านไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1643 และได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า
เกาะคริสต์มาส อย่างไรก็ตาม
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 เกาะแห่งนี้เป็นที่ผ่านของนักเดินเรือของอังกฤษและฮอลันดา แต่ไม่เป็นที่สนใจนัก ในปี 1666 นักแผนที่ชาวฮอลันดา ชื่อ Pieter
Goos ได้เขียนแผนที่ โดยมีการใส่เกาะแห่งนี้เข้าไปในแผนที่ด้วย
พร้อมตั้งชื่อเกาะว่า Mony ซึ่งมีความหมายว่าไม่ชัดเจน
ต่อมาในเดือนมีนาคม 1688 นักเดินเรือชาวอังกฤษที่ชื่อว่า William Dampier โดยเรืออังกฤษที่ชื่อว่า Cygnet เขาได้บันทึกในบันทึกการเดินทางของเขาที่ชื่อว่า Voyages เขาพร้อมลูกเรืออีกสองคนได้ขึ้นบนเกาะคริสต์มาส เขาพบว่าเกาะแห่งนี้ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ คนกลุ่มนี้ถือว่าชาวตะวันตกกลุ่มแรกที่ขึ้นเกาะคริสต์มาส
ต่อมาในเดือนมีนาคม 1688 นักเดินเรือชาวอังกฤษที่ชื่อว่า William Dampier โดยเรืออังกฤษที่ชื่อว่า Cygnet เขาได้บันทึกในบันทึกการเดินทางของเขาที่ชื่อว่า Voyages เขาพร้อมลูกเรืออีกสองคนได้ขึ้นบนเกาะคริสต์มาส เขาพบว่าเกาะแห่งนี้ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ คนกลุ่มนี้ถือว่าชาวตะวันตกกลุ่มแรกที่ขึ้นเกาะคริสต์มาส
ต่อมาในปี 1718
Danie Beeckman ได้บันทึกการเดินทางของเขายังเกาะคริสต์มาสในบันทึกชื่อ A Voyage
to and from the Island of Borneo, in the East-Indies และในปี 1887 กัปตันเรือที่ชื่อว่า John Maclear โดยเรือที่ชื่อว่า
HMS Flying Fish ได้พบอ่าวที่เกาะดังกล่าว
และดังชื่ออ่าวนั้นว่า Flying Fish Cove ต่อมาทาง G. Clunies Ross
เจ้าของเกาะโคโคสได้นำคนงานมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณอ่าว Flying
Fish Cove สำหรับนำไม้และสิ่งของไปช่วยอุตสาหกรรมที่เกาะโคโคส
และเกาะนี้เริ่มมีความสำคัญเพราะมีการค้นพบแร่ฟอสเฟต และในทศวรรษที่ 1890 ดังนั้นจึงเริ่มมีการนำคนงานสำหรับอุตสาหกรรมแร่ฟอสเฟต โดยนำมาจากสิงคโปร์ มาลายา และประเทศจีน นาย John Davis Murray วิศวกรที่เดินทางไปดูแลกิจการแร่ฟอสเฟตยังเกาะคริสต์มาสในนามของบริษัท Phosphate Mining and Shipping Company โดยนาย John Davis Murray รู้จักในนามของ King of Christmas Island
จนเมื่อเขาแต่งงานและเดินทางกลับไปต้งถิ่นฐานในกรุงลอนดอน เกาะคริสต์มาสถูกปกครองโดยระบบสเตร็ทเซตเติ้ลเมนต์ส (Straits Settlements) ซึ่งมีศูนย์อำนาจอยู่ที่สิงคโปร์
และเกาะนี้เริ่มมีความสำคัญเพราะมีการค้นพบแร่ฟอสเฟต และในทศวรรษที่ 1890 ดังนั้นจึงเริ่มมีการนำคนงานสำหรับอุตสาหกรรมแร่ฟอสเฟต โดยนำมาจากสิงคโปร์ มาลายา และประเทศจีน นาย John Davis Murray วิศวกรที่เดินทางไปดูแลกิจการแร่ฟอสเฟตยังเกาะคริสต์มาสในนามของบริษัท Phosphate Mining and Shipping Company โดยนาย John Davis Murray รู้จักในนามของ King of Christmas Island
จนเมื่อเขาแต่งงานและเดินทางกลับไปต้งถิ่นฐานในกรุงลอนดอน เกาะคริสต์มาสถูกปกครองโดยระบบสเตร็ทเซตเติ้ลเมนต์ส (Straits Settlements) ซึ่งมีศูนย์อำนาจอยู่ที่สิงคโปร์
ในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่
2 เกาะคริสต์มาสกลายเป็นเป้าหมายการยึดครองของญี่ปุ่น
ด้วยเป็นเกาะที่มีแร่ฟอสเฟต เกิกการปะทะระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับฝ่ายพันธมิตร
จนในที่สุดเกาะคริสต์มาสก็ถูกญี่ปุ่นยึดครอง ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เกาะคริสต์มาสก็กลับมาเป็นของอังกฤษอีกครั้ง
ต่อมาออสเตรเลียได้รับโอนอำนาจการปกครองเกาะคริสต์มาสจากอังกฤษ โดยออสเตรเลียต้องจ่ายค่าชดใช้จำนวนหนึ่งของการเสียผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมแร่ฟอสเฟตให้แก่สิงคโปร์ มีการออกพ.ร.บ. ว่าด้วยเกาะคริสต์มาส ผ่านการลงมติเมื่อเดือนกันยายน 1958 และเกาะคริสต์มาสเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรเลียเมื่อ 1 ตุลาคม 1958
ต่อมาออสเตรเลียได้รับโอนอำนาจการปกครองเกาะคริสต์มาสจากอังกฤษ โดยออสเตรเลียต้องจ่ายค่าชดใช้จำนวนหนึ่งของการเสียผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมแร่ฟอสเฟตให้แก่สิงคโปร์ มีการออกพ.ร.บ. ว่าด้วยเกาะคริสต์มาส ผ่านการลงมติเมื่อเดือนกันยายน 1958 และเกาะคริสต์มาสเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรเลียเมื่อ 1 ตุลาคม 1958
ต้นปี
1986 สภาของเกาะคริสต์มาสได้จัดให้มีการแข่งขันออกแบบธงประจำเกาะคริสต์มาส
มีการแข่งขันออกแบบธงถึง 69 แบบ
และมีการประกาศแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกเมื่อ 14 เมษายน 1986
และมีการนำธงดังกล่าวมาใช้เป็นธงที่ไม่เป็นทางการ และต่อมาในปี 2002 ธงของเกาะคริสต์มาส
ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นธงที่เป็นทางการของเกาะคริสต์มาส โดยพื้นธงมีสีฟ้าและสีเขียว สีฟ้า
หมายถึงท้องทะเลที่ล้อมรอบเกาะ ส่วนสีเขียว หมายถึงพืชพันธุ์บนเกาะ ดาว 5 ดวงในพื้นสีฟ้า
หมายถึงดินแดนออสเตรเลีย
ส่วนในพื้นสีเขียว มีนกนางแอ่น ซึ่งเป็นที่มีอยู่บนเกาะคริสต์มาส และวงกลมสีเหลืองกลางธง หมายถึงแร่ฟอสเฟต มีรูปเกาะในวงกลมสีเหลืองดังกล่าว
สำหรับชุมชนชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาสนั้นมีมัสยิดอยู่หนึ่งแห่ง ชื่อว่า มัสยิดอัลตักวา โดยมีนายอับดุลกาฟฟาร์ อิสมาแอล เป็นอิหม่ามประจำมัสยิด มีการพบภาพถ่ายของมัสยิดแห่งหนึ่งบนเกาะคริสต์มาสในหอจดหมายเหตุของออสเตรเลีย เป็นภาพถ่ายในปี 1938 มีชื่อว่ามัสยิดมาเลเซีย ซึ่งคำว่ามาเลเซียในความหมายขณะนั้น ไม่ได้มีความหมายถึงประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ถึงอย่างไรก็ตามมัสยิดมาเลเซียอาจจะไม่มีอีกแล้ว เพราะว่ารูปแบบไม่เหมือนกับมัสยิดอัลตักวาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
นักเผยแพร่ศาสนาอิสลามจากประเทศมาเลเซีย มักเดินทางไปยังเกาะคริสต์มาส เพราะเกาะคริสต์มาสยังมีความต้องการผู้รู้ศาสนาอิสลาม ในเกาะคริสต์มาสมีสภาอิสลามแห่งเกาะคริสต์มาส หรือ Christmas Island Islamic Council และคลับมลายูแห่งเกาะคริสต์มาส หรือ Christmas Island Malay Club ด้วยชาวมลายูเหล่านี้ถือว่าเป็นพลเมืองของประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นสวัสดิการต่างๆของประเทศออสเตรเลีย จึงตกมายังชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาสด้วย เช่นคนว่างงาน จะได้รับสวัสดิการค่าครองชีพ บุตรแรกเกิดจะได้รับเงิน 8 พันบาท ชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาส จะมีงานวันครอบครัวในเดือนตุลาคม เป็นประจำทุกปี ความแปลกอีกอย่างของเกาะคริสต์มาส คือ ทุกปีจะมีปูแดง หรือ Red Crab (Gecarcoidea natalis) ขึ้นมาบนเกาะคริสต์มาส หลายสิบล้านตัว
เกาะคริสต์มาส แม้เป็นเพียงเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย มีประเทศออสเตรเลียเป็นเจ้าของ แต่เกาะคริสต์มาสก็ถือว่าเป็นเกาะหนึ่งของชาวมลายู และเป็นเกาะหนึ่งที่ตั้งอยู่ในแผนที่ภูมิภาคมลายู คนจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็น่าจะใช้ชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาส และชาวมลายูบนเกาะโคโคส ที่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียตะวันตก มาเป็นเครือข่าย ทางสังคม เศรษฐกิจในโอกาสต่อไป
สำหรับชุมชนชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาสนั้นมีมัสยิดอยู่หนึ่งแห่ง ชื่อว่า มัสยิดอัลตักวา โดยมีนายอับดุลกาฟฟาร์ อิสมาแอล เป็นอิหม่ามประจำมัสยิด มีการพบภาพถ่ายของมัสยิดแห่งหนึ่งบนเกาะคริสต์มาสในหอจดหมายเหตุของออสเตรเลีย เป็นภาพถ่ายในปี 1938 มีชื่อว่ามัสยิดมาเลเซีย ซึ่งคำว่ามาเลเซียในความหมายขณะนั้น ไม่ได้มีความหมายถึงประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ถึงอย่างไรก็ตามมัสยิดมาเลเซียอาจจะไม่มีอีกแล้ว เพราะว่ารูปแบบไม่เหมือนกับมัสยิดอัลตักวาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
นักเผยแพร่ศาสนาอิสลามจากประเทศมาเลเซีย มักเดินทางไปยังเกาะคริสต์มาส เพราะเกาะคริสต์มาสยังมีความต้องการผู้รู้ศาสนาอิสลาม ในเกาะคริสต์มาสมีสภาอิสลามแห่งเกาะคริสต์มาส หรือ Christmas Island Islamic Council และคลับมลายูแห่งเกาะคริสต์มาส หรือ Christmas Island Malay Club ด้วยชาวมลายูเหล่านี้ถือว่าเป็นพลเมืองของประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นสวัสดิการต่างๆของประเทศออสเตรเลีย จึงตกมายังชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาสด้วย เช่นคนว่างงาน จะได้รับสวัสดิการค่าครองชีพ บุตรแรกเกิดจะได้รับเงิน 8 พันบาท ชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาส จะมีงานวันครอบครัวในเดือนตุลาคม เป็นประจำทุกปี ความแปลกอีกอย่างของเกาะคริสต์มาส คือ ทุกปีจะมีปูแดง หรือ Red Crab (Gecarcoidea natalis) ขึ้นมาบนเกาะคริสต์มาส หลายสิบล้านตัว
เกาะคริสต์มาส แม้เป็นเพียงเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย มีประเทศออสเตรเลียเป็นเจ้าของ แต่เกาะคริสต์มาสก็ถือว่าเป็นเกาะหนึ่งของชาวมลายู และเป็นเกาะหนึ่งที่ตั้งอยู่ในแผนที่ภูมิภาคมลายู คนจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็น่าจะใช้ชาวมลายูบนเกาะคริสต์มาส และชาวมลายูบนเกาะโคโคส ที่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียตะวันตก มาเป็นเครือข่าย ทางสังคม เศรษฐกิจในโอกาสต่อไป
Tiada ulasan:
Catat Ulasan