โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในโลกมลายูมีองค์กรที่มีบทบาทเคลื่อนไหวด้านสังคม
วัฒนธรรม และเศรษฐกิจอยู่ 2 องค์กรใหญ่ๆ หนึ่งองค์กรที่เรารู้จัก
และเป็นข่าวใหญ่โตตามหน้าหนังสือพิมพ์ไทยเมื่อไม่นานมานี้
คือองค์กรโลกมลายูโลกอิสลาม หรือ Dunia Melayu Dunia Islam และอีกองคกรหนึ่งคือ
องค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย หรือ World Melayu-Polynesian Organisation ซึ่งทั้งสององค์กรมีบทบาทและวิธีการดำเนินการองค์กรที่แตกต่างกัน
องค์กรแรกคือองค์กรโลกมลายูโลกอิสลาม หรือ Dunia Melayu Dunia Islam
นั้นแรกเริ่มจะจดทะเบียนในฐานะองค์กรอิสระคล้ายองค์กรเอกชนทั่วไป แต่ภายหลังได้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐมะละกา
ดังนั้นเลขาธิการขององค์กรโลกมลายูโลกอิสลาม (DMDI)
จึงมีฐานะเป็นผู้อำนวยการหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐมะละกา
สำหรับการดำเนินงานขององค์กรโลกมลายูโลกอิสลามพยายามมีการจัดตั้งสาขาองค์กรขึ้นมาในประเทศต่างๆ นอกจากบางรัฐในประเทศมาเลเซีย
บางจังหวัดในประเทศอินโดเนเซียแล้ว
ยังมีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาในประเทศศรีลังกา
อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ บอสเนีย
สิงคโปร์ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
องค์กรโลกมลายูโลกอิสลาม(DMDI) อยู่ในช่วงรุ่งโรจน์ที่สุด คือ
ช่วงที่ประธานองค์กรคือตันสรีมูฮัมหมัดอาลี มูฮัมหมัดรุสตัม มีตำแหน่งเป็นรองประธานพรรคอัมโน
พรรครัฐบาลมาเลเซีย และมุขมนตรีรัฐมะละกา ต่อมาประธานองค์กรโลกมลายูโลกอิสลาม(DMDI) แพ้การเลือกตั้งเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ 13
ของประเทศมาเลเซีย แต่ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิก
จนปัจจุบันไม่มีตำแหน่งใดๆในรัฐบาลมาเลเซียและพรรคอัมโน จะมีก็ตำแหน่งประธานบรรษัทผู้ประกอบการแห่งชาติจำกัด
(Perbadanan Usahawan Nasional Berhad) หน่วยงานรัฐของมาเลเซียที่สนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการในมาเลเซีย องค์กรโลกมลายูโลกอิสลาม(DMDI) จะเน้นการสร้างเครือข่ายกับนักการเมือง กลุ่มการเมือง
ส่วนองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย หรือ World
Melayu-Polynesian Organisation
จดทะเบียนในฐานะเป็นองค์กรเอกชน ดำเนินการโดยนักวิชาการ
และข้าราชการที่เกษียญราชการ มีเต็งกูไซนัลอาบีดิน เต็งกูมุคริซ ราชโอรสของเจ้าผู้ครองรัฐแห่งรัฐนัครีซัมบีลันเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กร
และศาสตราจารย์ ดร. ดร. กามารุดดิน กาจาร์
เป็นประธานองค์กร มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองปุตราจายา การดำเนินงานขององค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
จะเน้นด้านวิชาการ ไม่อิงการเมือง องค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
จะมีวิธีการสร้างเครือข่าย
สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆมากกว่าที่จะไปจัดตั้งสาขาองค์กรขึ้นมาในประเทศต่างๆ มีการจัดการประชุมครั้งแรกในเดือน กรกฎาคม 2012
ที่รัฐนัครีซัมบีลัน ประเทศมาเลเซีย โดยใช้ชื่องานว่า The First
International Conference on Melayu-Polynesian Ancestral Nations ในการประชุมสัมมนาครั้งนั้น
มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 550 คน มาจากประเทศต่างๆ 11 ประเทศ ในการประชุมสัมมนาครั้งนั้น
มีมติจัดตั้งองค์กรขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า องค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย หรือ World
Melayu-Polynesian Organisation เพื่อเป็นตัวกลางในการประสานกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่มภาษามลายูโปลีเนเซีย
(Malayo-Polynesia Language) ซึ่งกล่าวว่ามีอยู่ใน 33
ชาติรัฐ
นอกจากประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนแล้วยังมีในดินแดนต่างๆ เช่น เกาะโคโคส ออสเตรเลีย เกาะคุ๊ก
เกาะอิสเตอร์ เกาะกวม เกาะฮาวาย ประเทศกีรีบาตี
ประเทศฟิจิ หมู่เกาะมาแชลส์ ประเทศนาอูรู
ชาวเมารีในนิวซีแลนด์ ประเทศมาดากัสการ์ ประเทศอัฟริกาใต้ ไต้หวัน ประเทศตองกา ซามัว ฯลฯ การรวมตัวในนามขององค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
โดยไม่มีการกีดกั้น จำกัดการนับถือศาสนา จะเป็นมุสลิม คริสต์ หรือความเชื่อใดๆ
ก็สามารถเข้าร่วมได้
การจัดงานสัมมนาครั้งที่ 2
ใช้ชื่อว่า The Second International Conference on Melayu-Polynesian Ancestral
Nations โดยจัดการประชุมสัมมนาที่เมืองอ๊อคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
เมื่อ 20-28 มีนาคม 2014 พร้อมๆกับการประชุมครั้งที่
2 ก็มีการจัดตั้งองค์กรของชาวเมารีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Maori
Malay Polynesian Ancestral Nations Society ซึ่งองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซียไม่มีนโยบายการจัดตั้งองค์กรสาขาขึ้นมาในประเทศใดๆ
สำหรับนโยบายขององค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย คือ
มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวัฒนธรรม
ประเพณี วิถีชีวิต รวมทั้งมีการศึกษา ด้านวัฒนธรรม ภาษา ขนบธรรมเนียม จารีต
ของผู้คนที่อยู่ในกลุ่มมลายูโปลีเนเซียที่อยู่ตามประเทศต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น
และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชนที่ในกลุ่มมลายูโปลีเนเซีย กิจกรรมอื่นๆขององค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
นอกจากจะจัดงานพบปะด้านธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยวแล้ว ผลจากการประชุมสัมมนาครั้งที่
2 มีมติให้ทางองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซียจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมา ดังนั้นทางองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขององค์กรขึ้นมาในประเทศนิวซีแลนด์
โดยใช้ชื่อว่า Nusa Polynesia University สำหรับคำว่า Nusa
ย่อมาจากคำว่า Nusantara อันหมายถึงภูมิภาคมลายู
อยู่ระหว่างขออนุญาตจากทางรัฐบาลประเทศนิวซีแลนด์
และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย
นอกจากนั้นได้มีการจัดตั้งหอการค้าของชาวเมารีขึ้นมา
เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้ากับกลุ่มทุนในประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย
บรูไน สิงคโปร์ โดยใช้ชื่อว่า Maori-Melayu-Polynesian Chamber of Commerce กลุ่มชาวเมารีของนิวซีแลนด์ ถือเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งในองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
จากการประชุมในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ได้มีการกำหนดกิจกรรมต่างๆสำหรับปี 2016 ทางองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซียมีแผนทำโครงการพัฒนาชุมชนชาวจามในประเทศกัมพูชา
นับว่าเป็นสิ่งที่ดีในการช่วยเหลือชาวจาม
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชาวมลายูโปลีเนเซีย
ด้วยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา คือ 21-24 พฤศจิกายน 2015
ทางศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) ซึ่งถือเป็นองค์กรเล็กๆองค์กรหนึ่งที่เคลื่อนไหวในองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย และ ศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara
Studies Center) เป็นแกนหลักในการจัดงานสัมมนาวรรรกรรมภูมิภาคมลายู
ครั้งที่ 8 ที่มีชื่อว่า Pertemuan Penyair Nusantara
VIII และในโอกาสนั้น ทางศูนย์นูซันตาราศึกษา
ก็ได้ใช้เครือข่ายเหล่านั้น และเครือข่ายต่างๆที่มีอยู่จัดตั้งองค์กรขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า
World Melayu-Polynesian
Organisation Thailand หรือ องค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย สาขาประเทศไทย
เพื่อเป็นองค์กรประสานกับองค์กรหลักในประเทศมาเลเซีย และองค์กรเครือข่ายต่างๆ ทางองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
องค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย ได้กำหนดให้มีการประชุมสัมมนาครั้งที่
3 ในชื่อว่า The Third International Conference on
Melayu-Polynesian Ancestral Nations ขึ้นในเมืองเซบู
ประเทศฟิลิปปินส์
แต่ด้วยมีเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการสื่อสาร ปัญหาความพร้อมของเจ้าภาพในการจัดงาน
ทำให้การจัดงานที่จะมีขึ้นในเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ จำต้องเลื่อนไป
หรืออาจจะยกเลิกการจัดสัมมนาในเมืองดังกล่าว
ทางองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย จึงเสนอทางศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara
Studies Center)ว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสัมมนาหรือเปล่า
ผู้เขียนจึงตอบว่าศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) พร้อมที่จะรับเป็นผู้ดำเนินการจัดงาน
ด้วยประสบการณ์การจัดงานสัมมนาวรรรกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 8 หรือ Pertemuan Penyair Nusantara VIII ทางศูนย์นูซันตาราศึกษา
(Nusantara Studies Center) จึงสามารถสรุปถึงจุดแข็ง จุดอ่อน
และแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดงานครั้งต่อไป จึงสามารถยืนยันกับทางองค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
ว่าทางประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้
พร้อมที่จะเป็นสถานที่จัดงานประชุมสัมมนา
การจัดงานประชุมสัมมนา The Third International Conference
on Melayu-Polynesian Ancestral Nations ขององค์กรโลกมลายูโปลีเนเซีย
ที่ยังไม่กำหนดวันเวลา มั่นใจว่าสามารถจะจัดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เหมือนเช่นการจัดงาน Pertemuan Penyair Nusantara VIII นอกจากจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว
ยังสามารถเป็นเครือข่ายทางธุรกิจนำสินค้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่โลกมลายูโปลีเนเซียก็เป็นได้
และที่ขาดไม่ได้คือนิตยสาร