Khamis, 29 Mei 2014

สุลต่านองค์ใหม่ของรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย รัฐเพื่อนบ้านจังหวัดยะลา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
รัฐเปรัคมีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดยะลา ประเทศไทย
สุลต่านองค์ใหม่ของรัฐเปรัค ดารุลริดวาน ประเทศมาเลเซีย
             จังหวัดยะลามีชายแดนติดต่อกับรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ด้วยเมื่อวัน 28 พฤษภาคม  2557 สุลต่านอัซลันชาห์ สุลต่านผู้เป็นประมุขของรัฐเปรัคก็ได้สิ้นชีพลง  สุลต่านองค์นี้ถือเป็นสุลต่านที่มีความรู้ จบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยนอธธิงแฮม ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมายังประเทศมาเลเซีย ก็ได้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการด้านกฎหมาย  

           สุลต่านอัซลันชาห์
            สุลต่านอัซลันชาห์นั้น ตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะเป็นสุลต่านคือประธานศาลฎีกา ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดทางด้านอำนาจตุลาการ สุลต่านอัซลันชาห์สิ้นชีพขณะมีอายุได้ 86 ปี โดยสิ้นชีพที่สถาบันโรคหัวใจแห่งชาติ กรุงกัวลาลัมเปอร์
 การประกาศแต่งตั้งสุลต่านองค์ใหม่ต่อหน้าศพสุลต่านองค์ก่อน
ครอบครัวสุลต่านองค์ใหม่
          ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นสุลต่านองค์ต่อมา คือ บุตรคนโตที่ชื่อว่า ราชานัซริน โดยได้รับยศเป็นสุลต่านนัซริน ชาห์  โดยเป็นสุลต่านองค์ที่ 35 ของรัฐเปรัค  โดยสุลต่านนัซรินชาห์ เป็นองค์ราชทายาท ตั้งแต่ปี 1984  ปัจจุบันสุลต่านนัซริน ชาห์  มีอายุได้ 57 ปี ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐกิจจากวิทยาลัย Worcester ของมหาวิทยาลัยอกกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ  ได้รับปริญญาโทสาขาการบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด และได้รับการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเช่นกัน โดยได้รับทางด้านสาขาเศรษฐศาสตร์และการปกครอง
          ได้สมรสกับนางซารา ซาลิม เดวิดสัน มีบุตรธิดา คือ เด็กชายราชาอัซลัน มุซาฟฟาร์ และเด็กหญิงราชานาซีรา ซัฟยาชาห์
           ปัจจุบันสุลต่านนัซริน ชาห์  เป็น Pro Chancellor ของมหาวิทยาลัยมาลายา ตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย
          สุลต่านนัซรินชาห์ เป็นสุลต่านนักวิชาการ ครั้งตั้งแต่เป็นรัชทายาท ก็ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายทางวิชาการหลากหลายสถานที่ หลากหลายสถานอุดมศึกษา


Ahad, 11 Mei 2014

Mencari Identiti Melayu di Wilayah Setul, Selatan Thailand

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan
Saya bersama anak dan isteri telah melakukan aktiviti lapangan dengan turun padang ke Wilayah Setul Selatan Thailand. Walaupun Wilayah Setul adalah salah satu dari wilayah-wilayah Melayu di Selatan Thailand. Tetapi wilayah ini agak berbeda dari tiga wilayah lagi iaitu Wilayah Pattani, Wilayah Narathiwas dan Wilayah Yala. Kerana dasar Siamisasi kerajaan Thailand terhadap Wilayah Setul lebih berkesan dari tiga wilayah lagi. Ini adalah foto-foto semasa saya menjalankan aktiviti palangan di Wilayah Setul. :-






















x

Isnin, 5 Mei 2014

ชาวปาตานีในโลกมลายู (ตอนที่ 1

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ดินแดนปาตานีในอดีต ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดต่างๆในปัจจุบัน เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งสี่อำเภอของจังหวัดสงขลาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกวัฒนธรรมมลายู (Malay Cultural World) หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่านูซันตารา (Nusantara) ดังนั้นการเคลื่อนไหลของผู้คนทั้งจากดินแดนปาตานีไปยังส่วนอื่นๆของโลกวัฒนธรรมมลายู หรือจากส่วนอื่นๆของโลกวัฒนธรรมมลายูมายังดินแดนปาตานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติ  แม้ว่าในปัจจุบันโลกวัฒนธรรมมลายูจะถูกแบ่งโดยภูมิรัฐศาสตร์ แต่ความสัมพันธ์ ความมีวัฒนธรรมร่วม ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน
การเคลื่อนไหลของประชาชนในดินแดนปาตานีไปยังส่วนอื่นๆของโลกวัฒนธรรมมลายูนั้น มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดจากปัญหาสงคราม เศรษฐกิจ และรวมทั้งการออกจากดินแดนปาตานีเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ในครั้งนี้จะกล่าวถึงการอพยพของชาวปาตานีไปยังเกาะบอร์เนียว หรือเกาะกาลีมันตัน สำหรับเกาะกาลีมันตัน หรือเกาะบอร์เนียวนี้ จะกล่าวถึงการอพยพของชาวปาตานีไปยังประเทศบรูไน รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย และจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก ประเทศอินโดเนเซีย
สำหรับการอพยพของชาวปาตานีไปยังประเทศบรูไนนั้น เท่าที่มีหลักฐานเช่นกรณีของลูกหลานเชคอับดุลราห์มาน เปาเบาะ อัล-ฟาตานี โดยลูกหลานที่ชื่อว่า ฮัจญีวันสุไลมาน บินวันซูยี ได้อพยพออกจากดินแดนปาตานี โดยครั้งแรกได้อพยพไปยังหมู่บ้านที่ชื่อว่ากำปงอีไบ ในรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ต่อมาได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่ประเทศบรูไน และที่ประเทศบรูไนได้เกิดบุตรชายชื่อว่านายวันซีฮาบุดดิน โดยผู้นี้มีชื่อเต็มยศถาบรรดาศักดิ์ของประเทศบรูไนว่า Pehin Orang Kaya di Gadong Awang Shahbuddin
ส่วนรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซียนั้น เท่าที่ผู้เขียนทราบจะมีกลุ่มนักการศึกษาเชื้อสายปาตานีที่เดินทางไปทำงานในรัฐซาบะห์จำนวนหนึ่ง  แต่บางส่วนจะเดินทางไปในนามของชาวรัฐกลันตัน หนึ่งในจำนวนดังกล่าวคือคุณครูมูฮัมหมัด อับดุลราห์มาน เป็นคนเชื้อสายปาตานีที่ไปตั้งหลักแหล่งในรัฐซาบะห์ ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมในตัวเมืองเอกของรัฐซาบะห์ คือเมืองโกตากีนาบาลู สำหรับคุณครูมูฮัมหมัด อับดุลราห์มาน นั้นกล่าวว่าพี่สาวของตนเองยังคงอาศัยอยู่ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 
นอกจากการเดินทางของชาวปาตานีไปยังประเทศบรูไน และรัฐซาบะห์ของประเทศมาเลเซียแล้ว ชาวปาตานีในอดีตส่วนหนึ่งยังเดินทางไปยังเกาะบอร์เนียวหรือเกาะกาลีมันตันส่วนที่เป็นของประเทศอินโดเนเซีย โดยเฉพาะการเดินทางไปยังจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกในปัจจุบัน
ในราวปีทศวรรษที่ 1760 สองนักการศาสนาจากปาตานีคือเชคอับดุลยาลิล  อัล-ฟาตานี และเชคอาลี บินฟาเกะห์ อัล-ฟาตานีพร้อมลูกเรือได้เดินทางไปยังอาณาจักรเมิมปาวะห์  โดยเชคอับดุลยาลิล  อัล-ฟาตานีได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เมืองซัมบัส ปัจจุบันสุสานของท่านตั้งอยู่ในลุมบัง เมืองซัมบัส  ส่วนเชคอาลี บินฟาเกะห์ อัล-ฟาตานี ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านตันหยง เมืองเมิมปาวะห์ ต่อมาเชคอาลี บินฟาเกะห์ อัล-ฟาตานีได้รับแต่งตั้งจากเจ้าเมืองเมิมปาวะห์ให้เป็นมุฟตีของเมืองเมิมปาวะห์ โดยมีนามเป็นทางการว่า มหาราชาอิหม่ามเมิมปาวะห์  การเดินทางของชาวปาตานีไปยังจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกก็ยังคงมี่อยู่ตลอดไป เช่น ฮัจญีฮัสซัน อัล-ฟาตานี อิหม่ามแห่งมัสยิดญามิอฺ เปอมังกัต อยู่ในอำเภอซัมบัส จนกระทั่งเมื่ออินโดเนเซียได้รับเอกราช การอพยพของชาวปาตานีจึงหยุดชะงัก ด้วยประเทศอินโดเนเซียมีระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ  ถึงอย่างไรก็ตามลูกหลานชาวปาตานียังคงมีอยู่มากมายในเกาะบอร์เนียว หรือเกาะกาลีมันตัน
 ราชวังเมิมปาวะห์
ราชวังซัมบัส

                ลูกหลานชาวปาตานีเหล่านี้ยังคงสำนึกในความเป็นผู้สืบเชื้อสายปาตานี ดังนั้นความรุนแรง ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นความเจ็บปวดของผู้คนกลุ่มหนึ่งในโลกวัฒนธรรมมลายู