โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
บทกวีนี้เป็นบทกวีที่เขียนขึ้นโดย ดร. อาวัง สารียัน ผู้อำนวยการสถาบันภาษาและวรรณกรรมมาเลเซีย หรือ Dewan Bahasa dan Pustaka ซึ่งมีสถานะเทียบเท่านกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านภาษามลายู บทกวีนี้เป็นบทกวีในชื่อว่า Di Sempadan itu มีความหมายว่า ณ เขตแดนแห่งนั้น เป็นการบรรยายถึงความผูกพันของผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำ แม้แม่น้ำจะแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย แต่ผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำมีความผูกพัน มีความสัมพันธ์ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม
Di
sempadan itu
kita
dipisahkan
oleh
batas ciptaan manusia
bukan
kerana kita berbeda
warna
darah dan kabilah bangsa
tetapi
kerana kemahuan yang berlainan cita
oleh
bawaan rasa
Di
sempadan itu
ribuan
hati luka lara
ribuan
harapan putus hampa
ribuan
jiwa kering tak bermaya
Aku
hanya mampu
melambai
tanda tetap kasih terpahat
mengingat
tanda tetap cinta tersemat
mendoakan
tanda tetap persaudaraan terikat
biarpun
terpisah jasad
paduan
nurani semoga tetap erat
Kembara
Bahasa Melayu Mahawangsa
Menjelang
tengah malam 9 Disember 2013
สภาพพื้นที่ระหว่างตลาดรันเตาปันยังกับตลาดสุไหงโกลก แม้จะมีแม่น้ำสุไหงโกลกเป็นเขตแดนทางภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่าางประเทศไทยกับมาเลเซีย แต่สัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองฝั่งค่อนข้างมีความใกล้ชิดกัน
สภาพพื้นที่ระหว่างตลาดรันเตาปันยังกับตลาดสุไหงโกลก แม้จะมีแม่น้ำสุไหงโกลกเป็นเขตแดนทางภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่าางประเทศไทยกับมาเลเซีย แต่สัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองฝั่งค่อนข้างมีความใกล้ชิดกัน
สะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก ในช่วงน้ำท่าวม
สะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก
ป้ายบนสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก
เดิมตลาดรันเตาปันยังกับตลาดสุไหงโกลก ก้อยู่ในพื้นที่การปกครองเดียวกัน ด้วยก่อนปี 1909 ทั้งสองฝั่งล้วนอยู่ในพื้นที่การปกครองของรัฐกลันตัน โดยขณะนั้นยังไม่มีการใช้แม่น้ำสุไหงโกลกเป็นเขตแดนการแบ่งระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
แผนที่รัฐกลันตันในยุคก่อนปี 1909
ก่อนที่จะมีสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลกระหว่างตลาดรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย กับตลาดสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย ก็มีทางรถไฟ ซึ่งส่วนหนึ่งประชาชนก็จะใช้เป็นทางเดินไปมา ระหว่างทั้งสองฝั่ง นอกจากทางเรือ
สะพานทางรถไฟก่อนมีสะพานข้ามแม่น้ำ
สะพานทางรถไฟเชื่อมระหว่างทั้งสองฝั่ง
สภาพเขตแดนที่มีการใช้แม่น้ำสุไหงโกลก แม้ว่าจะมีการเดินทางข้ามไปมาทางสะพาน ซึ่งถือเป็นการเดินทางที่ถูกกฎหมาย แต่ประชาชนส่วนหนึ่งก็ยังนิยมที่จะใช้เดินทางโดยเรือ อันถือเป็นการใช้เดินทางเส้นทางเถื่อน แต่จะมีความสะดวกสบาย ง่ายกว่า ไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง หรือเอกสารใด
ข้ามด้วยเรือรับจ้าง
แม่น้ำที่ค่อนข้างจะไม่กว้างมากนัก
เรือที่จอดฝั่งตลาดสุไหงโกลก ประเทศไทย
การเดินทางทางเรือเป็นการเดินทางที่สะดวกที่สุดในกรณีไม่มีเอกสารราชการ
ไปซื้อสินค้าจากฝั่งมาเลเซีย
Tiada ulasan:
Catat Ulasan