โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
แบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน
ที่จังหวัดหนองคาย หลังจากกินข้าวที่ร้านมาเรียม นราธิวาส เสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะของเราก็ขึ้นรถสกายแลป ที่เรานัดมารับเราไปยังสถานีขนส่งหนองคายเมื่อใกล้เวลารถสายหนองคาย-เวียงจันทน์จะออก เมื่อถึงสถานีรถขนส่งหนองคาย เราก็ลงจากรถสกายแลปไปยกกองกระเป๋าที่เราตั้งทิ้งไว้ที่สถานีรถขนส่งหนองคาย
เพื่อเอาไปเก็บไว้ขึ้นรถขนส่งที่จะพาคณะเราไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ผู้เขียนใช้คำว่านครหลวงเวียงจันทน์
ด้วยเห็นที่รถขนส่งสายหนองคาย-เวียงจันทน์คันหนึ่งเขียนว่า “นครหลวงเวียงจันทน์-หนองคาย” ผู้เขียนสันนิฐานหรือเดาเอาเองว่า
ในประเทศลาวนั้น คำว่าเมืองหลวงหรือเมืองกรุงนั้น ในประเทศลาวใช้คำว่า นครหลวง
ข้างรถเขียนว่า "นครหลวงเวียงจันทน์"
รถโดยสารระหว่างประเทศไทย-ลาว
รอรถที่สถานีขนส่งหนองคาย
บันทึกระหว่างการเดินทาง
กระเป๋า สัมภาระที่ทิ้งไว้ในบริเวณสถานีขนส่งหนองคาย
พนักงานบนรถลาว ตอนแรกนึกว่าข้าราชการลาวมาเที่ยวหนองคาย
จากการที่รถสายหนองคาย-เวียงจันทน์มีทั้งที่เป็นรถขนส่งของไทยและประเทศลาว ปรากฏว่ารถคันที่คณะเราขึ้นนั้นเป็นรถของประเทศลาว
ทำให้คณะเราดีใจมาก
ที่ได้ขึ้นรถของประเทศลาว เพราะว่าการจะไปประเทศลาวทั้งที
ก็น่าจะได้ขึ้นรถของประเทศลาว
เมื่อขึ้นไปบนรถรู้สึกว่าสภาพของรถขนส่งลาวจะด้อยกว่าสภาพของรถขนส่งของไทย แต่สิ่งที่ตื่นเต้นเป็นอันมากของคณะนักศึกษามลายูศึกษาคือเป็นครั้งแรกที่ได้ขึ้นรถที่มีพ่วงมาลัยอยู่ทางซ้ายของคัน และรถจะวิ่งไปทางขวาของถนน
บนรถสายหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
บนรถสายหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
บนรถสายหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
เอกสารผ่านแดนประเทศลาว
เมื่อรถออกจากตัวจังหวัดได้ไม่นาน ก็ถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองชายแดนประเทศไทย-ลาวขอ คณะนักศึกษาก็ลงจากรถเพื่อกรอกเอกสารผ่านแดน
พร้อมเข้าคิวประทับตราหนังสือเดินทาง ในขั้นตอนนี้ผู้เขียนเชื่อว่าคณะนักศึกษาไม่ได้ตื่นเต้นสักเท่าไร
เพราะส่วนหนึ่งของคณะนักศึกษามลายูศึกษากลุ่มนี้เคยผ่านมาแล้วทั้งมาเลเซีย
สิงคโปร์ บรูไน อินโดเนเซีย
แต่สิ่งที่ตื่นเต้นคือคณะนักศึกษามลายูศึกษารุ่นนี้ถือเป็นรุ่นแรกที่ได้เดินทางลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน
ซึ่งประกอบด้วยประเทศลาว เวียดนามและกัมพูชา
หลังจากที่เสร็จจากการประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทยที่บริเวณฝั่งไทยแล้ว
คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ขึ้นรถขนส่งต่อเพื่อเดินทางไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว
โดยใช้สะพานมิตรไทย-ลาว เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างทั้งสองประเทศ การเดินทางระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์มีระยะทางเพียง
27 กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 2
ชั่วโมง เพราะเสียเวลากับการกรอกเอกสารและการประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว
การเดินทางของคณะนักศึกษาครั้งนี้ก็ยังคงเหมือนเดิมนั้นคือนอกจากการวางแผนเก็บข้อมูลต่างๆจากอินเตอร์เน็ตแล้ว
ยังต้องอาศัยผู้รู้ที่เคยผ่านการเดินทางในครั้งนี้ด้วย
ซึ่งบุคคลที่ต้องกล่าวถึงนั้นคือ อาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์ บัณทิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ชี้แนะตลอดการเดินทางในครั้งนี้
อาจารญวาสน์ มุขยานุวงศ์
ป้ายบอกระยะทาง
กรอกเอกสารผ่านแดนฝั่งไทย
บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งไทย
บนรถขณะอยู่บนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
แผนที่ระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งลาว
บนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
แผนที่ตั้งจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์
แผนที่นครหลวงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง
เมื่อเดินทางมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว
คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ลงจากรถขนส่งเพื่อกรอกเอกสารและประทับตราหนังสือเดินทาง
และคณะเราก็เริ่มแปลกใจเมื่อได้รับการแนะนำให้ไปซื้อค่าธรรมเนียมเยียบเมืองที่ช่องหนึ่งของอาคารตรวจคนเข้าเมืองของฝั่งลาว แม้ว่าเราจะได้รับข้อมูลถึงเรื่องค่าธรรมเนียมเยียบเมือง
แต่ไม่เคยนึกว่าในหมู่ผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมเยียบเมืองอีก
บริเวณตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว
นักศึกษามลายูศึกษากำลังยื่นหนังสือเดินทางเพื่อประทับตรา
ใบเสร็จค่าธรรมเนียมเยียบแผ่นดินประเทศลาว
เมืองชายแดนฝั่งลาว
เมืองชายแดนฝั่งลาว
เมื่อเสร็จจากการประทับตราหนังสือเดินทางแล้ว
คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ขึ้นรถขนส่งต่อไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ตลอดทางคณะนักศึกษาเราก็สังเกตดูสภาพบ้านเมืองของประเทศลาว
จะเห็นว่าสภาพบ้านเมืองของประเทศลาวก็ไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่เราคิด ยังมีส่วนที่ดีๆอีกมาก ขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่ในตัวเมืองเวียงจันทน์ ก็เริ่มทบทวนข้อมูลต่างๆที่ได้มาจากอินเตอร์เน็ตและคำแนะนำของอาจารย์วาสน์
มุขยานุวงศ์
เมื่อตอนบ่ายๆรถขนส่งที่เราขึ้นก็มาถึงสถานีรถขนส่งในตัวเมืองเวียงจันทน์
คนขับรถรับจ้างหรือรถสกายแลปก็เริ่มวิ่งเข้ามาซักถามแหล่งที่จะไป สิ่งแรกที่คณะเราทำคือให้ทุกคนรวมกลุ่มนั่งรอที่เก้าอี้ที่สถานีรถขนส่งเวียงจันทน์
โดยผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคน เดินทางออกนอกบริเวณสถานี เพื่อสอบถามโรงแรมที่จะพักและบริเวณที่ตั้งใกล้เคียง
บริเวณสถานีขนส่งนครหลวงเวียงจันทน์
บริเวณสถานีรถขนส่งนครหลวงเวียงจันทน์
สิ่งแรกที่เราถามคือ
ถนนธาตุดำอยู่ไกลไหม เพราะเราได้รับคำแนะนำจากอาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์
ว่าบริเวณถนนธาตุดำ จะมีโรงแรมจำนวนหนึ่งและราคาก็ไม่แพงสักเท่าไร
เราดีใจมากเมื่อได้รับคำตอบจากคนที่นั่นว่าอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถขนส่ง
และสามารถเดินเท้าไปยังที่นั่น หลังจากนั้นผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคนจึงกลับมายังคณะนักศึกษาที่รวมกลุ่มอยู่ที่สถานีรถขนส่งเวียงจันทน์ และบอกให้ทุกคนออกเดินทางไปยังถนนธาตุดำ
การเดินทางของคณะนักศึกษามลายูศึกษาผ่านสถานที่ต่างๆ ทั้งบริเวณตลาดเช้า และมองเห็นประตูชัย เมื่อเดินทางเข้าสู่ถนนธาตุดำ ก็เริ่มใช้สายตามองซ้าย
มองขวาตรวจดูว่าจะมีโรงแรมสักแห่งเป็นที่พักไหม
แบก หิ้วสัมภาระผ่านตลาดเช้า
แอ๊คชั่น เก็บภาพที่ระลึก
รอไฟเขียว ไฟแดง กลางนครหลวงเวียงจันทน์
ถนนธาตุดำ
สายตาเห็นโรงแรมหนึ่งจึงเข้าไปสอบถามคนที่เพิ่งออกจากโรงแรม เราถามเป็นภาษาไทย เขาตอบเป็นภาษาลาว แบบเข้าใจบ้าง
ไม่เข้าใจบ้าง ก็นึกว่าเป็นชาวต่างประเทศมาพักที่โรงแรมแห่งนั้น เมื่อเข้าไปในโรงแรม ปรากฏว่าผู้ดูแลโรงแรมไม่เข้าใจภาษาไทยที่เราสื่อสาร
จนต่อมาต้องมีผู้หญิงอีกคนสามารถสื่อสารภาษาลาวกับเราได้
จึงรู้ว่าโรงแรมแห่งนี้เป็นของชาวม้งลาว
เมื่อคณะนักศึกษาเข้าที่พักโรงแรมเรียบร้อยแล้ว
ผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคน จึงออกจาก
โรงแรมเพื่อไปซื้อตั๋วรถขนส่ง ที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
โรงแรมเพื่อไปซื้อตั๋วรถขนส่ง ที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
โรงแรมที่พักในนครหลวงเวียงจันทน์
ชาวม้งผู้นำพาคณะนักศึกษามลายูศึกษาตลอดที่อยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์
ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งจากการเดินทางไปยังมาเลเซีย อินโดเนเซีย
บรูไนนั้น เมื่อมีผู้ร่วมเดินทางจำนวนมาก
สิ่งที่จะเป็นปัญหาคือจำนวนที่นั่งที่ว่างในรถคันที่จะไป หลายๆครั้งที่จำนวนที่นั่งในรถไม่พอกับจำนวนผู้ร่วมเดินทาง
แม้แต่เมื่อครั้งจะเดินทางจากหนองคายไปยังเวียงจันทน์ก็เช่นกัน เราต้องรอรถคันต่อไป
เมื่อรถที่เราทันกับกำหนดเวลาเดินทางนั้นมีจำนวนไม่พอกับจำนวนคณะนักศึกษา
เราจึงขึ้นรถสกายแลปที่หน้าโรงแรมให้ไปส่งที่สถานีขนส่งสายใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์
เพื่อซื้อตั๋วรถขนส่งไปยังเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม
ต่อมารถสกายแลปคันนี้ก็กลายเป็นรถประจำทางตลอดการเดินทางของคณะนักศึกษามลายูศึกษาขณะที่อยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ รถสกายแลปในนครหลวงเวียงจันทน์จะมีขนาดใหญ่กว่ารถสกายแลปในจังหวัดหนองคาย
พูดคุยกับคนขับรถสกายแลป ปรากฏว่าเขาเป็นชาวม้งอีกคน
ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าในนครหลวงเวียงจันทน์นั้น
ชาวม้งนั้นมีบทบาทไม่น้อย แม้แต่การได้เป็นเจ้าของโรงแรมที่คณะเราพักในนครหลวงเวียงจันทน์
ก็ถือว่าไม่ธรรมดา ในขณะที่ชาวม้งในประเทศไทย เราอาจเราพวกเขาเป็นแค่ชนชาวเขา ไม่แน่ใจว่าจะผิดไหม
ถ้าจะกล่าวว่าชาวม้งในเวียงจันทน์น่าจะมีฐานะ มีบทบาทมากกว่าชาวม้งในประเทศไทย
เมื่อเราเดินทางถึงสถานีขนส่งสายใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งปรากฏว่าตัวสถานีอยู่ไกลออกไปจากที่เราพักมาก เมื่อคณะเราได้ซื้อตั๋วรถเพื่อเดินทางต่อในวันพรุ่งนี้ไปยังเมืองฮานอย
ทำให้สบายใจขึ้น มีหลักประกันว่าคณะเราจะไม่มีปัญหาในการเดินทาง ตอนขากลับจากการซื้อตั๋ว
ก็ได้แวะเยี่ยมประตูชัยในตอนค่ำๆ
และเมื่อกลับถึงโรงแรมที่พัก ก็ได้เรียกคณะนักศึกษาทั้งหมดเดินทางกลับรถสกายแลปต่อไปยังตลาดกลางคืนของนครหลวงเวียงจันทน์ ได้ดูวิถีชีวิตการค้าขาย สภาพบ้านเมืองของคนลาว
เก็บภาพที่ระลึก ตอนซื้อตั๋วรถจะไปกรุงฮานอย
บรรยากาศภายในอาคารสถานีรถขนส่งสายใต้
ช่องจำหน่ายตั๋วรถ
ร้านกาแฟภายในสถานีขนส่ง
ป้ายขายตั๋วรถนอนไปฮานอย วินห์ เว้ ดานัง
ผู้ขายตั๋วรถนอน
ระหว่างทางที่จะกลับโรงแรม ทางผู้ขับรถสกายแลปใจดี ก็จอดให้คณะเราถ่ายรูปในยามกลางคืน นับว่าเป็นภาพที่สวยมาก ในช่วงกลางคืนก็ยังคงมีนักท่องเที่ยวไปถ่ายรูป และนั่งพักผ่อน
ประตูชัยในยามกลางคืน
ประตูชัยในยามกลางคืน
ในขณะที่เดินทางไปยังตลาดกลางคืนนั้น ปรากฏว่าเห็นป้ายร้านอาหารฮาลาลร้านหนึ่ง
ซึ่งเราได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารฮาลาลของชาวมุสลิมมาแล้ว แต่เราไม่ได้ลงไปร้านอาหารดังกล่าว
เพราะคณะเราได้กินบะหมี่สำเร็จรูป
ขนมปังที่เป็นสะเบียงอาหารซึ่งซื้อมาตั้งแต่อยู่ปัตตานีแล้ว
ตลาดกลางคืนนครหลวงเวียงจันทน์
นักวาดรูปในตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
เก็บภาพที่ระลึกในตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
เก็บภาพว่าครั้งหนึ่งเคยไปตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
หมวกที่ทำจากกระป๋องเครื่องดืมที่ใช้แล้ว
ศิลปินในตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
มีขายหนังสือทั่วไป และประวัติผู้นำลาว
รถสกายแลปขณะที่อยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์
ในวันรุ่งขึ้น
วันที่ 26 พฤษภาคม 2013 ในช่วงเช้าได้เดินทางไปยังประตูชัย
กลางทางแวะแลกเปลี่ยนเงินตรา และไปยังตลาดเช้า
คณะเราได้เข้าไปยังห้างบริเวณตลาดเช้า ซึ่งมีร้านอาหารมุสลิมอยู่ในห้างดังกล่าว
แต่คณะเราไม่คุ้นเคยกับบรรยากาศของร้านดังกล่าว
ทำให้คณะเราไม่สามารถกินอาหารในร้านดังกล่าวได้
จึงกลับมากินขนมปังที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ที่จังหวัดปัตตานี แม้จะหมดอายุแล้ว 2 วันแต่สภาพยังสามารถกินได้ หลังจากนั้นคณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ได้เดินทางไปชมประตูชัยอีกครั้ง ด้วยเป็นเวลากลางวัน ดังนั้นคณะเราจึงขึ้นไปยังชั้นบนของประตูชัย และต้องแปลกใจ เพราะข้างบนกลายเป็นืที่ขายสินค้า ของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว เมื่อไปเวลาก็เดินทางกลับยังที่พัก
หน้าห้อวสมุดประจำนครหลวงเวียงจันทน์
บริเวณถนนสู่ประตูชัย
ประตูชัยแห่งนครหลวงเวียงจันทน์
หน้าประตูชัย นครหลวงเวียงจันทน์
ทำเนียบรัฐบาลของประเทศลาว
เก็บภาพถ่ายหน้าประตูชัย
ร้านขายของภายในชั้นบนของประตูชัย
ร้านขายของภายในชั้นบนของประตูชัย
ภาพจากชั้นบนของประตูชัย
ภาพจากชั้นบนของประตูชัย
ธงพรรคและธงชาติลาวที่แขวนไว้ที่ร้านขายของชั้นบนของประตูชัย
คณะผู้ปกครองของลาว ถ่ายภาพจากร้านขายของชั้นบนของประตูชัย
ร้านขายหนังสือบริเวณชั้นบนของประตูชัย
อาคารในนครหลวงเวียงจันทน์
ธุรกิจคั่นๆ น่าจะมาจากประเทศไทย
ทานขนมปังหยุดอายุที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
ทานขนมปังหยุดอายุที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
ทานขนมปังหยุดอายุที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
เมื่อเดินทางถึงมัสยิดอัลอัซฮาร์
ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโพนสวัสดิ์ใต้ ของนครหลวงเวียงจันทน์ คณะนักศึกษามลายูศึกษาจึงเข้าไปในมัสยิดอัลอัซฮาร์
ได้พบคณะดะวะห์ชาวจาม ซึ่งเดินทางมาจากประเทศกัมพูชา
โดยบางคนสามารถพูดภาษามลายูได้ ส่วนกับอิหม่ามนั้นคณะเราใช้ภาษาไทยในการพูดคุย
สำหรับอิหม่ามคนที่สอง คณะเราไม่ได้พบ
เพราะว่าเขากำลังต้อนรับชาวมาเลเซียที่เข้ามาเยี่ยมนครหลวงเวียงจันทน์
หลังจากที่ได้พบกับอิหม่ามมัสยิดอัลอัซฮาร์แล้ว
ได้สำรวจภายในมัสยิด พบเห็นบอร์ดสอนนักเรียนที่เขียนเป็นภาษามลายูด้วย
แต่อิหม่ามบอกว่าปัจจุบันไม่ได้สอนแล้ว เพราะไม่มีเด็กเรียน หลังจากนั้นคณะนักศึกษามลายูศึกษาได้ขอให้อิหม่ามมัสยิดพาไปรู้จักชุมชนชาวจาม
สร้างความแปลกใจให้กับคณะเราเป็นอย่างมาก
เมื่ออิหม่ามบอกว่าบริเวณรอบมัสยิดนี้ไม่ได้เป็นชุมชนชาวจาม แต่เป็นที่อยู่ผสมกันทั้งชาวจาม
และชาวลาวทั่วไป
กระดานที่ใช้สอนเด็กชาวจาม จะมีภาษามลายูด้วย
คณะดะวะห์ที่มาจากประเทศกัมพูชา
อิหม่ามประจำมัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์
มัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์ นครหลวงเวียงจันทน์
เก็บภาพที่ระลึกกับอิหม่ามมัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์
กับอิหม่ามมัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์
เยี่ยมชุมชนชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
กินส้มตำ ไก่ยางที่ชุมชนชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
เยี่ยมสร้างความสัมพันธ์กับชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
เก็บภาพที่ระลึกที่บ้านชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
ถ่ายภาพก่อนเดินทางกลับจากการเยี่ยมชุมชนชาวจามมุสลิม
เยี่ยมบ้านชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
เยี่ยมชุมชนมุสลิมชาวจาม นครหลวงเวียงจันทน์
ถนนเป็นหลุ่ม เป็นบ่อ แต่สภาพบ้านเรือนค่อนข้างจะมีฐานะ
ซึ่งเมื่อดูสภาพบ้านเรือนแล้ว
แม้ถนนจะค่อนข้างแย่ เป็นหลุมเป็นบ่อ แต่บ้านแต่ละหลังค่อนข้างจะมีฐานะ อิหม่ามได้กรุณาพาไปรู้จักบ้านชาวจาม 4-5 ครอบครัว
นับเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่สุด
เพราะได้สัมผัสชีวิตจริงของชาวจามในนครหลวงเวียงจันทน์
ในขณะที่ปกติเวลาชาวไทย ชาวเราไปมักจะได้รับการต้อนรับกันที่มัสยิด ไม่ได้เห็นฉากจริงของชีวิตชาวจาม ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทศกัมพูชา
สถานีขนส่งสายใต กรุงเทพฯ
สถานีขนส่งสายใต้ กัวลาลัมเปอร์
สถานีขนส่งสายใต้ กัวลาลัมเปอร์
ภายในสถานีขนส่งสายใต้ กัวลาลัมเปอร์
ถึงอย่างไรก็ตาม
คณะเราเชื่อว่าน้ำใจของคนที่สถานีรถขนส่งสายใต้นครหลวงเวียงจันทน์น่าจะมีไม่น้อยกว่าคนที่สถานีขนส่งสายใต้ของกรุงเทพฯ
หรือกัวลาลัมเปอร์ และอาจจะมีมากกว่าคนที่สถานีขนส่งสายใต้ของกัวลาลัมเปอร์
ด้วยที่กัวลาลัมเปอร์สภาพความเป็นเมืองมีมากกว่า ดังนั้นน้ำใจ ความเอื้อ
อาทรของผู้คนย่อมน้อยกว่า
คณะนักศึกษามลายูศึกษาพักรอรถออกนับชั่วโมง ก็ใช้เวลาส่วนนั้นสำรวจสภาพสถานีขนส่งสายใต้
พร้อมกับซื้อเสบียงสำหรับการเดินทาง เพราะว่าไม่รู้ว่าอาหาร
การกินข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ก่อนเวลา 6 โมงเย็น
คณะเราก็ขนกระเป๋า สัมภาระขึ้นรถขนส่งสายหลวงเวียงจันทน์นคร-กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
ข้อมูลที่เราเก็บมาจากอินเตอร์เน็ต กล่าวว่ารถที่ใช้ในเส้นทางหลวงเวียงจันทน์นคร-กรุงฮานอย
เป็นรถนอน หรือ Sleeping
Bus ได้เห็นภาพจากรูปที่นำไปโพสต์ในอินเตอร์เน็ต
แต่เมื่อเจอกับสภาพความเป็นจริง ปรากฏว่ามันไม่ได้ร้ายเหมือนกับที่กล่าวกันในอินเตอร์เน็ต
ถ่ายภาพหน้ารถนอนที่จะไปกรุงฮานอย
สภาพรถที่จะไปยังต่างแขวงของลาว
ขนมปังฝรั่งเศส
ขนมปังฝรั่งเศส
กินขนมปังหมดอายุ (แต่ไม่ขึ้นรา)จากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
กินขนมปังหมดอายุ (แต่ไม่ขึ้นรา)จากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
บนรถนอนที่จะไปกรุงฮานอย
เก็บภาพบนรถนอนที่จะไปกรุงฮานอย
สภาพบนรถนอนสายเวียงจันทน์-ฮานอย
นี้คือสภาพรถนอน คือนอนจริงๆ
ในรุ่งเช้าของวันที่
27 พฤษภาคม 2013 ราวเวลา 04.00 น.
รถก็ได้มาจอดที่บริเวณด่านประเทศลาว-เวียดนาม ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ชื่อว่า
ด่านน้ำพาว รถจอดรอให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองเปิดทำการในเวลา 07.00 น. ต้องรอจนกว่าด่านจะเปิดราว 3 ชั่วโมง ผู้โดยสารต้องนอนรอในรถ
ซึ่งยังแปลกใจกับวิธีการเดินทางในครั้งนี้ เพราะแตกต่างจากประเทศมาเลเซีย ปกติรถจะออกเวลา
2-3 ทุ่ม เพื่อให้ถึงด่านก่อนเวลาเปิดสัก 1 ชั่วโมง บรรยากาศในช่วงเวลากลางคืนนั้น
ผู้เขียนได้ลงจากรถเพื่อยืดเส้นยืดสาย
แวะร้านข้างทาง แต่....เราก็ไม่สามารถกินอะไรได้
ถ่ายภาพร้านอาหาร แต่เราก็กินขนมปังอาหารที่ซื้อจากเวียงจันทน์
รถจอดแวะร้านอาหาร
เช้าตรู่ แต่ละคนก็ล้างหน้า ล้างหน้าที่บริเวณข้างถนน
สภาพด่านตรวคนเข้าเมืองฝั่งลาวที่ชื่อว่าด่านน้ำพาว
เก็บภาพที่ระลึกหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง รอด่านเปิด
เก็บภาพหน้าอาคารตรวจคนเข้าเมืองน้ำพาว
แอ๊คชั่น หน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองน้ำพาว
เก็บภาพที่ระลึก
รอด่านเปิด
รอด่านเปิดข้างทาง
เมื่อด่านเปิด จึงเต็มด้วยผู้คนมากมาย
น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของลาว
เดิน เดิน เดิน เป็นกิโลเมตร ออกจากด่านน้ำพาวไปยังด่านฝั่งเวียดนาม
ติดตามต่อไปในตอน
“แบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน ตอน 3 ผจญภัยในประเทศเวียดนาม
Tiada ulasan:
Catat Ulasan