Selasa, 23 Julai 2013

แบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน ตอน 2 สัมผัสประเทศลาว

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
แบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน
ที่จังหวัดหนองคาย หลังจากกินข้าวที่ร้านมาเรียม  นราธิวาส เสร็จเรียบร้อยแล้ว   คณะของเราก็ขึ้นรถสกายแลป ที่เรานัดมารับเราไปยังสถานีขนส่งหนองคายเมื่อใกล้เวลารถสายหนองคาย-เวียงจันทน์จะออก  เมื่อถึงสถานีรถขนส่งหนองคาย  เราก็ลงจากรถสกายแลปไปยกกองกระเป๋าที่เราตั้งทิ้งไว้ที่สถานีรถขนส่งหนองคาย เพื่อเอาไปเก็บไว้ขึ้นรถขนส่งที่จะพาคณะเราไปยังนครหลวงเวียงจันทน์  ผู้เขียนใช้คำว่านครหลวงเวียงจันทน์ ด้วยเห็นที่รถขนส่งสายหนองคาย-เวียงจันทน์คันหนึ่งเขียนว่า “นครหลวงเวียงจันทน์-หนองคาย”  ผู้เขียนสันนิฐานหรือเดาเอาเองว่า ในประเทศลาวนั้น คำว่าเมืองหลวงหรือเมืองกรุงนั้น ในประเทศลาวใช้คำว่า นครหลวง
ข้างรถเขียนว่า "นครหลวงเวียงจันทน์"
รถโดยสารระหว่างประเทศไทย-ลาว
 รอรถที่สถานีขนส่งหนองคาย
 บันทึกระหว่างการเดินทาง
กระเป๋า สัมภาระที่ทิ้งไว้ในบริเวณสถานีขนส่งหนองคาย
พนักงานบนรถลาว ตอนแรกนึกว่าข้าราชการลาวมาเที่ยวหนองคาย
จากการที่รถสายหนองคาย-เวียงจันทน์มีทั้งที่เป็นรถขนส่งของไทยและประเทศลาว  ปรากฏว่ารถคันที่คณะเราขึ้นนั้นเป็นรถของประเทศลาว ทำให้คณะเราดีใจมาก  ที่ได้ขึ้นรถของประเทศลาว  เพราะว่าการจะไปประเทศลาวทั้งที ก็น่าจะได้ขึ้นรถของประเทศลาว  เมื่อขึ้นไปบนรถรู้สึกว่าสภาพของรถขนส่งลาวจะด้อยกว่าสภาพของรถขนส่งของไทย  แต่สิ่งที่ตื่นเต้นเป็นอันมากของคณะนักศึกษามลายูศึกษาคือเป็นครั้งแรกที่ได้ขึ้นรถที่มีพ่วงมาลัยอยู่ทางซ้ายของคัน  และรถจะวิ่งไปทางขวาของถนน
บนรถสายหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
บนรถสายหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
บนรถสายหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
เอกสารผ่านแดนประเทศลาว
เมื่อรถออกจากตัวจังหวัดได้ไม่นาน  ก็ถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองชายแดนประเทศไทย-ลาวขอ  คณะนักศึกษาก็ลงจากรถเพื่อกรอกเอกสารผ่านแดน พร้อมเข้าคิวประทับตราหนังสือเดินทาง ในขั้นตอนนี้ผู้เขียนเชื่อว่าคณะนักศึกษาไม่ได้ตื่นเต้นสักเท่าไร เพราะส่วนหนึ่งของคณะนักศึกษามลายูศึกษากลุ่มนี้เคยผ่านมาแล้วทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดเนเซีย  แต่สิ่งที่ตื่นเต้นคือคณะนักศึกษามลายูศึกษารุ่นนี้ถือเป็นรุ่นแรกที่ได้เดินทางลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน ซึ่งประกอบด้วยประเทศลาว เวียดนามและกัมพูชา

หลังจากที่เสร็จจากการประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทยที่บริเวณฝั่งไทยแล้ว คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ขึ้นรถขนส่งต่อเพื่อเดินทางไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว โดยใช้สะพานมิตรไทย-ลาว เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างทั้งสองประเทศ การเดินทางระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์มีระยะทางเพียง 27  กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาประมาณ  2  ชั่วโมง  เพราะเสียเวลากับการกรอกเอกสารและการประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว

การเดินทางของคณะนักศึกษาครั้งนี้ก็ยังคงเหมือนเดิมนั้นคือนอกจากการวางแผนเก็บข้อมูลต่างๆจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังต้องอาศัยผู้รู้ที่เคยผ่านการเดินทางในครั้งนี้ด้วย ซึ่งบุคคลที่ต้องกล่าวถึงนั้นคือ อาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์ บัณทิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ชี้แนะตลอดการเดินทางในครั้งนี้
อาจารญวาสน์ มุขยานุวงศ์
ป้ายบอกระยะทาง
กรอกเอกสารผ่านแดนฝั่งไทย
 บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งไทย
บนรถขณะอยู่บนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
จากข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับสะพานเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวคือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงจากอำเภอเมืองหนองคายไปเมืองท่าเดื่อ ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง เวียงจันทน์ ประมาณ 20 กิโลเมตร สะพานแห่งนี้ชาวอีสานและชาวลาวเรียกว่าขัวมิดตะพาบ”(ขัวหมายถึงสะพาน) สะพานแห่งนี้กว้างประมาณ 15 เมตร ยาวประมาณ 1,200 เมตร สร้างเชื่อม ระหว่าง บ้านจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย ไปยังบริเวณท่านาแล้ง แขวงนครเวียงจันทน์
แผนที่ระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งลาว
 บนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
 แผนที่ตั้งจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์
 แผนที่นครหลวงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง
เมื่อเดินทางมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว  คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ลงจากรถขนส่งเพื่อกรอกเอกสารและประทับตราหนังสือเดินทาง  และคณะเราก็เริ่มแปลกใจเมื่อได้รับการแนะนำให้ไปซื้อค่าธรรมเนียมเยียบเมืองที่ช่องหนึ่งของอาคารตรวจคนเข้าเมืองของฝั่งลาว  แม้ว่าเราจะได้รับข้อมูลถึงเรื่องค่าธรรมเนียมเยียบเมือง แต่ไม่เคยนึกว่าในหมู่ผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมเยียบเมืองอีก 
 บริเวณตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว
 นักศึกษามลายูศึกษากำลังยื่นหนังสือเดินทางเพื่อประทับตรา
ใบเสร็จค่าธรรมเนียมเยียบแผ่นดินประเทศลาว
 เมืองชายแดนฝั่งลาว
เมืองชายแดนฝั่งลาว
เมื่อเสร็จจากการประทับตราหนังสือเดินทางแล้ว คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ขึ้นรถขนส่งต่อไปยังนครหลวงเวียงจันทน์  ตลอดทางคณะนักศึกษาเราก็สังเกตดูสภาพบ้านเมืองของประเทศลาว  จะเห็นว่าสภาพบ้านเมืองของประเทศลาวก็ไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่เราคิด  ยังมีส่วนที่ดีๆอีกมาก  ขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่ในตัวเมืองเวียงจันทน์ ก็เริ่มทบทวนข้อมูลต่างๆที่ได้มาจากอินเตอร์เน็ตและคำแนะนำของอาจารย์วาสน์  มุขยานุวงศ์ 

เมื่อตอนบ่ายๆรถขนส่งที่เราขึ้นก็มาถึงสถานีรถขนส่งในตัวเมืองเวียงจันทน์ คนขับรถรับจ้างหรือรถสกายแลปก็เริ่มวิ่งเข้ามาซักถามแหล่งที่จะไป  สิ่งแรกที่คณะเราทำคือให้ทุกคนรวมกลุ่มนั่งรอที่เก้าอี้ที่สถานีรถขนส่งเวียงจันทน์ โดยผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคน เดินทางออกนอกบริเวณสถานี เพื่อสอบถามโรงแรมที่จะพักและบริเวณที่ตั้งใกล้เคียง 
บริเวณสถานีขนส่งนครหลวงเวียงจันทน์
บริเวณสถานีรถขนส่งนครหลวงเวียงจันทน์
สิ่งแรกที่เราถามคือ ถนนธาตุดำอยู่ไกลไหม เพราะเราได้รับคำแนะนำจากอาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์  ว่าบริเวณถนนธาตุดำ จะมีโรงแรมจำนวนหนึ่งและราคาก็ไม่แพงสักเท่าไร  เราดีใจมากเมื่อได้รับคำตอบจากคนที่นั่นว่าอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถขนส่ง และสามารถเดินเท้าไปยังที่นั่น หลังจากนั้นผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคนจึงกลับมายังคณะนักศึกษาที่รวมกลุ่มอยู่ที่สถานีรถขนส่งเวียงจันทน์  และบอกให้ทุกคนออกเดินทางไปยังถนนธาตุดำ  การเดินทางของคณะนักศึกษามลายูศึกษาผ่านสถานที่ต่างๆ  ทั้งบริเวณตลาดเช้า  และมองเห็นประตูชัย  เมื่อเดินทางเข้าสู่ถนนธาตุดำ  ก็เริ่มใช้สายตามองซ้าย มองขวาตรวจดูว่าจะมีโรงแรมสักแห่งเป็นที่พักไหม 
แบก หิ้วสัมภาระผ่านตลาดเช้า
 แอ๊คชั่น เก็บภาพที่ระลึก
รอไฟเขียว ไฟแดง กลางนครหลวงเวียงจันทน์
ถนนธาตุดำ
สายตาเห็นโรงแรมหนึ่งจึงเข้าไปสอบถามคนที่เพิ่งออกจากโรงแรม  เราถามเป็นภาษาไทย เขาตอบเป็นภาษาลาว แบบเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ก็นึกว่าเป็นชาวต่างประเทศมาพักที่โรงแรมแห่งนั้น  เมื่อเข้าไปในโรงแรม ปรากฏว่าผู้ดูแลโรงแรมไม่เข้าใจภาษาไทยที่เราสื่อสาร จนต่อมาต้องมีผู้หญิงอีกคนสามารถสื่อสารภาษาลาวกับเราได้ จึงรู้ว่าโรงแรมแห่งนี้เป็นของชาวม้งลาว  เมื่อคณะนักศึกษาเข้าที่พักโรงแรมเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคน จึงออกจาก
โรงแรมเพื่อไปซื้อตั๋วรถขนส่ง ที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
 โรงแรมที่พักในนครหลวงเวียงจันทน์
ชาวม้งผู้นำพาคณะนักศึกษามลายูศึกษาตลอดที่อยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์
ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา  ทั้งจากการเดินทางไปยังมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไนนั้น  เมื่อมีผู้ร่วมเดินทางจำนวนมาก สิ่งที่จะเป็นปัญหาคือจำนวนที่นั่งที่ว่างในรถคันที่จะไป  หลายๆครั้งที่จำนวนที่นั่งในรถไม่พอกับจำนวนผู้ร่วมเดินทาง  แม้แต่เมื่อครั้งจะเดินทางจากหนองคายไปยังเวียงจันทน์ก็เช่นกัน เราต้องรอรถคันต่อไป เมื่อรถที่เราทันกับกำหนดเวลาเดินทางนั้นมีจำนวนไม่พอกับจำนวนคณะนักศึกษา

เราจึงขึ้นรถสกายแลปที่หน้าโรงแรมให้ไปส่งที่สถานีขนส่งสายใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อซื้อตั๋วรถขนส่งไปยังเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม  ต่อมารถสกายแลปคันนี้ก็กลายเป็นรถประจำทางตลอดการเดินทางของคณะนักศึกษามลายูศึกษาขณะที่อยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์  รถสกายแลปในนครหลวงเวียงจันทน์จะมีขนาดใหญ่กว่ารถสกายแลปในจังหวัดหนองคาย พูดคุยกับคนขับรถสกายแลป ปรากฏว่าเขาเป็นชาวม้งอีกคน 

ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าในนครหลวงเวียงจันทน์นั้น ชาวม้งนั้นมีบทบาทไม่น้อย แม้แต่การได้เป็นเจ้าของโรงแรมที่คณะเราพักในนครหลวงเวียงจันทน์ ก็ถือว่าไม่ธรรมดา ในขณะที่ชาวม้งในประเทศไทย เราอาจเราพวกเขาเป็นแค่ชนชาวเขา  ไม่แน่ใจว่าจะผิดไหม ถ้าจะกล่าวว่าชาวม้งในเวียงจันทน์น่าจะมีฐานะ มีบทบาทมากกว่าชาวม้งในประเทศไทย

เมื่อเราเดินทางถึงสถานีขนส่งสายใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์  ซึ่งปรากฏว่าตัวสถานีอยู่ไกลออกไปจากที่เราพักมาก  เมื่อคณะเราได้ซื้อตั๋วรถเพื่อเดินทางต่อในวันพรุ่งนี้ไปยังเมืองฮานอย ทำให้สบายใจขึ้น มีหลักประกันว่าคณะเราจะไม่มีปัญหาในการเดินทาง  ตอนขากลับจากการซื้อตั๋ว ก็ได้แวะเยี่ยมประตูชัยในตอนค่ำๆ 
 เก็บภาพที่ระลึก ตอนซื้อตั๋วรถจะไปกรุงฮานอย
 บรรยากาศภายในอาคารสถานีรถขนส่งสายใต้
 ช่องจำหน่ายตั๋วรถ
 ร้านกาแฟภายในสถานีขนส่ง
 ป้ายขายตั๋วรถนอนไปฮานอย วินห์ เว้ ดานัง
ผู้ขายตั๋วรถนอน
ระหว่างทางที่จะกลับโรงแรม ทางผู้ขับรถสกายแลปใจดี ก็จอดให้คณะเราถ่ายรูปในยามกลางคืน นับว่าเป็นภาพที่สวยมาก ในช่วงกลางคืนก็ยังคงมีนักท่องเที่ยวไปถ่ายรูป และนั่งพักผ่อน
 ประตูชัยในยามกลางคืน
 ประตูชัยในยามกลางคืน
และเมื่อกลับถึงโรงแรมที่พัก ก็ได้เรียกคณะนักศึกษาทั้งหมดเดินทางกลับรถสกายแลปต่อไปยังตลาดกลางคืนของนครหลวงเวียงจันทน์  ได้ดูวิถีชีวิตการค้าขาย สภาพบ้านเมืองของคนลาว   

ในขณะที่เดินทางไปยังตลาดกลางคืนนั้น  ปรากฏว่าเห็นป้ายร้านอาหารฮาลาลร้านหนึ่ง ซึ่งเราได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารฮาลาลของชาวมุสลิมมาแล้ว แต่เราไม่ได้ลงไปร้านอาหารดังกล่าว เพราะคณะเราได้กินบะหมี่สำเร็จรูป ขนมปังที่เป็นสะเบียงอาหารซึ่งซื้อมาตั้งแต่อยู่ปัตตานีแล้ว 
ตลาดกลางคืนนครหลวงเวียงจันทน์
นักวาดรูปในตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
เก็บภาพที่ระลึกในตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
เก็บภาพว่าครั้งหนึ่งเคยไปตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
หมวกที่ทำจากกระป๋องเครื่องดืมที่ใช้แล้ว
ศิลปินในตลาดกลางคืนเวียงจันทน์
มีขายหนังสือทั่วไป และประวัติผู้นำลาว
รถสกายแลปขณะที่อยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์
ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 26 พฤษภาคม 2013 ในช่วงเช้าได้เดินทางไปยังประตูชัย กลางทางแวะแลกเปลี่ยนเงินตรา และไปยังตลาดเช้า คณะเราได้เข้าไปยังห้างบริเวณตลาดเช้า ซึ่งมีร้านอาหารมุสลิมอยู่ในห้างดังกล่าว แต่คณะเราไม่คุ้นเคยกับบรรยากาศของร้านดังกล่าว  ทำให้คณะเราไม่สามารถกินอาหารในร้านดังกล่าวได้ จึงกลับมากินขนมปังที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ที่จังหวัดปัตตานี แม้จะหมดอายุแล้ว 2 วันแต่สภาพยังสามารถกินได้ หลังจากนั้นคณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ได้เดินทางไปชมประตูชัยอีกครั้ง ด้วยเป็นเวลากลางวัน ดังนั้นคณะเราจึงขึ้นไปยังชั้นบนของประตูชัย และต้องแปลกใจ เพราะข้างบนกลายเป็นืที่ขายสินค้า ของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว เมื่อไปเวลาก็เดินทางกลับยังที่พัก
หน้าห้อวสมุดประจำนครหลวงเวียงจันทน์
บริเวณถนนสู่ประตูชัย
ประตูชัยแห่งนครหลวงเวียงจันทน์
หน้าประตูชัย นครหลวงเวียงจันทน์
ทำเนียบรัฐบาลของประเทศลาว
เก็บภาพถ่ายหน้าประตูชัย
ร้านขายของภายในชั้นบนของประตูชัย
ร้านขายของภายในชั้นบนของประตูชัย
ภาพจากชั้นบนของประตูชัย
ภาพจากชั้นบนของประตูชัย
ธงพรรคและธงชาติลาวที่แขวนไว้ที่ร้านขายของชั้นบนของประตูชัย
 คณะผู้ปกครองของลาว ถ่ายภาพจากร้านขายของชั้นบนของประตูชัย
ร้านขายหนังสือบริเวณชั้นบนของประตูชัย
ใช้เวลาส่วนที่เหลือนั้นให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด โดยเข้าแวะสอบถามราคาโรงแรมต่างๆ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของรุ่นต่อๆไป   สิ่งที่ได้สัมผัส บางโรงแรมมีชาวเวียดนามเป็นเจ้าของ ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจส่วนหนึ่งของประเทศลาวนั้นถูกครอบครองโดยชาวเวียดนาม อาจถือสัญชาติลาวหรือไม่ไม่อาจทราบ เพราะไม่ได้ถามชาวลาว  
อาคารในนครหลวงเวียงจันทน์
ธุรกิจคั่นๆ น่าจะมาจากประเทศไทย
ทานขนมปังหยุดอายุที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
ทานขนมปังหยุดอายุที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
ทานขนมปังหยุดอายุที่ซื้อจากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
 ในช่วงเกือบเที่ยงเราได้นัดกับรถสกายแลปเพื่อพาคณะนักศึกษามลายูศึกษาไปเยี่ยมชุมชนชาวจาม ซึ่งชาวจามนั้นถือเป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย   ในขณะที่รถสกายแลปพาคณะนักศึกษามลายูศึกษาไปยังชุมชนชาวจามนั้น ก็ได้ผ่านมัสยิดแห่งหนึ่งชื่อมัสยิดญามิอ ซึ่งผู้เขียนได้ข้อมูลมาว่าเป็นมัสยิดของชุมชนชาวอินเดีย-ปากีสถาน ดังนั้นจึงไม่ได้จอดรถสกายแลปเข้าเยี่ยมมัสยิดแห่งนี้ แต่มุ่งหน้าต่อไปยังมัสยิดอัลอัซฮาร์ของชุมชนมุสลิมชาวจาม 
มัสยิดยามิ นครหลวงเวียงจันทน์
เมื่อเดินทางถึงมัสยิดอัลอัซฮาร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโพนสวัสดิ์ใต้ ของนครหลวงเวียงจันทน์  คณะนักศึกษามลายูศึกษาจึงเข้าไปในมัสยิดอัลอัซฮาร์ ได้พบคณะดะวะห์ชาวจาม ซึ่งเดินทางมาจากประเทศกัมพูชา โดยบางคนสามารถพูดภาษามลายูได้ ส่วนกับอิหม่ามนั้นคณะเราใช้ภาษาไทยในการพูดคุย สำหรับอิหม่ามคนที่สอง  คณะเราไม่ได้พบ  เพราะว่าเขากำลังต้อนรับชาวมาเลเซียที่เข้ามาเยี่ยมนครหลวงเวียงจันทน์

หลังจากที่ได้พบกับอิหม่ามมัสยิดอัลอัซฮาร์แล้ว  ได้สำรวจภายในมัสยิด พบเห็นบอร์ดสอนนักเรียนที่เขียนเป็นภาษามลายูด้วย แต่อิหม่ามบอกว่าปัจจุบันไม่ได้สอนแล้ว เพราะไม่มีเด็กเรียน หลังจากนั้นคณะนักศึกษามลายูศึกษาได้ขอให้อิหม่ามมัสยิดพาไปรู้จักชุมชนชาวจาม  สร้างความแปลกใจให้กับคณะเราเป็นอย่างมาก เมื่ออิหม่ามบอกว่าบริเวณรอบมัสยิดนี้ไม่ได้เป็นชุมชนชาวจาม แต่เป็นที่อยู่ผสมกันทั้งชาวจาม และชาวลาวทั่วไป 
กระดานที่ใช้สอนเด็กชาวจาม จะมีภาษามลายูด้วย
คณะดะวะห์ที่มาจากประเทศกัมพูชา
อิหม่ามประจำมัสยิดอัลอัซฮาร์  บ้านโพนสวัสดิ์
มัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์ นครหลวงเวียงจันทน์
เก็บภาพที่ระลึกกับอิหม่ามมัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์
กับอิหม่ามมัสยิดอัลอัซฮาร์ บ้านโพนสวัสดิ์
เยี่ยมชุมชนชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
กินส้มตำ ไก่ยางที่ชุมชนชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
เยี่ยมสร้างความสัมพันธ์กับชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
เก็บภาพที่ระลึกที่บ้านชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
ถ่ายภาพก่อนเดินทางกลับจากการเยี่ยมชุมชนชาวจามมุสลิม 
เยี่ยมบ้านชาวจามมุสลิม นครหลวงเวียงจันทน์
เยี่ยมชุมชนมุสลิมชาวจาม นครหลวงเวียงจันทน์
ถนนเป็นหลุ่ม เป็นบ่อ แต่สภาพบ้านเรือนค่อนข้างจะมีฐานะ
ซึ่งเมื่อดูสภาพบ้านเรือนแล้ว แม้ถนนจะค่อนข้างแย่ เป็นหลุมเป็นบ่อ แต่บ้านแต่ละหลังค่อนข้างจะมีฐานะ   อิหม่ามได้กรุณาพาไปรู้จักบ้านชาวจาม 4-5 ครอบครัว  นับเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่สุด  เพราะได้สัมผัสชีวิตจริงของชาวจามในนครหลวงเวียงจันทน์ ในขณะที่ปกติเวลาชาวไทย ชาวเราไปมักจะได้รับการต้อนรับกันที่มัสยิด  ไม่ได้เห็นฉากจริงของชีวิตชาวจาม ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทศกัมพูชา

 คณะนักศึกษามลายูศึกษาออกจากบ้านโพนสวัสดิ์ในช่วงตอนบ่าย  หลังจากนั้นกลับโรงแรมที่พัก  เตรียมเข้าของเพื่อเดินทางต่อไปยังสถานีรถขนส่งสายใต้  ตอนเย็นสายๆรถสกายแลปคันเดิมก็มารับคณะนักศึกษาไปยังสถานีรถขนส่งสายใต้ คณะนักศึกษามลายูศึกษารู้สึกแปลกใจมาก กับคำว่าสถานีขนส่งสายใต้  เมื่อคณะเรานำมาเปรียบเทียบกับสถานีขนส่งสายใต้ของกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เราจะเห็นว่าสภาพค่อนข้างแตกต่างกันมาก
   สถานีขนส่งสายใต กรุงเทพฯ
  สถานีขนส่งสายใต้ กัวลาลัมเปอร์
สถานีขนส่งสายใต้ กัวลาลัมเปอร์
ภายในสถานีขนส่งสายใต้ กัวลาลัมเปอร์
ถึงอย่างไรก็ตาม คณะเราเชื่อว่าน้ำใจของคนที่สถานีรถขนส่งสายใต้นครหลวงเวียงจันทน์น่าจะมีไม่น้อยกว่าคนที่สถานีขนส่งสายใต้ของกรุงเทพฯ หรือกัวลาลัมเปอร์ และอาจจะมีมากกว่าคนที่สถานีขนส่งสายใต้ของกัวลาลัมเปอร์ ด้วยที่กัวลาลัมเปอร์สภาพความเป็นเมืองมีมากกว่า ดังนั้นน้ำใจ ความเอื้อ อาทรของผู้คนย่อมน้อยกว่า

คณะนักศึกษามลายูศึกษาพักรอรถออกนับชั่วโมง  ก็ใช้เวลาส่วนนั้นสำรวจสภาพสถานีขนส่งสายใต้ พร้อมกับซื้อเสบียงสำหรับการเดินทาง เพราะว่าไม่รู้ว่าอาหาร การกินข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ก่อนเวลา 6 โมงเย็น คณะเราก็ขนกระเป๋า สัมภาระขึ้นรถขนส่งสายหลวงเวียงจันทน์นคร-กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ข้อมูลที่เราเก็บมาจากอินเตอร์เน็ต กล่าวว่ารถที่ใช้ในเส้นทางหลวงเวียงจันทน์นคร-กรุงฮานอย เป็นรถนอน หรือ Sleeping Bus ได้เห็นภาพจากรูปที่นำไปโพสต์ในอินเตอร์เน็ต แต่เมื่อเจอกับสภาพความเป็นจริง ปรากฏว่ามันไม่ได้ร้ายเหมือนกับที่กล่าวกันในอินเตอร์เน็ต
ถ่ายภาพหน้ารถนอนที่จะไปกรุงฮานอย
สภาพรถที่จะไปยังต่างแขวงของลาว
ขนมปังฝรั่งเศส
ขนมปังฝรั่งเศส
กินขนมปังหมดอายุ (แต่ไม่ขึ้นรา)จากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
กินขนมปังหมดอายุ (แต่ไม่ขึ้นรา)จากห้างบิ๊กซี ปัตตานี
บนรถนอนที่จะไปกรุงฮานอย
เก็บภาพบนรถนอนที่จะไปกรุงฮานอย
สภาพบนรถนอนสายเวียงจันทน์-ฮานอย
นี้คือสภาพรถนอน คือนอนจริงๆ 
ในรุ่งเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม 2013 ราวเวลา 04.00 น. รถก็ได้มาจอดที่บริเวณด่านประเทศลาว-เวียดนาม ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ชื่อว่า ด่านน้ำพาว   รถจอดรอให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองเปิดทำการในเวลา 07.00 น. ต้องรอจนกว่าด่านจะเปิดราว 3 ชั่วโมง ผู้โดยสารต้องนอนรอในรถ ซึ่งยังแปลกใจกับวิธีการเดินทางในครั้งนี้ เพราะแตกต่างจากประเทศมาเลเซีย ปกติรถจะออกเวลา 2-3 ทุ่ม เพื่อให้ถึงด่านก่อนเวลาเปิดสัก 1 ชั่วโมง  บรรยากาศในช่วงเวลากลางคืนนั้น ผู้เขียนได้ลงจากรถเพื่อยืดเส้นยืดสาย 
แวะร้านข้างทาง แต่....เราก็ไม่สามารถกินอะไรได้ 
ถ่ายภาพร้านอาหาร แต่เราก็กินขนมปังอาหารที่ซื้อจากเวียงจันทน์
รถจอดแวะร้านอาหาร
ปรากฏว่าบริเวณนั้นอยู่บนที่สูง ลมแรงมาก หนาวเย็น บรรยากาศไม่สามารถที่จะบรรยายได้ เมื่อเวลาเช้าตรู่ ผู้โดยสารก็จะลงออกรถเพื่อเข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัว หลังจากนั้นก็ได้เวลาเปิดด่านตรวจคนเข้าเมือง  คณะนักศึกษามลายูศึกษาจึงเข้าคิวเพื่อประทับตราหนังสือเดินทาง   เมื่อประทับตราหนังสือเดินทางแล้ว  ตามที่ได้ศึกษามาจากอินเตอร์เน็ต จากผู้มีประสบการณ์ก่อนๆ  พวกเขาบอกว่าเมื่อประทับหนังสือเดินทางแล้ว ให้เดินด้วยเท้าประมาณ 1 กิโลเมตร ตามผู้เดินทางคนอื่นๆ ไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองของฝั่งประเทศเวียดนาม 
เช้าตรู่ แต่ละคนก็ล้างหน้า ล้างหน้าที่บริเวณข้างถนน
สภาพด่านตรวคนเข้าเมืองฝั่งลาวที่ชื่อว่าด่านน้ำพาว
เก็บภาพที่ระลึกหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง รอด่านเปิด

เก็บภาพหน้าอาคารตรวจคนเข้าเมืองน้ำพาว
แอ๊คชั่น หน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองน้ำพาว
เก็บภาพที่ระลึก
รอด่านเปิด 
รอด่านเปิดข้างทาง
เมื่อด่านเปิด จึงเต็มด้วยผู้คนมากมาย
น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของลาว
เดิน เดิน เดิน เป็นกิโลเมตร ออกจากด่านน้ำพาวไปยังด่านฝั่งเวียดนาม
ติดตามต่อไปในตอน “แบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน ตอน 3  ผจญภัยในประเทศเวียดนาม